4 มี.ค. 2552

ทางแก้ของคนเป็นภูมิแพ้

วิธีการป้องกันและรักษา รวมไปถึงทางแก้ของคนเป็นโรคภูมิแพ้

กฎข้อหนึ่งที่คนเป็นโรคภูมิแพ้รู้ดีก็คือ "โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่ไม่มียารักษา และการกินยารักษาโรคภูมิแพ้ก็เป็นเพียง ระงับอาการชั่วคราวเท่านั้น ไม่นานก็กลับมาเป็นอีก" ถึงอย่างไร ก็ไม่มีปัญหาใดที่เกิดขึ้นแล้วจะแก้ไขไม่ได้ รวมถึงการเอาชนะโรคภูมิแพ้ด้วย และทางแก้ที่ได้ผลดีที่สุดก็คือ ตัวเราค่ะ เพียงยินดีกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตอย่างจริงจัง เพื่อให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น ก็สามารถลืมโรคภูมิแพ้ไปได้แล้วค่ะ

ประสบการณ์ของผู้อื่นก็เป็นการเรียนรู้แบบทางอ้อม ที่สร้างความเชื่อว่าเห็น ผลจริง และเป็นแรงบันดาลใจให้เราลุกขึ้นมาดูแลตัวเองได้ดีที่สุดทางหนึ่ง ประสบการณ์และทางออกของคนเป็นโรคภูมิแพ้ต่อไปนี้ คือสิ่งที่คุณนำมาปรับใช้ได้ค่ะ

แพ้อากาศตลอดทั้งปี

คุณสุธาสินี บุญเลิศรัตน์อาจารย์มหาวิทยาลัย วัย35 ปี ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้อากาศตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เนื่องจากไม่ได้ดื่มนมแม่ และคุณพ่อสูบบุหรี่

อาการ คัดจมูก มีน้ำมูกใส บางครั้งถ้าเป็นมากจะไอมีเสมหะและน้ำมูกไหลลงคอ ช่วงเวลาที่มักมีอาการคือตอนเช้า และตอนเย็นที่เริ่มมีน้ำค้าง นอกจากนี้ในช่วงฤดูฝนซึ่งมีฝนตกตลอดทั้งปียังส่งผลให้มีอาการมาก และนานขึ้น

การรักษา คุณสุธาสินีเลือกหาแพทย์เฉพาะทางด้านภูมิแพ้เป็นเบื้องต้น เนื่องจากอาการของเธอค่อนข้างหนัก และเป็นมาระยะเวลานานแล้ว เธอจึงรับประทานยาแก้แพ้เมื่อมีอาการดังกล่าว แต่ก็เป็นเพียงการสยบอาการภูมิแพ้ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อร่างกายอ่อนแอ และต้องเจอกับอากาศเย็นชื้น หรือเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ อาการป่วยของเธอก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม

การดูแลตัวเอง เธอจึงให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองเป็นหลัก ด้วยการรับประทานอาหารที่เน้นผักกับเนื้อปลา เว้นเนื้อสัตว์จำพวกเนื้อไก่ เนื้อวัว และเนื้อหมู เลือกรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง และออกกำลังกายทุกเช้า ผลของการดูแลตัวเองทำให้เธอมีภูมิต้านทานที่ดีขึ้น เป็นหวัด น้อยลง ร่างกายแข็งแรง ไม่เหนื่อยง่าย และน้ำหนักลดลงอีกด้วย

Tip คุณสุธาสินีบอกเคล็ดลับว่า "เมื่อเริ่มมีอาการไม่ดี ให้ดื่มน้ำอุ่น ทำร่างกายให้อบอุ่นทันที และหลีกเลี่ยงพัดลม อย่านอนให้พัดลมเป่า"

แพ้อากาศเฉพาะฤดูกาล

คุณปรเมศ ชัชวาล วิศวกรวัย 30 ปี ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้อากาศเฉพาะฤดูหนาวมาเมื่อตอนอายุ 20 ปี เริ่มหันมาดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดตอนอายุ 28 ปี ภายในเวลาเพียง 1 ปีอาการแพ้อากาศดีขึ้นจน หายเป็นปกติ

