*การแอบอ้างกรมสรรพากรเพื่อหลอกลวงบุคคล และผู้เสียภาษี*
*การแอบอ้างกรณีที่ 1*
*แอบอ้างชื่อกรมสรรพากร ผู้บริหารกรม ข้าราชการกรม เพื่อให้ช่วยบริจาค ซื้อสินค้าเพื่อการกุศล*
*รูปแบบ* :
1. ออกหนังสือแจ้งโดยใช้หัวกระดาษตรากรมสรรพากร
2. แจ้งว่ากรมฯ มีโครงการให้ทุนการศึกษา ไถ่ชีวิตโค-กระบือ สนับสนุนสินค้าเพื่อการกุศล
3. ติดต่อผู้ประกอบการทางโทรศัพท์
4. เร่งรัด และกดดันผู้ประกอบการให้พิจารณา หลายกรณีข่มขู่ให้ช่วย
5. ให้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นบัญชีบุคคล ซึ่งมักเป็นบุคคลที่ต้องโทษจำคุก หรือเป็นคนตาย
6. คนร้ายมักจะกดเงินทาง ATM ทันทีที่ได้รับเงินโอน หรือมีการแจ้งจากผู้เสียหายว่าโอนเงินแล้ว
*ผลการดำเนินการที่ผ่านมา*
กรมฯ ได้สืบสวน และแจ้งตำรวจจับกุมได้ 1 กลุ่ม ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยดำเนินคดีทางศาลมีผลเป็นที่สุดแล้วจำคุก 3 คน
*สถานการณ์ในปัจจุบัน*
ยังคงมีผู้ดำเนินการอยู่ โดยให้ระวังการติดต่อ หรือการมีส่วนเกี่ยวข้องของบุคคลรายชื่อเหล่านี้เป็นพิเศษ และให้ทราบว่าเป็นการหลอกลวง อย่าได้หลงเชื่อเป็นอันขาด
1. นายธีรยุทธ์
2. นายกฤต พลเส....
3. กมลวรรณ
4. ศ.ดร.นคร ร่วมค....
5. ชีวนัย ฉา..บุญครอ......
6. ศ.ดร. ต้อย บัวสว่า...
7. อำพร
8. อาจารย์ศักดิ์ กาญ..นทรัพ.......
9. ธรรมนูญ เปี่..มประยู... (บางครั้ง อ้างว่าเป็น พ.ต.ท.)
*การแอบอ้างกรณีที่ 2*
*แอบอ้างการแจ้งคืนภาษีผ่านบัญชีธนาคาร และโอนเงินเข้าบัญชีทาง **ATM*
*รูปแบบ * :
1. โทรศัพท์ถึงบุคคล (ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่) โดยมีรายละเอียดชื่อที่อยู่ของบุคคลที่ติดต่อ
2. แจ้งหลักการและเหตุผลที่กรมฯ จะดำเนินการคืนภาษีที่ตรวจพบว่ายื่นผิดพลาดเข้าบัญชีธนาคาร
3. หากผู้เสียหายไม่เชื่อ หรือต้องการพิสูจน์ จะมีการทำระบบให้โทรศัพท์โชว์เบอร์เป็นเบอร์กลางกระทรวงการคลัง หรือหน่วยงานของกรมสรรพากร (ระบบตอบรับอัตโนมัติ) เพื่อให้ตรวจสอบย้อนกลับได้
4. มีการให้ผู้เสียหายแจ้งเบอร์บัญชี และมักจะสอบถามถึงยอดคงเหลือในบัญชี
5. ให้ผู้เสียหาย ทำกระบวนการรับเงินคืนภาษีผ่านบัญชีธนาคารทางระบบ ATM *โดยให้ดำเนินการผ่าน **Menu **ภาษาอังกฤษ* และให้ตามขั้นตอนที่บอกกล่าว
6. ให้กดตัวเลขยอดบัญชีที่เหลืออยู่ โดยอ้างว่าเป็นการรับรองตัวเลขเงินฝากในบัญชี และจะได้ทราบถึงยอดภาษี ที่จะทำการโอนเงินให้
7. แจ้งยอดบัญชีที่ต้องการให้โอน โดยอ้างว่าเป็นบัญชีคืนภาษีที่กรมสรรพากรจะตัดโอนเงินให้
8. ให้ดำเนินการกด Confirm ตัวเลข และรอรับเงินโอน แต่กระบวนการดังกล่าวในทางปฏิบัติจริงคือ * การโอนเงินในบัญชีทั้งจำนวนให้ผู้แอบอ้าง***
*ผลการดำเนินการที่ผ่านมา*
1. กรมฯ ตรวจสอบย้อนกลับไปยังหมายเลขโทรศัพท์ พบเป็นการ Set ระบบและติดต่อผ่านเครือข่าย Internet ไม่ใช่เบอร์ระบบโทรศัพท์ปกติ ในหลายครั้งพบเป็นการโทรจากต่างประเทศ (จีน) ในลักษณะเก็บเงินปลายทาง
2. ประสานงานกับ DSI และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้ว ซึ่งจับกุมและเข้าสู่การดำเนินคดีแล้ว 2 กลุ่ม พบเป็นชาวต่างด้าว (ชาวจีน) ถึง 6 คนใน 10 คนที่จับได้ และขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการสอบสวนขยายผล
*สถานการณ์ในปัจจุบัน*
ยังคงมีมิจฉาชีพดำเนินการอยู่ และมีการพัฒนารูปแบบซับซ้อนขึ้นหลังจากเครือข่ายบางส่วนถูกจับไปแล้ว
*การแอบอ้างกรณีที่ 3*
*แอบอ้างชื่อกรมสรรพากร ผู้บริหารกรม ข้าราชการกรม เพื่อให้ช่วยบริจาค ซื้อสินค้าเพื่อการกุศลจากองค์กรสาธารณกุศลจริง และองค์กรเถื่อนที่ไม่ทราบว่าการบริจาคนั้นจะเป็นการกุศลหรือสาธารณประโยชน์จริงหรือไม่ *
*รูปแบบ * :
