การประกาศผลการสมัคร Admission ใกล้เข้าทุกทีแล้วนะคะ คงมีคนบางกลุ่มได้ร้องเฮ บางคนอาจร้องโฮ เพราะมีทั้งกลุ่มนักเรียนที่สมหวังส่วนกลุ่มหลังนั้นเป็นอารมณ์ที่เกิดจากการผิดหวัง แต่การที่เราไม่สามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยชื่อดังเก่าแก่เหมือนกับคนอื่น ๆ เขานั้น
ปัจจุบันพบว่ายังไม่มีสถาบันที่น่าเชื่อถือใด ๆ ของโลกได้รับรอง หรือการันตีว่าคนที่สอบไม่ได้จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตเสียเมื่อไร และวันนี้เราก็ได้รวบรวม 20 คำถาม-คำตอบ สำหรับน้องใหม่หน้าใสที่ขี้สงสัยทุกๆคนค่ะ ลองอ่านดูนะคะเผื่อจะได้แนวความคิดอะไรดีๆ ในการเตรียมก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยอย่างเต็มภาคภูมิบ้าง
1. หลังจากทุกสถาบันในประเทศไทยประกาศผลสอบหมดแล้ว ยังสมัครเรียนในต่างประเทศทันหรือเปล่าโดยปรกติมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่มี 2 ภาคเรียน โดยจะเริ่มต้นในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน จนถึงพฤษภาคมหรือมิถุนายน ทางสถาบันจะเปิดรับนักศึกษาในช่วงเดือนกันยายน แต่ก่อนหน้านั้น นักเรียนควรเตรียมความรู้ด้านภาษาอังกฤษก่อน ควรมีคะแนน TOEFL หรือIELTS ในบางสถาบันจะมีหลายภาคเรียน อาจเป็น 3 หรือ 4 ภาคเรียน ซึ่งเวลาเปิดรับสมัครจะต่างกัน จึงควรหาข้อมูลของแต่ละสถาบัน และประเทศที่ตนเองสนใจ ฉะนั้นจะทันหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสถาบันที่เราต้องการเรียน และความพร้อมของเราด้วย
2. ชอบกีฬามาก แต่ก็อยากมีความรู้ด้านอื่นเพื่อเป็นทางเลือก ควรเลือกเรียนเกี่ยวกับอะไรดี จริง ๆ ก็ควรดูว่า เรามีความถนัดอะไรบ้างนอกเหนือจากเล่นกีฬา แต่สาขาที่เกี่ยวกับกีฬามากที่สุดก็คงเป็นวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับกีฬาหลายชนิด เมื่อจบมาแล้วสามารถทำได้หลายอาชีพที่เกี่ยวกับกีฬา แต่ก็อย่าลืมหาเวลาฝึกกีฬาที่เราถนัด ไม่แน่อาจจะติดทีมชาติแถมไปด้วย
3. ทุนเรียนฟรีสำหรับนักกีฬา มีทุกสถาบันเลยหรือเปล่า แล้วต้องเรียนสาขาที่เกี่ยวกับกีฬาไหมมีในหลายสถาบัน แต่คงไม่ทุกสถาบัน และไม่จำเป็นต้องเรียนในสาขาที่เกี่ยวกับกีฬา หากมั่นใจว่าเรามีความสามารถขนาดสามารถขอทุนสำหรับนักกีฬาได้ก็ลองสอบถามจากทางมหาวิทยาลัยดู โดยมีข้อแม้ว่า เราต้องเล่นกีฬาให้กับมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกจากจะได้เรียนฟรีแล้วยังได้เล่นกีฬาบ่อย ๆ ด้วย
4. เรียนในสถาบันเอกชน สามารถกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาได้หรือเปล่ากู้ได้ หลักสูตรปริญญาตรี ที่เรียนไม่เกิน 4 ปี สามารถกู้ได้รายละไม่เกิน 200,000 บาท ในบางสาขาวิชาที่ต้องเรียนมากกว่า 4 ปี เช่น แพทย์ ก็สามารถกู้ได้ในวงเงินที่สูงกว่านั้น
5. และถ้ากู้ได้ จะต้องผ่อนชำระคืนอย่างไรชำระคืนหลังจากจบการศึกษา และมีงานทำแล้ว โดยผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เดือนละเท่า ๆ กัน ชำระงวดแรกในเดือนที่ทำสัญญากู้ โดยใช้วิธีหักเงินเดือนนำส่งธนาคารผ่านหน่วยงานต้นสังกัด
6. ในมหาวิทยาลัยเอกชน สามารถเริ่มสมัครเรียนในเทอมสองได้หรือเปล่าในบางสถาบันสามารถทำได้ แต่ก็ต้องเก็บหน่วยกิตให้ครบตามที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด อาจจะจบช้ากว่าเพื่อนหน่อย แต่จบเหมือนกัน
7. ต้องไปเรียนต่างจังหวัด แถมไม่มีเพื่อนไปด้วยเลย กลัวเหงาจังไม่น่าจะเหงาได้ เพราะเพื่อนส่วนใหญ่ก็มาจากต่างที่ต่างสถาบัน และที่มหาวิทยาลัยก็มีกิจกรรมที่จะช่วยให้นักศึกษาปี 1 สนิทสนมกันเร็วมาก บางทีอาจสนุกจนลืมเพื่อนเก่าเลยก็ได้
8. อยากทำงานในมหาวิทยาลัยเพื่อหารายได้เพิ่มจะทำได้ไหม และควรจะเริ่มอย่างไรดีทำได้ ส่วนใหญ่จะเป็นการช่วยเจ้าหน้าที่ประจำมหาวิทยาลัย เช่น ฝ่ายรับสมัครนักศึกษา งานตามศูนย์ศึกษาต่าง ๆ ประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งควรสอบถามข้อมูลจากฝ่ายบริการนักศึกษา ในส่วนบริการจัดหางาน
9. เห็นคนอื่นเขาได้ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศระหว่างเรียนในมหาวิทยาลัย เขาทำอย่างไรกันต้องติดตามข้อมูลข่าวสารเรื่องทุนตลอด อาจเป็นข้อมูลจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ประจำมหาวิทยาลัย และข้อมูลจากนิตยสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น นิตยสารการศึกษาวันนี้ หรือ EXIT ก็ได้ อาจเป็นทุนแลกเปลี่ยน ทุนดูงาน ทุนฝึกอบรม ข้อมูลเหล่านี้ต้องอาศัยหูตาที่ว่องไว ยิ่งรู้ข้อมูลมากก็ไม่น่าพลาด
10. จะเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว ยังไม่เคยมีแฟนเลยเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาในเชิงวิชาการ หรือไม่มีผลต่อการเรียนนั่นเอง เพื่อนพี่หลายคนที่ไม่มีแฟนก็สามารถเรียนจบได้ แถมได้ผลการเรียนดี เอาน่า.... อายุเท่านี้ไม่เห็นต้องรีบเลย ยังไงก็ต้องมีสักวันแน่
11. เดี๋ยวนี้แฟชั่นชุดนักศึกษาเขาไปถึงไหนกันแล้วมีหลากหลาย จนเราเองก็ตามไม่ทัน รู้แค่ว่า ขนาดเสื้อนักศึกษาเล็กลงทุกวัน กระโปรงก็สั้นขึ้นทุกวัน แต่จะเหมาะสมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณส่วนบุคคลแต่ชุดนักศึกษาที่น่ารักสมวัยที่สุด ก็คงจะเป็นชุดที่ถูกต้องตามระเบียบของทางมหาวิทยาลัยนั่นแหละ
12. ไม่ชอบวิธีการรับน้องเลย จะหลีกเลี่ยงอย่างไรถึงจะไม่โดนเพื่อนว่าเรื่องการรับน้องเป็นสิทธิส่วนบุคคล จะเข้าร่วมกิจกรรมหรือไม่ก็ได้ แต่กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้รุ่นพี่ได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นน้อง รุ่นพี่ และเพื่อน ๆ ด้วยกัน แต่ถ้าเราเห็นว่าตรงไหนเกินขอบเขตที่จะรับได้ ก็สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่มีผลต่อคะแนนความประพฤติแต่อย่างไร เพื่อน ๆ ก็น่าจะเข้าใจ
13. เรียนมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมีชมรมอยู่ไหมไม่จำเป็น แต่ชมรมต่าง ๆ เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมของผู้ที่มีความชอบคล้าย ๆ กัน เช่น ชมรมหมากกระดานก็เป็นสังคมของคนชอบเล่นหมากกระดาน ชมรมฟันดาบก็เป็นสังคมของคนขอบกีฬาฟันดาบ หรือคนที่อยากฟันดาบเป็น ซึ่งก็ใช่จะเป็นเพียงสังคมของเพื่อนร่วมสถาบันเดียวกัน แต่ยังมีการแข่งขันระหว่างสถาบัน ทำให้เรารู้จักเพื่อนที่หลากหลายมากขึ้นด้วย ถ้ามีเวลาว่าง และมีความชอบด้านไหนเป็นพิเศษ ก็น่าหากิจกรรมทำนะ
