9 ต.ค. 2553

การตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา ( DNA paternity testing )

การตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา หรือที่เรียกว่า DNA paternity testing เป็นเทคนิคการตรวจดีเอ็นเอ ชนิด หนึ่ง ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน จุดประสงค์หลักเพื่อพิสูจน์ความเป็นพ่อ-ลูก ในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น และต้องการหลักฐานทางพันธุกรรมเข้ามาพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ การตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา อาศัยหลักการที่ว่า ดีเอ็นเอซึ่งเป็นสารพันธุกรรมของลูก ครึ่ง หนึ่งจะมาจากพ่อ และอีกครึ่ง หนึ่งมาจากแม่


การตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา อาจใช้วิธีตรวจจากเลือด หรือตรวจจากเซลล์เยื่อบุกระพุ้งแก้มก็ได้ โดยนำสิ่งส่งตรวจไปที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อทำการสกัดดีเอ็นเอ ผ่านขั้นตอนกระบวนกรรมวิธีทำให้ดีเอ็นเอเป็นสารบริสุทธิ์ จากนั้นเตรียมดีเอ็นเอที่สกัดได้ นำมาทำการทดสอบกับชุดทดสอบที่เรียกว่า DNA markers จำนวน 16 ชุด ผลที่ได้จะเป็นแบบแผนสารพันธุกรรมของสิ่งส่งตรวจ เมื่อนำแบบแผนสารพันธุกรรมของสิ่งส่งตรวจทั้งหมดมาเปรียบเทียบกันแล้ว ทางห้องปฏิบัติการสามารถใช้การวิ เคราะห์ทางสถิติคำนวณความน่าจะเป็น ซึ่งเรียกว่า probability of paternity


ความแม่นยำของการตรวจดีเอ็นเอ

การตรวจดีเอ็นเอในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตราฐานทุกแห่ง พบว่ามีความแม่นยำมากถึงร้อยละ 100 ในทางปฏิบัติจะพิจารณาความแม่นยำของการทดสอบ ร่วมกับปัจจัยทางชีวภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผลการทดสอบมีความแม่นยำและความน่าเชื่อถือสูงมาก ในบางห้องปฏิบัติการอาจมีการทดสอบแบบแผนสารพันธุกรรมจากสิ่งส่งตรวจของบุคคลที่สามเพิ่มเติม แต่ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว การตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดาอาจไม่ได้ตรวจเพียงวิธีเดียว เช่นเดียวกับหลักการตรวจวิ เคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทั่วไป ในกรณีที่ต้องการทดสอบความเป็นพี่น้องหรือลูกหลานเว้นชั่วอายุคน พบว่าด้วยเทคนิคดังกล่าวจะความแม่นยำประมาณร้อยละ 90

การตรวจดีเอ็นเอจากเซลล์เยื่อบุช่องปาก

การตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา โดยการตรวจดีเอ็นเอจากเซลล์เยื่อบุช่องปาก จะให้ผลการทดสอบที่มีความแม่นยำเช่นเดียวกับการตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา โดยการตรวจเลือด อย่างไรก็ตาม อาจพิจารณาตรวจดีเอ็นเอจากเซลล์เยื่อบุช่องปาก ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจเพิ่งได้รับเลือดมา หรือในกรณีผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ สำหรับการตรวจดีเอ็นเอนั้น เด็กจะมีอายุเท่าใดก็ได้ ผลการตรวจจะเหมือนกัน ไม่ขึ้นกับอายุ



การแปลผลการทดสอบ ประกอบไปด้วยข้อมูล 3 ส่วนที่สำคัญ
เป็นแบบแผนสารพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า DNA profile
เป็นค่าความน่าจะเป็น เรียกว่า Probability of Paternity
เป็นดัชนีทางสถิติ เรียกว่า Combined Paternity Index (CPI)
ในทางปฏิบัติ การแปลผลการตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา ไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด ในกรณีที่ Probability of Paternity เป็นศูนย์ ก็แสดงว่าเด็กคนนั้นไม่ใช่ลูก และในกรณีที่ Probability of Paternity เท่ากับร้อยละ 99.9 แสดงว่าเด็กคนนั้นเป็นลูกแน่นอน

โดยทั่วไปการตรวจดีเอ็นเอใช้เวลานาน 5-7 วัน ในต่างประเทศห้องปฏิบัติการที่ตรวจได้เร็วที่สุด กระทำได้ภายใน 3 วัน


ในการตรวจดีเอ็นเอนั้นสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน กล่าวคือ

1.เทคนิคดั้งเดิมอาร์เอฟแอลพี (RFLP,Restriction Enzyme Fragment Length Polymorphism) ซึ่งค้นพบโดย เอ็ดเวิร์ด เซาร์เทอน (Edward Southern) นักเคมีชีวภาพ ชาวสก็อตแลนด์ ในช่วงทศวรรษที่ 1970

