6 มี.ค. 2554
"สลอด ตำแย หมามุ่ย"...พืชยอดนิยม ในการใช้เเกล้ง!
สลอด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton tiglium L.
ชื่อสามัญ : Purging Croton, Croton Oil Plant
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : บะกั้ง (แพร่) มะข่าง มะคัง มะตอด หมากทาง หัสคืน (ภาคเหนือ) ลูกผลาญศัตรู สลอดต้น หมากหลอด (ภาคกลาง) หมากยอง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 3-6 ม. ต้นเกลี้ยง ใบเดี่ยวรูปไข่ เรียงสลับกัน ปลายใบแหลม ฐานใบกลม ขอบใบหยัก แบบซี่ฟัน มีเส้นใบ 3-5 เส้น ที่ฐานใบมีต่อม 2 ต่อม เนื้อใบบาง ก้านใบเรียวเล็ก ดอกเล็ก ออกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นช่อที่ยอด ใบประดับมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรืออยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ มีขนรูปดาว กลีบรองกลีบดอก 4-6 กลีบ ปลายกลีบมีขน กลีบดอก 4-6 กลีบ ขอบกลีบมีขน ฐานดอกมีขน และมีต่อมจำนวนเท่ากันและอยู่ตรงข้ามกันกับกลีบรองกลีบดอก เกสรผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรไม่ติดกัน เมื่อดอกยังอ่อนอยู่ ก้านเกสรจะโค้งเข้าข้างใน ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกรูปไข่ มีขนที่โคนกลีบ ไม่มีกลีบดอก หรือถ้ามีก็เล็กมาก รังไข่มี 2-4 ช่อง ผลแก่จัดแห้งและแตก รูปขอบขนานหรือรี กว้าง 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. หน้าตัดรูปสามเหลี่ยมมนๆ เมล็ดรูปขอบขนานแกมรูปรี สีน้ำตาลอ่อน (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530)
ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ผล เมล็ด เปลือก ราก
สรรพคุณ :
ใบ - แก้ตะมอย แก้ไส้ด้าน ไส้ลาม (กามโรคที่เกิดเนื้อร้ายจากปลายองค์กำเนิดกินลามเข้าไปจนถึงต้นองค์กำเนิด)
ดอก - ฆ่าเชื้อโรคกลากเกลื้อน แก้คุดทะราด
ผล - แก้ลมอัมพฤกษ์ ดับเดโชธาตุ มีให้เจริญ
เมล็ด - เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ่ายร้อนคอ ปวดมวน ก่อนใช้ต้องทำการประสะก่อน (อันตราย)
เปลือกต้น - แก้เสมหะอันคั่งค้างอยู่ในอกและลำคอ
ราก - แก้โรคเรื้อน ถ่ายเสมหะ ถ่ายโลหิตและลม
วิธีการใช้
ส่วนใบ - ก่อนจะนำมาผสมยา ให้นึ่งเสียก่อน
เมล็ด - เป็นยาถ่ายอย่างแรง การใช้เมล็ดเป็นยาถ่ายต้องระวังมาก เพราะน้ำมันในมเล็ดสลอดมีพิษร้อนคอ ไข้ปวดมวนและระบายจัด ก่อนใช้ผสมยา ต้องคั่วจนเกรียมให้หมดน้ำมันเสียก่อน อีกวิธีหนึ่งเอาเมล็ดใส่ในข้าวสุกปั้นเป็นก้อนแล้วต้มให้นานๆ จึงใช้ผสมยา อีกวิธีหนึ่งต้องเอาเมล็ดสลอดใส่ปากไหปลาร้า ทิ้งไว้ 3 วัน จึงเอาขึ้นมาตากแห้งใช้ผสมยาได้
เมื่อจะทำยาระบาย ต้องมียาคุมฤทธิ์ไว้ให้ดี มิฉะนั้นจะมีคลื่นเ...ยน ปวดมวนไชท้องอย่างยิ่ง ฉะนั้น การใช้สลอดนี้ ถ้ายาคุมฤทธิ์ไว้ได้ดีก็จะเป็นยาวิเศษขนานหนึ่ง แต่ถ้าวิธีคุมฤทธิ์ไว้ไม่ดีก็อย่าบังควรใช้เลย ให้ใช้ยาขนานอื่นแทน
ต้นตำแย หรือ ลังตังช้าง(กลาง)
Laportea bulbifera (Siebold & Zucc.) Wedd.
เป็นพืชล้มลุกสูงได้ถึง 1 เมตร ไม่ผลัดใบ ทุกส่วนมีขนสากกระจายทั่วไป
ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ทรงใบรูปรีแกมไข่ โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม
ขอบใบหยักซี่ฟัน ดอกเล็ก สีเขียวอ่อน ถึงม่วงอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อโตตามง่ามใบ ผลเล็ก ผิวผลมีหนามแข็ง
ต้น ตำแยช้าง
Girardinia diversifolia (Limk.) Friis
ชื่อพ้อง G.heterophylla Decne.
