26 พ.ค. 2551

ระแวดระวังภัย... โรคจากที่สาธารณะ

***ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสถานที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็น ห้องน้ำสาธารณะ
ตู้โทรศัพท์สาธารณะ หรือแม้แต่ สระว่ายน้ำสาธารณะ ก็มักจะมีผู้คนมากหน้าหลายตา
แวะเวียนไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก
*
และด้วยจำนวนคนที่มากมายก่ายกองนี่เอง
สถานที่เหล่านี้จึงกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคติดอันดับต้นๆ
ที่มีให้คุณเลือกหลายชนิดหลายแบบ สำหรับสถานที่สาธารณะที่น่าจะมีโผติด 3
อันดับสถานที่ ที่มีเชื้อโรคมากที่สุด ก็น่าจะเป็นสถานที่ทั้ง 3
แห่งที่กล่าวมาข้างต้น เราลองมาดูสิว่า ทั้ง 3
สถานที่นั้นคุณจะเจอเชื้อโรคอะไรบ้าง
*
เชื้อโรคจากโทรศัพท์สาธารณะ *


ตู้โทรศัพท์สาธารณะเป็นสถานที่ที่เราสามารถรับเชื้อได้โดยตรงจากการสัมผัสเชื้อ­โรค
เชื้อที่เราจะได้พบเจอในตู้โทรศัพท์สาธารณะ คือ


- เชื้อไข้หวัดทั้งหลาย
ซึ่งถ้ามีน้ำมูกแล้วน้ำมูกไปติดอยู่ที่ตัวเครื่องรับโทรศัพท์
หรือบริเวณรอบๆตู้โทรศัพท์ หากเชื้อเหล่านี้ยังมีชีวิตรอดอยู่หลายชั่วโมง
และผู้ใช้โทรศัพท์เหล่านั้น ไปสัมผัสจับต้องสารคัดหลั่งดังกล่าว
แล้วนำมาป้ายโดนจมูกก็มีโอกาสติดเชื้อได้


- วัณโรค ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว จะไม่ติดจากการสัมผัสในการใช้โทรศัพท์
แต่จะเกิดการติดเชื้อได้จากการไอหรือจาม
ซึ่งจะได้รับเชื้อโดยการสูดหายใจเข้าไปโดยตรง


- เชื้อเริม ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรง
ซึ่งถ้าผู้ป่วยเริมมีแผลอยู่แล้วไปใช้โทรศัพท์
เมื่อคนที่มาใช้โทรศัพท์คนต่อไปไปจับต้องเชื้อไวรัส
แล้วใช้มือขยี้ตาหรือป้ายโดนปากโดนน้ำลาย ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อเหล่านั้นได้


- หูด เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรง
เพราะฉะนั้นผู้ใช้บริการโทรศัพท์สาธารณะก็จะมีโอกาสติดเชื้อนี้ได้


- โรคแอนแทรกซ์ เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ง่าย
ซึ่งเคยมีข่าวว่าคนอเมริกันได้รับจดหมาย
แล้วสัมผัสเอาสปอร์ของเชื้อโรคแล้วเป็นโรคนั้นได้
ถ้าได้ไปสัมผัสโดยตรงหรือสูดหายใจเอาสปอร์ที่อยู่บริเวณนั้นเข้าไป
ก็มีอาการเป็นโรคได้ง่ายๆอย่างไรก็ตาม
โอกาสในการติดเชื้อจากการใช้บริการของโทรศัพท์สาธารณะนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ
แต่ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน
ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อว่ามีปริมาณมากหรือน้อย
และเชื้อดังกล่าวที่อยู่ในบริเวณนั้นตายไปแล้วหรือยัง
ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อจากการใช้โทรศัพท์สาธารณะ
ส่วนใหญ่ถ้าเป็นไข้หวัดก็จะติดจากบุคคลอื่นที่เป็นหวัดอยู่แล้ว
ซึ่งอาจจะติดจากเพื่อนร่วมงาน จากบุคคลใกล้ตัวหรือโรงภาพยนตร์ที่มีผู้คนแออัด
การป้องกันการติดเชื้อจากโทรศัพท์สาธารณะ


