501.การจอดรถในบ้าน - นอกบ้าน จอดรถในบ้านต้องเอาท้ายรถออกนอกบ้าน ล็อครถและใช้อุปกรณ์กันขโมย ติดตั้งโคมไฟให้ส่องสว่างให้มองเห็นทั้งในและนอกรั้วบ้านหากจำเป็นต้องจอดรถนอกบ้าน ควรจอดชิดขอบทางหน้าบ้าน ให้มองเห็นได้ ล็อคกุญแจ และอุปกรณ์ กันโขมย
502. ควรร่วมมือกับเพื่อนบ้านใกล้เคียงช่วยกันจ้างยามรักษาความปลอดถัย คอยดูแล และให้ทุกคนในบ้านช่วยกันดูแล ซึ่งกันและกันด้วย
503. หากมีความจำเป็นต้องจอดรถยนต์ไว้บนถนนหน้าบ้าน ควรมียาม รักษาความ ปลอดภัย เผ้าดูแลรถตลอดเวลา โดยประสานความร่วมมือกับเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่ใช้รถ และจอดรถไว้ ในลักษณะเดียวกัน เพื่อช่วยเหลือกัน ในเรื่องค่าจ้าง ของยามรักษาความปลอดภัย
504.อย่าจอดรถทิ้งไว้ค้างคืนบนถนน ไม่ว่าจะมีเครื่องป้องกันการโจรกรรมรถชนิดใดก็ตาม อย่าทิ้งกุญแจรถไว้ที่รถ เมื่อจอดรถลงไปทำธุระไม่ว่ากรณีใดก็ตาม
505.ระวังการนำรถไปซ่อม และรับบริการ แก็งค์คนร้ายอาจจะเป็นช่างซ่อมรถหรือผู้ให้บริการตามอู่ซ่อมรถ หรือสถานบริการบำรุงรักษารถ มีความชำนาญ ระบบกลไก ของรถ อาจลักลอบทำกุญแจผี หรือทำลายระบบกันโขมย แล้วติดตามไปโจรกรรมรถของท่านในภายหลัง จึงควรระมัดระวัง
506. ควรอยู่ดูแลการซ่อมหรือการบริการอื่นๆ อย่างใกล้ชิด หากจำเป็นต้องทิ้งรถไว้ให้ซ่อม หรือบำรุงรักษา จะต้องเป็น ผู้คุ้นเคยหรือ ไว้ใจได้เท่านั้น
507กุญแจรถ เรื่องสำคัญ มีรถบางชนิด ใช้กุญแจ รถดอกเดียวกัน สำหรับเปิด ประตู ติดเครื่องยนต์ เปิดลิ้นชัก และฝาน้ำมัน ดังนั้นเมื่อ ฝาน้ำมันหาย อาจเป็นไป ได้ว่าคนร้าย ได้นำไปเพื่อ ทำแบบ สร้างกุญแจปลอม สำหรับ นำมาใช้ใน การโจรกรรม ฉะนั้น หากฝาถังน้ำมันหาย ควรรีบเปลี่ยนกุญแจ ที่ใช้กับรถ เสียใหม่ โดยใช้ กุญแจที่ใช้ เฉพาะแห่งเท่านั้น และเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ
508. ระวังการใช้อุปกรณ์กันขโมย เมื่อติดตั้งอุปกรณ์ กันขโมยแล้ว การใช้ อุปกรณ์ ต้องเก็บ เป็นความลับเฉพาะ ผู้ที่ไว้ใจได้ เพราะอุปกรณ์ บางอย่าง ใช้รหัสเฉพาะ หรือ สัญญาณรีโมท การไปจอกรถ ในที่ต่างๆ จึงควรระวัง คนร้าย อาจคอย สังเกตวิธีการ ใช้อุปกรณ์ กันขโมย ของท่านและ ติดตาม ไปหา โอกาส โจรกรรมรถ ของท่าน ในภายหลัง
509. รถคุณถูกติดตามจะทำอย่างไร ? กรณีสังเกตรู้ว่า มีผู้ขับรถ ติดตาม รถท่านให้สันนิษฐานว่า เป็นคนร้าย ไว้ก่อน เพราะอาจ ตามไป ฉวยโอกาส ขโมยรถ เมื่อท่านจอดรถ ทิ้งไว้ ในที่ไม่ปลอดภัยหรือ อาจประทุษ ร้ายต่อ ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของท่าน ดังนั้น เมื่อรู้ว่า ถูกติดตาม จึงควรป้องกัน โดยพยายาม ขับรถ เข้าไปใน เขตชุมชน ขอความ ช่วยเหลือ และแจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจ ที่ใกล้ที่สุด โดยด่วน
510. จดจำตำหนิรูปพรรณ ท่านควรจดจำ ข้อมูล รายละเอียด เกี่ยวกับรถของท่าน ไว้ให้มากที่สุด โดยเฉพาะ ตำหนิ รูปพรรณ พิเศษอื่นๆ โดยถ่าย เอกสาร ทะเบียนรถ เก็บไว้ รวมทั้ง ถ่ายรูปรถ ของท่าน ให้ปรากฏรอยตำหนิ พิเศษ เก็บรักษา ไว้เป็น หลักฐาน กรณีรถหาย จะได้นำมาแจ้ง ให้ตำรวจ ตรวจสอบ สกัดจับ ได้อย่างรวดเร็ว ทันการณ์ หากรถ ของท่าน ยังไม่มีตำหนิ ควรทำขึ้นไว้ใน จุดที่ผู้อื่น ไม่สามารถ สังเกตเห็น และจดจำ ไว้ให้แม่นยำ
511.รถจักรยานยนต์ต้องล็อคล้อ และล่ามโซ่ เนื่องจากมีสถิติ รถจักรยานยนต์ หายมากที่สุด เพราะคนร้าย ขโมยไปได้ง่าย หรือยกขึ้น รถอื่น ได้สะดวก การจอด รถจักรยานยนต์ นอกจากจะ ล็อคกุญแจคอ กุญแจล้อแล้ว ควรล่ามโซ่ ไว้ให้แข็งแรงด้วย และอย่า จอดทิ้งไว้ ในที่เปลี่ยว หรือที่ลับตา
