สมัยนี้ความสวยเนี๊ยบเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้หญิงทำงานทุกคน ด้วยความเร่งรีบ ในตอนเช้าของวันทำงาน และบางครั้งก็เพื่อแฟชั่นล้ำสมัย คนทั่วไปก็เริ่มนิยมใช้ hair system เข้ามาเสริมกับผมจริงเพื่อความสวยเนี๊ยบตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลา ทำผมทุกเช้า ไม่ต้องเสียเวลาเข้าร้านทำผมบ่อยๆ
ประเภทของ Hair replacement system
Hair replacement system เป็นการนำเส้นผมจากภายนอกมาทดแทนเส้นผมเดิม
แบ่งตามขนาดเป็น
1. บางส่วน (Partial) เป็นการเพิ่มผมเฉพาะส่วนที่บกพร่อง ส่วนใหญ่พันธุกรรมของผู้ชายจะมีปัญหาด้านหน้าและด้านบนของศีรษะ เพิ่มผมและเปลี่ยนทรงผมในผู้หญิง
2. ทั้งหมด (Total) เป็นการเพิ่มผมทั้งศีรษะ ซึ่งมีหลายรูปแบบ หลายคุณภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีปัญหาผมบางทั่วศีรษะ การผ่าตัดปลูกย้ายเซลล์ผมช่วยไม่ได้ และผู้ที่ได้รับเคมีบำบัดแล้วผมร่วง alopecia totails เปลี่ยนทรงผม
แบ่งตามการติดยึด (attachment) เป็น
1. แบบถอดเองได้ (daily wear) ยึดติดบนศีรษะ clip เทปกาว 2 หน้า และอื่นๆ สามารถถอดทำความสะอาดหรือใส่ในบางโอกาส กรณีที่เป็นเพิ่มผมเฉพาะส่วน ควรตัดแต่งผมให้เข้ากันทุก 4-6 สัปดาห์
2. แบบติดแน่นบนศีรษะ (permanent attachment) ใช้กับชนิด partial คนส่วนใหญ่ชอบแบบนี้เพราะจะให้ความรู้สึกมั่นใจมาก ต้องทำความสะอาด สระเซ็ทผมตามปกติเหมือนผมเราเอง แบบนี้เช่น นำผมจากภายนอก 2-5 เส้น มาผูกหรือติดกาวกับผม 2-5 เส้นไปเรื่อยๆ ทั่วศีรษะ ทำให้ผมทั้งหมดมีปริมาณมากขึ้น เมื่อผมยาวขึ้น 4-6 สัปดาห์ ต้องมารื้อผูกยึดใหม่ ให้ใกล้โคนผมทีละจุด ทอผม ที่แข็งแรงรอบๆ บริเวณที่จะเพิ่มผม แล้วเย็บฐาน hair system เข้ากับแนวผมที่ทอไว้ 4-6 สัปดาห์ เมื่อผมเรายาวขึ้นควรมาทอใหม่ให้ hair system กระชับกับศีรษะและตัดแต่งผมให้เข้ากัน
3. Bonding เป็นการเชื่อม hair system กับแนวผมที่แข็งแรงรอบๆ ด้วยน้ำยา medical grade adhesive 4-6 สัปดาห์ ผมจะยาวตามธรรมชาติก็ควรมา rebond ใหม่ให้ hair system แนบแน่นกับศีรษะและตัดแต่งผมให้เข้ากัน
4. CTR (cosmetic transdermal reconstruction) เป็นการนำ hair system ทา addhesive ติดไปบนหนังศีรษะที่โกนผมเตรียมไว้ทั่วทั้งศีรษะ (bond to skin) 3-4 สัปดาห์ ก็จะหลวมๆ หลุดๆ debond จากเหงื่อ คราบไคล ไขมัน ก็มา bond ใหม่และตัดแต่งผมใหม่ ควรทดสอบว่าเราแพ้ยาหรือไม่ ก่อนทำ
5. Hair Integration ซึ่งเป็นการนำผมใหม่มาแซมผมเดิม ฐานแบบนี้เป็นตาข่ายห่างๆ นำมาติดบนศีรษะ แล้วเกี่ยวผมจริงขึ้นมา หวีรวมกับผมใหม่ที่นำมาเพิ่ม แล้วตัดแต่งทรงให้เข้ากันแบบ vacuum และอื่นๆ
Hair system ที่ดี
ปัจจุบันวัสดุที่นำมาใช้เป็น hair system มีการพัฒนามาดีขึ้นเรื่อยๆ ตัวฐาน (base) สามารถทำได้บางเฉียบ โปร่ง ลื่น เรียบ เบา แต่เหนียวแน่น แข็งแรงทนทาน แนบกระชับกับศีรษะเป็น monofilament กับ Polyurethane ลอกเลียนแบบหนังศีรษะ เลือกสีให้กลมกลืนกับผิวได้ ไม่มี cotton ปน จึงไม่ดูดซับน้ำ ไม่เก็บกลิ่นและเชื้อโรค base ยิ่งบางยิ่งสวยแต่ไม่ทน มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของแต่ละคน
ไม่ควรใช้ฐานที่ทำจากผ้าเพราะจะอับชื้นเข้าไปในเนื้อผ้า ทำความสะอาดยาก คุณภาพเส้นผมก็ดี เลือกขนาดและสีให้เข้ากับผมเดิมของเราได้ ตัดและทำสีได้ สระเซ็ทเองได้สบาย และตัดแต่งทรงผมได้ทุกสไตล์ เนื่องจากเทคโนโลยีในการใส่ผม ลงใน base ลอกเลียนธรรมชาติเหมือนผมขึ้นมาจากหนังศีรษะเป็นเส้นๆ กำหนดทิศทางผมได้ และหวีได้หลายทรงผม
เมื่อไรควรทำ hair system ?
