9 ต.ค. 2553

โรคขากระตุก ทำให้นอนหลับไม่สนิท

ใครเมื่อนอนขากระตุกบ้าง วันนี้จะไขข้อข้องใจกัน ขากระตุกเป็นพักๆ ระหว่างหลับ ในบางรายจะพบว่าในขณะที่หลับนั้น กล้ามเนื้อที่ขาจะมีอาการกระตุกเร็วๆ เป็นพักๆ ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะประมาณทุกๆ 30-45 วินาที และอาจจะต่อเนื่องเป็นชั่วโมง หลายรอบต่อคืน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ จะทำให้สมองตื่นเป็นพักๆ โดยที่คนผู้นั้นอาจไม่รู้สึกตัวตื่น ผลในตอนเช้าก็คือ จะรู้สึกว่าคืนที่ผ่านมานอนหลับได้ไม่ด


เมื่อ โรคขากระตุก (Restless Legs Syndrome) หรือ RLS เริ่มแสดงอาการขณะคุณล้มตัวลงนอนพักผ่อน วิธีที่จะหยุดอาการได้คือ การขยับขาหรือเดิน โรคขากระตุกมักเกิดกับคนสูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่หลังส่วนล่างมีปัญหา

อะไรทำให้ขากระตุก


สาเหตุ ของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงทุกกลุ่มมีภาวะแมกนีเซียมต่ำ อาการของโรคยังโยงไปถึงการบริโภคน้ำตาล คาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาบางชนิด


ควรไปพบแพทย์หรือไม่

ถ้า อาการรุนแรงมากจนนอนไม่หลับ หรือรบกวนกิจวัตรประจำวันของคุุณ และรักษาด้วยตัวเองแล้วไม่ดีขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์ แพทย์อาจสั่งยาบางชนิดที่ทำให้อาการสงบลง ถ้าเพิ่งมีอาการขากระตุกเป็นครั้งแรก ควรพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น เบาหวาน โรคไต หรือโรคพาร์คินสัน


สารอาหารต้านโรค
ใน แต่ละวัน กินแคลเซียม 800 มก. และแมกนีเซียม 400 มก. (ถ้ารักษาโรคนี้โดยไม่ใช้ยา ควรเริ่มกินในปริมาณต่ำๆ ก่อน เริ่มจากใช้แคลเซียม 500 มก. แมกนีเซียม 250 มก. แร่ธาตุ 2 ชนิดนี้ต้องกินในอัตราส่วน 2:1 เสมอ) และกินโพแทสเซียมอีก 800 มก. หากขาดแร่ธาตุเหล่านี้ชนิดใดชนิดหนึ่งจะทำให้ขากระตุกยิ่งขึ้น
กิน วิตามินบี กรดโฟลิก (หรือโฟเลต) ให้มากขึ้น กรดโฟลิกช่วยเสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น (โรคขากระตุกจะทำให้ออกซิเจนในเลือดลดลง) อาหารที่มีกรดโฟลิกมาก ได้แก่ ผักใบเขียว น้ำส้มคั้น ธัญพืชไม่ขัดสี และถั่วชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีอยู่ในวิตามินรวมทั่วไป
กินอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก เช่น ผักใบเขียว ตับ จมูกข้าวสาลี ถั่วแดง และเนื้อไม่ติดมัน เหล็กเป็นส่วนประกอบหนึ่งของโมเลกุลไมโอโกลบิน (myoglobin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่เก็บออกซิเจนไว้ในกล้ามเนื้อและนำมาใช้ในยามที่ร่างกาย ต้องการ ถ้าไม่มีธาตุเหล็ก ไมโอโกลบินก็ไม่มีออกซิเจนเพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อมีปัญหา

ยืดเส้นยืดสายคลายอาการ

เมื่อ รู้สึกว่าขาจะกระตุก ให้นวดขาหรือเหยียดขาออกให้สุดจนปลายหัวแม่เท้าเหยียดตรง วิธีนี้เป็นการส่งสัญญาณไปยังสมองให้เอาชนะความรู้สึกซ่าๆ จากโรคขากระตุกได้ แต่ต้องหยุดทำถ้าเป็นตะคริว เพราะตะคริวเป็นอาการบ่งชี้ว่ามีภาวะขาดแมกนีเซียม ซึ่งการเหยียดขาไม่ช่วยให้ดีขึ้น
นั่งริมขอบเตียง นวดขยำน่องแรงๆ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อระดับลึกลงไป
ถ้าทำแล้วขายังไม่หยุดกระตุก ให้ลุกขึ้นเดินเล่นรอบบ้านหรือรอบห้องนอน ก้าวขายาวๆ และดัดขา เพื่อยืดกล้ามเนื้อ

ป้องกันไว้ก่อน
ตอนเย็น หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน ซึ่งจะกระตุ้นกล้ามเนื้อและประสาทขาของคุณ
เลิกสูบบุหรี่ เพราะมีผลการศึกษาพบว่า คนสูบบุหรี่มีแนวโน้มเป็นโรคขากระตุกมากกว่าคนที่ไม่สูบ
หลีกเลี่ยงยารักษาโรคหวัดและไซนัส เพราะมักจะทำให้อาการของโรคขากระตุกยิ่งแย่ลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น