รศ.นพ.สุวิทย์ บุณยะชีวิน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการปวดประจำเดือนว่า อาการปวดท้องเมนส์ธรรมดา ปวดในระยะที่มาวันแรก ๆ คือ วันที่ 1 หรือ 2 แล้วหายไปเป็นเรื่องปกติ อาจจะมีการใช้ยาพาราเซตามอลหรือพอนสแตนร่วมด้วย ก็ถือว่าเป็นอาการปกติ แต่ถ้าหากมีการปวดท้องเมนส์ที่มากผิดปกติ คือวันที่ 4 ที่ 5 แล้วก็ยังปวด ปวดมากแบบต้องกินยาตลอด และเป็นอาการเรื้อรังที่ปวดมากขึ้นทุกเดือน ๆ มากกว่า 6 เดือน นั่นเป็นสัญญาณอันตราย
ผู้ที่มีอาการเช่นนี้ ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของการปวดโดยมีผลการวิจัยระบุว่า 59% ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมดมีอาการปวดประจำเดือน และ 10% ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมด มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
ไม่ว่าจะปวดหรือไม่ปวดประจำเดือนมามากผิดปกติก็ตามที ทั้งนี้ จากการศึกษาตัวอย่างทั้งหมด 1,100 คน ที่เป็นสตรีซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 25-44 ปี จาก 4 ภาค 5 แห่ง (รวมกรุงเทพฯ) พบว่า ผู้ที่มีอาการปวดท้องประจำเดือนแบบรุนแรงจนต้องหยุดงานทุกเดือน และปวดเรื้อรังมากกว่า 6 เดือนราว ๆ 60% เมื่อรับการตรวจจะพบว่า ป่วยด้วยโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ผู้หญิงที่มีประจำเดือนออกมาก จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่มีประจำเดือนออกน้อย และผู้หญิงที่มีบุตรแล้วจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าที่ยังไม่มี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น