ข้อคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อเครื่อง Notebook มาไว้ใช้งาน เพื่อให้พิจารณาก่อนการตัดสินใจซื้อนะครับ ไม่ว่าท่านจะซื้อเอง หรือใช้เงินหลวงซื้อก็เถอะ น่าจะพิจารณาไว้เป็นหลักเกณฑ์ครับ ...เพื่อความคุ้มค่าและความสบายใจในภายหลัง
1. แบรนด์ดัง ย่อมแพง แต่ก็ตอบแทนด้วยคุณภาพดี และระยะยาวปัญหาจุกจิกกวนใจน้อย แต่ทุนจำกัดก็จำเป็นต้องเลือกแบรนด์กลางๆ ให้ดูที่ Warranty เป็นหลัก เอาแบบ 3 ปีได้ดีที่สุด แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็น 1 ปี
2. ก่อนจ่ายตังค์ ถามย้ำให้มั่น มีใบ VAT และเอกสารรับประกันที่เรียบร้อย เพราะส่วนใหญ่เกือบ 100% ร้านจะบอกว่า ไม่ต้องใช้หรอกใบเสร็จ ศูนย์จะตรวจจากวอยบนสินค้า ซึ่งโกหก ตอแหล
3. ก่อนซื้อต้องได้เปิดเป็น 1 ชั่วโมงอย่างต่ำ ดูความร้อนบริเวณวางมือพักตอนพิมพ์ และปัญหาไฟรั่ว ถ้าร้อนและคุณยังทนได้ (ถ้าไม่กลัวมือด้าน) ก็ถือว่า OK
4. ตรวจ Dead / Hot Pixels ง่ายๆ ก็คือทำให้เดสก์ทอปเป็นสีพื้น สำคัญนะ ทำทุกสี อย่าเชื่อผู้ขายว่า ทำสีดำก็พอ ตอแหลอีกครับ สำหรับผมจะมีโปรแกรมทดสอบ Dead Pixels หากใครต้องการก็ติดต่อมานะครับ
5. อันนี้ตรวจยากมาก การชาร์จแบต เพราะกว่าจะเต็ม กว่าจะคายหมด ก็ล่อไปเกินครึ่งวันแล้ว ให้ตรวจภายใน 7 วัน และย้ำกับทางร้านว่า ถ้าสินค้ามีปัญหาเปลี่ยนตัวใหม่ใน 7 วัน เป็นลายลักษณ์อักษรนะครับ ไม่เช่นนั้นจะถูกหักหลังได้
6. ram ครับ ไม่น่าเชื่อ เขาถอดแรมของจริงไปขายกันครับ แล้วใส่แรมปลอมให้ ต้องให้คนรู้เก่งสักหน่อยนะ เรื่องนี้ ไปเป็นเพื่อน ไม่รู้จะอธิบายยังไงดี
7. ไม่น่าเชื่ออีกนั้นแหละ สาย AC ของ adapter ชอร์ตจนขาดข้างในได้ครับ ไม่อยากเอ่ยยี่ห้อ แต่เป็นมากกว่า 1 ยี่ห้อ
8. ตรวจสภาพตัวถัง คีย์ รูเสียบให้ดี มีบิดเบี้ยว ถลอก หรือรอยขูดงัดใดๆ หรือไม่
9. OS ที่มากับเครื่องตรงไหม ลองใช้แผ่น Recovery CD ด้วยใน 7 วันนั้น
10. รีบลงทะเบียนกับศูนย์ หรือโทรไปขอข้อมูล (โดยเฉพาะก่อนซื้อ) บางเรื่องรู้หลังซื้อแล้วก็ต้องร้องไห้อย่างเดียว
11. เช็ครายการสินค้าที่มีมาให้ครบ ยอมเสียเวลาหน่อย พวกสาย พวก manual พวก CD/DVD
12. ลองให้หมดทุกอย่างที่มีบนเครื่อง ใน 7 วันที่ยังเปลี่ยนเครื่องได้ ใช้ทุกพอร์ต ทุกรู ลงซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้งาน และลอง burn-in ถ้าแรมไม่ดี ฮาร์ดดิสก์แย่ๆ ก็จะป๊อกหยุดแฮงก์ไปเลย รีบเอาไปเปลี่ยนเครื่องใหม่