อาการ จามตอนเช้า คัดจมูก หายใจไม่ออก หอบเหนื่อย และเป็นหวัดเกือบตลอดฤดู

การรักษา รักษาด้วยการรับประทานยาแก้แพ้ และแก้หวัด แต่มีอาการเรื้อรังไม่หาย

การดูแลตัวเอง "ปกติผมเปลี่ยนมากินข้าวกล้องอยู่แล้ว เลือกทานเนื้อสัตว์น้อยลง และดื่มน้ำอาร์ซีอาทิตย์ละครั้ง และพอจะเข้าหน้าหนาวผมดื่มน้ำอาร์ซีทุกวันเลย แล้วนำข้าวจากการต้มน้ำอาร์ซีมาหุงกินทุกมื้อ งดเนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อไก่ กินแต่เนื้อปลากับอาหารทะเล ทานผักผลไม้ หลากหลายเกือบทุกมื้อ ตอนเช้าวิ่งจ็อกกิ้งวันละครึ่งชั่วโมง ตอนเย็นก่อนนอนก็จะฝึกโยคะเพื่อให้ปอด แข็งแรง และเป็นการฝึกการหายใจด้วยครับ ก็แปลกดีที่บังคับตัวเองได้ ทั้งที่แต่ก่อนทำไม่ได้ คงเป็น เพราะทำให้ผมหายได้จริง เชื่อไหมครับว่าหน้าหนาวนี้ผมไม่เป็นอะไร แม้แต่ช่วงต้นฤดูที่อากาศ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ในขณะที่เพื่อนๆ ที่ไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ป่วยกันเป็นแถว"

Tip คุณปรเมศบอกเคล็ดลับที่ช่วยให้หายจากการคัดจมูกทั้ง 2 ข้างว่า "เวลาที่หายใจไม่ออกเพราะจมูกตันทั้งสองข้าง ผมจะนอนตะแคงขวายกศีรษะให้สูงขึ้นสักครู่ และ หยดน้ำมันยูคาลิปตัสไว้ที่หมอน หรือตะเกียงน้ำมันหอมระเหยเพื่อให้หายใจโล่งขึ้น ถ้ายังไม่ดีขึ้นก็จะ นำเกลือผสมในน้ำอุ่นมาล้างรูจมูกโดยการสูดเข้าไปทีละ ข้างแล้วสั่งออก พยายามอย่าให้สำลัก สัก พักก็จะดีขึ้น"

แพ้เกสรดอกไม้

คุณดารารัตน์ ธนิกร นักศึกษาวัย 25 ปี แพ้เกสรดอกไม้ตั้งแต่อายุ 6-7 ขวบ เกสรดอกไม้ที่แพ้ ได้แก่ ดอกกระถินณรงค์ ดอกหญ้า ดอกธูปฤาษี ดอกพญาสัตบรรณ์ และกล้วยไม้

อาการ ถ้าได้กลิ่นจะมีอาการเวียนศีรษะจนอาเจียน จาม และน้ำมูกไหล และมักคันที่ตา (ภูมิแพ้ขึ้นตา) ร่วมด้วย ทำให้ขยี้ตาจนบวมเป่ง และถ้าเกสรดอกไม้เหล่านั้นสัมผัสผิวก็จะมีผื่นแดงขึ้น เหมือนยุงรุมกัด

การรักษา กินยาแก้แพ้เมื่อมีอาการ และถ้ามีอาการหลายอย่างร่วมด้วยก็จะรักษาตามอาการ เช่น คันตา ก็ใช้ยาหยอดตา ผื่นขึ้น ก็จะทาคาลามาย

การดูแลตัวเอง พยายามหลีกเลี่ยงให้ไกลจากดอกไม้ที่แพ้ให้มากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะไม่ทำ ให้เกิดอาการแพ้ นอกจากนี้ยังออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมากขึ้น