512.ทำไมถึงต้องตรวจสอบให้ดีก่อนเซ็นรับรถ? ทำไมน่ะหรือครับ เพราะเหตุผลว่าถ้าเซ็นชื่อเมื่อไหร่ก็เท่ากับว่าได้รับรถคันนั้นไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลองอ่านเอกสารต่างๆ ที่เค้าเอามาให้เซ็นสิครับ มักจะมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะ แถมตัวหนังสือก็เล็กจนไม่อยากอ่านและจะมีอยู่ข้อความที่หมายความว่า "ลูกค้าได้ตรวจสอบและเป็นที่พอใจกับสินค้าแล้ว" เมื่อลงชื่อไปแล้วก็เท่ากับคุณยอมรับว่าได้ตรวจสอบและพอใจกับสภาพสินค้าหรือรถคันนั้นแล้ว
513. การ รักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดี หัวเทียนหรือหัวฉีดที่สกปรกจะลดประสิทธิภาพน้ำมันได้ถึงร้อยละ 30 และทำให้สมรรถนะของรถยนต์ลดลง
514. ตรวจสอบว่าหัวเทียนสะอาดและเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ หัวเทียนที่สึกหรอหรือหัวเทียนที่มีระยะจุดประกายไม่เหมาะสม จะทำให้มีโอกาสเกิดการจุดประกายไฟที่ไม่สม่ำเสมอมากขึ้น ส่งผลให้อัตราเร่งไม่คงที่และการขับขี่ที่กระตุกกระชากไม่นุ่มนวล
515. ไม่บรรทุกของหนักโดยไม่จำเป็นในกระโปรงรถ น้ำหนักที่เพิ่มเข้ามาในรถจะเพิ่มภาระให้แก่เครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน ส่งผลให้อัตราเร่งช้าลง น้ำหนักเพิ่มที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 45 กก. จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2
516.นำรถยนต์เข้าตรวจเช็คสภาพอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไส้กรองอากาศอยู่ในสภาพดี เนื่องจากความสกปรกที่สะสมอยู่อาจลดอัตราเร่งได้กว่าร้อยละ 10
517. ในการใช้น้ำมันแต่ละลิตร ไส้กรองอากาศจะต้องกรองอากาศถึง 10,000 ลิตร การเปลี่ยนไส้กรองอากาศที่อุดตันจะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึงร้อยละ 10
518. ที่ความเร็ว 110กม./ชม. รถยนต์เผาผลาญน้ำมันมากกว่าการขับขี่ที่ความเร็ว 90กม./ชม. ถึงร้อยละ 25
519. ความลู่ลมของรถยนต์เป็นหนึ่งในการประหยัดน้ำมันเช่นกัน ควรขับขี่รถยนต์โดยเปิดกระจกและเอารางใส่ของบนหลังคาออกเมื่อขับขี่ที่ความเร็วมากกว่า 60 กม./ชม. ยิ่งรูปทรงที่ลู่ลมมากจะช่วยประหยัดน้ำมันได้มากถึงร้อยละ 10
520. ตรวจสอบลมยางอย่างสม่ำเสมอ ลมยางอ่อนทุกๆ 2 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1 และทำให้สึกหรอเพิ่มขึ้น
521. ขับขี่ให้นุ่มนวลที่สุดเท่าที่จะทำได้ การขับขี่แบบกระตุกกระชากทำให้ประหยัดน้ำมันได้น้อยลงถึงร้อยละ 45
522. ล้างและเคลือบเงารถยนต์อย่างสม่ำเสมอ รถยนต์ที่มีความเรียบมากขึ้น ช่วยประหยัดนำมันเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6 ที่ความเร็วบนทางด่วน
523. การขับขี่แบบกระตุกกระชากและการขับเร็ว (เกินกว่า 100 กม./ชม.) จะสิ้นเปลืองน้ำมันและก่อให้เกิดมลพิษมากกว่า การขับขี่แบบกระตุกกระชากทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 10%
524. ผลการสำรวจความคิดเห็นของช่างเครื่องยนต์ชี้ให้เห็นว่า รถยนต์ที่ได้รับการบำรุงรักษาดีจะมีอายุการใช้งานยืนยาวกว่ารถยนต์ที่ไม่ได้รับการดูแลถึง 50 %
525. พยายามลดการใช้เครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่มีโอกาส เช่นช่วงเวลากลางคืนควรเปิดแอร์เบาๆ
526. อย่า"ย้ำ" หรือเหยียบคันเร่งขณะที่ติดเครื่อง เครื่องยนต์รุ่นใหม่ส่วนใหญ่มีเครื่องวัดจุดสตาร์ทเย็นที่ตั้งไว้ล่วงหน้าแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเร่งเครื่อง
527. รักษาลมยางให้อยู่ในระดับที่ผู้ผลิตแนะนำ ลมยางอ่อนจะสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นถึง 3% และทำให้ยางสึกหรอเร็วขึ้น
