1) การโทรจองวันและเวลาสอบ
หัวข้อนี้สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการสมัครสอบโทอิคโดยตรงเลย เราจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครผ่านการจองที่นั่งและวันเวลาสอบของศูนย์สอบโทอิคเลย เพราะการสอบโทอิคในนามของผู้สอบเองจะรับสมัครหรือจองจากโทรศัพท์เท่านั้น ยกเว้นการสอบโทอิคตามในนามสถาบันหรือองค์กรนั่นก็สมัครผ่านนามองค์กรไปได้เลย
ขั้นแรกตั้งสติ เตรียมบัตรประชาชนออกมาวางไว้ แล้วกดเบอร์นี้ 02-2607061หรือ 02-2607189 เมื่อมีคนรับสายแล้วพูดว่า "โทอิคเซนเตอร์สวัสดีครับ/ค่ะ+ชื่อคนพูด..." เราผู้เกิดมายังไม่เคยสอบโทอิคเลยสักครั้งก็พูดไปเลยว่า "จองวันเวลาสอบครับ/ค่ะ" อ่ะ++ ตรงนี้จะให้ความรู้เพิ่มเติมแก่เพื่อนๆว่า ศูนย์สอบโทอิค เปิดให้สอบทุกวันจันทร์-เสาร์มีเวลาสอบ2รอบ คือรอบเก้าโมงเช้าถึง11โมงครึ่ง และรอบบ่ายโมงถึง3โมงครึ่ง จริงแล้วใช้เวลาสอบ2ชม.เท่านั้นแต่อีก ครึ่งชม.เป็นเวลาสำหรับการอธิบายการทำข้อสอบและการกรอกข้อมูลการทำข้อสอบของเพื่อนๆ แต่ที่พิเศษเฉพาะวันศุกร์ที่มี3รอบให้เลือก
คือ รอบเก้าโมงเช้าถึง11โมงครึ่ง รอบบ่ายโมงถึง3โมงครึ่ง และรอบ4โมงถึง6โมงครึ่ง เพื่อนๆก็เลือกวันและเวลาสอบกันตามสะดวกได้เลย
อ้อห้ามลืมเด็ดขาดว่าการจองควรจองอย่างน้อย1อาทิตย์ก่อนถึงวันที่ต้องการสอบจริงเพื่อนๆจะได้วันและเวลาที่ต้องการ เพราะแม้ว่าพนักงานจะบอกว่า "ควรจองอย่างน้อย1วันก่อนมาสอบ"แต่เราเคยสอบมาแล้วก็สำเหนียกได้ว่าจองอย่างน้อย1วันไม่มีทางที่เราจะได้วัน-เวลาที่ต้องการแน่นอนเพราะคนสอบเยอะมากกกกกก...
หลังจากที่เราบอกว่า จองวัน-เวลาสอบแล้วพนักงานโทอิคก็จะถามเลขบัตรประชาชนของเรา13หลัก พร้อมชื่อนามสกุลภาษาอังกฤษ อ้อห้ามลืมเด็ดขาดว่าเมื่อโทรจองแล้ว หากเพื่อนๆไม่ได้ไป ไปไม่ได้ ติดธุระ ต้องโทรไปยกเลิกการจองอย่างน้อย1วันก่อนวันที่เราไปแล้ว มิฉะนั้นเมื่อพื่อนๆคิดจะไปสอบอีกครั้งเพื่อนๆจะโดนค่าปรับไม่ไปสอบ500บาท เพราะทางศูนย์สอบจะบันทึกค่าปรับลงในประวัติส่วนตัวของเราไปเลย
จากนั้นเพื่อนๆก็โน้ตวันและเวลาใส่ปฏิทินวางไว้ในที่เห็นชัดๆให้ดีจะได้ไม่ลืมไม่งั้นถูกปรับไม่รู้ด้วยนะ
2)สุดยอดวิชาปราบPartการฟังข้อสอบToeic
ก่อนอื่นต้องอธิบายส่วนต่างๆของข้อสอบ Part 1 ก่อน ข้อสอบ TOEIC การฟัง แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
1.ดูภาพ
2.ฟังคำถามแล้วเลือกอะไรก็ได้ที่ถูกที่สุดตอบ
3.สุดท้ายก็จะเป็นการฟัง Passage ยาวๆประมาณ 1-3 นาที แล้วเลือกตอบคำถามที่ 2-3 ละข้อ
ข้อสอบส่วนนี้จะประกอบไปด้วยภาพ 20 ภาพ ซึ่งปรากฎให้เห็นในส่วนคำถามของข้อสอบ ตามด้วยเสียงอธิบายภาพที่เป็นตัวเลือก (choices) 4 ตัว คือ A, B, C, D ซึ่งไม่ปรากฎออกมาเป็นตัวหนังสือ และพูดให้ฟังครั้งเดียวเท่านั้น ผู้เตรียมสอบจึงต้องตั้งใจฟังให้ดี แล้วเลือก choice ที่อธิบายภาพได้ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียวเท่านั้น โดยฝนคำตอบลงใน Answer Sheet ที่ให้มา
ภาพที่นำมาทดสอบในส่วนนี้ อาจเป็นภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีคนหรือสิ่งของเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคนมากกว่า ในข้อสอบก็จะมีภาพให้เราดู และก็จะมีเสียงจะถามเราคนดูว่า what are they doing? และก็จะมีเสียงอ่าน choice ขึ้นมา 4 choices A,B,CและD โดยไม่มีคำอ่านอยู่ในข้อสอบ หรือ ก็คือเมื่อฟังแล้วต้องเลือกตอบทันที!!
