4 มี.ค. 2552

20 วิธีพิชิตโรคภูมิแพ้

หากอาการน้ำมูกไหล จมูกฟึดฟัด จาม และคันจากโรคภูมิแพ้เป็นหนักทำให้คุณต้องชื้อกระดาษทิชชูมาตุนไว้เต็มบ้านเพื่อรับมือกับอาการเหล่านี้คุณน่าจะหันมาปรับเปลี่ยนร่างกายให้ทำสงครามตอบโต้การโจมตีจากโรคภูมิแพ้ที่ทำเอาคุณย่ำแย่มานานปีเสียที จะได้จบสิ้นอาการที่น่ารำคาญลงได้ ภาวะภูมิแพ้อาจไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน 20 วิธีต่อไปนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ใช้ป้องกันตัวเองจากโรคนี้

1. เลือกกินเนื้อไก่แทนเนื้อวัว ผลงานวิจัยโครงการ 2 ปี ที่ศึกษาผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหวัดแพ้อากาศ 334 ราย และผู้ที่ปกติดี 1,336 ราย พบว่าผู้ที่ได้รับกรดไขมันแปรรูปทรานส์โอเลอิก (รูปแบบหนึ่งของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว) ในอาหารโดยเฉพาะเนื้อวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวปริมาณสูงสุด มีแนวโน้มเป็นโรคหวัดแพ้อากาศมากเป็น 3 เท่าของผู้ที่ได้รับกรดไขมันดังกล่าวในปริมาณต่ำสุด โชคยังดีที่น้ำมันมะกอกแม้จะมีกรดโอเลอิกอยู่มากแต่ก็ไม่ได้อยู่ในรูปของไขมันแปรรูปหรือ ไขมันทรานส์

2. กินน้ำมันปลาหนึ่งเม็ดเป็นอาหารเสริมทุกเช้าหลังแปรงฟัน การศึกษาผู้ที่เป็นโรคหอบหืดชนิดเกิดจากภูมิแพ้ พบว่าผู้ที่กินน้ำมันปลาเป็นประจำทุกวันนาน 1 เดือนจะมีระดับลูไคไทรอีนส์ซึ่งเป็นสารเคมีที่ก่อเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ลดลง

3. เปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะไม่เพียงช่วยขจัดความชื้อซึ่งอาจก่อเชื้อรา แต่ยังกรองสารก่อภูมิแพ้ที่จะเข้ามาในบ้าน หมั่นทำความสะอาดหรือเปลี่ยนที่กรองบ่อยๆ มิฉะนั้นอาจกลับทำให้แย่ลงได้

4. กินกีวี1 ผลทุกเช้า วิตามินซีในผลกีวีเป็นสรต้านฮิสตามีนตามธรรมชาติ การศึกษาบางชิ้นพบว่าการมีระดับวิตามินซีต่ำมักทำให้เกิดภูมิแพ้ จึงควรกินวิตามันซีเสริมทันทีเมื่อมีอาการกำเริบ เราอาจเลือกผลไม้อื่นที่มีวิตามินซีสูงเช่น มะขามป้อม

5. ทำความสะอาดเครื่องเรือนและพรมด้วยเครื่องดูดฝุ่นไอน้ำ เติมสารละลายไดโซเดียมออกตาบอเรตเตตร้าไฮเดรต หรือ ดีโอที ซึ่งได้จากธาตุโบรอนลงในน้ำด้วย วารสารAllergy ฉบับปี 2547 ตีพิมพ์ผลการศึกษาหนึ่งว่า สารดีโอทีช่วยลดปริมาณตัวไรฝุ่นและลดสารภูมิแพ้จากไรฝุ่นลงในระดับที่ปลอดปฏิกิริยาต่อร่างกายได้นาน 6 เดือน

6. กินเคอร์ซิทินขนาด 250 มก. วันละ 3 เม็ด สารเสริมที่สกัดจากธรรมชาติชนิดนี้นับเป็นฟลาโวนอยด์ หรือสารจากพืชที่มีสรรพคุณต้านการอักเสบ เป็นยาแก้โรคภูมิแพ้จากสารธรรมชาติที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

7. หมั่นทำความสะอาดรางน้ำไม่ให้อุดตัน เพราะจะเป็นที่เติบโตของเชื้อราซึ่งเป็นตัวทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบหนักขึ้น