528..น้ำมันเครื่องคือสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิตที่สำคัญของเครื่องยนต์ จึงต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและไส้กรองอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะก่อนเดินทางไกล
529. ไม่จำเป็นต้องอุ่นเครื่องยนต์นานๆในตอนเช้าก่อนออกรถ แต่การขับอย่างนุ่มนวลคือสิ่งที่สำคัญที่สุด
530. วาล์วไอดีที่สกปรกจะลดสมรรถนะเครื่องยนต์ ที่ความเร็วรอบเครื่องยนต์ 2000 รอบ/นาที วาล์วไอดีในเครื่องยนต์ 4 สูบรุ่นใหม่ ซึ่งมี 4 วาล์วต่อ 1 สูบ จะเปิดและปิด 130 ครั้งต่อนาที
531 รักษาเครื่องยนต์ให้มีสมรรถนะสูงสุด การจุดประกายไฟที่ไม่สม่ำเสมอจะลดประสิทธิภาพน้ำมันเชื้อเพลิง 30% ควรเปลี่ยนไส้กรองตามที่แนะนำไว้ในคู่มือ
532.หัวฉีดน้ำมันที่สกปรกจะลดสมรรถนะเครื่องยนต์ ที่ความเร็วรอบเครื่องยนต์ 2000 รอบ/นาที รถยนต์ 4 สูบจะฉีดน้ำมัน 65 ครั้งต่อนาที
533.ไม่ควรเติมหัวเชื้อใดๆลงในเครื่องยนต์เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรกับเครื่องยนต์เลย สู้คุณเก็บเงินไว้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อยๆ ดีกว่า
534. การติดเครื่องยนต์ครั้งแรกอย่าเหยียบคันเร่งหลังจากเครื่องยนต์ติดแล้วทันที ใจเย็นซักนิด รอให้น้ำมันหล่อลื่นวิ่งพ่านในเครื่องยนต์เสียก่อนและไม่ควรเปิด แอร์ทันที รอให้เครื่องยนต์อยู่ในอุณหภูมิทำงานก่อน (ถ้าจอดรถไว้กลางแจ้งก็เปิดกระจกระบายความร้อน ก่อนก็ได้เดี๋ยวจะเป็นลมไปซะก่อน)
535. .ก่อนดับเครื่องยนต์ควรให้รอบเครื่องเดินเบาที่สุด โดยการปิดแอร์ และห้ามเร่งเครื่อง เพราะการเร่งเครื่อง จะทำให้มีน้ำมันเชื้อเพลิงบางส่วนค้างอยู่ภายในห้องเครื่อง ซึ่งจะเป็นอันตรายกับกระบอกสูบ และแหวน ตอนที่คุณติดเครื่องอีกครั้ง
536.ช่วงการเปลี่ยนเกียร์จากเกียร์เดินหน้าเป็นเกียร์ถอยหลัง ควรรอให้รถหยุดสนิทเสียก่อน แต่สำหรับ ผู้ที่ใช้เกียร์อัตโนมัติเวลาเปลี่ยนเกียร์ เดินหน้าเป็นเกียร์ถอยหลัง ควรเหยียบเบรคให้รถหยุดสนิทก่อน( แต่จะให้แจ๋ว หลังจากรถหยุดสนิทแล้วซัก 2-3 วินาที จึงค่อยเปลี่ยนเกียร์ ทั้งนี้เพื่อรอให้ราวเกียร์หยุดหมุน อย่างสนิทก่อน)
537.ในการขับรถทางไกล ในช่วงประมาณทุก ๆ 2 ชั่วโมงควรมีการหยุดพักรถเสียหน่อย ซัก 5 - 10 นาที เพื่อการระบายความร้อนออกจากห้องเกียร์และเฟืองท้าย ซึ่งเป็นการ คงสภาพให้น้ำมันไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว
538. การปลดเกียร์ว่าง ขณะรถเคลื่อนที่จะเป็นการทำลายระบบเกียร์โดยไม่จำเป็น เพราะ น้ำมันเกียร์จะไม่ถูก สูบฉีดในห้องเกียร์อย่างเต็มที่
539.. ไม่ควรหมุนพวงมาลัยอยู่กับที่โดยไม่จำเป็น ถีงแม้ว่ารถของคุณจะมีพวงมาลัยเพาเวอร์ใช้ เพราะการทำเช่น นั้นจะทำให้ ลูกหมากระบบพวงมาลัย ทำงานหนักโดยไม่จำเป็น
540. รถใหม่ป้ายแดง หรือรถเก่า ถ้าเจอหลุมหรือลูกระนาดอย่าใจร้อนควรชะลอความเร็วลงสักนิด
541.เวลาจอดรถอย่าหักล้อจนสุดด้านใดด้านหนึ่ง และควรหลีกเลี่ยงการจอดรถในพื้นที่ตะแคง
542. ควรตรวจสอบลมยางอย่างสม่ำเสมอให้อยู่ในพิกัด เพราะลมยางอ่อนจะเป็นการทำร้ายยาง ระบบช่วงล่าง ระบบพวงมาลัยได้มากทีเดียว
543.รถยนต์สมัยใหม่ที่มีการใช้ระบบอิเลคทรอนิคส์ ถ้าคุณต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมควรปรึกษากับเจ้าหน้า ที่ประจำศูนย์ที่ขายรถให้คุณสักนิด ไม่เช่นนั้นคุณอาจขับรถป้ายแดงไปจอด เสียอยู่ข้างถนน
544. มาตรวัดบูสต์ (BOOTS METER) มาตรวัดตัวนี้จะเห็นในรถยนต์แทบทุกคันที่มีการติดตั้งเทอร์โบเข้าไป รวมถึงรถยนต์ที่มีเทอร์โบมาจากโรงงานก็อาจจะมีตัวนี้ มาให้ เนื่องจากมันเป็นตัวบ่งบอกสำคัญให้ผู้ขับขี่ทราบว่า มีแรงดันอากาศ หรือแรงบูสต์เข้ามายังเครื่องยนต์มากน้อยเพียงไร
545. มาตรวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ (WATER TEMP METER) สำหรับมาตรวัดความร้อน ตามปกติในรถธรรมดาทั่วไป ก็จะมีติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ขณะที่รถยนต์ซึ่งใช้เครื่องยนต์เทอร์โบและมีการโมดิฟ าย หรือปรับบูสต์ เรื่องปัญหาความร้อนมีความสำคัญมาก เพราะอาจหมายถึงความเสียหายที่เกิดกับเครื่องยนต์ได้
546.มาตรวัดรอบ (TACHO METER) RPM สำหรับมาตรวัดรอบ ก็เหมือนกับมาตรวัดความร้อน คือรถยนต์ส่วนใหญ่จะมีการติดตั้งมาให้จากโรงงานอยู่แ ล้ว แต่สาเหตุที่มีบางคนต้องไปติดเพิ่มอาจจะมาจากเหตุผลต่างกันไป บางคนอาจคิดว่าเป็นอุปกรณ์ตกแต่งสร้างความสวยงาม หรือความเท่ แต่กับบางคนอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นจริง ๆ อย่างรถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายเปลี่ยนไปใช้แคมฯ องศาสูงมาก ๆ จนทำให้สามารถเร่งรอบได้มากกว่าเดิม ซึ่งวัดรอบที่มีติดมากับรถ ไม่สามารถแสดงข้อมูลได้เพียงพอ จึงต้องหาอันใหม่มาติดเข้าไป
547. มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง (OIL TEMP METER) อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง มีความสำคัญมากพอสมควร เพราะถือว่ามีผลกระทบกับเครื่องยนต์โดยตรง หากว่าอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องสูงเกินไป เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
548. มาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสีย (EX. TEMP METER) อุณหภูมิของท่อไอเสีย หลายคนอาจจะมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับประสิทธิภาพ การทำงานของเครื่องยนต์ ทว่าในความเป็นจริงมันมีส่วนที่สัมพันธ์กับแรงดันน้ำ มัน หรือการไหลของอากาศสำหรับรถที่ผ่านการโมดิฟาย นอกจากน้ำมันเครื่องแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญ ก็คือ ปริมาณการจ่ายน้ำมันเบนซิน ซึ่งปริมาณน้ำมันเบนซินจะมากจะน้อย ก็สามารถวัดได้จากมาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสียนี่เอง
549.มาตรวัดแรงดันเชื้อเพลิง (FUEL PRESSURE METER)สำหรับมาตรวัดตัวนี้ใช้เป็นตัวเช็คแรงดันน้ำมันเชื้อ เพลิงว่า ในขณะที่เหยียบคันเร่งแล้วน้ำมันขึ้นมาตามปริมาณที่เราออกแรงกดลงไปบนคันเร่งหรือไม่ สำหรับคนที่ใช้รถแบบปรกติหรือใช้บนถนนทั่วไป มาตรวัดตัวนี้คงจะไม่จำเป็น
550. มาตรวัดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง (A/F METER) มาตรวัดตัวนี้เป็นการเช็คความสมดุลระหว่างอากาศกับน้ ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ A/F คืออัตราส่วนระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง
551. แวคคั่ม มิเตอร์ (VACCUM METER) มาตรวัด VACCUM ตัวนี้ จริง ๆ แล้วมันก็อยู่ในมาตรวัดตัวเดียวกับมาตรวัดอัตราบูสต์ เทอร์โบ มาตรวัดตัวนี้จะตอบสนองกับ อัตราการเหยียบคันเร่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเช็คความสิ้นเปลืองน้ำมันได้เ หมือนกัน
552. A-Arm ตามความหมายก็คือ ส่วนที่เป็นแขนของระบบกันสะเทือนอิสระอย่างหนึ่ ง มีรูปร่างคล้ายตัว "A" ที่มุมทั้งสามสามารถขยับขึ้นลงได้อย่างอิสระ จากจุดหมุนของขาและส่วนปลาย บ้างก็เรียกว่า "ปีกนก" ตามลักษณะการทำงานของมันมีทั้งตัวบนและตัวล่าง ใช้ได้กับกันสะเทือนหน้าและหลัง หากมีปีกนกคู่ก็จะเห็นคำว่า "Double Wishbone" อย่างที่ใช้อยู่ในรถ Honda นั่นเอง
