1. ไม่ยืดกล้ามเนื้อให้เพียงพอ
ยืดกล้ามเนื้อทันทีหลังการออกกำลังกายแบบแอโรบิค การยืดกล้ามเนื้อขณะที่กล้ามเนื้อยังอบอุ่นและยืดหยุ่น จะช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บ
2. ใช้น้ำหนักมากเกินไปขณะยกน้ำหนัก
อย่าพยายามยกน้ำหนักมากเกินกว่าขีดความสามารถของกล้ามเนื้อ การยกน้ำหนักอย่างค่อยเป็นค่อยไปมีประโยชน์และปลอดภัยมากกว่ากับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
3. ไม่อบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย
กล้ามเนื้อต้องมีการปรับตัวก่อนออกกำลังกาย จึงควรเริ่มออกกำลังกายช้า ๆ แล้วเพิ่มความหนักเมื่อร่างกายปรับตัวแล้ว
4. ไม่ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย
หลังการออกกำลังกายทุกชนิด ใช้เวลา 2 – 3 นาทีในการลดอัตราการเต้นของหัวใจและยืดกล้ามเนื้อ เพื่อเสริมความยืดหยุ่นและเป็นการเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการออกกำลังกายอื่น ๆ
5. ออกกำลังกายหนักเกินไป
การออกกำลังกายในระดับปานกลาง โดยใช้เวลาออกกำลังกายนาน มีประสิทธิภาพมากกว่าการออกกำลังกายอย่างหนัก โดยใช้ระยะเวลาเพียง 2 – 3 นาที
6. ดื่มน้ำน้อยเกินไป
อย่ารอจนกระหายน้ำจึงดื่มน้ำ เพราะหมายความว่าขณะนั้นร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะขาดน้ำ พกกระติกน้ำติดตัวตลอดเวลา ที่ออกกำลังกายและตลอดวัน
7. ทิ้งน้ำหนักบนเครื่อง Stairstepper มากเกินไป
การทิ้งน้ำหนักลงบนเครื่อง Stairstepper อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ข้อมือและหลัง ลดความหนักของเครื่องจนถึงระดับที่คุณสามารถรักษาท่าทางได้ดี และสามารถวางมือบนที่พักมือได้โดยไม่ทิ้งน้ำหนัก
8. ออกกำลังกายเบาเกินไป
ควรออกกำลังกายในระดับที่หนักพอให้เหงื่อออก และอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในอัตราที่เหมาะสมกับเป้าหมายของการออกกำลังกาย
9. ใช้แรงสะบัดเพื่อยกน้ำหนัก
ในขณะที่คุณออกแรงสะบัดเพื่อยกน้ำหนัก กล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ จะกระตุกไปด้วย และอาจทำให้กล้ามเนื้อตึง หรือบาดเจ็บได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อหลังเป็นส่วนที่เปราะบางมาก ควบคุมน้ำหนักที่ยก อย่าให้น้ำหนักควบคุมคุณ!
10. ทาน Energy bar หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ เมื่อออกกำลังกายในระดับปานกลาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น