13. นึกได้เท่านี้ แต่เขียนจากประสบการณ์และความคับแค้นใจ นึกว่าเกิดในลุ่มแม่น้ำแกมบีโบลองโก ซื้อ Notebook เมืองไทย ทำไมมันปวดหัวยังงี้ก็ไม่รู้ ตอนอ้อนออดดึงลูกค้าเข้าร้านไปซื้อเหมือนเราเป็นพระเจ้า พอเงินย้ายกระเป๋าออกไปแล้ว โอว เราไปขอฟรีเขามาหรือนี้ สอบถามอะไรหน่อย ยังกับยักษ์จะมากัดเรา ดังนั้นขอให้ใจเย็นๆ ครับ ของเกือบแสนบาท ให้เวลากับการซื้อมันหน่อย เดินๆ และก็เดินๆ เข้า-ออกหลายๆ ร้าน สอบถามข้อมูลทางโทรศัพท์กับศูนย์เยอะๆ เข้าไว้
และนี่อีกอย่างหนึ่งที่ควรรู้
1. ยี่ห้อที่บริการดีขั้นยอดเยี่ยม ยี่ห้อ Fujitsu และยี่ห้อ IBM
2. ถ้าซื้อแบบมี vat คือจ่ายภาษี เรื่องบิลก็สำคัญครับ ควร check ชื่อ วันที่ซื้อ และราคาให้ตรงกับความเป็นจริงครับ แนะนำให้ต่อราคาก่อน vat เยอะๆ
3. ตรวจดูการทำงานของลำโพง keyboard ทุกปุ่ม ลองเปิด word ดูแล้วลองพิมพ์ดูว่าขึ้นทุกปุ่มมั้ย การยุบ-เด้งเป็นปกติหรือเปล่า เปิด programs หลายๆ โปรแกรม เช่น photoshop + ACDSee + Winamp + Word ลองเล่นสลับไปมาดูว่า hang หรือเปล่า
4. ตรวจ dead pixel คือจุดเสียที่หน้าจอ โดย set wallpaper ให้เป็นสีตามต้องการ อาจจะดูแม่สีให้ครบก็พอใช้ได้ แดง/เหลือง/น้ำเงิน/ขาว/ดำ ดูว่ามีจุดสีแบบไหนโผล่มาแปลกๆ หรือเปล่า
5. แบตเตอรี่ ให้ลองใส่ดูและลองเสียบสายชาร์จดูครับว่าไฟเข้าหรือเปล่า ลองเล่นไปสักพักแล้วลองดึงสายไฟออกขณะเปิดเครื่องอยู่ ถ้ายังใช้งานได้ตามปกติก็ ok ภายใน 7 วันรีบลองใช้งานให้ครบทุกแบบ อย่าลืมขอสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรว่ายอมให้เปลี่ยนเครื่องได้ถ้ามีปัญหาภายใน 7 วันไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
6. ให้ช่างลองเปิดแรมดู สังเกต void ที่ติดบนแรมว่าเป็นที่เดียวกับเครื่องหรือเปล่า ถ้าใช่ก็ ok ครับ
7. สาย AC คือสายชาร์ท ที่ pack อยู่ในกล่องมีการเก็บที่เรียบร้อยหรือเปล่า ลองเอามาเสียบใช้งานดู ลองขยับบริเวณตรงก้อนๆ สีเหลี่ยมและบริเวณหัวเสียบทั้งค้านหัวและด้านท้าย สังเกตดูว่าการชาร์จไฟยังปกติหรือเปล่า ถ้าปกติก็ใช้ได้ครับ ยี่ห้อที่มีปัญหาผมก็พอรู้ครับ ถ้าใครอยากรู้ mail มาถามได้ครับ