TIPS ในการพิชิตข้อสอบ TOEIC Part 1
1.) ข้อสอบมี 20 ข้อ แต่ละข้อมีเวลาให้คิดคำตอบแค่ 6 วินาที จึงต้องคิดและตอบให้เร็วที่สุด
2.) ดูรูปภาพแต่ละข้อล่วงหน้า ก่อนที่เทปจะบอกให้ดูภาพข้อนั้น มิฉะนั้นจะคิดตามไม่ทัน เช่น เมื่อทำข้อ 1 เสร็จ รีบดูภาพข้อ 2 ต่อทันที ก่อนที่เทปจะพูดว่า “Look at the picture marked number 2…..”
3.) เมื่อดูภาพแต่ละข้อล่วงหน้า ให้พิจารณาสิ่งต่อไปนี้
3.1ถ้าเป็น ภาพคน
1) คนหรือกลุ่มคนเหล่านั้นกำลังทำอะไร
2) มีสีหน้าท่าทีอย่างไร
3) อยู่ที่ไหน
3.2ถ้าเป็น ภาพสิ่งของ
1) ของนั้นคืออะไร
2) มันอยู่ที่ไหน
3) เกิดอะไรขึ้นกับมัน
3.3 ถ้าเป็น ภาพสิ่งของและคน
1) อะไรอยู่ด้านหลัง (Background)
2) อะไรอยู่ด้านหน้า (Foreground)
3) อะไรอยู่ด้านข้าง
4.) กำจัด choice ที่ผิดหรือเป็นตัวลวง ออกไปก่อน ซึ่ง choice ดังกล่าวมีลักษณะ ดังนี้
4.1 choice ที่บรรจุคำที่มีเสียงเหมือน (Sound-Alike) บางสิ่งบางอย่างในรูปภาพ เช่น ภาพผู้หญิงกับผู้ชายเต้นรำกัน (They are dancing in the hall.) choice ข้อหนึ่ง อาจพูดว่า They are glancing in the hall. ตัวเลือกอีกข้อหนึ่งอาจกล่าวว่า They are hiding in the hole. (Sound alike คือ dancing-glancing และ hall-hole) choice ประเภทนี้ให้ตัดทิ้ง
4.2 choice ที่มีความหมายสับสน ดังต่อไปนี้ ถือว่าผิดให้ตัดทิ้งโดยไม่ต้องลังเล
1) ผิดตำแหน่งที่ตั้ง
เช่น ภาพผู้ชายคนหนึ่งยืนอยู่ ใต้ ต้นไม้ ข้อความในตัวเลือกอันหนึ่งอาจพูดว่า “The man is on the tree” ( ผู้ชายยืนอยู่ บน ต้นไม้ ) ซึ่งเป็นการบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ผิด
2) ผิดสถานที่
เช่น ภาพหญิงสาวนั่นใน สวนสาธารณะ ข้อความหนึ่งในตัวเลือกอาจพูดว่า “The girl is in her classroom ” ( หญิงสาวอยู่ใน ห้องเรียน ) ซึ่งเป็นการบอกสถานที่ผิด
3) ผิดอารมณ์ความรู้สึก
เช่น ภาพแม่กำลังยิ้มให้ลูก ข้อความอาจพูดว่า “Mother is angry with her child” ( แม่กำลัง โมโห ลูก ) ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ตรงข้ามกับอารมณ์ของภาพ
4) ผิดวัตถุหรือสิ่งของ
เช่น ภาพเด็ก ๆ กำลังเล่น ฟุตบอล ถ้ามีข้อความพูดว่า “The boys are playing tennis ” ( เด็ก ๆ กำลังเล่น เทนนิส ) ถือว่าเป็นข้อความที่พูดถึงวัตถุหรือสิ่งของที่ผิดพลาด
5) ผิดสภาพแวดล้อม
เช่น ภาพข้าวของ กระจัดกระจาย ในห้อง แต่ข้อความหนึ่งอาจพูดว่า “Things are put neatly ” ( ข้าวของถูกจัด เป็นระเบียบ ) หรือภาพห้องประชุมที่ว่างเปล่า คำบรรยายกลับกล่าวว่า “The auditorium is crowded .” ( ห้องประชุมแน่นไปด้วยผู้คน ) ถือว่าผิดสภาพแวดล้อมที่อยู่ในภาพ
6) ผิดคน
เช่น ภาพหญิงสาวใส่กางเกง เด็กผู้หญิงใส่ กระโปรง ถ้ามีคำบรรยายกล่าวว่า “The little girl is wearing pants ” ( เด็กผู้หญิงใส่ กางเกง ) ถือว่าผิดคน เพราะคนที่ใส่กางเกงคือ หญิงสาวมิใช่เด็กหญิง