2.เทคนิค พีซีอาร์ (PCR,Polymerase Chain Reaction)
เป็นเทคนิคสำหรับเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Kary Mullis และคณะ แห่งบริษัท Cetus Corporation ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ข้อดีของเทคนิคนี้ คือ สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้อย่างเฉพาะเจาะจง โดยมีขั้นตอนการทำงานน้อย และใช้เวลาไม่นาน PCR เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญมาก โดยสามารถนำไปใช้ได้กับงานวิจัยทางชีวโมเลกุล และพันธุวิศวกรรม เช่น การเพิ่มปริมาณยีน (gene cloning) การวิเคราะห์ลำดับเบสของยีน (gene sequencing) การสร้าง DNA probe และการวิจัยประยุกต์ เช่น การสร้างยีนกลายพันธุ์ (PCR based mutagenesis) การศึกษาการแสดงออกของยีนจาก mRNA การตรวจหาดีเอ็นเอของไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรค เป็นต้น

หลักการพื้นฐานของ PCR คล้ายกับการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอโดยใช้ดีเอ็นเอสายหนึ่งเป็นต้นแบบในการสร้างดีเอ็นเอสายใหม่ เอนไซม์ ดีเอ็นเอโพลีเมอเรส และอุณหภูมิที่ทำให้ดีเอ็นเอแยกจากกันหรือจับคู่กันใหม่ ซึ่งปฏิกิริยา PCR
โดยจะทำหมุนเวียนต่อเนื่องกันไป ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมของแต่ละขั้นตอน

ทั้งสองเทคนิคใช้วิธีการแยกลำดับดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน และบันทึกไว้ในแบบที่สามารถมองเห็นได้

ซึ่งเทคนิค RFLP จะสามารถแสดงผลได้ชัดเจนกว่า เทคนิค PCR แต่ว่าต้องใช้จำนวนตัวอย่างมากกว่า และใช้ระยะเวลานานกว่ามาก ซึ่งเทคนิค RFLP ใช้ตัวอย่างถึง 20–50 นาโนกรัม และใช้ระยะเวลานานหลายสัปดาห์ เทคนิคนี้จะให้แผนที่ DNA ขึ้นมาคล้ายบาร์โค๊ด

ในขณะที่เทคนิค PCR ใช้ตัวอย่างเพียง 2 นาโนกรัม และใช้ระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ใช้กันทั่วไปเพราะสามารถทำเป็นเครื่องตรวจวิเคราะห์ DNA อัตโนมัติได้ การพิสูจน์บุคคลจากสึนามิโดยทีมงานคนไทยก็ใช้วิธีนี้
ทั้งนี้การกำหนดว่าจะใช้เทคนิคใดขึ้นอยู่กับตัวอย่างที่ได้มา ถ้าหากเป็นตัวอย่างที่คุณภาพดีและใหม่ ผู้วิจัยมักจะใช้เทคนิค RFLP ซึ่งจะได้ผลที่ชัดเจนแน่นอนกว่า

ในการแปลและวิเคราะห์ข้อมูลของดีเอ็นเอนั้นจำเป็นต้องใช้วิธีการทางสถิติ พันธุกรรมประชากร และทฤษฎีความน่าจะเป็นมาประยุกต์ใช้กับผลการวิเคราะห์ที่ได้จากห้องทดลอง โดยหลักการแล้วนักวิจัยจะทดสอบว่าตัวอย่างที่ได้จากคนที่ 1 กับ คนที่ 2 ซึ่งอาจจะเป็นพ่อกับลูกกันมาเปรียบเทียบโดยการสุ่มตัวอย่างกับประชากรทั่วไป ซึ่งโดยหน่วยวัดโดยทั่วไปแล้วจะแสดงให้เห็นถึง 1 ต่อ 5,000,000 คน ซึ่งหมายความว่า ในจำนวนคน 5,000,000 คนนั้น มีเพียงสองตัวอย่างนี้เท่านั้นที่มีลักษณะทางพันธุกรรมดีเอ็นเอเหมือนกัน ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ว่ามีโอกาสเป็นพ่อ-ลูกกัน ซึ่งในขณะที่การตรวจพิสูจน์โดยตัวอย่างเลือดที่ทำกันโดยทั่วไปนั้นสามารถบอกได้เพียงหน่วย 1 ต่อ 200 เท่านั้น

โดยสรุปแล้วการตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ของบุคคลทางพันธุกรรมดีเอ็นเอนั้น เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก ซึ่งเป็นวิธีการตรวจหาความจริงอย่างมีหลักการและขั้นตอนที่รัดกุม จึงสามารถอ้างได้ว่าเป็นหลักฐานแบบหนึ่งซึ่งสามารถยืนยันถึงความสัมพันธ์ของบุคคลได้เป็นอย่างดี