8. ลองดูบริเวณขั้วเสียบแบตเตอรี่และบริเวณปุ่มยางรองใต้เครื่องว่ามีร่องรอยมากหรือเปล่า ลองพลิกดูรอบๆ เครื่องๆ ด้วยครับ
9. ถ้าเป็นแบบมี licence windows คือโปรแกรมวินโดว์ส XP มาด้วยอย่าลืมขอแผ่น cd มาด้วยนะครับ ลอง check ดูว่าที่ลงในเครื่องเป็นตัวของเราจริงๆ และต้องมี sticker licence มาด้วยนะครับ 10. ก่อนซื้อโทรไปศูนย์ check ข้อมูลเครื่องที่จะซื้อ ดู serial number ได้ที่ใต้เครื่องนะครับ 11. ในคู่มือที่แถมมาในกล่องจะบอกว่าแถมอะไรมาบ้าง ลองตรวจดูให้ครบครับ หรือ check ได้จาก web ของแต่ละยี่ห้อก็ได้ครับ 12. ลองเปิดเครื่อง เปิดเครื่องทิ้ง ไว้ซัก 1-2 วันดูนะครับ อาจจะทำการ defrag ไปพร้อมๆ กับเล่น winamp ก็ได้ ส่วนใหญ่ถ้ามีปัญหาจะพบในช่วงนี้ครับ
และต่อด้วย 3 ขั้นตอน ก่อนการจะซื้อครับ ..... แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. ช่วงตัดสินใจ
2. ช่วงได้รับเครื่อง
3. ช่วงนำเครื่องมาถึงที่บ้าน 1. ช่วงตัดสินใจ จดรายการคำถามเป็นข้อๆ ที่เราสงสัย และต้องใช้ประกอบการตัดสินใจ เช่นถามว่า 1. รุ่น ? มีปุ่มเล่น cd โดยไม่บูต win มั๊ย 2. รุ่น มีอินฟราเรดมั๊ย 3. ลองฟังเสียงจากลำโพงแต่ละรุ่นดูสิ
4. แถมอะไรบ้าง แถมแรมเปล่า แฟลชไดรฟ หรือแถม optical mouse
5. แรมที่เทินหมดประกันไปเลย หรือยังรับประกันศูนย์ด้วยมั๊ย
6. แรมที่ต้องการ เพิ่มจะอยู่ในส่วนรับประกันแรมด้วยหรือไม่
7. HD จะเพิ่มได้มั๊ย ขอทราบราคาถ้าเพิ่มเป็น 60 หรือ 80 ยี่ห้อ เหมือนเดิมมั๊ย
8. HD ที่เทิน หมดประกันไปเลย หรือยังรับประกันศูนย์ด้วยมั๊ย
9. มีปัญหาภายใน 7 วัน จะเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้เลยมั๊ย
10. มี dead pixel คือจุดเสียที่หน้าจอ จะเปลี่ยนให้มั๊ย
11. ครบ 3 ปีแล้ว จะต่อประกันได้มั๊ยครับ ถ้าได้ปีละกี่บาท
12. adaptor + battery อยู่ในเงื่อนไขรับประกัน 3 ปีด้วยมั๊ย 13. อะไรบ้างที่ไม่รับประกัน
14. มีใบ VAT คือใบกำกับภาษีตอนซื้อมั๊ย
15. สรุปราคาจากจากร้านอื่นๆ หรือจากเว็บไซต์ แล้ว print ไปด้วยตอนซื้อเปรียบเทียบราคาดูหลายๆ ร้าน แล้วลองต่อรองราคากับเจ้าของร้าน แล้วอ้างว่า เพื่อนๆ เขา ซื้อมาราคาเท่านี้รุ่นเดียวกันเลย สเปคเหมือนกันทุกอย่าง หรือบอกว่าร้านโน้นขายราคานี้นะ ถามของแถม + ราคาที่รวมภาษีแล้วเท่าไหร่ 2. ช่วงได้รับเครื่อง
======================