Tip คุณดารารัตน์บอกเคล็ดลับป้องกันอาการแพ้เกสรดอกไม้ว่า "ถ้าไม่แน่ใจว่าแพ้ดอกไม้ชนิดใดบ้าง ก็ควรเลิกใช้ดอกไม้สด และหันมาใช้ดอกไม้ประดิษฐ์แทน เป็นการป้องกันที่ดีที่สุดค่ะ"

แพ้ฝุ่น และเชื้อราในอากาศ

คุณสุนทรีย์ รมณียกุล พนักงานเอกชนวัย 32 ปี ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ฝุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นจากหนังสือ และเชื้อราจากอากาศในช่วงฤดูฝนมาตั้งแต่จำความได้ เพราะมีร่างกายไม่แข็งแรงมาตั้งแต่เด็ก ทำให้ป่วยเป็นหวัดเป็นประจำ บางครั้งมีอาการหายใจไม่ออกจนต้องนั่งหลับ และเมื่อโตขึ้นก็มีอาการภูมิแพ้ขึ้นตา

อาการ คันคอ คันหู และจามก่อนเป็นหวัด แล้วมีอาการคันตา หน้าบวม และตาบวมตามมา ในบริเวณต่อมหัวตา และตาขาวขึ้นเป็นวุ้นมีลักษณะเหมือนหัวปลาทอง

การรักษา กินยา และฉีดยารักษาภูมิแพ้ แต่อาการไม่ดีขึ้น

การดูแลตัวเอง "จริงๆ เป็นคนไม่ชอบทานผัก แต่ก็พยายามทาน และทานผลไม้ให้มากขึ้น ที่มีติดบ้าน ประจำคือฝรั่ง แอบเปิ้ล และส้ม และจะไม่ทานผลไม้ที่มีรสหวานมากเกินไปค่ะ พอปรับเรื่องอาหาร แล้วสิ่งที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นคือเป็นหวัดน้อยลง และอาการแพ้ก็เกิดขึ้นนานๆ ครั้ง"

Tip คุณสุนทรีย์แนะนำเคล็ดลับป้องกัน และแก้แพ้ว่า "ทำความสะอาดบ้าน และโต๊ะทำงานอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีอาการแพ้รีบล้างหน้าล้างตาในน้ำสะอาด และล้างมือให้สะอาด แล้วอาการจะดีขึ้น"

ภูมิแพ้ของผิวหนัง

หมายถึงการแพ้ที่แสดงอาการทางผิวหนัง มีลักษณะเป็นผื่นแดงนูน คัน หรืออาจปวดแสบปวดร้อน และ ขึ้นผื่นแดงเป็นปื้นหรือมีลักษณะเป็นจุดๆ บางครั้งเกิดขึ้นบริเวณบางส่วนของร่างกาย เช่น แขน ขา ข้อพับ และใบหน้า และบางครั้งขึ้นทั่วร่างกาย พบได้หลายชนิดค่ะ และประสบการณ์ภูมิแพ้ของผิวหนัง ที่จะนำมาบอกเล่าคือ แพ้โดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิรอบๆ ตัว ที่อาจเย็นจัด หรือร้อนจัด หรือเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันค่ะ

คุณศราวุฒิ หมื่นกันยา บรรณารักษ์วัย 24 ปี ป่วยเป็นภูมิแพ้ผิวหนังโดยไม่ทราบสาเหตุเมื่ออายุ 20 ต้นๆ ตอนย้ายเข้าไปอยู่ที่หอพักของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นห้องที่มีลักษณะทึบ อับชื้น และอากาศไม่ถ่ายเท จึงสังเกตว่าอาจเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จนเกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง

อาการ ผื่นแดงทั้งตัว ยกเว้นใบหน้ากับลำคอ และมีอาการคันมากจากภายใน แม้เกาก็ไม่หาย เพราะหาต้นตอไม่ได้

