13 มี.ค. 2553

อ่อนเพลียเรื้อรัง

มีคนนับล้านที่เคยมีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (chronic fatigue syndrome) กลุ่มอาการนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงมีชื่อเรียกต่างกันมากมาย เช่น โรคอ่อนเพลียหลังติดไวรัส หรือไข้หวัดคนเมือง บางครั้งแพทย์อาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคปวดกล้ามเนื้อซึ่งเป็นโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกัน แต่มีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย ทั้งสองโรคนี้มักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยพบว่า การกินสารเสริมอาหารช่วยบรรเทาอาการของโรคได้


อาการ

อ่อนเพลียต่อเนื่องหรือเป็นๆ หายๆ ตลอด 6 เดือนขึ้นไป และอาการไม่ดีขึ้นแม้นอนหลับหรือพักผ่อนเพียงพอ

หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ ปวดศีรษะ

มีไข้ต่ำ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองข้างคอหรือรักแร้บวมโต

หากมีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังร่วมกับอาการข้างต้น อาจเป็นอาการของโรคปวดกล้ามเนื้อ

อะไรคือสาเหตุ

สาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบชัด แต่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เนื่องจากผู้ป่วยอ่อนเพลียเรื้อรังร้อยละ 65 เป็นโรคภูมิแพ้ด้วย ผู้ป่วยจำนวนมากมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ก่อนมีอาการอ่อนเพลียตามมา ลักษณะนี้คล้ายการติดไวรัสบางชนิด หรือเชื้อยีสต์แคนดิดา ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อราในช่องคลอด นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการได้รับสารพิษ ความดันเลือดต่ำ สมองอักเสบ หรือระดับฮอร์โมนผิดปกติ

สารเสริมอาหารช่วยได้อย่างไร

ภาวะขาดสารอาหารทุกชนิดทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้ทั้งสิ้น จึงควรกินวิตามินและแร่ธาตุรวมเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เป็นปกติ วิตามินซี กับ เซนต์จอห์นสเวิร์ต ต้านไวรัสได้ดีและยังบรรเทาอาการซึมเศร้า เอคิเนเซีย สามารถใช้สลับกับอึ้งคี้เพ่ือเสริมภูมิคุ้มกันและต้านไวรัส ส่วนแมกนีเซียม โสมไซบีเรีย และชะเอมเทศบรรเทาอาการกล้ามเนื้อเกร็งโดยกระตุ้นต่อมหมวกไตให้ผลิตฮอร์โมนคอร์ติโซนเพื่อคลายเครียด

คำแนะนำเพิ่มเติม

กินอาหารที่มีคุณค่า ควรกินผักและผลไม้สดอย่างน้อยวันละ 10 ส่วน และกินปลาที่มีไขมันสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

ฝึกวิธีผ่อนคลาย เช่น ทำสมาธิหรือโยคะเพื่อรักษาภาวะซึมเศร้าหรือเครียด

หากนอนไม่หลับอาจต้องใช้สารเสริมอาหาร เช่น วาลิเรียน หรือ 5-เอชทีพี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น