21 ก.พ. 2552

อันตรายจากภาชนะหุงต้ม ในครัว

*ในยุคที่ผู้คนตื่นตัวในเรื่องของสุขภาพ*สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนเราหวาดผวากันมากคือสารพิษปนเปื้อนที่มากับอาหาร แต่สารพิษส่วนหนึ่งที่เราได้รับอาจเกิดขึ้นจากภาชนะในครัวเรือนที่ใช้กัน อยู่ทุกวัน

เมื่อหลายปีที่แล้วนักวิจัยได้เตือนผู้บริโภคว่า *อะลูมิเนียม*อาจ มีส่วนที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ทำให้ผู้บริโภคพากันโยนหม้อ กระทะที่ทำจากอะลูมิเนียมทิ้งเป็นจำนวนมาก แต่ข้อมูลการวิจัยในปัจจุบันพบว่าอะลูมิเนียมที่ละลายออกมาปนในอาหารมี ปริมาณเพียงเล็กน้อยซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นการใช้ภาชนะอะลูมิเนียมหุงต้มอาหารจึงค่อนข้างปลอดภัย

*ภาชนะที่ทำจากสเตนเลส*

เป็นภาชนะที่นิยมใช้รองลงมา สเตนเลสมีส่วนผสมของโลหะหลายชนิด เช่น นิกเกิล โครเมียม เหล็ก และโมลิบเดนัม จากการวิจัยพบว่าภาชนะเครื่องครัวที่ทำจากสเตนเลสอาจให้ประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะสเตนเลสมีส่วนผสมของโครเมียมและธาตุเหล็กซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อ ร่างกาย เมื่อนำมาใช้หุงต้มก็จะมีธาตุเหล่านั้นออกมาปะปนในอาหารเพียงเล็กน้อยจึงไม่ เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่กลับให้ประโยชน์ต่อผู้ที่ขาดโครเมียมและธาตุเหล็ก แต่ขณะเดียวกันสารนิกเกิลอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการของผิวหนังได้ในผู้ที่ แพ้นิกเกิล อย่างไรก็ตามนิกเกิลจะละลายออกมาในอาหารที่เครื่องปรุงมีฤทธิ์เป็นกรด เช่น การใช้น้ำส้มสายชูหรือซอสมะเขือเทศ สำหรับคนที่มีอาการแพ้สารนิกเกิลก็อาจจะเลือกใช้ภาชนะสเตนเลสที่เคลือบสารอี นาเมลซึ่งเป็นสารเคมีที่ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด

*ภาชนะที่ทำมาจากทองแดง*

ตอบสนองต่อความร้อนได้ดี แต่ถ้านำมาปรุงอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดจะสามารถละลายทองแดงออกมาได้ ทองแดงจะเป็นธาตุที่สำคัญต่อร่างกายในการช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง การได้รับทองแดงในปริมาณเล็กน้อยไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ แต่ถ้าร่างกายได้รับการสะสมทองแดงในปริมาณมากเกินระดับที่ควรมีในเลือด จะทำให้เกิดอาการท้องเสียและอาเจียนจากทองแดงเป็นพิษได้ เพื่อป้องกันปัญหานี้ภาชนะที่ทำจากทองแดงจึงได้รับวิวัฒนาการขึ้นมาด้วยการ เคลือบดีบุก แต่ดีบุกที่เคลือบไว้ก็จะมีการเสื่อมไปตามอายุการใช้งาน ฉะนั้นเมื่อใช้ไปนาน ๆก็ควรจะมีการเปลี่ยนใหม่

*ภาชนะที่เคลือบสารเทฟลอน*

สารชนิดนี้ช่วยป้องกันการติดของอาหาร ทั้งยังทำความสะอาดง่าย และช่วยลดปริมาณไขมันในการปรุงอาหารได้ด้วย เพราะภาชนะหากไม่เคลือบเทฟลอนจะต้องใช้น้ำมันมากขึ้นเวลาผัดหรือทอดเพื่อไม่ ให้อาหารติดกระทะ อนึ่งหากมีการลอกหลุดของสารที่เคลือบปะปนกับอาหารก็จะไม่เกิดอันตรายต่อผู้ บริโภค เนื่องจากเป็นสารที่ไม่เป็นพิษ ร่างกายไม่สามารถดูดซึมเข้าไปได้และจะถูกขับถ่ายออกมา

*ภาชนะเซรามิก*

ภาชนะชนิดนี้มีส่วนผสมของสารตะกั่วอยู่ หากมีอยู่ในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายได้ เมื่อนำไปใส่อาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด รวมทั้งมีข้อเตือนว่าไม่ควรใช้ภาชนะประเภทนี้กับ กาแฟร้อน ชาร้อน ซุปมะเขือเทศ และน้ำผลไม้เพราะจะทำให้สารตะกั่วละลายออกมาได้

*สารตะกั่ว*

เป็นอันตรายต่ออวัยวะและระบบต่างๆของร่าง กาย เช่น ตับ ไต ระบบสืบพันธุ์ ระบบหมุนเวียนโลหิตหัวใจ ระบบภูมิต้านทาน และระบบย่อยอาหาร สารตะกั่วจะถูกดูดซึมเข้าไปสะสมอยู่ในอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะในกระดูกจะสะสมปนกับแคลเซียม เพราะร่างกายไม่สามารถจะแยกระหว่างสารตะกั่วและแคลเซียมได้ ถ้าสารตะกั่วสะสมในปริมาณมากจะทำให้เกิดพิษได้ ถ้าเกิดขึ้นในเด็กสารตะกั่วจะทำลายเซลล์สมอง ทำให้สมรรถภาพในการเรียนรู้เสียไป ยับยั้งการเจริญเติบโตทำให้ร่างกายแคระแกรน และตายในที่สุด

*ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้ภาชนะเซรามิกบรรจุเก็บรักษาอาหาร หรือแม้กระทั่งเครื่องดื่มในชีวิตประจำวัน*

* ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการใช้ภาชนะ *

หลีกเลี่ยงการเก็บรักษาอาหารเป็นเวลานานๆ ในภาชนะหุงต้ม เมื่อปรุงอาหารเสร็จแล้ว อาหารที่เหลือควรเก็บไว้ในภาชนะพลาสติกหรือภาชนะที่ทำด้วยแก้ว ทำความสะอาดภาชนะตามคำแนะนำของผู้ผลิต หลีกเลี่ยงการขัดถูที่จะทำให้ผิวหน้าของภาชนะถลอกหรือหลุดลอก

*พลาสติกในครัวเรือนปลอดภัยเพียงใด ?* สารเคมีที่สลายจากพลาสติกสามารถผ่านเข้าไปในอาหารได้ไม่ว่าจะถูกความร้อน หรือไม่ แต่ความร้อนและแสงจะเร่งกระบวนการให้เกิดเร็วขึ้น คำถามที่ตามมาคือสิ่งเหล่านั้นก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในอนาคตได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารประเภทที่ทำลายฮอร์โมน สารประเภทนี้จะรบกวนหรือยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนธรรมชาติในร่างกาย ลดปริมาณอสุจิ ทำให้เด็กเป็นสาวเร็วกว่าอายุที่ควรและเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็ง

* พลาสติกที่สลายตัวสามารถที่จะผ่านเข้าไปปะปนกับอาหาร พบได้มากในภาชนะใช้ใส่อาหารซื้อกลับบ้าน อาหารที่บรรจุในภาชนะประเภทนี้เป็นเวลานานจะมีกลิ่นและรสของพลาสติกชนิดนี้ ติดมาด้วย*

*อาหารประเภทที่เป็นกรดจะดูดซึมสารพลาสติกได้ดีกว่าอาหารชนิด ที่เป็นด่างหรือกรดต่ำ ความร้อนสูงๆ เช่นจากเตาไมโครเวฟ และความเย็นจากตู้เย็นสามารถเพิ่มปริมาณการดูดซึมสารพลาสติกเข้าไปในอาหาร ได้*

แม้แต่พลาสติกที่ใช้กับเตาไมโครเวฟก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ อันตรายที่มักเกิดขึ้นคือผู้บริโภคมักใช้ภาชนะพลาสติกที่ไม่ได้ระบุว่าใช้ กับตู้อบไมโครเวฟอุ่นอาหาร ทำให้พลาสติกละลายเข้าไปในอาหารและยังทำลายรสชาติของอาหารที่อุ่น

*ข้อแนะนำสำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก

*1.* เวลาอุ่นอาหารในตู้อบไมโครเวฟ เลือกภาชนะที่ทำจากแก้วหรือเซรามิคแก้ว หลีกการเลี่ยงการใช้ภาชนะพลาสติกแม้จะระบุว่าปลอดภัยในการใช้กับไมโครเวฟ

*2.* ไม่ใช้พลาสติกห่ออาหารในการปรุงหรืออุ่นอาหารในตู้อบไมโครเวฟ

*3.* อาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือซีสใช้วัสดุประเภทโฟลีเอ็ทธีลีนห่อเพราะไม่มีสาร พลาสติก หรือถ้าจะให้ดีไปกว่านั้นห่อด้วยแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์หรือกระดาษไข

*4.* อาหารที่เหลือ เก็บไว้ในภาชนะประเภทที่ทำด้วยแก้ว

*5.* ภาชนะพลาสติกที่เก่าชำรุดไม่ควรนำมาใช้ต่อ เตาไมโครเวฟ

*สิ่งที่ผู้บริโภคต้องระวังในการใช้เตาไมโครเวฟ* คือ ภาชนะที่ใช้ใส่อาหารประเภทโลหะ กระดาษอะลูมิเนียม นมบรรจุในกล่องกระดาษที่บุด้านในด้วยอะลูมิเนียม จานชามที่มีขอบเป็นโลหะเงินหรือโลหะทอง ไม่ควรใช้กับเตาไมโครเวฟ โลหะ เช่น ลวดที่ใช้มัดถุงพลาสติกควรแกะออก มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดการติดไฟและอาจเกิดไฟไหม้ภายในตู้อบไมโครเวฟได้

*สารรังสีที่รั่วจากเตาไมโครเวฟ มีอันตรายเพียงใด * ปริมาณของสารรังสีที่รั่วจากตู้อบไมโครเวฟค่อนข้างต่ำ และไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะก่อให้เกิดอันตราย สิ่งที่แม่บ้านควรระวังเป็นพิเศษ คือ เมื่อวัสดุตามขอบประตูชำรุดหรือหากมีรอยร้าวและรอยแตก เศษอาหารติดอยู่ตามขอบตู้ทำให้ประตูปิดไม่สนิท หรือ การชำรุดของตู้เนื่องจากการขนย้าย หรือเกิดเปลวไฟภายในตู้จะทำให้มีปริมาณรังสีรั่วมากกว่าระดับปกติซึ่งเป็น อันตรายได้

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ใส่เครื่องควบคุมระบบการทำงานของหัวใจ (pacemakers) โดยเฉพาะรุ่นเก่าซึ่งไม่สามารถจะป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจาก ตู้อบไมโครเวฟเหมือนเครื่องควบคุมรุ่นใหม่ ควรอยู่ห่างจากตู้อบไมโครเวฟประมาณ 5 ฟุต และพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ

ไม่มีความคิดเห็น: