18 ธ.ค. 2554

น้ำดื่มฟลูออไรด์ดีจริงหรือ


เรื่องของปากและฟันเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ยิ่งปัจจุบันที่มีสารพัดขนมหวานในหลากหลายรูปแบบถูกส่งออกมาให้ผู้บริโภคได้ลิ้มลอง


ซึ่งนอกจากจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นแล้ว เจ้าขนมหวานยังเป็นโจทย์ตัวสำคัญที่จะสร้างความเสียหายให้กับสุขภาพในช่องปากที่หลายคนมักมองข้าม


แม้จะมากด้วยข้าวของยั่วแบคทีเรีย แต่ในปัจจุบันก็มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับทันตกรรมเข้ามาช่วยทุ่นความหนักใจให้กับเรื่องของช่องปากอย่าง ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และที่กำลังฮอตแบบสุดๆ คงเป็นน้ำดื่มที่มีสารฟลูออไรด์ผสมลงไปด้วย ซึ่งก็ทำให้หลายคนสนใจว่าจะเกิดผลดีหรือผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้างหากอยากรักษาสุขภาพฟันด้วยน้ำดื่มดังกล่าว

รู้จักกับฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์ เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ใช้ป้องกันโรคฟันผุ สามารถใช้ได้ 2 วิธี คือ

1. ฟลูออไรด์ที่ใช้ในระบบทั่วร่างกาย คือ การเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำหรืออาหารเพื่อให้เด็ก รับประทาน เพื่อมุ่งหวังผลให้ฟลูออไรด์เข้าไปอยู่ในฟันในขณะที่ฟันกำลังมีการเจริญเติบ โต ซึ่งสามารถทำได้โดยการเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่ม ในนมเสริมในรูปของยาฟลูออไรด์ ในอาหาร เช่น ใบชา อาหารทะเล (ปลาแห้ง กุ้งแห้ง) เนื้อสัตว์ ผัก ในน้ำบาดาล ในอากาศในบริเวณที่มีโรงงานถลุงเหล็ก อลูมิเนียม ตะกั่ว ทองแดงจะมีฟลูออไรด์ในอากาศสูง

2. ฟลูออไรด์เฉพาะที่ คือ การใช้ฟลูออไรด์สัมผัสกับฟันโดยตรง ซึ่งสามารถทำได้โดยการ แปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ การใช้ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ การขัดฟันด้วยสารฟลูออไรด์ การที่ยาฟลูออไรด์สัมผัสกับฟันก่อน

ฟลูออไรด์จำเป็นต่อวัยใด

การใช้ฟลูออไรด์เสริมในรูปของยาฟลูออไรด์ จะเริ่มใช้ต้องแต่เด็กอายุ 6 เดือน - 16 ปี เนื่องจากยังมีการสร้างของหน่อฟันน้ำนมและหน่อฟันแท้ ซึ่งขนาดของฟลูออไรด์เสริมที่ใช้ขึ้นกับปริมาณของฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม และอายุของเด็ก ส่วนฟลูออไรด์ที่ใช้ในระบบเฉพาะที่ ได้แก่

-ยาสีฟันฟลูออไรด์ ใช้ ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สำหรับในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี ควรใช้ยาสี ฟันในขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถควบคุมการกลืนได้ดี ถ้าใช้ในปริมาณยาสีฟันมากเกินไป เด็กอาจจะกลืนยาสีฟันลงไปทำให้เกิดอันตรายได้ ส่วนในผู้ใหญ่ก็บีบยาสีฟันยาวประมาณ 1 นิ้ว

-ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ นิยมใช้ในเด็กตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ในผู้ใหญ่ที่มีฟันผุลุกลาม รวมถึง คนที่มีโอกาสเสี่ยงจะเกิดฟันผุได้ง่าย เช่น คนที่ได้รับการฉายแสงรักษาโรคบริเวณใบหน้า ลำคอเพราะน้ำลายจะน้อย ฟันผุบริเวณรากฟัน ใส่เครื่องมือจัดฟัน

-การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ ไม่ มีข้อกำหนดว่าควรเคลือบฟลูออไรด์และหยุด เคลือบฟลูออไรด์เมื่อใด แต่ไม่แนะนำให้เคลือบฟลูออไรด์ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เนื่องจากมีโอกาสกลืนฟลูออไรด์สูงมาก

ดื่มฟลูออไรด์

ทั้งนี้ สารฟลูออไรด์เป็นสารที่มีทั้งประโยชน์และโทษต่อร่างกาย โดยสารฟลูออไรด์สามารถช่วยป้องกันฟันผุ จึงนิยมนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และในน้ำดื่ม ซึ่งในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามที่องค์การอนามัยโลกระบุไว้ การได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยป้องกันฟันผุ โดยฟลูออไรด์จะเร่งให้เกิดการสะสมกลับของแร่ธาตุที่ผิวฟัน เป็นการยับยั้งการเกิดฟันผุ และยังช่วยลดปริมาณและความรุนแรงของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ อีกทั้งยังช่วยรักษาโรคกระดูกบางชนิดได้ และถ้าหากได้รับตั้งแต่เด็กในช่วงที่มีการสร้างฟันตั้งแต่ที่ฟันยังไม่ขึ้น จะเป็นผลดีต่อสุขภาพฟันคือ จะช่วยให้ผิวเคลือบฟันแข็งแรง ไม่ผุง่าย แต่ถ้าได้รับมากไปอาจเกิดโทษต่อร่างกายได้ คือ ถ้าเกิดในลักษณะเฉียบพลันจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย หรือถ้ามีการสะสมในร่างกายมาเป็นเวลานานอาจทำให้ฟันมีตกกระ และเกิดผลข้างเคียงกับโครงสร้างของกระดูกและฟัน โดยอาจมีอาการตัวโก่งงอ เจ็บปวดตามข้อ เคลื่อนไหวลำบาก หรืออาจถึงพิการได้

รู้ประโยชน์และโทษของน้ำดื่มผสมฟลูออไรด์กันไปแล้ว งานนี้ ก่อนที่จะเลือกซื้อมาบริโภคก็อย่าลืมตรวจสอบวิธีการใช้อย่างละเอียด เพียงเท่านี้ คุณก็เป็นผู้หนึ่งที่มีสุขภาพในช่องปากที่ดีได้



ที่มาข้อมูล : www.e-magazine.info





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น