ชื่อสามัญ : Thatch Grass , Wolly Grass, Lalang, Alang-alang
ชื่อไทยอื่นๆ กะลังตังช้าง(ใต้) บังหานเขา(เชียงใหม่) ละชา,แล่แซะ(กระเหรี่งแม่ฮ่องสอน) หานสา, หานช้างไห้, หานช้างฮ้อง(เหนือ)
ส่วนที่เป็นพิษ ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆ
ทำให้เจ็บคันและปวด
เป็นพืชล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร ไม่ผลัดใบ ทุกส่วนมีขนสากกระจายทั่วไป ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ทรงใบรูปไข่ โคนใบมน ปลายแหลม ขอบใบหยักซี่ฟัน บางทีเป็นพูโตๆหลายพู ดอกเล็กสีเขียวอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อแบบหางกระรอกตามง่ามใบ ผลเล็ดกลม ผิวผลมีหนามแข็งหนาแน่น ส่วนที่เป็นพิษ ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆทำให้เจ็บคันและปวด
สารพิษและสารเคมีอื่นๆ เช่น histamine, acetylcholine, 5-hydroxytryptamine, formic acetic acid
การเกิดพิษ ขนที่ถูกผิวหนังจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน บวมแดง ระคายเคืองมาก
(ข้อมูลจาก ไม้ประดับออนไลน์)
หมามุ่ย
หมามุ่ย เป็นพืชตระกูลถั่วอายุข้ามปี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mucuna pruriens L. (พันธุ์พื้นเมือง) Mucuna capitata (พันธุ์ไม่มีขนคัน) ขึ้นเป็นแถวคลุมไม้อื่นจนแน่นทึบ โดยเฉพาะในไร่ร้างจะพบหมามุ่ยขึ้นเต็มไปหมด จนกลายเป็นพืชที่มีปัญหา แต่ละเถาจะติดก้านใบขนาดใหญ่ยาว ประกอบด้วยใบย่อย 3 ใบ ใบหนานุ่มมีขนอ่อน ติดดอกช่วงปลายฤดูฝนเป็นช่อ กลีบดอกสีม่วงอ่อนดูเด่น หมามุ่ยให้ดอกช่อดอกยาวใหญ่ทยอยกันบานจากโคนถึงปลายช่อ
ต่อมาก็ติดฝักถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ฝักจะแบน ส่วนพันธุ์เล็กฝักจะกลม ฝักจะมีขนอ่อนคลุม ฝักแก่นี้เองจะกลายเป็นพืชที่มีพิษ เพราะขนจะปลิวว่อนไปตอนต้นลมตั้งแต่ฤดูหนาวถึงฤดูแล้ง ถ้ามีดงหมามุ่ยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง จะคันยุบยับไปทั้งตัว ยิ่งเหงื่อตกยิ่งรู้สึกคันยิ่งขึ้น แก้โดยถูกับผมหรือใช้เทียนขี้ผึ้ง หรือใช้ข้าวเหนียวสุกนวดให้เป็นก้อน กลิ้งเบา ๆ บริเวณที่คัน
โชคดีที่นักพฤษศาสตร์ปรับปรุงพันธุ์พื้นเมืองให้เป็นสายพันธุ์ใหญ่ ใบเล็ก ฝักไม่มีขนพิษและอายุสั้น โดยนำมาปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด หรือปลูกคลุมพื้นที่ว่างเปล่า เมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา มีนักวิชาการได้นำเมล็ดพันธุ์หมามุ่ยไม่มีพิษมาจากโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอาจจะนำพันธุ์มาจากไต้หวันและได้นำมาขยายพันธุ์ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.พนมสารคาม จ. ฉะเชิงเทรา
ต่อมาได้กระจายนำพันธุ์ไปทั่วทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีการนำหมามุ่ยไม่คันมาปลูกข่มหญ้าขจรจบ ดอกเหลืองในกระถางทดสอบ พบว่าสามารถข่มวัชพืขได้ดีเช่นเดียวกับถั่วพร้าและถั่วแปบในระยะแรกเพราะเป็นพืชที่มีเมล็ดใหม่ เปลือกบาง จึงงอกได้รวดเร็วมีใบใหญ่บังแสงได้มากพอ จนวัชพืชไม่สามารถจะงอกได้ แต่หมามุ่ยชนิดนี้เป็นพืชล้มลุกอายุสั้นโทรมเร็วไม่สามารถข่มวัชพืชข้ามปีได้
การใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ดิน ควรปล่อยให้ขึ้นคลุมพื้นที่ลาดเทซึ่งปล่อยทิ้งไม่ใช้ประโยชน์ จะช่วยยึดดินไม่ให้พังทลายในฤดูฝน ถ้าเป็นหมามุ่ยพันธุ์พื้นเมือง ไม่ควรเข้าไปใกล้ ขณะติดฝักแก่ในฤดูแล้ง เพราะขนจะปลิวมาแตะผิวหนังทำให้ผื่นคันได้ส่วนพันธุ์ต่างประเทศใช้ปลูกคลุมดินเหมือนพืชคลุมดินทั่ว ๆ ไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น