553.ABS (Anti-Lock Brake System) มีใช้อยู่ในรถหลายทั่วๆ ไป เป็นระบบควบคุมการทำงานของเบรก ป้องกันไม่ให้เกิดอาการล็อคของล้อ เมื่อใช้เบรกอย่างรุนแรงหรือกะทันหัน ทำให้สามารถควบคุมรถให้อยู่ในเส้นทางและเกิดความปลอด ภัย การทำงานจะเป็นแบบ "จับ-ปล่อย" สลับกันหลายๆ ครั้ง ซึ่งนอกจากช่วยในการควบคุมรถบนทางตรงแล้ว ยังช่วยให้การเบรกหรือชะลอความเร็วขณะเข้าโค้งมีความ ปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย
554. Active Safety หมายถึงระบบหรืออุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆ ที่มีส่วนช่วยให้การขับขี่เกิดความปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ
555. Airbag ถุงลมนิรภัยที่ช่วยให้หน้าตากับทรวงอกของผู้ขับไม่เกิดอันตรายเมื่อเกิดการชนกระแทกด้านหน้าอย่างรุน แรง ปกติจะติดตั้งซ่อนอยู่ตรงกลางพวงมาลัย และมีใช้สำหรับผู้โดยสารด้วย นอกจากนี้ยังมีถุงลมนิรภัยสำหรับป้องกันด้านข้างติดตั้งในรถบางรุ่นอีกด้วย
556. Balance Shafts บางคนเรียกว่า "เพลาถ่วงดุล" ซึ่งมันก็คือชาฟท์พิเศษที่ช่วยลดอาการสั่นกระพือของ เครื่องยนต์ให้น้อยลง มีติดตั้งอยู่ในเครื่องยนต์ของรถหลายยี่ห้อ
557. Bead เป็นส่วนของยางรถที่สัมผัสกับขอบล้อ สำคัญมากกับยางประเภท "Tubeless" เพราะจะเป็นตัวทำหน้าที่เสมือน "ซีล" ป้องกันการรั่วไหลของแรงดันลมภายในไม่ให้เล็ดลอดออกม า
558. Blow-Off Valve อันนี้เป็นของเล่นสำหรับเครื่องยนต์เทอร์โบ เป็นวาล์วทางเดียวที่ทำหน้าที่ระบายแรงดันอากาศเมื่อ สูงกว่ากำหนด ออกไปภายนอก ทำหน้าที่คล้ายๆ กับ Wastegate ที่ระบายแรงดันไอเสียที่เกินความต้องการนั่นแหล ะ
559. Boost บูสท์หรือความดันบรรยากาศเสริมอัดเข้าสู่เครื่องยนต์ เทอร์โบหรือซุปเปอร์ชาร์จ สำหรับพวกรักความแรงทั้งหลาย
560. B-Post หรือ B-Pillar หมายถึงโครงเสากลางของรถนั่นเอง เอาไว้รองรับน้ำหนักหลังคาส่วนกลาง เพื่อความแข็งแรงในรถทั่วไป แต่สำหรับ รถฮาร์ดท็อปแล้วจะไม่มีเสากลางตัวนี้
561. Boxer คือเครื่องยนต์ที่มีลักษณะแบบ "Flat" หรือนอนยัน ลูกสูบจะขยับด้านข้างจากซ้ายไปขวา ซึ่งมีจุดศูนย์ถ่วงต่ำ และมีพลังดุเดือด ช่วยให้รถเกาะถนนได้ดีอีกด้วย
562. Brakerless Ignition หมายถึง "จานจ่าย" หรือระบบจุดระเบิดของรถยนต์ที่ไม่ใช้ทองขาว เป็นระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพราะไม่วุ่นวายต่อการบำรุงรักษา ใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวควบคุม
563. Camshaft "เพลาลูกเบี้ยว" ที่ไม่ต้องการคำอธิบายมาก ในแคมหนึ่งแท่งจะมีลูกเบี้ยวติดกันอยู่หลายอัน สำหรับเป็นตัวกำหนดเวลาการเปิด-ปิดวาล์วไอดีและไอเสีย
564. Caster เป็นมุมที่วัดจากแกนบังคับเลี้ยว (หรือแนวของแกนสตรัท) กับแนวดิ่ง ปกติมักจะตั้งให้แคสเตอร์เป็นค่า + เพราะเมื่อแกนบังคับเลี้ยว (สตรัท) เอียงไปทางด้านหลังจะช่วยให้ทรงตัวดีขึ้น ล้อจะพยายามตรงไปข้างหน้าเสมอ สังเกตจากเวลาเลี้ยว ล้อจะหมุนกลับมาอยู่แนวตรงได้เอง
565. Cat หรือ Catcon หรือ Catalytic Converter "ระบบกรองไอเสีย" เพื่อลดปริมาณของมลพิษที่คายออกมาพร้อมกับไอเสียของร ถยนต์ หน้าตาคล้ายหม้อพักไอเสีย ภายในมีตัวกรองลักษณะคล้ายรังผึ้ง ส่วนมากทำมาจากเซรามิก มีให้ดูใต้ท้องรถรุ่นใหม่ๆ แทบทุกคัน
566. Direct Injection ชื่อนี้คุ้นหูกับพวกรถกะบะมากกว่า แต่เดี๋ยวนี้รถยนต์ก็มีการคิดค้นพัฒนามาใช้เหมือนกัน ความหมายคือ เป็นระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีด หากแต่เป็นการฉีดจ่ายน้ำมันเข้าไปในห้องเผาไหม้ในกระ บอกสูบโดยตรงเลย
567. DOHC (Doble Over Head Camshafts) เรียกกันติดปากว่า "ทวินแคม" ใช้เพลาลูกเบี้ยวสองตัวแยกกันทำหน้าที่เปิดปิดว าล์ว โดยตัวหนึ่งจะเป็นฝั่งไอดี อีกตัวหนึ่งเป็นฝั่งไอเสีย
