เส้นใยอาหาร คือสารจากพืชผัก ผลไม้ที่เรากินเข้าไปแล้ว น้ำย่อยไม่สามารถย่อยได้ มีคุณสมบัติ สฃคือ สามารถอมน้ำและพองตัวขึ้นกว่าเดิมได้ถึง 4-5 เท่า ทำให้รู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น กินอาหารได้น้อยลง เส้นใยอาหาร จะทำหน้าที่ ดูดไขมัน น้ำตาล สารพิษ สารก่อมะเร็ง และขับออกนอกร่างกาย
เส้นใยอาหารแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. เส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ เป็นโครงสร้างของพืชที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน พบมากในอาหารประเภทธัญพืช เช่น เมล็ดถั่วต่างๆ ถั่วเหลือง ลูกเดือย ถั่วเหลือง ถั่วแดงหลวง ถั่วดำ ถั่วลิสง งา และรำข้าว เป็นต้น
ประโยชน์ ช่วยในการป้องกันมะเร็ง ป้องกันท้องผูก และทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น
2. เส้นใยอาหารที่ละลายน้ำ มักจะปนอยู่กับส่วนที่เป็นแป้งในพืช ได้แก่ เปกติน กัม มิวซิเลจ มีลักษณะเป็นวุ้น ซึ่งจะซับเอาไขมัน น้ำตาลและแบคทีเรีย ขับออกนอกร่างกาย ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลและไขมันเข้าในกระแสเลือดได้น้อย พบมากในอาหารจำพวกผักและผลไม้
ประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเลือด ลดคอเลสเตอรอล และ สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดี ลดน้ำตาลในเลือดของคนที่เป็นโรคเบาหวานได้
ปริมาณเส้นใยอาหารในอาหารต่างๆ
1.อาหารที่มีสารเส้นใยสูง มีสารเส้นใยตั้งแต่ 19-28 กรัม ต่ออาหาร 100 กรัม ได้แก่ เมล็ดถั่วต่างๆ เมล็ดธัญพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วดำ ถั่วแดงหลวง งา ข้าวกล้อง รำข้าว
2. อาหารที่มีสารเส้นใยปานกลาง มีสารเส้นใยตั้งแต่ 4-19 กรัม ต่ออาหาร 100 กรัม ได้แก่ หัวปลี แครอท มะเขือพวง สะเดา ใบชะพลู ละมุด ฝรั่ง มะม่วงดิบ เป็นต้น
3. อาหารที่มีสารเส้นใยต่ำ มีสารเส้นในน้อยกว่า 4 กรัม ต่ออาหาร 100 กรัม ได้แก่ ผักและผลไม้ ต่างๆ เช่น ผัก แตงโม สับปะรด เป็นต้น
อาหารจำพวก เมล็ดธัญพืช และถั่ว จะมีเส้สนใยอาหารสูงสุด ส่วนผักและผลไม้ มีเส้นใยอาหารน้อยกว่า โดยเฉพาะผลไม้ที่มีน้ำมาก ก็จะยิ่งมีเส้นใยอาหารน้อยลงด้วย
การกินอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ในระยะแรกจะรู้สึกมีลมในท้องมาก แต่จะเป็นอยู่ไม่กี่วันอาการต่างๆก็จะหายไปเอง และควรกินสารเส้นใยในรูปของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่นข้าวกล้อง และควรกินในรูปของอาหารธรรมชาติ
สำหรับการกินสารเส้นใยในรูปเม็ดหรือแคปซูล ที่มีวางจำหน่ายโดยทั่วไปนั้น จะทำให้ร่างกายได้รับแต่เพียงสารเส้นใยแต่เพียงอย่างเดียว โดยจะไม่ได้รับวิตามินและเกลือแร่อื่นๆที่จำเป็นต่อร่างกาย และที่สำคัญการกินอาหารเส้นใยอัดเม็ด ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น