14 ธ.ค. 2552

การบรรเทาอาการปวดกระดูกเนื่องจากการแพร่กระจายของมะเร็ง

การแพร่กระจายของมะเร็งมาที่กระดูก เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยพบได้ถึง 70% ในผู้ป่วยมะเร็งของต่อมลูกหมากและเต้านม และพบได้ประมาณ 30% ในผู้ป่วยมะเร็งปอด, กระเพาะปัสสาวะ และต่อมไทรอยด์ อาจนำไปภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ เช่น อาการปวดอย่างรุนแรง (severe pain), การกดทับของไขสันหลัง (spinal cord compression) และ กระดูกหัก (pathological fracture) นำไปสู่การลดลงของคุณภาพชีวิต และการจำกัดในการเคลื่อนไหว

อาการปวดกระดูก ซึ่งอาการปวดจะพบเป็นการปวดหน่วงๆ ตื้อๆ (dull and aching pain) โดยระดับความแรงจะต่างกัน และอาจะพบว่ามีอาการเป็นช่วงในช่วงแรก ต่อจากนั้นอาการปวดจะเป็นลักษณะปวดน้อยตลอดเวลารวมกับบางที่บางช่วงเวลาที่ปวดเพิ่มมากขึ้นทันที และนำไปสู่อาการปวดอย่างเรื้อรังในที่สุด อาการนี้จะแย่ขึ้นในช่วงกลางคืน หรือหลังมีกิจกรรมต่างๆ ทำให้จำกัดของการเคลื่อนไหว โดยกลไกการเกิดที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบ แต่เชื่อว่าอาจะเกิดจากการที่มีมะเร็งอยู่ภายในเนื้อกระดูก


การบรรเทาอาการปวดกระดูกเนื่องจากการแพร่กระจายของมะเร็งนั้น สามารถแบ่งออกเป็น

1. การรักษาเฉพาะส่วน (Local therapy) เช่น การผ่าตัด และ การฉายรังสี เป็นต้น

1.1. การฉายรังสี (external beam radiation therapy):

พบว่ามีความสามารถในการบรรเทาอาการปวดกระดูกได้ 60-90% ในผู่วยที่มีอาการปวดเพียงตำแหน่ง หรือบริเวณเดียว และการบรรเทาอาการปวดนั้นเริ่มตั้งแต่ 48 หลังการฉายแสง แต่หากว่าบริเวณที่เคยได้รับการฉายแสงแล้วพบว่ามีการปวดกลับมาอีกครั้งจะเป็นข้อจำกัดในการรักษาด้วยวิธีนี้

1.2. การผ่าตัด:

พบว่ามีความสำคัญในผู้ป่วยที่มีการกดทับของกระดูสันหลังอย่างเฉียบพลันม ผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังไม่มั่นคง หรือผู้ป่วยที่มีโอกาศการเกิดกระดูกหัก

2. การรักษาทั่วร่างกาย (systemic therapy) เช่น การใช้ยาแก้ปวด, ฮอร์โมน, ยาเคมีบำบัด และ สารเภสัชรังสี เป็นต้น

2.1. ยาแก้ปวด:

พบว่าเป็นการรักษาขั้นแรกของอาการปวดกระดูเนื่องจากมะเร็ง แต่ว่ายาหลายตัวนั้นมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยเช่น อาการท้องผูก หรือ ทำให้ภาวะทางร่างกายหรือจิตใจลดลง

2.2. การรักษาด้วยฮอร์โมน:

ส่วนใหญ่ใช้ในการรักษาในผู้ป่วยที่มีอาการแรพ่กระจายมาจากมะเร็งต่อมลูกหมากและเต้านม

2.3. ยาเคมีบำบัด:

พบว่ามีความสามารถลดอาการปวดได้ 20-80% โดยผลการบรรเทาอาการปวดเริ่มภายใน 2 สัปดาห์และคงอยู่หลายเดือนหลังจากนั้น แต่ว่า การใช้ยาเคมีบำบัดอาจจะมีข้อจำกัดเรื่องการดื้อยาและ ผลข้างเคียงจากกดไขกระดูก

2.4. การรักษาด้วยการเภสัชรังสี (systemic radionuclide therapy):

การรักษาด้วยสารเภสัชรังสี เป็นการรักษาด้วยรังสีต่อบริเวณอย่างจำเพาะ จึงทำให้มีผลข้างคียงที่ค่อนข้างต่ำ

การรักษาด้วยสารเภสัชรังสีนั้นมีข้อบ่งชี้ คือ จะต้องเป็นผู้ป่วยที่มีอาการปวดกระดูกจากการแพร่กระจายของมะเร็งโดยดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น โดยบริเวณที่ปวดนั้นต้องเป็นบริเวณเดียวกับตำแน่งที่มีการผิดปกติจากการสแกน กระดูก (bone scan) และมีข้อห้าม ในผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์,ให้นมบุตร, ผู้ป่วยที่มีการกดของไขกระดูก, การทำงานของไตผิดปกติ, มีการกดทับไขสันหลัง หรือมีโอกาศเกิดกระดูกหัก

การรักษาด้วยสารเภสัชรังสีนั้นเป็นการรักษาเพียงบรรเทาอาการไม่ใช่การรักษาเพื่อหายขาด ประสิทธิภาพ และมาณ 60-80ผลการบรรเทาอาการปวดนั้นจะพบได้ตั้งแต่สัปดาห์แรก หลังจากการรักษาโดยช่วงสัปดาห์แรกนั้นในผู้ป่วยบางราย (<50%) อาจพบว่ามีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแสดงถึงการตอบสนองของการรักษาได้สามารถบรรเทาโดยการใช้ยาแก้ปวด และในช่วง 4-6 สัปดาห์แรก อาจจะพบมีการเกิดการกดไขกระดูกได้ ซึ่งจะสามารถดีขึ้นได้หลังจากนั้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น