25 ม.ค. 2551

Transfer Effect มหัศจรรย์กลไกสมอง

ในสังคมที่พ่อแม่อยากให้เรียนรู้ศิลปะ ดนตรี หรือกีฬา และมักพากันยัดเยียดความรู้วิชาการให้กับลูกอย่างเดียวอาจทำให้การเรียนรู้นั้น­สูญเปล่า แต่ถ้าเป็นการเรียนรู้ที่มีความสุข สมองก็จะพัฒนาอย่างไร้ขีดจำกัดและเพิ่มขึ้นเท่าทวีคูณ แถมยัง Transfer ข้อมูลการเรียนรู้อย่างหนึ่งไปส่งเสริมทักษะอีกอย่างหนึ่งได้อย่างน่ามหัศจรรย์

รู้จักเข้าใจ Transfer Effect

ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีกระบวนการของสมองอย่างไร จึงจะเห็นภาพกว้างกว่าการเรียนรู้นั้นเกิดการ Transfer เชื่อมต่อไปยังทักษะอื่นได้อย่างไรค่ะ Direct&Indirect ของสมอง

การเรียนรู้สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชาการ ดนตรี กีฬา สามารถให้ผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสมองและทักษะการเรียนรู้ของคนเรานะคะ ทางตรง (Direct) คือเกิดผลกับโครงสร้างทางสมองทำให้มีทักษะต่างๆ ของร่างกายพัฒนาขึ้น อย่างเช่นคนที่ชอบเล่นเปียโน ก็จะเล่นเปียโนได้ไพเราะ ชอบเล่นฟุตบอลก็สามารถเล่นได้เก่ง เป็นต้น

ส่วนประโยชน์ทางอ้อม (Indirect) นั้นยกตัวอย่างการเล่นดนตรีก็จะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้วย เมื่ออารมณ์ดีสารเคมีในสมองจะหลั่งสารเอนโนฟีนหรือสารแห่งความสุขออกมาทำให้อาร­มณ์ดี ส่งผลเรียนรู้ต่างๆ ได้ดี แบบนี้เป็นต้นค่ะ

การทำซ้ำๆ
การฝึกทักษะทางดนตรี วาดรูป เล่นกีฬา เต้นรำ ฯลฯ ถ้ามีการฝึกฝนซ้ำๆ จะทำให้วงจรประสาทส่วนที่ใช้เรื่องนั้นๆ เกิดความแข็งแรงขึ้น ถ้าคุณผู้อ่านจำที่ Pink Brain เคยอธิบายว่า ลูกจะฉลาดท่าเซลล์สมองมีการแตกแขนงได้ดี กระบวนการซ้ำๆ ของกิจกรรมข้างต้น จะทำให้เซลล์สมองทำงานได้ดี จึงทำให้เม็ดเลือดไปหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เซลล์สมองแตกแขนงและแข็งแรง แถมยังมีการเพิ่มเยื่อไขมันหุ้มวงจรแขนงประสาท ทำให้เซลล์ประสาทส่งสัญญาณเร็วขึ้นด้วยค่ะ

เกิดเป็น Transfer Effect
จาก 2 กระบวนการ้างต้น ทำให้เกิดเป็น Transfer Effect หรือการเรียนรู้สิ่งหนึ่งซ้ำๆ แล้วส่งผลให้การเรียนรู้ในระบบอื่น ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันพัฒนาและส่งเสริมทักษะอีกด้านนั้นดีขึ้นไปด้วย การที่เด็กทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เล่นดนตรีทำงานศิลปะ หรือเคลื่อนไหว ภายในสมองจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ทำ เนื่องจากวงจรประสาทที่ใช้ในการทำกิจกรรมนั้นได้ใช้สมองบริเวณเดียวกันกับการเร­ียนรู้เรื่องอื่น ทำให้สมองส่วนนั้นๆ พัฒนาได้ดีตามไปด้วย

ดนตรี ตัวอย่าง Transfer Effect
ดนตรีเป็นตัวอย่างหนึ่งที่อธิบายกระบวนการ Transfer Effect ได้ดี เพราะการฝึกดนตรีนั้นสามารถกระตุ้นวงจรประสาทส่วนการเคลื่อนไหวการได้ยิน การคิด การมองเห็น เมื่อฝึกมากๆ สมองส่วนนั้นจึงพัฒนาได้ดีขึ้น ที่สำคัญคือสมองส่วนดังกล่าวนี้คือรากฐานสำคัญของการพัฒนาความคิดทางคณิตศาสตร์­และภาษา รวมทั้งการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายอีกด้วย

