ผลวิจัยเนสท์เล่ ระบุ สมองจะดีได้ ต้องมาจากสุขภาพที่ดี พร้อมเผย 7 เคล็ดลับรักษาความทรงจำ ย้ำการกินอาหารถูกหลักโภชนาการ และออกกำลังกาย คลายเครียด ใช้งานสมองสม่ำเสมอจะกระตุ้นให้ความจำยืนยาวถึงวัยชรา
ศูนย์วิจัยเนสท์เล่ สวิตเซอร์แลนด์ แสดงรายงานผลการศึกษาวิจัยของ ดร.สเตฟานีสติวเดนสกีแห่งโรงเรียนแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยพิสเบอร์ก และเป็นหนึ่งในสมาชิกของสมาคมผู้สูงอายุของสหรัฐอเมริกา และร่วมจัดงานประชุมวิชาการเรื่อง "ความทรงจำที่ยืนยาว" ระบุว่า สมองมีพัฒนาการอย่างเต็มที่ในช่วงวัยรุ่น สามารถด้านการเสื่อมของความจำลงได้ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับการสร้างมวลกระดูกในช่วงวัยรุ่นที่สามารถช่วยป้องกันการหักของกระดูกในวัยชราลงได้เช่นกัน
ดร.สติวเดนสกี เปิดเผยข้อมูลจากการศึกษาว่า "
วิธีการที่ทำให้สมองมีสุขภาพที่ดีในวัยชรามีหลายองค์ประกอบ เช่น การออกกำลังกาย และมีสติอยู่เสมอ รวมทั้งการดำเนินชีวิตเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี แต่ทว่าสิ่งสำคัญ ก็คือ เซลล์สมองมีการพัฒนามากในช่วงต้นของชีวิต โดยทุกคนจะมีส่วนของเนื้อเยื่อสมอง หรือพื้นที่ความจำจำนวนมาก มีหลักฐานแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการสร้างเซลล์สมองขณะที่มีอายุน้อยมีส่วนป้องกันการเสื่อมของเซลล์สมองที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ดังนั้น เมื่อแก่ตัวไปสมองก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้ กระบวนการสร้างสมองเหมือนกับการสร้างกระดูก เมื่อการสร้างกระดูกขณะอายุยังน้อยนั้น หากมีการสูญเสีย ก็จะทำให้เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น"
นอกจากนี้ ดร.สติวเดนสกี ยังให้เคล็ดลับในการรักษาสติปัญญาในวัยชราให้เขามีความเฉียบคมอยู่เสมอ ทำได้โดย
1.กินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ โดยเลือกอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ แต่อุดมไปด้วยผักและผลไม้ รวมทั้งกลุ่มวิตามินบีที่เป็นประโยชน์ต่อสมอง รับประทานปลาซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า-3
2.ออกกำลังกายเป็นประจำ การเดิน การเต้นรำ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ หรือทำสวน อย่างน้อยวันละ 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปสู่สมองมีผลให้สุขภาพทำงานได้ดีตลอดเวลา
3.ไปพบแพทย์เป็นประจำและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เนื่องจากการตรวจร่างกายเป็นประจำมีความจำเป็นที่จะช่วยให้สุขภาพดีตลอดเวลา
4.นอนหลับให้เพียงพอ การนอนน้อยกว่า 7-8 ชั่วโมงในหนึ่งวัน ทำให้ความจำและสมาธิถดถอย
5.ลดความเครียด ซึ่งมีผลทำให้สมาธิลดลง รวมทั้งทำให้การเรียนรู้และความจำลดลงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นเหตุของการนอนไม่หลับ ซึ่งการออกกำลังกาย สวดมนต์ และการทำสมาธิจะช่วยลดความเครียดได้
6.การคิดและการใช้สมอง ยิ่งใช้สมองมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น ควรหากิจกรรมต่างๆ ให้สมองได้ทำเรื่อยๆ เช่น การอ่านหนังสือ เล่นเกมส์คอร์สเวิร์ด อภิปรายกลุ่ม และเข้าเรียนคอร์สพัฒนาตนเอง เช่นภาษา หรือดนตรีเป็นต้น
7.การเข้าสังคม ซึ่งการใช้เวลาร่วมกับผู้อื่นจะช่วยทำให้สมองเกิดการตื่นตัว เช่น การพบเพื่อนใหม่ๆ การเข้าเป็นสมาชิกหรืออาสาสมัคร กระทั่งการทำงานนอกเวลาก็ช่วยได้
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น