568. Damper ไม่ค่อยเรียกกันในหมู่ช่าง แต่จะคุ้นหูมากกว่าหากจะเรียกว่า โช๊คอัพ เป็นตัวหน่วงช่วยลดการเต้นของสปริง มีหลายแบบ หลายขนาด หลายราคา แล้วแต่จะเลือกใช้
569. DIN หน่วยวัดกำลังของเครื่องยนต์เป็นแรงม้า มาตรฐานของเยอรมัน ย่อมาจาก Deutsche Industrie Norman หรือ German Industrail Standards ทำการวัดกำลังเครื่องยนต์โดยติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ครบถ้วนตามปกติของการใช้งาน
570. Dry Sump อ่างน้ำมันเครื่องแบบแห้ง ใช้ในรถแข่งเป็นส่วนใหญ่ เพราะไม่มีปัญหาต่อการเร่ง เบรก สาดโค้ง ซึ่งอ่างน้ำมันทั่วไปอาจส่งน้ำมันไปหล่อเลี้ยงหล่อลื ่นเครื่องยนต์ไม่ทันหรือขาดช่วง ระบบนี้ใช้ภาชนะบรรจุน้ำมันเครื่องจากภายนอกและมีปั๊ มดูดไปเลี้ยงเครื่องยนต์อีกต่อหนึ่ง มีผลทำให้วางเครื่องยนต์ไว้ต่ำกว่าปกติได้
571. ECU (Electronic Control Unit) ชุดควบคุมอิเลกทรอนิกส์ พบได้ในรถที่ใช้เครื่องยนต์หัวฉีดเป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลที่ส่งมาจากเซนเซอร์ตามจุดต่างๆ แล้วส่งคำสั่งไปตามวงจรให้ระบบต่างๆ ทำงานเหมาะสมกับข้อมูลนั้นๆ อย่างเที่ยงตรงแม่นยำ
572. ECT (Electronic Controlled Transmission) ระบบการทำงานของเกียร์อัตโนมัติที่ควบคุมด้วยอิเลกทรอนิกส์
573. Engine Brake หมายถึงการเบรกชะลอความเร็วของรถ โดยใช้กำลังฉุดหน่วงของเครื่องยนต์กระทำแทนการเหยียบ เบรกโดยตรง เทคนิคนี้มาจากการ "เชนจ์เกียร์ลงต่ำ" แต่อย่าทำข้ามจังหวะ ประเภทมาเกียร์ห้าแล้วกระชากลงเกียร์หนึ่ง แบบนี้เกียร์กระจายลูกเดียว
574. Fastback เป็นลักษณะของรถยนต์ประเภทหนึ่ง ที่มีหลังคาลาดเอียงไปยังด้านท้าย โดยสามารถเปิดยกฝากระโปรงส่วนหลังในแนวเทลาดนี้ได้ทั้งบาน เบาะหลังมักจะออกแบบให้พับเก็บได้ เพื่อเพิ่มเนื้อที่ในการบรรทุก เรียกได้อีกอย่างว่า แฮทช์แบค ลิฟท์แบค หรือสวิงแบค
575. Final Drive Ratio หรืออัตราทดเฟืองท้าย หาค่าได้ง่ายๆ โดยการชำแหละกระเปาะเฟืองท้ายออกแล้วนั่งนับฟันของเฟืองเพลากลาง (ตัวเล็ก) กับฟันของเฟืองเพลาท้าย (วงใหญ่) แล้วเอาค่าทั้งสองมาหารกัน หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เดือยหมูกับบายศรี" นั่นแหละ
576. GT คำย่อลักษณะรถประเภท Grand Touring ซึ่งเหมาะที่จะขับด้วยความเร็วสูงเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน
577. Inter Cooler หน้าตาคล้ายกับหม้อน้ำรถ แต่ใช้ระบายความร้อนหรือลดอุณหภูมิของอากาศ ภายใต้ความดันหลังจากถูกอัดมาจากเทอร์โบก่อนเข้าห้อง เผาไหม้ มีสองแบบคือ ระบายความร้อนด้วยอากาศ หรือระบายความร้อนด้วยน้ำ
578. LSD (Limited-Slip-Differential) เป็นอุปกรณ์ที่ใส่เสริมเข้าไปในเฟืองท้าย โดยจะมีคลัทช์สำหรับจับล็อคเพลาขับทั้งสองข้าง เพื่อให้ล้อเกิดแรงขับเคลื่อนตลอดเวลา มีประโยชน์มากสำหรับรถประเภทขาลุยวิบาก
579. Muffer ชุดหม้อพักปลายท่อไอเสีย เดี๋ยวนี้มีของแต่งที่สามารถให้ผลทางเพิ่มกำลัง ม้า โดยมีเสียงไม่ดังเกินไปออกมาขายกันหลายยี่ห้อ
580. MPV (Muti Purpose Vehicle) เป็นคำย่อที่ใช้แทนความหมายของยานยนต์อเนกประสงค์ที่ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
581. Muti-Valve เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็ใช้แต่เครื่องยนต์แบบนี้กันทั้งนั้น หมายถึงเครื่องยนต์ที่มีวาล์วมากกว่าสองตัวต่อหนึ่งสูบ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง 12 วาล์ว 16 วาล์ว จนถึง 24 วาล์ว ก็ล้วนแต่อยู่ในข่ายด้วยกันทั้งสิ้น
