ยุคสมัยนี้ ใครๆ ก็ไม่อยากอ้วนด้วยกันทั้งนั้น เพราะความอ้วนนอกจากจะทำให้ดูน่าอีดอัด หาเสื้อผ้าที่ใส่แล้วดูดีได้ยากแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นของโรคภัยหลายๆ อย่างอีกด้วย แต่การที่จะดูแลตัวเองไม่ให้อ้วน สำหรับหลายๆคนก็เป็นเรื่องที่ยากพอสมควร พวกเรามาดูความเคยชินในการใช้ชีวิตประจำวัน ที่มีผลทำให้น้ำหนักตัวของพวกเราเพิ่มขึ้นได้
1. การดูโทรทัศน์เป็นเวลานานๆ ผลการสำรวจปรากฎว่า ผู้ที่ดูโทรทัศน์ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป จะมีโอกาสอ้วนมากกว่า ผู้ที่ดูโทรทัศน์ประมาณวันละครึ่งชั่วโมง ในขณะดูโทรทัศน์ เราจะอยู่หน้าจอโดยไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว ทำให้การเต้นของหัวใจ การสูบฉีดโลหิต และระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง ทำให้ร่างกายใช้ Calories น้อยลงไปชั่วโมงละ 20-30 Calories การสำรวจของมหาวิทยาลัย Harvard พบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการดูโทรทัศน์กับ ปริมาณการรับประทานอาหารของเด็ก
2. การรับประทานอาหารเร็วเกินไป ทุกวันนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองจะเคยชินกับ การรับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพสังคมที่เป็นไปอย่างฉุกละหุก การรับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว จะทำให้เรารับประทานอาหารมากเกินไปกว่าจะรู้สึกอิ่ม เนื่องจากสมองของเราจะเริ่มส่งสัญญานความอิ่มหลังจาก การรับประทานอาหารไปแล้วประมาณ 15-20 นาทีขึ้นไป นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการรับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว เป็นความเสี่ยงให้เกิดอาการ metabolic syndrome (การผสมผสานของปัญหาน้ำหนักตัวมากกว่าปกติกับปัญหาความดันโลหิตสูง เบาหวานและไขมันในเส้นเลือดสูง)
3. การรับประทานจุกจิกระหว่างการทำงาน ถ้าพวกเราเป็นคนที่ชอบทานอาหารหรือของขบเคี้ยวสาระพัดอย่าง ระหว่างการทำงานที่โต๊ะทำงานหรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ และรวมไปถึงระหว่างการขับรถ ดูTV ทำครัว พูดคุยโทรศัพท์ หรือแม้แต่ระหว่างการจับจ่ายซื้อสินค้า รับรองได้ว่าอีกไม่นาน เราต้องเผชิญกับปัญหาน้ำหนักตัวอย่างแน่นอน
4. การรับประทานอาหารจานด่วนบ่อยๆ เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ในสังคมเมือง ทำให้หลายๆ คนไม่มีเวลาทำอาหารมื้อเย็น ที่มีอาหารครบหมวดหมู่รับประทานเองที่บ้าน จึงต้องพึ่งพาอาหารจานด่วน (และน่าจะรวมไปถึงกับข้าวถุงด้วย) อาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเน้นไขมัน แป้ง และมีรสเค็ม และไม่ค่อยมีไฟเบอร์ ทำให้ผู้รับประทานมีโอกาสอ้วนได้ง่ายขึ้น
5. การอาศัยการรับประทานเป็นเครื่องมือในการควบคุมอารมณ์ หลายๆครั้งที่พวกเรารับประทานอาหารทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาและไม่ได้หิว แต่เรากลับรับประทานเมื่อกิดความเครียดหรือความเหงา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า 75% ของการรับประทานอาหารมากเกินไป มีสาเหตุมาจากเรื่องอารมณ์ สังเกตุง่ายๆ บางครั้งเวลาเราเกิดเครียดหรือเหงาขึ้นมา เรากลับหยิบเอาของขบเคี้ยวขึ้นมาเคี้ยวดับความเครียด บางคนก็สั่งพิซซ่าชิ้นใหญ่มากินแก้เซ้งก็มี
6. ไม่ให้เวลาสำหรับการออกกำลังกาย การออกกำลังกายมักจะเป็นลำดับท้ายๆ ในตารางเวลาของเรา ทั้งๆที่พวกเราล้วนแต่รู้ว่าการออกกำลังกาย คือเครื่องมือที่ดีที่สุดในการควบคุมน้ำหนักตัว แต่คนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาเรื่องความอ้วน กลับละเลยเรื่องการออกำลังกาย
7. เพื่อนและสังคม ถ้าพวกเราเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ลองมองไปรอบๆ ตัวของพวกเรา เพราะจากผลการสำรวจที่ได้รับการพิมพ์ใน New England Jounal of Mecicine เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2007 บอกว่า การศึกษาจากประชาชน 12,000 คน ที่มีอายุมากกว่า 32ปี ได้ผลสรุปว่าการที่เรามีเพื่อน ญาติพี่น้อง หรือคู่สมรสที่มีปัญหาเรื่องอ้วน จะเพิ่มความเสียงในเรื่องอ้วนขึ้นกับตัวเราประมาณ 37 ถึง 57%
8. การพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ ผลการศึกษาของ University of Bristol ประเทศอังกฤษ พบว่าทุกๆ ชั่วโมงที่เรานอนหลับพักผ่อนน้อยกว่า 8 ชั่วโมง จะเชื่อมโยงกับการเพิ่มขี้นของไขมันในร่างกายเกือบ 3% เนื่องจากการอดนอนจะเพิ่ม Ghrelin ซึ่งกระตุ้นความอยากอาหาร และไปลด Leptin ซึ่งเป็นตัวหยุดความต้องการรับประทานอาหาร
9. การขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่อง Calories และเรื่องของไขมัน คนส่วนมากจะรับประทานอาหาร โดยไม่ทราบว่ามีปริมาณไขมันและจำนวน Calories เท่าไรในอาหารที่รับประทานลงไป ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มของน้ำหนักตัว เพราะเราอาจจะรับประทานอาหารเกินความต้องการไปถึง 2 เท่าในแต่ละมื้อ โดยไม่รู้ตัว
10. การใช้บัตรเครดิตก็ทำให้อ้วนได้ Visa ได้ทำการศึกษาใบเสร็จชำระค่าอาหารจำนวน 100,000 ใบจากร้านขายอาหารจานด่วน และพบว่า ผู้ที่ชำระเงินค่าอาหารด้วยบัตรเครดิต จะสั่งซื้ออาหารมากกว่าผู้ที่ชำระด้วยเงินสดประมาณ 30% เมื่อคำนวณด้วยอัตราเฉลี่ยพบว่า การรับประทานอาหารที่ภัตตาคารอาหารจานด่วน และชำระเงินด้วยบัตรเครดิต จะเป็นการเพิ่มจำนวน Calories ให้กับร่างกายปีละ 17,160 Calories หรือประมาณ 4.9 ปอนด์ (2.2 กิโลกรัม)
11. การงดอาหารมือเช้า จากการสำรวจพบว่าผู้ที่รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวมากเกินไป เมื่อเทียบกับคนที่ไม่รับประทานอาหารเช้า และผู้ที่ควบคุมน้ำหนักจะประสบความสำเร็จมากขึ้น เมื่อรับประทานอาหารมื้อเช้าเป็นประจำ
12. เสื้อผ้าก็มีผลกับน้ำหนักตัว การสำรวจของ University of Wisconsin, La Crosse พบว่าการใส่เสื้อผ้าแบบสบายๆ จะเพิ่มการเคลื่อนไหวของร่างกาย และยังพบอีกว่าการใส่เสื้อผ้าแบบสบายตัวจะเพิ่มจำนวนการก้าวขาถึง 8% หรือ 491 ก้าวต่อวัน เมื่อเทียบกับการใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือเป็นทางการเกินไป การเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มการเผาผลาญ Calories วันละ 25 Calories คิดแล้วมากกว่า 6,500 Calories ต่อไป
13. หมั่นชั่งน้ำหนักช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ผลการศึกษาของ University of Minnesota พบว่าผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนักตัว ที่จดสถิติชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน สามารถลดน้ำหนักได้ 12 ปอนด์ เมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ชั่งน้ำหนักตัวเป็นประจำ กลับลดได้เพียง 4 ปอนด์เท่านั้น
14. ความเบื่อหน่ายก็เพิ่มน้ำหนักตัวได้ จากการศึกษาโดย Priory Group ในสหราชอาณาจักร พบว่าเมื่อเปรียบเทียบความเบื่อกับความเครียดแล้ว ประชาชนทั่วๆ ไป จะรับประทานอาหารเวลาเกิดความเบื่อหน่าย มากกว่าเวลาเกิดความเครียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น