การสรุปผลต้องไม่มีข้อขัดแย้งตามเกณฑ์ คือ จะต้องตรงกันทั้งสิบตำแหน่ง เช่นในการพิสูจน์ พ่อ - แม่ - ลูก ผลการตรวจที่จะบอกว่า เป็นลูกแน่นอนนั้น ต้องตรวจพบ DNA ของลูกมาจาก พ่อ และแม่ อย่างละ 50% ทั้งสิบตำแหน่ง ตัวอย่าง ผู้ที่มาตรวจ เป็นแขกพาลูกซึ่งโตแล้ว มาตรวจขอพิสูจน์เพียงเพื่อเป็นหลักฐานประกอบในการโอนสัญชาติ ปรากฏว่าผลการตรวจออกมาแปลก เพราะลูกมี DNA ไม่เหมือนฝ่ายชายเพียงหนึ่งในสิบตำแหน่ง พอคุณหมอลองขยายการตรวจออกไปอีกก็พบว่า ลูกมี DNAต่างกับพ่อ เพียงสองใน 16 ตำแหน่ง ซึ่งแสดงว่าไม่ใช่พ่อแน่นอนค่ะ แต่คงใกล้เคียงพ่อมากๆทีเดียวค่ะ เพราะส่วนใหญ่ คนที่ไม่ใช่พ่อ มักจะมี DNA แตกต่างกัน 5-6 จุดขึ้นไป

**มาตรฐานสากลในการตรวจ DNA ควรดำเนินการตรวจอย่างน้อย 10 ตำแหน่งขึ้นไป อเมริกาได้กำหนดให้ตรวจอย่างน้อย 13 ตำแหน่งและกำลังจะขยับไปเป็น 16 ตำแหน่ง สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบบางหน่วยงานตรวจเพียง 1 ตำแหน่ง แต่บางหน่วยงานใช้ 6 ตำแหน่ง ทำให้มีปัญหาในเรื่องของความเชื่อถือ

**ปกติการตรวจ DNA สามารถตรวจได้จากเลือด โดยมีวิธีการตรวจเรียกว่า Electrophoresis มีการตรวจโดยการเทียบรหัสทางพันธุกรรมวัตถุประสงค์ของการตรวจเช่นดูว่าเป็นพ่อแม่ลูก หาความผิดปกติของยีนหรือโรคบางชนิด หาความผิดปกติของทารกในครรภ์ เป็นวิธีการตรวจที่ยืนยันรหัสทางพันธุกรรมได้ดีในขณะนี้

สามารถตรวจได้ที่กรุงเทพ. ก็มีดังนี้
1.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
2.สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานกรมตำรวจแห่งชาติ
3.ภาควิชา นิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
4.หน่วยมนุษย์พันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในส่วนของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมแต่ควรสอบถามและนัดล่วงหน้าถึงช่วงเวลาที่ตรวจได้ก่อนไป

หน่วยมนุษย์พันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ตำแหน่งสถานที่
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
270 ถนนพระราม 6 แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพฯ
อาคาร 1 ชั้น 1 หลังลิฟท์ สีแดง
โทร. 02- 201-1145, 02- 201-1186 FAX : 02- 201-1145
เปิดบริการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30 น.- 14.00 น.
บุคคลที่ต้องการตรวจจะต้องเดินทางไปตรวจพิสูจน์ ณ.หน่วยนั้นๆตั้งอยู่เท่านี้ และพร้อมกับถ่ายรูปและทำประวัติการตรวจ เนื่องจากทางหน่วยไม่รับการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทางไปรษณีย์ เพื่อป้องกันผลผิดพลาดและเกิดเป็นคดีความฟ้องร้องภายหลังได้ ทราบผลการตรวจภายใน 1 เดือน

หลักฐานที่ต้องใช้คือ
1.ใบยินยอมให้ทำการตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางมารดาบิดาและบุตร
2.สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมตัวจริง ทั้งชายและหญิงรวมไปถึงบุตร
3.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมตัวจริง ทั้งชายและหญิง
4.สูติบัตร ( บุตร)
5.หมายศาล (หากมีคำสั่งของศาลให้ดำเนินการตรวจ)

ค่าตรวจวิเคราะห์ (เฉพาะที่ส่งตรวจที่ หน่วยมนุษย์พันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ส่งตรวจที่อื่นๆราคาอาจแตกต่างไปจากนี้)

- เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางมารดาและบุตร ประมาณ 5,000 บาท
- เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางบิดา,มารดาและบุตร ประมาณ 6,500 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น