582. N (Neutral) ตัวย่อของตำแหน่งเกียร์ว่างในระบบเกียร์อัตโนมั ติ ที่ไม่มีการถ่ายทอดกำลังนั่นเอง
583. Oil Cooler ใช้เป็นตัวระบายความร้อนของน้ำมันหล่อลื่นคล้ายหม้อน้ำนั่นแหละ ยังมีที่ใช้สำหรับระบายความร้อนน้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้ายที่นิยมใช้ในรถแข่งอีกด้วย
584. Overhaul เจอคำนี้เมื่อไหร่ก็กระเป๋าแห้งทันที หมายถึง "การยกเครื่อง" แต่ไม่ได้เอาไปทิ้ง เขาเอาไปปรับปรุงสภาพให้กลับมามีความสมบูรณ์ใหม่อีกค รั้ง ซึ่งถือว่าเป็นการซ่อมใหญ่
585. Oversquare เป็นคำที่ใช้เรียกเครื่องยนต์ ที่มีขนาดของกระบอกสูบโตกว่าระยะช่วงชักของลูกสูบ
586. Oversteer คืออาการ "แหกโค้ง" นั่นเอง เกิดเพราะมุมลื่นไถลของล้อหลังมากกว่าล้อหน้า ในทางตรงข้ามจะเป็น Understeer หรืออาการ "หน้าดื้อโค้ง" เลี้ยวไม่เข้า อันนี้เป็นอาการของรถขับล้อหน้าเขาล่ะ
587. Passive Safety อันนี้เป็นระบบความปลอดภัยที่เตรียมไว้ช่วยบรรเทายาม เกิดอุบัติเหตุ ผ่อนเหนักเป็นเบา เช่น การออกแบบโครงสร้างนิรภัยของรถ ถุงลมนิรภัย ฯลฯ
588. Roll Cage โครงเหล็กเสริมป้องกันห้องโดยสารและตัวรถ ใช้ในรถแข่งที่เห็นเชื่อมติดกันเป็นโครงเต็มไปหมด ส่วน Rollbar ก็รวมอยู่ในหัวข้อนี้ด้วยเหมือนกัน
589. Sub Frame เป็นเฟรมที่ติดตั้งเข้าไปกับเฟรมหลักของรถยนต์ สามารถใช้รับห้องเครื่อง เกียร์ และช่วงล่างได้ แทนที่จะติดตั้งกับตัวถังโดยตรง ช่วยลดเสียงและการสั่นสะเทือนได้ดีอีกด้วย
590. ULP น้ำมันไร้สารตะกั่ว หรือ อัน-ลีด นั่นเอง ย่อมาจาก Unleaded Petrol ความหมายเดียวกับ Lead Free ที่อื่นเข้าใช้กันมาเป็นสิบๆ ปี แต่บ้านเราเพิ่งจะตื่นตัว
591. Variable Intake เป็นลักษณะการออกแบบทางเดินในช่องไอดี ให้มีขนาดความยาวต่างกัน โดยมีลิ้นเปิดปิดการทำงานที่สัมพันธ์กับรอบเครื่อง มีสูตรอยู่ว่ารอบต่ำทางยาว รอบสูงทางสั้น
592. Intercooler อุปกรณ์ชิ้นนี้จะต้องมีควบคู่กับเครื่องยนต์ที่มีเทอร์โบ หน้าที่ของมันคือช่วยลดอุณหภูมิของอากาศ เปรียบง่ายๆ ก็เหมือนกับ "หม้อน้ำ" ของรถยนต์มีหน้าที่ลดอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นนั่นเอง ถ้าไม่มีเจ้า Intercooler หากอุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้นทุกๆ 10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของไอเสียจะสูงขึ้นเป็น 3 เท่า ผลคือเครื่องยนต์จะร้อนจัด สมรรถนะก็ได้ไม่เต็มที่ เจ้าอุปกรณ์ทั้งสองชิ้นนี้ควรจะทำงานร่วมกัน ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป เครื่องยนต์ก็จะไม่สามารถทำงานได้สมบูรณ์นัก
593.Blow off valve เจ้าตัวนี้คือวาล์วนิรภัย (Emergency relief valve) ก็ว่าได้ ช่วงจังหวะที่ต้องเปลี่ยนเกียร์เราต้องถอดคันเร่งก่อ น แล้วจึงเหยียบคลัตช์เพื่อเปลี่ยนเกียร์ ในจังหวะนี้ "ลิ้นเร่ง" หรือ "ลิ้นปีกผีเสื้อ" จะปิดอย่างรวดเร็วอากาศที่มีแรงดันสูงก็จะมาชนกับลิ้ นตัวนี้ทำให้เกิดแรงดันย้อนกลับ กรณีที่แรงดันสูงมากๆ อาจจะทำให้เทอร์โบเสียหายได้ การป้องกันก็คือการระบายแรงดันภายในท่อออกไปสู่ภายนอ ก เมื่อแรงดันสูงขึ้นอย่างฉับพลัน มันจะชนะแรงดันของสปริง ทำให้วาลว์หรือลิ้นนิรภัยตัวนี้เปิดออก แรงดันในท่อร่วมก็จะถูกระบายทิ้ง
594. Wastegate อุปกรณ์ชิ้นนี้เรียกง่ายๆ ก็คือตัวควบคุมประตูไอเสีย (ด้าน Turbine) คอยคุมไม่ให้แรงดันในท่อร่วมไอดีสูงเกินกำหนด ตัวมันเองจะมีลักษณะเป็นกระเปาะกลม ภายในมีแผ่นไดอะแฟรมและสปริงขดอยู่ เมื่อแรงดันในท่อร่วมไอดีสูงเกินกำหนด เช่น 10 ปอนด์/ตารางนิ้ว แรงดันในท่อร่วมจะชนะแรงดันของสปริง มันจะดันให้แผ่นไดอะแฟรมยุบตัว ก็จะทำให้กลไกของประตูไอเสียเปิดออกทันที แรงดันในด้าน Turbine ก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้แรงดันในท่อร่วมไอดีลดลงทันทีด้วย