3) TIP การสอบToeic Partการอ่านเอาเรื่อง
ขอแนะนำว่าเวลาในการทำPartนี้ซึ่งเป็นPart สดท้ายของข้อสอบToeic เพื่อนๆจะต้องเหลือเวลาในการตะลุยด่านนี้ไม่ตำกว่า25นาที เพราะการอ่านเอาเรื่องนี้อาจจะเอาเรื่องเราได้ เพราะค่อนข้างจะเยอะมาก
เรื่องที่นำมาทดสอบความเข้าใจในการอ่านของ TOEIC ที่เพื่อนต้องตะลุย มักจะเป็นเรื่องสั้น ๆ ไม่กี่บรรทัด เนื้อหาส่วนใหญ่จะเน้นไปทางด้านธุรกิจ ใช้ศัพท์ไม่ยุ่งยากอะไรมากนัก ลักษณะคำถามท้ายเรื่องก็จะมีเพียง 3 ประเภทเท่านั้น ภาพโดยรวมแล้ว part นี้น่าจะเป็นตัวช่วยดึงคะแนนของผู้สอบส่วนใหญ่ให้สูงขึ้น
ประเภทของคำถามที่พบใน Reading Comprehension ของ TOEIC มีดังนี้
1. คำถามให้ค้นหาความคิดหลัก (Main Idea)
Main Idea คือ ภาพรวมของเรื่องหรือที่เรียกว่าความคิดหลักของเรื่อง คำถามแรกของ passage แทนทุกเรื่องที่ยกมาถามในข้อสอบ Reading Comprehension มักจะเป็นประเภทนี้ คำถามประเภทนี้อาจใช้คำพูดได้หลายแบบ เช่น
- What is the main idea of this passage?
แกนความคิดของเรื่องนี้คืออะไร
- The best title (on topic) of this news is…………..
ชื่อเรื่องที่ดีที่สุดสำหรับข่าวนี้คือ ……………
- What does the passage mainly discuss?
เรื่องนี้อภิปรายประเด็นอะไรเป็นหลัก
- What is the purpose of this notice?
จุดประสงค์ของประกาศนี้คืออะไร
- What is being advertised?
โฆษณาอะไร
Tip :คำตอบของคำถามประเภทนี้ มักจะหาได้ด้วยวิธีการใดวิธีหนึ่ง ( หรือหลายวิธีรวมกัน ) ดังนี้
1) อ่านประโยคแรกของย่อหน้าแรก เป็นไปได้ถึง 80% ที่จะได้คำตอบจากวิธีนี้
2) อ่านประโยคสุดท้ายของย่อหน้าสุดท้าย
3) อ่านประโยคแรกของทุกย่อหน้า รวมกับประโยคท้ายสุดของย่อหน้าสุดท้าย
4) สิ่งที่พูดในเรื่องซ้ำไปซ้ำมาทั้งเรื่อง โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงคำพูดไปบ้าง แต่ความหมายยังคงเดิม
5) choice ที่มีลักษณะครอบคลุมความคิดของเรื่องทั้งเรื่องไว้ได้ โดยความหมายไม่แคบเกินไป ไม่กว้างเกินไป และไม่ออกนอกประเด็น
2. คำถามประเภทค้นหารายละเอียด (Detail Question)
คำถามแบบนี้จะถามรายละเอียดซึ่งปรากฎใน passage มักจะเริ่มต้นด้วยวลี “ According ot the passage ,…….” หรือ “ According to the author ,…..”
Tip : คำตอบของคำถามประเภทนี้หาได้โดยตรงจากเรื่องที่อ่าน ซึ่งบางครั้งอาจมีการแปลงคำพูดหรือโครงสร้างไปบ้าง โดยความหมายคงเดิม (Restatement)
จากเนื้อเรื่องมีใจความว่า “We invited Mr. Clinton, Mrs. Clinton and their children to our party tonight.”
คำตอบที่ถูกต้องอาจเป็นการถอดความ (Restatement) ดังนี้
“Mr. Clinton and his family were invited to our party tonight.”