การรักษา กินยาแก้แพ้แต่ไม่ได้ผล จึงเปลี่ยนสถานที่รักษาก็ไม่ได้ผลอีก ต้องหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่แพ้เท่านั้น

การดูแลตัวเอง "นอนในห้องนอนที่บ้านไม่ได้เลยครับ ต้องออกมานอนโถงกลางของบ้านที่มีอากาศ ถ่ายเท แล้วหันมาออกกำลังกาย ช่วงแรกเล่นวอลเลย์และแบทมินตันรู้สึกอาการดีขึ้น เริ่มมีภูมิคุ้มกัน มาหายขาดตอนที่ปรับอาหารเป็นข้าวกล้อง เน้นผักผลไม้ เล่นโยคะ และรำกระบองทุกวัน ที่เห็นชัด อีกอย่างคือไม่แพ้อาหารทะเลอีกเลย"

Tip คุณศราวุฒิบอกเคล็ดลับสำหรับคนแพ้ผิวหนังว่า "ต้องกางร่มเวลาออกแดด เพราะแดดร้อนๆ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการคัน ทาโลชั่นบำรุงผิวเพื่อให้ผิวชุ่มชื้นช่วยลดการคันได้"

แพ้ผิวหนังชนิดตัวบวม

หรือทางการแพทย์เรียกว่า Angioedema ลักษณะของภูมิแพ้ชนิดนี้จะมีอาการแพ้ทางผิวหนังก่อน แล้วจึงมีอาการตัวบวมตามมา คุณพรรณราย จริยะพิสุทธิ์ ป่วยเป็นภูมิแพ้ทางผิวหนังชนิดตัวบวม เมื่อ 3 ปีก่อน เนื่องจากเป็นคนที่มี น้ำหนักตัวมาก จึงลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว คือ 40 กิโลกรัมภายในเวลาเพียง 9 เดือน ทำให้ไม่มี ภูมิต้านทาน ประกอบกับความเครียดที่สะสมมาเป็นเวลานาน อาการแพ้จนตัวบวมจึงเกิดขึ้นอย่างไม่ เลือกเวลา และสถานที่

อาการ ก่อนตัวบวมจะมีอาการคันทั่วบริเวณส่วนบนของร่างกาย รวมถึงใบหน้า และศีรษะด้วย จากนั้นเปลือกตาก็จะเริ่มบวม ท้องขยายออกมาประมาณ 5-6 นิ้ว ประมาณ 3-5 วันจึงยุบแล้วก็กลับมาเป็นใหม่อีกครั้ง

การรักษา รับประทานยารักษามาเป็นเวลา 1 ปี ไม่ดีขึ้นจึงเลิกใช้ยามาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว

การดูแลตัวเอง "ต้องทำใจยอมรับเพื่อไม่ให้เครียดไปมากกว่านี้ เมื่อว่างจากงานจึงเข้าวัดนั่งสมาธิ บ่อยๆ น เป็นการพักผ่อนไปในตัว และเลิกทานเนื้อสัตว์ค่ะ ทำแบบนี้มาปีกว่าแล้วรู้สึกจิตใจสงบขึ้น ตัวบวมน้อยลง และนานครั้งจึงจะมีอาการแพ้"

Tip เมื่อเกิดอาการแพ้จนท้องบวมคุณพรรณรายจะพยายามไม่ใส่ใจ และเบี่ยงเบนความสนใจโดย การหากิจกรรมที่ชอบทำ เช่น อ่านหนังสือค่ะ