1. โทรศัพท์ถึงผู้บริหารนิติบุคคล (ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่)
2. แจ้งโครงการขององค์กรสาธารณกุศล/สาธารณประโยชน์ พร้อมสื่อที่จะให้บริจาคหรือกิจกรรมที่จะขอสนับสนุน
3. มีบุคคลที่มีน้ำเสียงดูเหมือนผู้ใหญ่ในวงราชการ อ้างตนเองว่าเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร สรรพากรภาค เลขานุการกรม หรือหัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป
4. พูดจาขอร้องแกมบังคับให้ช่วยสนับสนุน พร้อมเร่งรัดให้ดำเนินการ
5. หากตกลงจะมีเจ้าหน้าที่ประสานงานเพื่อขอรับเงินสนับสนุน เช็คธนาคาร หรือการจ่ายชำระในลักษณะอื่น
7. เมื่อได้รับไม่มีการออกหลักฐานใดๆ ตามที่กล่าวอ้าง หากเป็นเช็คธนาคารหรือตราสารทางการเงินอื่น จะรีบนำไปขึ้นเงินทันทีโดยไม่ผ่านเข้าบัญชีของผู้หนึ่งผู้ใด
*ผลการดำเนินการที่ผ่านมา*
ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากเพิ่งตรวจพบความเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ ดังนั้น *หากท่านได้รับการติดต่อจาก มูลนิธิ หน่วยงานการศึกษาพิเศษ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับชาวเขา และมีชื่อที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน* ใคร่ขอให้ท่าน
(1) ขอให้ตรวจสอบองค์กรที่ติดต่อท่านโดยด่วนก่อนให้การสนับสนุน
(2) โปรดรับทราบว่า*กรมสรรพากรและผู้บริหารของกรมสรรพากรไม่เคยมีการติดต่อหรือช่วยสนับสนุนองค์กรใดๆ เป็นพิเศษลักษณะนี้* อย่างแน่นอน
* * *ข้อสังเกต ***
1. ทั้ง 3 กลุ่ม จะให้จ่ายเงินเข้าบัญชี โอนเงิน หรือให้ระบุผู้รับเงินตามเช็ค *เป็นชื่อบุคคล* ซึ่งผิดวิสัยที่หน่วยราชการเช่นกรมสรรพากรจะดำเนินการจริง
2. *มักจะใช้ระบบข่มขู่* โดยอาศัยความกลัวหรือเกรงใจของท่านทำงานให้ได้ผล ซึ่งทำให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเกิดความเสียหาย
3. การโทรศัพท์มักจะ*ติดต่อผ่านเป็นเบอร์มือถือ* ทั้ง ๆ ที่สำนักงานของกรมฯ มีโทรศัพท์สำนักงานอย่างเหลือเฟือ ให้สงสัยไว้ว่าคงไม่มีใครทำงานทุ่มเทถึงขั้นใช้มือถือติดต่องานในหน้าที่ลักษณะนั้นแน่
4. การใช้โทรศัพท์สำนักงานกรมสรรพากร (อาจเรียกตามเอกชนว่าสำนักงานใหญ่ก็ได้) จะใช้เบอร์ที่ขึ้นต้นว่า 617...... หรือ 272....... ดังนั้น หากเป็นโทรศัพท์ในลักษณะดังกล่าวที่ผู้พูดกล่าวอ้างตนเองว่าเป็นผู้บริหารจะไม่ขึ้นต้นด้วยเบอร์เหล่านี้
5. *เบอร์กลางกรมสรรพากร โทร. 02 617 3000 ได้ระงับการใช้ไปหลายปีแล้ว* หากยังมีเบอร์ติดต่อนี้อยู่แล้วโทรไปเป็นระบบตอบรับอัตโนมัติ ขอให้ท่านเชื่อได้เลยว่ากำลังจะถูกหลอก
6. หากพลาดไปแล้ว ให้แจ้งความ ณ สถานีตำรวจใกล้บ้านท่าน โดยนำหลักฐานการโอนเงิน ต้นขั้วเช็ค ข้อมูลการติดต่อโทรศัพท์มือถือ หรือ Slip ตู้ ATM ติดตัวไปด้วย ภายหลังจากแจ้งความแล้วอาจประสานไปยัง RD Call Center โทร. 02 272 8000 หรือติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 02 272 8317 พร้อมส่งบันทึกการแจ้งความทางโทรสารไปที่ 02 617 3324 ได้ทันที กรมสรรพากรจะได้ช่วยประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ DSI ให้ดำเนินการได้
*7. *ขอย้ำ *กรมสรรพากร มิใช่ผู้เสียหาย* จึงไม่สามารถดำเนินการได้เอง ท่านที่เป็น*ผู้เสียหายจะต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเองเท่านั้น* จึงจะเริ่มกระบวนการนำคนชั่วมาลงโทษได้ ดังนั้น *โปรดให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ *และช่วยกันกำจัดภัยร้ายออกไปจากสังคมไทยด้วย**
*นายเกียรติศักดิ์ ว่องพานิช*
หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม
กรมสรรพากร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น