14. ที่มหาวิทยาลัยมีหนังสือเรียนมือสองขายไหมบางมหาวิทยาลัยรุ่นพี่ (ที่เป็นพี่รหัส) จะนำหนังสือที่เคยใช้แล้วให้รุ่นน้องฟรี ๆ บางสถาบันรุ่นพี่จะติดป้ายประกาศตามบอร์ดเพื่อขายหนังสือมือสอง แต่ยังไม่เคยเจอสถาบันไหนที่เปิดร้านขายหนังสือเรียนมือสองสักทีถ้าอยากได้จริง ๆ แนะนำให้ไปหาที่สวนจตุจักร ที่นั่นมีหนังสือมือสองขายเยอะมาก
15. มึนไปหมดแล้ว ยังหาที่เรียนไม่ได้ ทำไงดีถ้าไม่ยึดติดว่าต้องเรียนที่สถาบันใดสถาบันหนึ่ง ก็มีอีกหลายทางเลือก ทั้งมหาวิทยาลัยเปิด และมหาวิทยาลัยเอกชน แต่ก่อนอื่นต้องถามตัวเองว่า เรามีความถนัด หรือมีความชอบอะไร และดูว่าสถาบันใดมีชื่อเสียงในสาขาที่เราสนใจ แต่ถ้ายังไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรก็ลองพักสักปี และใช้เวลาว่างลงเรียนหลักสูตรสั้น ๆ ที่สนใจ และใช้เวลานั้นค้นหาตัวเองด้วย
16. อายุตั้ง 23 ปีแล้ว แต่ต้องเริ่มเรียนปี 1ใหม่ อายจังไม่มีใครแก่เกินเรียน อายุมากกว่านี้สัก 1 เท่า ก็ยังเริ่มเรียนปี 1 ได้ ไม่เห็นต้องอายใครเลย
17. แล้วถ้าเรียนจบก็อายุปาเข้าไปเกือบ 27 ปีจะแก่เกินไปที่จะหางานใหม่ไหมอายุที่มากขึ้น ยอมแสดงถึงวุฒิภาวะที่มากขึ้นด้วยแต่ถ้าคิดมากเรื่องอายุที่มากกว่าคนอื่น คุณก็น่าจะหาความรู้อื่น ๆ ที่ทำให้เรามีคุณสมบัติพิเศษมากกว่าใคร เช่น จบปริญญาตรีเหมือนกัน แต่คุณสามารถพูดได้ 3 ภาษาหรือคุณเคยมีประสบการณ์ฝึกงาน หรือทำงานพาร์ตไทม์มาหลายที่ ไม่มีองค์กรใดปฏิเสธคนที่มีความสามารถหรอก
18. อยู่ต่างจังหวัด ยังติดสำเนียงเหนอ ๆ อยู่เลยเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ จะโดนเพื่อนล้อไหมโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าน่ารักดี จะอายทำไม ชาวต่างชาติที่อยู่คนละเขตก็พูดสำเนียงต่างกัน ไม่เห็นจะมีใครคิดว่าเป็นเรื่องตลก มั่นใจในความเป็นตัวเองก็พอ
19. จบ ม.6 แล้วเรียนต่อสายอาชีพได้ไหมแม้จะไม่ค่อยมีใครทำกัน แต่ก็เรียนได้ ส่วนใหญ่จะเรียนเพื่อทำอาชีพใดอาชีพหนึ่งไปเลย และเมื่อเรียนถึงระดับ ปวส. ก็เทียบเท่ากับอนุปริญญา และสามารถเรียนต่อปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยได้ โดยใช้เวลา 2 ปี
20. เรียนแบบออนไลน์ ตอนนี้ในเมืองไทยมีหรือเปล่ามี อย่างตอนนี้ก็มีมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอัชสัมชัญ (เอแบค) และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่สามารถเรียนแบบออนไลน์ได้ในเมืองไทยจะทำได้ในระดับปริญญาตรีนเละโทเท่านั้น และเหมาะสำหรับบางสาขาวิชาเท่านั้น และถ้าไม่ติดภารกิจสำคัญ หรือไม่มีเหตุที่ไม่สามารถมาเรียนได้จิรง ๆ การมาเรียนที่สถาบัน ได้พบเพื่อน พบพี่ พบอาจารย์สนุกกว่าเยอะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น