- ระหว่างการใช้โทรศัพท์ อย่าใช้มือป้ายตา ป้ายปาก ป้ายจมูก


- ระวัง! ไม่นำกระบอกโทรศัพท์มาแนบปากจนเกินไป


- ให้รีบล้างมือทันทีหลังจากใช้โทรศัพท์แล้ว
เพราะเชื้อเมื่อออกมาจากตัวผู้ป่วยแล้วยังอยู่ได้หลายชั่วโมงหรือเป็นวัน
*
เชื้อโรคจากห้องน้ำสาธารณะ *


การใช้บริการห้องน้ำสาธารณะ มีความเสี่ยงในการติดโรคได้เช่นกัน
เพราะห้องน้ำสาธารณะส่วนใหญ่ไม่ค่อยสะอาด และมีโอกาสที่จะติดโรคได้ เช่น เริม
ซึ่งพิสูจน์ยากว่าติดต่อจากการใช้บริการห้องน้ำสาธารณะ
เพราะโรคนี้จะติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่
ถ้าผู้ใช้บริการห้องน้ำสาธารณะมีแผลเริมอยู่ ถ้าเป็นแผลเปิด
และเมื่ออีกคนเข้าไปใช้ต่อทันที
ก็มีสิทธิ์ที่จะติดเชื้อได้นอกจากนี้ยังมีเชื้อโรคอื่นๆ เช่น อหิวาตกโรค
หรือไข้รากสาด ถ้าคนที่เข้าห้องน้ำถ่ายอุจจาระแล้วไม่ได้ล้างมือให้สะอาด
เกิดมีอุจจารปนเปื้อนบริเวณมือ เมื่อมือไปจับก๊อกน้ำหรือจับลูกบิด
คนที่ไปจับต่อมาแล้วไปสัมผัสโดนปากหรือน้ำลายก็มีโอกาสได้รับเชื้อเช่นกัน
ยิ่งหากเป็นห้องน้ำสาธารณะที่มีทั่วไปในกรุงเทพฯหลายๆ แห่งจะสกปรก
ไม่มีน้ำให้ราดไม่มีกระดาษชำระหรือแม้แต่ถังทิ้งกระดาษชำระ
ฉะนั้นจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษด้วย


*การป้องกันการติดเชื้อจากห้องน้ำสาธารณะ*


ในปัจุบัน
คนส่วนใหญ่ได้ใส่ใจกับสุขภาพอนามัยมากขึ้นรู้จักล้างมือและชำระล้างสิ่งสกปรกหร­ือเชื้อโรคจากร่างกาย
ก่อนที่จะมาสัมผัสกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขยี้ตา หรือจับปาก จับ จมูก
ต้องล้างมือให้สะอาดเรียบร้อยก่อน ก็จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้
*
เชื้อโรคจากสระว่ายน้ำสาธารณะ *


โรคที่เราจะได้ตามมาจากสระว่ายน้ำสาธารณะคือ ติดเชื้อในช่องคลอดจากการว่ายน้ำ
ในสระว่ายน้ำที่ไม่สะอาดและไม่ได้มาตรฐาน ถึงแม้ว่ามีการใช้ยาฆ่าเชื้อโรค เช่น
คลอรีนก็ตามก็สามารถที่จะติดเชื้อโรคได้เช่นกัน
แต่หากเป็นสระว่ายน้ำมาตรฐานจะมีระบบกรองน้ำ มีการไหลเวียนถ่ายเทน้ำ
มียาฆ่าเชื้อโรคใส่ไว้ในปริมาณที่เหมาะสม
ร่วมกับรังสีและความร้อนจากแสงแดดทำให้น้ำในสระสะอาดและปลอดภัย เพราะฉะนั้น
การเล่นน้ำในสระว่ายน้ำเหล่านี้จะมีความปลอดภัยกว่าโรคเกี่ยวกับอวัยวะเพศ หรือ
ช่องคลอดจากการว่ายน้ำ ที่พบบ่อย คือ อาการอักเสบของเยื่อบุปากช่องคลอด
ผู้ป่วยเหล่านี้ หลังจากว่ายน้ำแล้ว จะมีอาการแสบๆ ที่ปากช่องคลอด
โดยเฉพาะเมื่อปัสสาวะไหลมาถูกบริเวณนั้น บางคนมีอาการตกขาวร่วมด้วย
เมื่อตรวจภายในก็พบมีอาการอักเสบของเยื่อบุช่องคลอดอย่างชัดเจน
แต่ตรวจไม่พบเชื้อที่เป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคได้
พวกนี้สาเหตุมักเกิดจากการแพ้คลอรีนที่มีอยู่ในน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
น้ำที่มีคลอรีนในอัตราส่วนที่เข้มข้นเกินไป


