แม้ มะเร็งปากมดลูก จะเป็นโรคที่ป้องกันและรักษาให้หายได้ แต่ โรคมะเร็งปากมดลูก ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้หญิง โดยมีอัตราการเสียชีวิตของ มะเร็งปากมดลูก เฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน และพบผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก รายใหม่สูงถึง 6,000 คนต่อปีโดยในจำนวนของผู้มีเชื้อนี้กว่าครึ่งต้องเสียชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักอาย และกลัวที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ มะเร็ง ทำให้กว่าจะรู้ว่าป่วยด้วย โรคมะเร็งปากมดลูก นี้ ความรุนแรงของโรคก็อยู่ในระยะลุกลามแล้ว..ดังนั้น วันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูก มาให้คุณรู้เท่าทัน โรคมะเร็งปากมดลูก กันค่ะ
โรคมะเร็งปากมดลูก (Cancer of Cervix) เกิดจากเชื้อไวรัสตัวหนึ่งที่ชื่อว่า HPV (Human Papilloma Virus) ภาษาไทยเรียกกันว่า ไวรัสหูด ไวรัสชนิดนี้ติดต่อจากการสัมผัส ส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุ และเชื้อไวรัสจะเข้าไปที่ปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ จากปากมดลูกปกติกลายเป็นระยะก่อนเป็น มะเร็งปากมดลูก
ไวรัสเอชพีวี มีทั้งหมดกว่า 100 ชนิด แต่ที่ทำให้ติดเชื้ออวัยวะสืบพันธุ์มีประมาณ 30-40 ชนิด แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเสี่ยงต่ำและกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงต่ำไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ หรือหูดที่กล่องเสียง ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงก่อมะเร็งต่างๆ ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากช่องคลอด
สำหรับความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวีดำเนินได้โดยง่าย เชื้อชนิดนี้เป็นเชื้อที่ทนทานต่อความร้อน และความแห้งได้ดี สามารถเกาะติดตามผิวหนัง อวัยวะเพศ เสื้อผ้า หรือแม้แต่กระจายอยู่รอบตัวในรูปของละอองฝุ่น ซึ่งผู้หญิงทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ย่อมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี อย่าง ไรก็ตาม การติดเชื้อมักหายได้เอง ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย มีเพียง 10% เท่านั้น ที่การติดเชื้อยังดำเนินต่อไป สร้างความผิดปกติให้กับเยื่อบุปากมดลูก และทำให้กลายเป็นมะเร็งในเวลาต่อมา ซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งก่อให้เกิด มะเร็งปากมดลูก ได้นั้น ใช้เวลานานประมาณ 10-15 ปีปัจจัยเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก
- การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
- การมีคู่นอนหลายคน หรือฝ่ายชายที่เราร่วมหลับนอนมีคู่นอนหลายคน
- การคลอดบุตรจำนวนหลายคน
- การสูบบุหรี่
- การมีภาวะคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะเป็นโรคเอดส์
- การสูบบุหรี่
- พันธุกรรม
- การขาดสารอาหารบางชนิด
ปัจจัยเสี่ยงจากฝ่ายชาย ที่อาจทำให้ผู้หญิงเป็น มะเร็งปากมดลูก
- ผู้ชายที่มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
- ผู้หญิงที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาติ
- ผู้หญิงที่มีสามีเคยมีภรรยาเป็น มะเร็งปากมดลูก
- ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคนอาการและการรักษา โรค มะเร็งปากมดลูก
โรค มะเร็งปากมดลูก มักพบในผู้หญิงอายุ 35 - 60 ปี แต่ก็อาจพบ มะเร็งปากมดลูก ก่อนวัยอันควรได้ ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก จะมากหรือน้อยขึ้นกับระยะของมะเร็ง ซึ่งอาการที่พบในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ได้แก่
อาการตกเลือดทางช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณร้อยละ 80 – 90 ของผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก ลักษณะ เลือดที่ออกอาจจะเป็นเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน มีตกขาวผิดปกติ กลิ่นเหม็น มีเลือดปน หรือมีเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์ ถ้าเป็นมากและมะเร็งลุกลามออกไปด้านข้าง หรือลุกลามไปที่อุ้งเชิงกรานก็จะมีอาการปวดหลังได้ เพราะไปกดทับเส้นประสาท
อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามหรือไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ขาบวม ปวดหลัง ปวดก้นกบ ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น