595. Limited Slip Differential บางคนเรียกกันสั้นๆว่า เต็ด หรือชื่อย่อๆคือ LSD เจ้าเฟืองท้ายแบบนี้ได้รับการพัฒนามาจาก Differential แบบธรรมดาเพื่อป้องกันล้อหมุนฟรีในขณะรถติดหลุ่มแ เจ้ากลไกในตัว LSD จะทำหน้าที่ล็อคล้อที่หมุนฟรีให้หมุนตามนิยมในพวกรถแ บบ 4WD และในรถแข่งที่ต้องอาศัยการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไป ยังล้อทั้ง 2 ด้านให้ใกล้เคียงกัน ภายในมักจะมีส่วนประกอบคล้ายกับเฟืองขับแบบธรรมดา แต่จะเพิ่มชุดฟันเฟืองพิเศษ ชุดสปริงกด และชุดครัชแบบเปียกที่จะคอยรับแรงกดจากจานกดที่เกิดจ ากแรงบิดจากเครื่องยนต์ และการทำงานของชุดกลไกภายในของ LSD มากดให้จานกดและครัชให้จับตัวกัน ยิ่งมีแรงบิดมากก็จะมีแรงกดมาก เปอร์เซ็นต์การจับตัวก็จะมาก แรงบิดน้อยแรงกดน้อยเปอร์เซ็นต์การจับตัวก็จะน้อยลง แรงกดนี้จะมีฟันเฟืองต่อไปยังเพลาขับเพื่อไปขับล้อแล ะยางให้หมุนตามกัน
596.. กำลังสูงสุด (Maximum Power) หมายถึง กำลังงานสูงสุดที่เครื่องยนต์สามารถผลิตออกมาได้ หน่วยที่เป็นมาตรฐาน คือ kW (กิโลวัตต์) แต่หน่วยที่ผู้ผลิตรถยนต์หลายยี่ห้อนิยมใช้คือ "PS" เป็นภาษาเยอรมัน ในภาษาอังกฤษ หมายถึง Horsepower นั่นเอง) ซึ่ง 1kW = 0.7355 PS
597. แรงบิดสูงสุด (Maximum Torque) หมายถึง ความสามารถของเครื่องยนต์ที่จะนำกำลังจากการจุดระเบิด มา สร้างแรงเพื่อหมุนเพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) หน่วยของแรงบิด คือ N-m (นิวตัน-เมตร) และ kg-m (กิโลกรัม-เมตร) โดย 1 N-m = 9.80665 kg-m
598 มาตรวัดความเร็ว และระยะทางซึ่งจะบอกอัตราความเร็วของรถที่เราเหยียบคันเร่งน้ำมันอยู่ในรถทั่วๆไป สัญญาณจากห้องเกียร์ หรือเฟืองท้ายจะถูกส่งไปยังมาตรวัด หรือผ่านสายไมล์ สิ่งที่จะบอกถึงความถูกต้องแม่นยำของรถแต่ละคันก็ ขึ้นอยู่กับขนาดเส้นรอบวงของยางรถแต่ละคัน แต่ถ้าคุณเปลี่ยนยางให้ล้อเล็กลง (เส้นรอบวง) เล็กกว่าเดิมจะทำให้ค่าความเร็วที่ออกมาสูงกว่าความเป็นจริง และในทางตรงกันข้ามถ้าคุณใส่ยางที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม ค่าความเร็วที่วัดออกมาจะต่ำกว่าความเป็นจริงได้ ส่วนตัวเลขที่มีอยู่ในช่องตรงกลางหน้าปัดจะเป็นตัวบอกให้ทราบว่าขับรถมาเป็นระยะทางกี่กิโลเมตรแล้ว เวลาคุณไปเที่ยวไหนต่อไหน คุณก็สามารถเซตศูนย์ตัวเลขได้ในช่องเล็กที่ว่านี้ โดยไม่ต้องมานั่งบวกลบให้มันยุ่ง
599. ส่วนมาตรวัดที่อยู่ใกล้กันอีก มาตรวัดรอบเครื่องยนต์ ออกมาเป็นรอบต่อนาที เพื่อให้ผู้ใช้รถได้ทราบถึงความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หรือเพื่ออำนวยความสะดวกในการขับรถให้เป็นไปตามข้อกำหนดของบริษัทรถแต่ละยี่ห้ออ่านโดยดูเลขตรงที่เข็มชี้คูณด้วย 1,000 ก็จะเท่ากับจำนวนรอบของเครื่องยนต์ที่หมุนต่อนาที ประโยชน์ของมาตรวัดรอบช่วยให้ผู้ขับได้ทราบถึงความเร็วรอบที่แท้จริงของเครื่องยนต์ ผู้ขับจะได้ไม่ใช่ความเร็วรอบเครื่องเกินกว่าที่กำหนด ซึ่งจะแสดงในรูปขีดแดงบนมาตรวัดการใช้ความเร็วรอบสูงๆ นอกจากจะทำให้รอบเครื่องยนต์เสียหายสึกหรอมากแล้ว ยังทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงอีกด้วย
600. อันต่อไปที่คุ้นเคยกันก็คือมาตรวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิง อันนี้ส่วนใหญ่คงเข้าใจกันดี F หมายถึง Full ก็คือน้ำมันเต็ม E หมายถึง Empty ก็คือไม่มีน้ำมัน
ขอบคุณมากเลยคับ ดีมากๆๆ
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบ