อาการปวดหัว.. น่ากลัวกว่าที่คิด
อยากรู้ใหม...ทำไมถึงปวดหัว? ปวดหัวตัวร้าย...ปล่อยไว้อาจอันตรายถึงชีวิตส่วนประกอบของศีรษะ
1. หนังศีรษะ
2. เนื้อเยื่อ
3. กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
4. กะโหลกศีรษะ
5. เยื่อหุ้มสมอง
6. สมอง
7. อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับสมองและอาจมีส่วนในการปวดศีรษะได้แก่
- จมูก โพรงไซนัส
- นัยน์ตา
- ช่องหู
- ช่องปาก
- กระดูกต้นคอ
ประเภทของการปวดศีรษะมี 2 ประเภทหลักคือ
1. ไม่มีความผิดปกติร้ายแรง ได้แก่ ไมเกรน ภาวะทางจิตใจ ภาวะความตึงเครียดจากการทำงาน
โรคปวดศีรษะที่พบบ่อย
-ไมเกรน สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด แต่หากภายในหนึ่งเดือนปวดมากกว่า 4 ครั้ง ควรพบแพทย์
- โรคปวดศีรษะแบบตึงเครียด สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนบางชนิด ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่อาจเป็นๆ หายๆ แบบเรื้อรัง
- โรคปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อและพังผืด สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากการตึงเครียดและตึงตัวของกล้ามเนื้อ ถ้าเป็นระยะแรกและมีอาการน้อยอาจจะหายได้เอง แต่ถ้าเป็นบ่อยครั้งและมีปัจจัยกระตุ้นก็จะเป็นเรื้อรังรักษายาก
2. มีความผิดปกติอย่างชัดเจน ได้แก่ อุบัติเหตุทางสมอง กล้ามเนื้อตึงตัว สาเหตุในสมอง สาเหตุนอกสมอง โรคทางกายอื่นๆโรคปวดศีรษะที่มีความอันตรายสูง
- อุบัติเหตุทางสมอง หลังประสบอุบัติเหตุถ้าไม่มีอาการครั้งแรกควรสังเกตุอาการภายใน 48 ชั่วโมง หรือในผู้สูงอายุควรสังเกตุอาการนานกว่านั้น ควรพบแพทย์ทันที- เนื้องอกในสมอง
- ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง มักตรวจพบในเด็ก หรือผู้สูงอายุ ควรสังเกตุอาการเพื่อรีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
- ภาวะติดเชื้อในสมองจนเกิด ฝี หนอง ในสมอง ส่วนใหญ่มักเกิดจากการอักเสบติดเชื้อบริเวณใบหน้า เช่น ฟันผุ หูน้ำหนวก ไซนัส ควรพบแพทย์ทันที
สาเหตุของอาการปวดศีรษะ
1. กรณีการกระตุ้นระบบประสาทรับความรู้สึกในสมอง ได้แก่ ไซนัส เส้นเลือดในสมอง
2. กรณีการกระตุ้นระบบประสาทรับความรู้สึกนอกสมอง ได้แก่ หนังศีรษะ พังผืดและกล้ามเนื้อ เส้นเลือดแดงบริเวณศีรษะและคอ
3. กรณีที่เส้นประสาทถูกกระตุ้นจากก้านสมอง หรือ การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทบางชนิดที่เกิดจาก สภาวะจิตใจ, อาหาร หรือสารเคมีบางประเภท
ลักษณะอาการที่ควรพบแพทย์โดยด่วน
1. ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน หรือมีการเพิ่มของความรุนแรงตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
2. ปวดศีรษะร่วมกับการชัก, มีไข้, ซึมลง หรือ มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
3. ปวดศีรษะเมื่อ ไอ จาม หรือมีการก้มตัว หรือ เบ่งอุจจาระ
4. ปวดศีรษะเรื้อรังเป็นอย่างต่อเนื่อง ไม่มีช่วงหาย
5. ปวดศีรษะเรื้อรัง ที่มีอาการปวดข้างใดข้างหนึ่งตลอดไม่ย้ายตำแหน่ง
6. ปวดศีรษะเฉียบพลันในผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง หรือในผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด
7. ปวดศีรษะจากการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
8. กรณีที่เดิมเป็นไมเกรน รับประทานยาไม่ทุเลาภายใน 72 ชั่วโมง, มีอาการรุนแรงกว่าทุกครั้งที่เป็น หรือมีอาการแขนขาชา อ่อนแรง ตามัว อาเจียนมาก เดินเซร่วมด้วย
9. ปวดศีรษะที่เกิดร่วมกับอาการดังต่อไปนี้
- เดินเซคล้ายคนเมา วูบชาตามร่างกาย
- คัดจมูก น้ำมูกข้น ไอ เจ็บคอ
- ปวดกระบอกตา ตามัวลงอย่างรวดเร็ว
- ตาพร่ามัว คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- หูอื้อ ปวดในหูมาก การได้ยินลดลง
- ปวดตึงต้นคอ ชาหรือแขนขาอ่อนแรงลง
- พูดลำบาก พูดไม่ชัด ฟังไม่เป็นคำ
แนวทางการรักษา
จากประวัติโดยละเอียดจากผู้ป่วยและญาติ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพื่อใช้เป็นแนวทางให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง
1. อายุที่เริ่มปวดศีรษะ ควรสังเกตว่าเริ่มปวดศีรษะมานานเท่าไร
2. ตำแหน่งที่ปวด บริเวณตำแหน่งที่ปวดจะช่วยให้วินิจฉัยได้ถูกต้องมากขึ้น
3. ลักษณะของอาการปวด เช่น แบบบีบรัด แบบตุบๆ เป็นต้น
4. เวลาที่เริ่มปวด เช่น หลังตื่นนอน หลังทำงานตอนบ่าย เป็นต้น
5. ระยะเวลาของอาการปวด เช่น ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ปวดระยะเวลาสั้นๆ ปวดเป็นๆหายๆ เป็นต้น
6. ความถี่ของการปวด ปวดทุกวันหรือไม่ ครั้งละกี่ชั่วโมง สัมพันธ์กับโรคอื่นหรือไม่
7. การดำเนินโรคของอาการปวด อาการรุนแรงมากขึ้นหรือไม่
8. อาการร่วม เช่น มีไข้สูง ตาพร่ามัว ชักเกร็งกระตุก เดินเซเสียการทรงตัว หรือแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก เป็นต้น
9. ปัจจัยที่กระตุ้นให้ปวด เช่น จากการใช้สายตานานๆ การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ การอดนอน ความร้อนหรือแสงแดด เป็นต้น
10. ปัจจัยที่ทำให้หายปวด เช่น การพักผ่อนนอนหลับ การพักสายตา การรับประทานยา
11. ประวัติโรคทางกาย โรคทางระบบประสาท โรคทางจิตเวช
12. ประวัติการใช้ยาต่างๆ เช่น ยาที่รับประทานอยู่ขณะปวดศีรษะ หรือยารักษาโรคอื่นๆ ที่เป็นอยู่
การตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุประกอบการวินิจฉัย
1. การตรวจเลือด
2. การทำ X-Ray, CT Scan หรือ MRI สมอง
3. การเจาะน้ำไขสันหลัง
อาจไม่มีความจำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่ในดุจพินิจของแพทย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น