ทำไมต้อง Transfer ความรู้
ความสำคัญที่พ่อแม่ต้องเข้าใจความหมายของ Transfer Effect นั้น นพ.อุดม เพชรสังหาร ผอ.ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชน สถาบันรักลูก อธิบายว่า พ่อแม่หลายคนมัก “จัดหา” การเรียนรู้มาป้อนลูกแทบจะไม่มีเวลาหายใจจันทร์ถึงศุกร์เรียนที่โรงเรียน เสาร์เช้าเรียนเปียโน บ่ายเรียนรำไทย คือตารางชีวิตของเด็กยุคนี้ ทั้งๆ ที่กิจกรรมหลายอย่างเมื่อพิจารณา Transfer Effect แล้ว แทบไม่แตกต่างกันเลย เรียกว่าลงทุนไปเยอะทั้งที่พ่อแม่เป็นจ่ายเงินและลูกเป็นออกแรงเรียน แต่ได้ผลผลิตออกมาเพียงอย่างเดียว

การทำความข้าใจว่ากิจกรรมทั้งหลายจะส่งผลกระทบหรือ Transfer Effect เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร จะทำให้เราสามารถวางแผนจัดกิจกรรมเรียนรู้ของเด็กให้มีความสมดุลลงตัว ทำให้เด็กได้ในสิ่งที่เขาควรจะได้อย่างครบถ้วน ซึ่งมันมีความหมายสำหรับการเรียนรู้ และการใช้ชีวิตในอนาคตของเขาเป็นอย่างยิ่ง
กิจกรรมง่ายๆ ที่สามารถกระตุ้น Transfer Effect ให้ลูกได้

คุณแม่ลองเล่นกับลูกบ่อยๆ โดยใช้กิจกรรมที่ทั้งง่ายและสามารถทำได้เองที่บ้านเหล่านี้ดูสิคะ
หมากรุก หมากฮอส โกะ
How : การเล่นหมากรุก หมากฮอส โกะ หมากข้าม หรือ Cross Word
ผลทางตรง : การวางหมากแต่ละครั้ง สมองส่วนต่างๆ ต้องคิดและวางแผนว่าจะเดินอย่างไรเพื่อให้เกิดผลที่ต้องการ
Transfer to : มิติสัมพันธ์ คณิตศาสตร์ การคิดแบบมีเหตุผล

เล่นดนตรีตามจังหวะ
How : ลูกตีกลองตามเสียงจังหวะที่ได้ยิน หรือเล่นดนตรีและเคลื่อนไหวอย่างอิสระตามจังหวะดนตรีที่ได้ยิน
ผลทางตรง : Motor Skill กล้ามเนื้อมือ การทำงานประสานกันของมือและตา การอ่านโน้ตเพลง การตีความสัญลักษณ์
Transfer to : มิติสัมพันธ์ (คณิตศาสตร์) ภาษาที่สอง เนื่องจากจังหวะของห้องเสียงเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ ลูกจึงสามารถแยกแยะเสียงต่างๆ ได้ดีมีสมาธิทำให้ความจำดี เกิดสุนทรียภาพ มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์

สนุกกับจิ๊กซอว์
How : เด็กใช้จินตนาการต่อจิ๊กซอว์ตามโจทก์กว้างๆ ที่สอดคล้องกับวัยของเด็ก การสร้างเงื่อนไขจะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กคิดและจินตนาการอย่างมีทิศทาง จะเกิดกลไกการคิด วางแผน จินตนาการเป็นภาพ
ผลทางตรง : การทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อมือและตา การตัดสินใจ สมาธิ การกะระยะ
Transfer to : มิติสัมพันธ์ (คณิตศาสตร์) ด้านเรขาคณิตศาสตร์ มีสมาธิ ทำให้ความจำ ความมั่นใจดี และมีสุนทรียภาพ ซึ่งทำให้เกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์

(update 17 มกราคม 2008)
[ ที่มา.. นิตยสารดวงใจพ่อแม่ Vol.12 No.144 October 2007]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น