3. คำถามประเภทแฝงความหมาย(Inference Question)
คำถามประเภทนี้ จะหาคำตอบจากเนื้อเรื่องไม่ได้โดยตรง เพราะเนื้อเรื่องไม่ได้ให้ไว้ แต่เราต้องตีความหรือสรุปความเพื่อหาคำตอบ เช่น ในเนื้อเรื่องบอกว่า
Jack hasn't I seen Mary since 1990.
เราอาจตีความได้ดังนี้
1) Jack didn't see Mary in 1995.
2) Jack and Mary still haven't met each other. คำถามที่ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่
- It can be inferred from the passage that…………
เราสามารถตีความจากเนื้อเรื่องได้ว่า …………….
- Which of the following can be inferred from the announcement?
ข้อใดต่อไปนี้ที่เป็นการวินิจฉัยความจากประกาศ
- The author implies that………..
ผู้เขียนบอกเป็นนัยว่า ………..
- Which of the following does the passage imply?
ข้อใดที่เนื้อเรื่องบอกเป็นนัยไว้
รูปแบบการอ่านที่นำมาทดสอบ อาจจำแนกเป็นประเภทได้ดังต่อไปนี้
1. บทความ
2. โฆษณา
3. จดหมายธุรกิจ
4. ประกาศแจ้งความ
5. การอ่านแบบอื่น ๆ
1. บทความ ( Article)
เป็นรูปแบบการอ่านที่ให้ข้อมูล ซึ่งอาจพบในหนังสือพิมพ์ นิตยสารและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ หัวข้อที่อ่านอาจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ , สภาพอากาศ , คน , วรรณคดี , ธุรกิจ , วิจัยในหัวข้อต่าง ๆ ฯลฯ เมื่ออ่านจบ คำถามอาจถามในประเด็นที่เกี่ยวกับ main idea, กลุ่มผู้อ่าน , รายละเอียดของเรื่อง , ตีความจากเรื่อง
2. โฆษณา ( Advertisements)
ในสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ , นิตยสาร , วารสาร และ internet อาจถามว่า ใครคือผู้อ่าน ใจความสำคัญของโฆษณา , ราคา , สื่อที่อาจปรากฎ
3. จดหมายโต้ตอบ
ได้แก่ จดหมายเขียนในออฟฟิดและประกาศต่าง ๆ Memo อีเมล์ แฟกซ์ ข้อความทางโทรศัพท์ จดหมายธุรกิจ ฯลฯ ถ้าเป็นภายในออฟฟิด อาจเกิดจากการติดต่อของพนักงานตั้งแต่ 2 คน หรือมากกว่าที่ต้องการสื่อสารกันภายใน ด้วยจุดประสงค์ต่าง ๆ กัน เช่นกำหนดการประชุม ให้ข้อมูลที่เป็นผลประโยชน์ของพนักงาน ขอความช่วยเหลือหรือขอข้อมูล ขอบคุณพนักงาน ฯลฯ
4. ประกาศแจ้งความ
เป็นข้อความสั้น ๆ ที่ให้ข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนเกี่ยวกับกิจกรรมของพลเรือน วัฒนธรรม การเมือง ธุรกิจ นโยบายสังคม คำตักเตือน คำแนะตำ เหตุการณ์ต่าง ๆ สถานที่ท่องเยว โอกาสหรือหัวข้ออื่น ๆ คำถามมักจะถามจุดประสงค์หรือกลุ่มเป้าหมายของประกาศ หรือรายละเอียดในประกาศนั้น
5. การอ่านแบบอื่น ๆ
มักจะเป็นการอ่านที่ให้ข้อมูลในรูปแบบที่ไม่ใช่ร้อยแก้วธรรมดา ส่วนใหญ่จะไม่เขียนเป็นย่อหน้า ๆ และไม่ค่อยจะเขียนเป็นประโยคที่สมบูรณ์ ข้อมูลดังกล่าวปกติจะเขียนเป็นแผนภูมิ กราฟ ตารางเวลา รายการ แผนที่ ปกติจะมีการอ่านแบบนี้ 1 – 2 เรื่อง ใน part 7 ของ TOEIC
คำถามของการอ่านแบบนี้มักจะถามเกี่ยวกับจุดประสงค์ รายละเอียดและข้อสรุป ซึ่งจะดึงออกมาได้จากข้อมูลที่แสดงไว้ การอ่านประเภทนี้คุณไม่จำเป็นต้องอ่านคำต่อคำ แต่ใช้วิธีกวาดสายตาอ่านอย่างเร็วก่อนว่าหัวข้อเรื่องคืออะไร มีจุดประสงค์อย่างไร แล้วจึงอ่านคำถาม จากนั้นค่อยย้อนกลับไปค้นข้อมูลในเรื่องเพื่อตอบคำถามอีกที
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณมากเลยนะครับ สำหรับบทความ
แสดงความคิดเห็น