แพ้สิ่งแวดล้อม

เกิดจากการแพ้สภาพแวดล้อมรอบตัวที่อาจมีสารก่อภูมิแพ้แฝงอยู่ เมื่อเกิดการแพ้จะแสดงอาการทาง ผิวหนัง คือมีผื่นสีแดง หรือเกิดรอยนูนเป็นเส้นเมื่อโดนของแข็งขูดขีดเรียกว่า Dermatographism หรือ ผิวหนังเขียนหนังสือได้ คุณพรพิมล ชูสกุลพัฒนา พนักบริษัทเอกชนวัย 30 ปี ป่วยเป็นภูมิแพ้สิ่งแวดล้อมตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นโดยไม่ ทราบสาเหตุ โดยเกิดจากการมองเห็น และการสัมผัส แม้ขณะเดินอยู่เฉยๆ ก็สามารถเกิดอาการแพ้ ได้ แพทย์วินิจฉัยว่าแพ้สิ่งแวดล้อม

อาการ ผื่นสีแดงขึ้นตามตัวบ่อยๆ เมื่อโดนของแข็ง เช่น ปากกาขีดข่วนก็จะเป็นเส้นสีแดงบวมนูนขึ้น ตามรอยอยู่นาน ถ้ามองเห็นจุดสีดำเล็กๆ คล้ายเมล็ดงาอยู่ตามเสื้อผ้า หรือกระเป๋าลายหนังจระเข้ ก็จะเกิดอาการแพ้ทันที แม้ขณะปรบมือก็เกิดอาการคันและแดงตามมาด้วย

การรักษา รับประทานยาแก้แพ้เมื่อมีอาการ

การดูแลตัวเอง "ลองเปลี่ยนมาทานข้าวกล้อง กับเมล็ดถั่ว เช่น ถั่วเขียว และเล่นกีฬาอย่างแบทมินตัน กับแอโรบิกสลับกันไป แล้วรู้สึกว่าความถี่ในการแพ้ลดลงค่ะ"

แพ้ถั่ว

คุณฐานิดา สมุลไพร โปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ วัย 33 ปี แพ้ถั่วตระกูลพีนัททุกชนิด ก่อนหน้าที่จะ มีอาการแพ้ถั่ว เริ่มป่วยเป็นไซนัสมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ รักษาเรื่อยมากระทั่งหาย พออายุประมาณ 19 ปีก็มีอาการแพ้ถั่วอย่างรุนแรง

อาการ เมื่อกินถั่วเข้าไปจะมีอาการหายใจไม่ออก ปากพอง ตาบวม รู้สึกถูกบีบที่หัวใจ และคันที่ตา ทำให้ขยี้ตาจนแสบที่เปลือกตา และเมื่อได้กลิ่นถั่ว เช่น ถั่วต้ม ก็จะมีอาการหายใจไม่ออกเช่นกัน แม้จะไม่ร้ายแรงเท่ากับการกิน

การรักษา ฉีดยาตามแพทย์นัด สัปดาห์ละ 1 เข็มเป็นเวลา 3 ปี แต่ไม่หาย

การดูแลตัวเอง "พอหันมาออกกำลังกายอย่างจริงจังด้วยการเล่นบาสเก็ตบอล ตอนนั้นเป็นนักกีฬาด้วยก็ทำให้แข็งแรงขึ้น และไม่แตะต้องอาหารที่ทำจากถั่วทุกชนิด"

Tip คุณฐานิดาบอกเคล็ดลับเมื่อมีอาการแพ้ถั่วว่า "เมื่อเกิดอาการแพ้ พยายามดื่มน้ำมากๆ"

แพ้สารเคมี อาหารบางชนิด และยา

คุณกัญญา คำแสน พนักงานประกันชีวิตวัน 40 ปี ป่วยเป็นภูมิแพ้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เนื่องจากโดนตัวต่อ ต่อยเกือบทั้งรัง (นับได้ 32 ตัว) ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลนาน 1 เดือนเต็ม หลังจากรักษา ตัวหาย ก็มีเริ่มป่วยเป็นภูมิแพ้สารเคมีในเสื้อผ้าใหม่ๆ และแพ้อาหารที่มีปูกับปลาร้าเป็นส่วนผสม