โรคที่เกิดในช่องคลอดทเี่คยพบเนื่องมาจากการวา่ยน้ำในสระ
ได้แ้ก่โรคพยาธิในช่องคลอด และ โรคเชื้อราเพราะเชื้อพยาธิและเชื้อรา
สามารถอยู่ในน้ำสะอาดที่มีคลอรีนที่เจือจางได้นานอย่างน้อย 30 นาที
เมื่อมีโอกาสเข้าไปในช่องคลอดของนักว่ายน้ำได้ ก็จะทำให้เกิดอักเสบตกขาว
และคันบริเวณอวัยวะเพศและช่องคลอดได้ แต่บางคนก็ไม่มีอาการ
ส่วนเชื้อกามโรคอื่นๆ เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส และโรคเริม


ไม่เคยพบมีรายงานที่แน่ชัดว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อเหล่านี้
มาจากการว่ายน้ำธรรมดาๆ เพราะเชื้อหนองในแท้และหนองใสิ่งสำคัญขณะที่เล่นน้ำ
ไม่ควรให้น้ำเข้าปาก เพราะเชื้อโรคบางชนิดอาจมีอยู่ในน้ำได้ เช่น โรคท้องร่วง
และตับอักเสบ เป็นต้นสระว่ายน้ำบางแห่งไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร
มีกระเบื้องแตกหรือชำรุดอยู่ในสระ
เมื่อว่ายน้ำไปถูกกระเบื้องเหล่านี้บาดจนเป็นแผล
อาจจะกลายเป็นแผลเรื้อรังขนาดใหญ่ได้ในบางครั้ง ซึ่งแผลเหล่านี้
มักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่เรียกว่า Mycobacterium marinum
เชื้อนี้ทำให้เกิดแผลเรื้อรังคล้ายแผลที่เกิดจากเชื้อวัณโรคผิวหนังได้
แผลนี้รักษาค่อนข้างยาก แต่หายได้


*การป้องกันการติดเชื้อจากสระว่ายน้ำสาธารณะ*


1. ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของสระว่ายน้ำโดยเคร่งครัด เช่น
อาบน้ำให้สะอาดทุกครั้งก่อนลงสระ ไม่บ้วนน้ำมูกหรือน้ำลายลงในสระ เป็นต้น


2. นักว่ายน้ำควรได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เจาะเลือดตรวจดู
ภาวะภูมิคุ้มกันโรคและโรคที่มีอยู่ในร่างกาย ถ้าพบโรคใด เช่น โรคซิฟิลิส ก็ควร
รักษาเสีย ถ้าขาดภูมิต้านทานโรค ควรรับการฉีดวัคซีนให้เรียบร้อยก่อน โดย
เฉพาะโรคตับอักเสบ เป็นต้น หญิงที่แต่งงานแล้วหรือหญิงสาวที่มีอายุมากกว่า
25 ปี ควรได้รับการตรวจภายในปีละครั้ง เพื่อตรวจรักษาโรคบางชนิดที่มีอยู่ใน
ช่องคลอดแต่ไม่มีอาการให้หมดไปเสีย อย่างน้อยก็ได้รับการตรวจหามะเร็ง
ระยะแรกเริ่ม


3. เมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดหลังจากว่ายน้ำแล้ว ควรรีบไปรับการตรวจจากแพทย์
และควรงดเล่นน้ำในระยะนี้


4. ไม่ควรให้น้ำเข้าปาก


5. ไม่ควรใช้เครื่องนุ่งห่มหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกัน


6. สระน้ำและน้ำในสระ ควรได้รับการตรวจบำรุงไม่ให้มีสิ่งบกพร่อง ที่
อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และเสี่ยงต่อการติดเชื้อของนักว่ายน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น