บางคนอายุยังน้อย รู้ตัวว่ามีพันธุกรรม แล้วผมบางลงเรื่อยๆ อย่างเร็ว ก่อนหัวจะล้าน ถ้าแคร์กับบุคลิกของตัวเอง ควรรีบทำ hair system ปิดไว้ก่อนจะได้ไม่เสียสุขภาพจิต ไม่ต้องทานยา ไม่ต้องเสียเงินหายามาปลูกผมราคาแพง ซึ่งจริงๆ แล้วถ้ามียาได้ผลดี หมอคงสั่งให้ทานไปแล้ว
วิธีการเริ่มตั้งแต่ mould วัดศีรษะ (contour) เลือกแบบผม สีผม สี base ตัวอย่างเสันผมส่งไปยังฝ่ายผลิต ทางฝ่ายผลิตจะทำการสร้างฐานที่ขนาดและ contour ตามที่วัดไว้ ซึ่งทำจากวัสดุที่ได้รับการออกแบบเลียนแบบผิวหนัง บาง เบา แข็งแรง ระบายอากาศได้ดี ดูแลทำความสะอาดง่าย และหาเส้นผมที่ใกล้เคียงกับตัวอย่าง ลงฐานผมนั้น โดยเทคนิคคล้ายผมขึ้นจากผิวหนังเป็นเส้นๆ เพื่อทำ hair system ตามที่สั่งไว้ เมื่อได้มาแล้วก็นำ hair system มาเชื่อมกับแนวผมรอบๆ บนศีรษะ โดยใช้กาวทางการแพทย์จากสหรัฐอเมริกา (medical grade adhesive จาก USA.) จากนั้นจะทำการจัดแต่งทรงตามต้องการ
สำหรับราคาขึ้นกับคุณภาพของวัสดุ ตั้งแต่คุณภาพของ monofilament Polyurethane เส้นผม ฝีมือการ knot ผม น้ำยาซึ่งควรเป็น medical grade adhesive ฝีมือช่างที่ทำการ ติดบนศีรษะและตัดแต่งซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญพิเศษ การควบคุมคุณภาพการผลิตและการบริการ
บางท่านที่ผิวหนังแพ้ง่ายๆ อาจแพ้น้ำยา ควรทำการตรวจการแพ้ที่ผิวหนัง (skin test) ก่อนทุกครั้ง หากแพ้ให้เลือกใช้น้ำยาตัวอื่นหรือวิธีอื่น ที่เหมาะสมแทน
การฝังเส้นผมที่ทำโดยใช้ใยสังเคราะห์ (Synthetic hair grafting)
นิยมทำกันมากในประเทศญี่ปุ่น ยุโรป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ถูกห้ามใช้ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากการติดเชื้อหลังจากฝังใยสังเคราะห์ ขณะนี้ทางบริษัทพยายามดัดแปลงใยสังเคราะห์ใหม่ให้มีปฏิกิริยาต่อร่างกายน้อยที่สุด เพื่อเส้นผมจะได้ติดอยู่นานและไม่เกิดปัญหาการติดเชื้อ ดิฉันมีเพื่อนแพทย์ชาวญี่ปุ่น ซึ่งรู้จักกันมานานเกือบ 10 ปี ซึ่งตัวเขาเองก็ใช้วิธีนี้มาตั้งแต่เขาอายุ 35 ปีจนปัจจุบันอายุ 66 ปี เขาบอกว่าตัวเขาไม่มีปัญหา แต่จะต้องหมั่นเพิ่มไฟเบอร์ผมเพราะมันจะหลุดเป็นช่วงๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น