โรค มะเร็งปากมดลูก แบ่งเป็น 0-4 ระยะ ดังนี้
ระยะ 0 คือ เซลล์มะเร็งยังไม่กระจาย วิธีรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะ 0 คือ ผ่าตัดเล็ก ซึ่งใช้เวลาเพียง 15 นาที และตรวจติดตามอาการ การรักษาระยะนี้ได้ผลเกือบ 100%
ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะ 1 คือผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดมดลูก เลาะต่อมน้ำเหลืองในเชิงกราน ซึ่งได้ผลดีถึง 80%
ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูก โดยยังไม่ไปไกลมาก แต่ก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 2 นี้ ต้องรักษาด้วยการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด (คีโม) ได้ผลราว 60%
ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งกระจายชิดเชิงกราน การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 3 คือใช้รังสีรักษา และการให้เคมีบำบัด การรักษาระยะนี้ได้ผลประมาณ 20-30%
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายทั่วร่างกาย การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 4 คือการให้คีโม และรักษาตามอาการ โดยหวังผลได้เพียง 5-10% และโอกาสรอดน้อยมาก แต่ก็ไม่แน่ โดยมีผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก บางรายสามารถอยู่ต่อได้นานถึง 1-2 ปี จึงเสียชีวิตผลข้างเคียงจากการรักษาโรค มะเร็งปากมดลูก
การผ่าตัด ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่อาจเกิดได้ ได้แก่ การตกเลือด การติดเชื้อ อันตรายต่ออวัยวะใกล้เคียง
การฉายแสง (ระยะเวลา 1-2 เดือน) ผลข้างเคียง คือ ผิวแห้ง ปัสสาวะมีเลือดปน อ่อนเพลีย
ยาเคมีบำบัด ผลข้างเคียงคือ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง มือเท้าชา ซึ่งขึ้นกับยาแต่ละชนิดที่เลือกใช้ ผู้หญิงควรจะเริ่มตรวจหาโรค มะเร็งปากมดลูก เมื่อใด
ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุ ควรมาตรวจคัดกรองเชื้อ มะเร็งปากมดลูกหรือที่เรียกว่า แพปสเมียร์ (Pap Smear) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มเมื่อ อายุ 30 ปีขึ้นไป แต่ในกรณีที่เริ่มพบความผิดปกติแพทย์อาจนัดให้ไปตรวจถี่ขึ้น
ทั้งนี้ แพปสเมียร์ คือ วิธีการตรวจหาความผิดปกติ หรือโรค มะเร็งปากมดลูกที่ค่อนข้างง่าย ใช้เวลาเพียง 2–3 นาทีเท่านั้น เป็นการตรวจที่ทำควบคู่ไปกับการตรวจภายในของผู้หญิง แพทย์จะสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด โดยใช้ไม้ขนาดเล็กขูดเบาๆ เพื่อเก็บเซลล์มาป้ายบนแผ่นกระจก และนำไปตรวจหาความผิดปกติ โดยก่อนที่จะตรวจ ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม ไม่ควรตรวจในช่วงระหว่างมีประจำเดือน งดการมีเพศสัมพันธ์ และงดการสวนล้างช่องคลอด หรือสอดยาใดๆ ก่อนเข้าทำการตรวจ ข้อดีคือ วิธีการตรวจแบบแพปสเมียร์นี้ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ วัคซีนโรค มะเร็งปากมดลูก
หลายๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องการรณรงค์ฉีดวัคซีนโรค มะเร็งปากมดลูก ความจริงแล้ว ระดับการป้องกันโรค มะเร็งปากมดลูกมีหลายระดับ โดยระดับแรกของการป้องกันคือ การฉีดวัคซีน ที่เชื่อว่าลดความเสี่ยงได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การป้องกันขั้นพื้นฐานด้วยการตรวจแพปสเมียร์เป็นประจำก็เป็นเรื่องสำคัญ
ทั้งนี้ ตามคำแนะนำของคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกา เด็กและหญิงสาวที่อายุต่ำกว่า 26 ปี ซึ่งไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน สามารถรับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อเอชพีวี ส่วนหญิงสาวที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ควรตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูกหรือแพปสเมียร์เสียก่อน เพราะเป็นไปได้ว่าอาจพบการติดเชื้อ หรือมีความผิดปกติ ซึ่งจะต้องทำการรักษาให้หายเสียก่อน จึงจะรับการฉีดวัคซีนได้ในเวลาต่อมา ส่วนวัยที่ควรเริ่มฉีดวัคซีนชนิดนี้คือ 9 ปีขึ้นไป และการใช้วัคซีนในผู้หญิงวัย 9 – 26 ปี จะป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
อย่าลืมหมั่นตรวจเช็คสุขภาพ และความผิดปกติของร่างกาย ที่สำคัญอย่ากลัวหรืออายที่จะไปตรวจหาเชื้อ มะเร็งปากมดลูก เพราะหากช้าไป โรคร้ายอาจทำลายคุณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น