อาการ แพ้สารเคมี ผื่นขึ้นตามตัว โดยเฉพาะเนื้อเยื่ออ่อนๆ เช่น รูหู และมีอาการภูมิแพ้ขึ้นตา ลักษณะเป็นวุ้นสีขาว และน้ำตาไหลไม่หยุด แพ้อาหาร ปากบวม แตก และยื่นออกมามากกว่าปกตินานหลายวัน แพ้ยา หายใจไม่ออก ผิวเนื้อมีลักษณะสุกไหม้ ตาบวม และผื่นขึ้น

การรักษา กินยารักษาภูมิแพ้ หายเป็นพักๆ และกลับเป็นใหม่จนเรื้อรัง ทั้งมีอาการเบลอๆ งงๆ จากการรับยามากเป็นเวลานาน

การดูแลตัวเอง "เปลี่ยนมากินข้าวกล้องและขนมปังโฮลวีต ดื่มน้ำแครอท สลับกับน้ำเซอลารี่ ออกกำลังกายด้วยการเดินวันละครึ่งชั่วโมง และทำดีท็อกซ์อาทิตย์ละครั้ง หรือเมื่อเริ่มรู้สึกไม่สบาย เช่น เจ็บคอก็จะทำดีท็อกซ์แล้วก็ดีขึ้นค่ะ ปฏิบัติตัวแบบนี้มาปีหนึ่ง เห็นผลเลยว่าร่างกายมีภูมิต้านทานขึ้น ไม่แพ้อะไรง่ายๆ เรียกว่าหายเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว"

Tip คุณกัญญาบอกเคล็ดลับป้องกันการสารเคมี อาหาร และยาว่า "หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้คือเสื้อผ้าใหม่ ไม่กินอาหารที่มีส่วนผสมของปูและปลาร้า ทดลองกินยา 1 ชั่วโมงก่อนรับยากลับบ้านทุกครั้ง เมื่อจำเป็นต้องรักษาด้วยการกินยา"

โรคภูมิแพ้ตา

เป็น คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ แพ้อยู่หลายอย่าง รวมทั้งเป็นภูมิแพ้ตาด้วย เลยเป็นหมูอ๋าหน้าลิงตาแพนด้าทั้งปีทั้งชาติ หาอ่านข้อมูลของโรคนี้ และเห็นว่าเป็นความรู้จึงเอามาลงให้ได้อ่านกัน

โรคภูมิแพ้ของตานั้น เป็นอาการของภูมิแพ้อย่างหนึ่ง สามารถเกิดได้แทบทุกส่วนของดวงตา ตั้งแต่ เปลือกตา หนังตา ไปจนถึงเยื่อบุตาขาว และกระจกตาครับ ท่อน้ำตาและต่อมน้ำตาก็สามารถมี อาการแพ้เกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่โดยมากแล้ว อาการที่เป็นกันมาก มักจะเกิดกับเยื่อบุตาขาวเป็นส่วน ใหญ่โดยมากแล้ว ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ตา มักจะเป็นผู้ที่มีอาการของโรคภูมิแพ้อื่นๆ อยู่แล้ว เช่น แพ้อากาศ แพ้อาหาร เป็นต้น โดยอาการมักจะแสดงออกในระบบอื่นด้วย เช่น มีอาการของลมพิษ หรือผื่นคันตามผิวหนัง คัดจมูก มีน้ำมูกใส แต่ก็มีไม่น้อย ที่ผู้ป่วยมีอาการปรากฏที่ตาเพียงอย่างเดียว ส่วนมากแล้วภูมิแพ้ที่เกิดกับดวงตา มักมองกันหลายอย่างรวมกัน ดังต่อไปนี้ครับ

-คันตามาก อาจมีอาการหนังตา หรือเปลือกตาบวมร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ (โดยมากแล้ว อาการเปลือกตาบวม มักเป็นจากการแพ้ในระบบอื่นที่ส่งผลถึงดวงตามากกว่าเป็น อาการแพ้ของตาเอง เช่น แพ้ยา)

-มักมีขี้ตาเยอะมาก โดยเฉพาะในเวลาตื่นนอนตอนเช้า ผู้ป่วยหลายรายจะบอกว่า มีขี้ตาเยอะมาก ขนาดลืมตาไม่ขึ้นทีเดียว ขี้ตาจากภูมิแพ้ตานั้น จะมีลักษณะเป็นสีขาวขุ่น หรือเหลืองอ่อนๆ หากมีอาการติดเชื้อของดวงตาร่วมด้วย ขี้ตาจะเป็นสีเขียว

-เยื่อบุตาขาวอาจมีสีแดงเรื่อๆ ได้ จนถึงแดงก่ำ บางรายที่เป็นมาก อาจมีอาการปวดตาร่วมด้วยได้ครับ

-ในรายที่อาการแพ้เป็นอย่างรุนแรง อาจทำให้การมองเห็นของคนไข้แย่งลง มีตามัวกระจกตาเกิดเป็นแผล และอาจถึงตาบอดได้ หากปล่อยทิ้งเอาไว้ไม่ได้รับการรักษา

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า อาการของภูมิแพ้ตา มีได้ตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงขั้นรุนแรงครับ ส่วนสาเหตุของภูมิแพ้ตานั้น เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุเหมือนกับโรคภูมิแพ้อื่นๆ เช่น เกิด จากการแพ้ยาปฏิชีวนะ แพ้ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ เป็นต้น สำหรับคำถามของคุณผู้อ่านนั้น ผมขอตอบดังนี้

1. ภูมิแพ้ตา สามารถรักษาให้หายได้ครับ โดยเฉพาะหากทราบว่าแพ้อะไร เราก็ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารนั้น ก็จะทำให้อาการแพ้หายไป การกินยา หรือหยอดยาแก้แพ้จะช่วยบรรเทา อาการขณะที่แพ้เท่านั้น แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ครับ และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดย เฉพาะโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์นั้น จะมีแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ ที่สามารถให้คำ แนะนำและรักษาได้เป็นอย่างดี

2. การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะการออกกำลังกายและเลือกกิน อาหารที่มีประโยชน์ มีวิตามินสูง จะทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงขึ้น และหลายรายสามารถทำให้ อาการภูมิแพ้หายไปได้ครับ แต่อย่างไรก็ตามผลที่เกิดขึ้น จะไม่เห็นอย่างรวดเร็วนักนะครับเราต้อง ให้เวลา และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จึงจะเห็นผลในระยะยาว

3. การทำเลซิค (LASIK) คือการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ โดยมีการผ่าตัดแก้ไข ท่กระจกตา ผู้ป่วยที่สามารถทำ LASIK ได้นั้น จะต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป สายตาสั้นหรือยาวมี การคงที่มาไม่ต่ำกว่าหนึ่งปี ไม่มีโรคติดเชื้อของตาหรือกระจกตา ไม่เป็นต้อหิน หรือต้อกระจก ไม่มี อาการตาแห้ง สำหรับโรคภูมิแพ้ตานั้น ไม่มีข้อห้ามที่ชัดเจน แต่หากมีอาการแพ้มากและกระจกตามี ปัญหา ก็ไม่ควรทำครับ อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจ คุณผู้อ่านควรจะไปตรวจโดยละเอียดก่อนจะทำ LASIK ครับ

4. การตรวจภูมิแพ้ตานั้น นอกจากตรวจร่างกายและตรวจตาอย่างละเอียดแล้ว การ ตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ส่วนมากจะตรวจเหมือนกับผู้ป่วยภูมิแพ้ทั่วไป ได้แก่ ตรวจเลือด ตรวจ ปัสสาวะ อาจมีการตรวจพิเศษเรื่องของภูมิแพ้ แล้วแต่ผู้ป่วยแต่ละรายไป สุขภาพของเราเป็นสิ่งสำคัญ การออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารครบ ถ้วนทุกหมู่ ดื่มน้ำสะอาด ดื่มนม กับนอนหลับพักผ่อน และทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ เป็นเคล็ด ลับที่ทำให้ท่านมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น