18 ก.ค. 2552

เหงื่อบอกโรค

เหงื่อบอกโรค (247 magazine)

เหงื่อจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อร่างกายสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น 2 อย่าง คือ ความร้อน และอารมณ์ ในทางการแพทย์ระบุว่า เหงื่อสามารถบ่งบอกอาการของโรคบางชนิดได้ โรคที่สัมพันธ์กับเหงื่อมี 2 ประเภท คือ

1. โรคที่ทำให้เหงื่อออกมาก
- เครียด เหงื่อจะออกมากบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รักแร้ และหน้าผาก ประกอบกับมีอาการอื่นร่วม เช่น ชีพจรเต้นเร็ว ใจสั่น มือสั่น
- ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือคอพอก เหงื่อจะซึมออกมาทั่วตัว โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือทั้งสองข้าง ร่วมกับมีอาการขี้หงุดหงิด มือสั่น ขี้ตกใจ น้ำหนักลด ตาโปน ผมร่วง เหนื่อยง่าย ใจสั่น หิวน้ำบ่อย โรคหัวใจ เหงื่อแตก ร่วมกับใจสั่น เหนื่อยหอบ ขณะออกกำลังกาย หากมีอาการแน่นที่คอและหน้าอก เหงื่อออกตามนิ้วมือนิ้วเท้าทุกครั้งที่ออกกำลังกาย มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูง

2. โรคที่ทำให้เหงื่อออกน้อย
- โรคผิวหนัง เช่น ผด ผื่น สะเก็ดเงิน ผิวแห้งแตกหยาบ เนื่องจากต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังถูกกดไว้จนไม่สามารถขับเหงื่อได้ตามปกติ ทำให้เกิดอาการอุดตันในขุมขนและเป็นโรคได้ในที่สุด
- ไมเกรน คนที่มีความเครียดเป็นทุนเดิม ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ หากร่างกาย ได้รับการกระตุ้นจนเกิดความร้อนสะสมแต่กลับไม่มีเหงื่อออกมา

อาจทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับ เกิดภาวะปวดศีรษะอย่างรุนแรงจนเป็นไมเกรน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น