8. เปิดพัดลมดูดอากาศขณะอาบน้ำหรือเปิดหน้าต่างให้มีอากาศถ่ายเทอยู่เสมอ หลังการอาบน้ำ หมั่นดูแลห้องน้ำให้แห้งเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อรามีโอกาศเจริญเติบโต

9. ใช้น้ำร้อนล้างม่านกันส่วนอาบน้ำ และนำออกซักด้วยน้ำยาฟอกขาวทุกเดือน รวมถึงถอดฝักบัวอาบน้ำออกทำความสะอาดทุก 2-3 เดือน

10. เปิดหน้าต่างรับแสงแดดในฤดูหนาว แสงแดดธรรมชาติช่วยขับไล่ความชื้น ทำให้อากาศแห้ง ไม่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อรา

11. ซักเครื่องนอนในน้ำร้อนทุกสัปดาห์ นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดไรฝุ่นตัวจิ๋วที่น่ารำคาญ ซึ่งพิสมัยเตียงนอนของคุณมากกว่าเจ้าของเตียงเสียอีก

12. ตามไปดูที่ปลายช่องระบายอากาศของเครื่องอบผ้า ให้แน่ใจว่ามันยื่นออกไปนอกบ้าน ในกระบวนการอบผ้าหลังการซักทุกครั้งจะมีความชื้นราว 20 ปอนด์เล็ดลอดออกไปอยู่ที่ไหนสักแห่ง ควรตามท่อไปดูว่าเชื้อราได้ก่อตัวอยู่ตรงบริเวณช่องระบายอากาศนั้นหรือไม่

13. ทำความสะอาดถาดรองน้ำใต้ตู้เย็นด้วยสารฟอกขาวแล้วโรยเกลือ การเติมเกลือลงไปช่วยลดอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ

14. รดน้ำไม้กระถางแต่พอประมาณ อย่าลืมโรยก้อนกรวดบนหน้าดินในกระถางทุกใบเพื่อป้องกันไม่ให้สปอร์เชื้อราลอยฟุ้งขึ้นไปในอากาศ

15. ใช้เวลาในวันหยุดสุดสัปดาห์จัดเก็บบ้านให้สะอาด โละเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่คุณไม่เคยใช้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาทิ้งไป ย้ายอุปกรณ์กีฬาให้เข้าที่เข้าทาง ทำความสะอาดรองเท้าทุกคู่ เก็บใส่ถุงแขวนให้เป็นระเบียบ เมื่อทำเสร็จคุณจะมองเห็นพื้นตู้และฝาหลังตู้ได้อีกครั้ง ที่นี้ดูดฝุ่นทุกสิ่งทุกอย่างให้สะอาด ปริมาณฝุ่นในบ้านจะลดลงมากทีเดียว

16. ปิดประตูห้องนอนไม่ให้สุนัขและแมวเข้ามาได้ วิธีนี้ช่วยลดรังแคหรือสะเก็ดผิวหนังแมวและสุนัขที่หลายคนมีอาการแพ้ได้ดี

17. เลือกพรมเช็ดเท้าชนิดที่ทำจากสารสังเคราะห์ พรมเช็ดเท้าที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ(พวกเครื่องจักรสาน) อาจเปื่อยหรือผุจนกลายเป็นแหล่งอาหารของเห็บหมัด หรือเชื้อรา จนกระทั่งมันมาสถิตย์อยู่ในบ้าน จึงควรซักล้างพรมเช็ดเท้าทุกอาทิตย์ฃ

18. ทำความสะอาดเศษแมลวที่ค้างอยู่ที่ระเบียงหรือซุ้มประตูทางเข้าบ้าน เมื่อเศษแมลงย่อยสลาย มันจะกลายเป็นแหล่งสารก่อภูมิแพ้เลยทีเดียว

19. ทำชั้นวางรองเท้าไว้หน้าบ้าน และถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้าน เพื่อลดปริมาณฝุ่น เชื้อราและสารก่อภูมิแพ้อื่นๆที่อาจติดเข้ามา

20. อ่านฉลากให้ดี หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สารเติมแต่งชนิดโมโนโซเดียมเบนโซเอต มีกรณีศึกษาของอิตาลีพบว่าสารชนิดนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการคล้ายอาการภูมิแพ้ เช่น น้ำมูกไหล จาม แน่นจมูก ในกลุ่มผู้ที่ได้ได้เป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน นอกจากนี้ยังมักพบสารกันบูดในน้ำส้มคั้น ใส้ขนมพาย อาหารดอง มะกอก และน้ำสลัดอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น