1. ใบรับประกัน สอบถามการส่งและลงทะเบียน เงื่อนไขการรับประกัน เช็คให้ละเอียด
2. ใบ VAT check ชื่อร้าน วันที่ซื้อ คนขายต้องเซ็นชื่อด้วย และราคาให้ตรงกับความเป็นจริง ให้เซลล์เย็บนามบัตรติดกับใบเสร็จไว้
3. ตรวจสอบรายการของที่ให้มาจาก list กล่อง พวกสาย พวก manual พวก CD/DVD ในคู่มือที่แถมมาในกล่องจะบอกว่าแถมอะไรมาบ้าง
4. ทดสอบเสียบสาย AC ของ adapter ขยับบริเวณตรงก้อนสีเหลี่ยมและบริเวณหัวเสียบทั้งด้านหัวและด้านท้าย สังเกตดูว่าการชาร์จไฟยัง ปกติหรือเปล่า ถ้าปกติก็ใช้ได้
5. บานพับสวิงต้องแน่น ไม่หลวมแต่อาการแน่นต้องไม่มีเสียงดังแบบติดๆขัดๆอะไร รอยน็อต บานพับ แข็งแรงดีไหมเวลาพับปิด หรืออ้าเพื่อเปิดจอ
6. ตรวจสภาพตัวถัง คีย์ รูเสียบให้ดี มีบิดเบี้ยว ถลอก หรือรอยขูดงัดใดๆ หรือไม่ ดูบริเวณขั้วเสียบแบตและบริเวณปุ่มยางรองใต้เครื่องว่ามีรอยมากหรือเปล่า ลองพลิกดูรอบๆ เครื่องๆ ด้วยครับ
7. เปิดแรมดู สังเกต void ที่ติดบนแรมว่าเป็นที่เดียวกับเครื่องหรือเปล่า ถ้าใช่ก็ ok ครับ
8. ถ้าเป็นแบบมี licence windows มาด้วยอย่าลืมขอแผ่น cd มาด้วยนะครับ ลอง check ดูว่าที่ลงในเครื่องเป็นตัวของเราจริงๆ และต้องมี sticker licence มาด้วยนะครับ
9. ก่อนซื้อต้องได้เปิดเป็น 30 นาที ดูความร้อนบริเวณวางมือพักตอนพิมพ์ และปัญหาไฟรั่ว ถ้าร้อนและคุณยังทนได้ก็ถือว่า OK
10. ตรวจ Dead/Hot Pixels ทำให้เดสก์ทอปเป็นสีพื้น ทำทุกสี แดง/เหลือง/น้ำเงิน/ขาว/ดำ/เทา ทำในห้องมืด ดูว่ามีจุดสีแบบไหนโผล่มาแปลกๆ หรือเปล่า
11. ตรวจ ความเร็วของ CPU, RAM จำนวนเท่าที่เราสั่งไปหรือเปล่า
12. ตรวจดูการทำงานของลำโพง keyboard ทุกปุ่ม ลองเปิด word ดูแล้วลองพิมพ์ดูว่าขึ้นทุกปุ่มมั้ย การยุบ-เด้งเป็นปกติหรือเปล่า
13. เปิด programs หลายๆ โปรแกรม เช่น photoshop + ACDSee + Winamp + Word ลองเล่นสลับไปมาดูว่า hang หรือเปล่า
14. ย้ำกับทางร้านว่า ถ้าสินค้ามีปัญหาเปลี่ยนตัวใหม่ใน 7 วัน ขอให้เขียนเป็นเป็นลายลักษณ์อักษรว่ายอมให้เปลี่ยนเครื่องได้ถ้ามีปัญหาภายใน 7 วันไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
3. ช่วงนำเครื่องมาถึงที่บ้าน 1. การชาร์จแบตเตอรี่ เพราะกว่าจะเต็ม กว่าจะคายหมด ก็กินเวลาไปเกินครึ่งวันแล้ว ให้ตรวจสอบภายใน 7 วัน แบตเตอรี่ให้ลองใส่ดูและลองเสียบสายชาร์จดูครับว่าไฟเข้าหรือเปล่า ลองเล่นไปสักพักแล้วลองดึงสายไฟออกขณะเปิดเครื่องอยู่ ถ้ายังใช้งานได้ตามปกติก็ ok ภายใน 7 วันรีบลองใช้งานให้ครบทุก 2. การชาร์จในตอนแรกที่ได้รับแบตเตอรี่ มานั้น NiCD , NI-HM นั้นใช้ชาร์จ นาน12 - 14 ชม. จำนวน 3 ครั้งทุกครั้งใช้แบตเตอรี่ให้หมดแล้วถึงจะชาร์ทใหม่ เพื่อเป้นการกระตุ้นธาตุ Ni ครับ ส่วนแบตเตอรี่แบบ Li-ion (ลิเที่ยมไอออน) และ Li-Poly (ลิเที่ยมโพลิเมอร์)นั้นไม่ต้องครับ แค่ทำให้มันเต็มหรือชัวช์ๆ ก็ 3 ครั้งแรกให้ชาร์จสัก 6 ชม. ก็พอครับ แต่ Li-ion อย่าทำให้แบตหมดเกลี้ยงเป็นอันขาดนะครับ เพราะจะทำให้แบตเตอรี่เสียได้ ส่วน Li-Poly นั้นแก้ไขส่วนนี้มาแล้ว และเป็นแบตที่มีน้ำหนักเบากว่า Li-ion 3. windows ที่มากับเครื่องตรงตามสเปคไหม ลองใช้แผ่น Recovery CD ด้วยใน 7 วันนั้น
4. โทรถามกะทางศูนย์ล่ะครับว่า Serial เครื่องของคุณมีปัญหาอะไรมั้ย รีบลงทะเบียนกับศูนย์ หรือโทรไปขอข้อมูล (โดยเฉพาะก่อนซื้อ) บางเรื่องรู้หลังซื้อแล้วก็ต้องร้องไห้อย่างเดียว ก่อนซื้อโทรไปศูนย์ check ข้อมูลเครื่องที่จะซื้อ ดู serial number ได้ที่ใต้เครื่อง
5. ดูเครื่อง ร้อน (กรณีที่ผิดปกติ) ให้ ลอง เอา หยด น้ำ 1 หยด หยดไป ตรง ด้าน ขวาล่าง ของ Touch pad ประมาณ 2.5 ซม. ถ้าเครื่อง ที่ไม่มีปัญหา และ ถ้าเป็น centrino ด้วย น้ำจะต้องไม่แห้งก่อน 3 นาที หลังจากหยดไปแล้ว ถ้า แห้งก่อน 3 นาที ให้ เปลี่ยนเครื่องเลยครับ ระบบ ระบายความร้อน หรือ ไม่ก้อ cpu มีปัญหา ครับ เพราะ โดน ทั่วไปแล้ว น้ำจะแห้ง ประมาณ 5- 6 นาทีหลังจากที่ หยดไปแล้วครับ ผมว่าซ้ายหรือขวา ขึ้นอยู่กับเครื่องนั้นๆ มากกว่า ว่า Harddisk อยู่ตรงไหน ปกติแล้วตำแหน่งใกล้ๆ touchpad เป็นช่องใส่ harddisk ของ notebook ถ้าใส่ด้านไหนก็ร้อนด้านนั้น อีกด้านเป็น Battery
6. ลองใช้ให้หมดทุกอย่างที่มีบนเครื่อง ใน 7 วันที่ยังเปลี่ยนเครื่องได้ ใช้ทุกพอร์ต ทุกรู ลงซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้งาน และลอง burn แผ่นซีดีดู ถ้าแรมไม่ดี ฮาร์ดดิสก์แย่ๆ ก็จะป๊อกหยุดแฮงก์ไปเลย รีบเอาไปเปลี่ยนเครื่องใหม่ copy CD จากแผ่นลง NB ลองเปิดเครื่อง burn-in ไว้ซัก 1-2 วันดูนะครับ อาจจะทำการ defrag ไปพร้อมๆ กับเล่น winamp ก็ได้ ส่วนใหญ่ถ้ามีปัญหาจะพบในช่วงนี้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น