3 ต.ค. 2552

เรื่องร้อนๆ หนาวๆ ของสาวออฟฟิต

เคยสงสัยไหมว่าในขณะที่เรานั่งหนาวเหน็บจนอยากจะลุกไปปรับแอร์ แต่เพื่อนร่วมงานที่นั่งโต๊ะข้างๆ กลับไม่สะทกสะท้านต่อความหนาวเย็นแบบที่เราเป็นเลยสักนิด

Live & Learnเหตุที่แต่ละคนสามารถทนความหนาวได้แตกต่างกันก็เพราะมีพื้นฐานภายในร่างกายไม่เหมือนกัน ดังนี้

น้ำหนักตัวมีส่วนคนที่มีน้ำหนักตัวและไขมันมากกว่า จะมีไขมันเป็นเสมือนฉนวนกันความหนาวมากกว่าสาวที่ผอมบาง

หญิงหรือชายสำคัญไฉนผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะขี้หนาวมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์แตกต่างกัน และความได้เปรียบของมวลกล้ามเนื้อของผู้ชายที่มีมากกว่า (1 ใน 3 ของพลังงานที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายมาจากกล้ามเนื้อ) ทำให้หนุ่มๆ ออฟฟิศไม่ค่อยสะทกสะท้านกับความเย็นเหมือนสาวๆ สักเท่าไร แต่ถ้าสาวๆ คนไหนที่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้วก็จะช่วยให้ร่างกายมีมวลกล้ามเนื้อมากขึ้น สามารถปรับตัวรับอุณหภูมิในห้องแอร์ได้ดีกว่าเช่นกัน แต่ในช่วงวันก่อนมีประจำเดือน อุณหภูมิในร่างกายของสาวๆ จะไม่คงที่และอาจทำให้เกิดอาการขี้หนาวมากกว่าปกติ

อายุต่างก็หนาวต่างกันปัจจัยของช่วงอายุที่แตกต่างกัน ทำให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายของแต่ละคนต่างกันไปโดยปริยาย คนในวัยใกล้หมดประจำเดือนอาจมีอาการร้อนๆ หนาวๆ เพราะระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ อยู่ตลอด ทำให้รู้สึกเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวได้

กินดีมีชัยไปกว่าครึ่งควรกินอาหารให้ครบทุกมื้อเพื่อที่ร่างกายจะได้มีพลังงานต่อสู้กับอากาศเย็นและควรเพิ่มรายการของโปรตีน แมกนีเซียม (ข้าวกล้อง ข้าวโพด ผักโขม ผักตังกุย กล้วย) ที่ช่วยเรื่องระบบการไหลเวียนของเลือด โพแทสเซียม (องุ่น ผักสด เมล็ดธัญพืชและผลไม้แห้ง) ช่วยในการทำงานของระบบประสาท นอกจากนี้ใบโหระพาสด วิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก ก็ช่วยเพิ่มเกล็ดเลือดให้แก่ร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายมีเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดเพิ่มมากขึ้น แรงต้านกับอากาศหนาวก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

สำหรับคนที่เป็นมังสวิรัติ การกินพืชผักใบเขียวและอาหารประเภทถั่วเหลืองก็ได้ผลดีเหมือนกัน

ยิ่งเครียดยิ่งหนาวเชื่อหรือไม่ว่า ความเครียดเป็นบ่อเกิดที่ทำให้คุณกลายเป็นคนขี้หนาวได้ สาเหตุก็เพราะระหว่างที่เครียดจัดๆ นั้น ร่างกายของคนเราจะลดประสิทธิภาพในการหมุนเวียนโลหิตในร่างกายโดยที่เราไม่รู้ตัวเรื่องการออกกำลังกายและการกินอาจต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะเห็นผล (แต่ได้ผลและมีประโยชน์ในระยะยาว) แต่สำหรับคนที่อยากตัวอุ่นขึ้นมาทันใจ เพราะทนไม่ไหวกับความเย็นจากแอร์ในห้องที่คอยบั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงานต้องฟังทางออกง่ายๆ แต่เห็นผลทันใจดังนี้

เลือกน้ำอุ่นและจิบชาสำรวจตัวเองเสียหน่อยว่าติดการดื่มน้ำเย็นหรือเปล่า ถ้าใช่ ควรฝึกนิสัยในการดื่มน้ำอุ่นๆ (ถ้าไม่ชิน เริ่มฝึกจากน้ำอุณหภูมิธรรมดา) เมื่อต้องทำงานในห้องที่มีอากาศเย็น หรือการจิบชาเปปเปอร์มินต์ ลาเวนเดอร์ ที่มีกลิ่นอโรมาช่วยในเรื่องการผ่อนคลายความเครียด รวมถึงน้ำขิง น้ำตะไคร้อุ่นๆ ที่มีสรรพคุณช่วยให้เลือดไปหล่อเลี้ยงที่ผิวหนังได้มากขึ้น

เพราะนอกจากจะช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกายให้อุ่นขึ้นแล้ว การถือแก้วน้ำอุ่นอยู่ในมือสักพักหนึ่งยังช่วยให้นิ้วและฝ่ามือคลายหนาวได้อย่างน่าพอใจด้วย

ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะศาสตราจารย์อลัน เฮดจ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์แนล ได้ทำการทดลองเรื่องอุณหภูมิของห้องที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนในออฟฟิศว่า

ในอุณหภูมิประมาณ 28 องศาเซลเซียส พนักงานสามารถพิมพ์งานได้ประสิทธิภาพดี เร็ว และผิดน้อยกว่าพนักงานที่นั่งทำงานในห้องที่มีอุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียสถึงสองเท่า และการศึกษาได้ข้อสรุปออกมาอีกว่า อุณหภูมิระหว่าง 22 - 26 องศา เป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดทั้งกับร่างกายของผู้หญิงและผู้ชาย

อย่างนี้ต้องเท้าอุ่นไว้ก่อนศาสตราจารย์อลัน เฮดจ์ ยังบอกอีกว่า "เชื่อหรือไม่ว่าบริเวณข้อเท้าเป็นส่วนที่ไวต่อความเย็นมากที่สุดที่หนึ่งในร่างกาย เพราะฉะนั้นสาวๆ ที่ชอบใส่รองเท้าแบบเปลือยมาทำงานควรสวมถุงเท้าเพื่อกันความเย็นไว้ก็จะช่วยให้ร่างกายอุ่นขึ้นได้ ส่วนการเดินหรือขยับเขยื้อนร่างกายบ้างระหว่างทำงานถือเป็นการวอร์มอัพร่างกายไปในตัว ช่วยสร้างความอบอุ่นได้อีกทางหนึ่ง"

ไม่มีความคิดเห็น: