4 ธ.ค. 2553

ปวดข้อไหล่ (Shoulder Joint)

ข้อไหล่ (Shoulder joint) เป็นส่วนสำคัญสำหรับการเคลื่อนไหวของแขนและมือ หากมีสิ่งผิดปกติไม่ว่าจะเป็นการบวม เจ็บ หรือการอักเสบของข้อไหล่จะทำให้การใช้งานของแขนด้านนั้นไม่เหมือนเดิม ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคเกี่ยวกับข้อไหล่ คำตอบก็คือสามารถเป็นได้ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนักกีฬา การบาดเจ็บของข้อไหล่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะทำให้เป็นการบาดเจ็บเรื้อรังของข้อไหล่ ในคนวัยทำงานหรือสูงอายุจะมีภาวการณ์อักเสบข้อไหล่ ทำให้การใช้งานในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเอื้อมแขนหรือสิ่งของ, การหวีผม หรือแม้กระทั่งการแต่งตัวจะทำได้ลำบาก ดังนั้นหากท่านมีอาการดังกล่าว จึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อไหล่ดังต่อไปนี้

โรคเยื่อหุ้มข้อไหล่อักเสบและเอ็นอักเสบ ซึ่งเป็นภาวการณ์ปวดข้อไหล่ที่มักจะพบในคนสูงอายุ โยมีอาการปวดเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เมื่อคนไข้พยายามยกข้อไหล่จะมีอาการปวด เมื่อตั้งประมาณ 90 – 120 องศา ทางด้านหน้าหรือการหมุนข้อไหล่เมื่อใช้มือเอื้อมไปด้านหลัง เช่น การใส่ชุดชั้นในในผู้หญิง โดยที่อาการปวดจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งคนไข้ไม่สามารถใช้ไหล่ด้านนั้นในชีวิตประจำวันได้ (Day to day actuation)

ทำไมจึงมีอาการปวดไหล่ในโรคเหล่านี้ คำตอบก็คือ ข้อไหล่ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น เยื่อหุ้มข้อไหล่ (shoulder capsule), เส้นเอ็นข้อไหล่ (rotator cuff tendon) และถุงน้ำที่อยู่ระหว่างกระดูกและเส้นเอ็น (bursa and acromion) เมื่อมีการใช้งานและประกอบกับอายุที่มากขึ้น จะมีการอักเสบและเสื่อมสภาพขององค์ประกอบเหล่านี้ ซึ่งอาจจะมีหินปูนมาสะสมบริเวณนี้ (calcium deposit) ซึ่งสามารถพบได้ใน X-ray



ดังนั้น การวินิจฉัยโรคของการปวดข้อไหล่ นอกจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายแล้วแพทย์อาจจะส่ง X-ray เพื่อดูว่ามีหินปูนมาสะสมในเส้นเอ็นข้อไหล่หรือไม่, หรือการส่ง MRI เพื่อดูการขาดของเส้นเอ็น (rotator cuff tear)

การรักษา จะเริ่มด้วยคำแนะนำต่าง ๆ เช่น การระมัดระวังงานบางอย่างที่ก่อให้เกิดอาการปวดไหล่ โดยให้หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวข้อไหล่ที่จะทำให้อาการปวดมากขึ้น แต่ไม่ใช่ให้หยุดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เนื่องจากจะทำให้ข้อไหล่ติดแข็งได้ ดังนั้น คนไข้สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ในระดับหนึ่งตามแพทย์บอกจะสามารถลดการอักเสบและการติดแข็งข้อไหล่ได้ (frozen shoulder)

การรับประทานยาแก้อักเสบเส้นเอ็น (NSAID) มีประโยชน์เพื่อลดการอักเสบของข้อไหล่ และจะทำให้การเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้สะดวกขึ้น ซึ่งอาการปวดข้อไหล่ควรจะดีขึ้นภายใน 1 – 2 สัปดาห์หลังรับประทานยาแล้ว แต่หากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์จะพิจารณาการฉีดยาบริเวณที่ปวด (steroid invention) เพื่อลดการอักเสบ จะสามารถช่วยได้ในระยะหนึ่งประมาณ 3 – 6 เดือน

ในปัจจุบันการรักษาโรคข้อไหล่ได้ก้าวหน้าขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กล้องส่องเพื่อการผ่าตัด (arthroscopic procedure) ยังเป็นท่อและเส้นต่อกับวงจรทีวี (small TV camera) ซึ่งสอดเข้าไปในข้อไหล่โดยผ่านแผลเล็ก ๆ (< 1 cm.) และจะมองเห็นองค์ประกอบต่าง ๆ ในข้อไหล่ได้ทุกอย่าง โดยแพทย์จะสอดเครื่องมือผ่าตัดเล็ก ๆ ผ่านทางท่อเล็ก ๆ เหล่านี้เพื่อการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการดูดเอาหินปูนในเส้นเอ็นที่อักเสบออก, การตัดถุงน้ำที่อักเสบ (bursitis) และการทำเป็นช่องเพื่อขยายขนาดสำหรับการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นที่อักเสบ (acromioplasty) รวมถึงการเย็บซ่อมเอ็นที่ฉีกขาด (arthroscopic rotator cuff repair)

การผ่าตัดผ่านกล้องเหล่านี้มีประโยชน์เพื่อคนไข้ใช้เวลาฟื้นฟูหลังผ่าตัดได้สั้นลง มีอาการปวดหลังผ่าตัดน้อยลง และระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาลสั้นลง นั้นคือสามารถกลับไปทำงานและใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น

การดูแลหลังผ่าตัด (after surgery)
การทำกายภาพบำบัด (rehabilitation) หลังจากการผ่าตัดใหม่จะใช้เวลาประมาณ 6 – 8 สัปดาห์ ซึ่งจะค่อย ๆ เพิ่มการเคลื่อนไหวและกำลังของกล้ามเนื้อบริเวณข้อไหล่อย่างช้า ๆ เพื่อรอให้การหายของเส้นเอ็นที่ใช้เสลาประมาณ 6 – 8 สัปดาห์ เช่นเดียวกัน คนไข้จะใส่ที่คล้องแขน (sling) ประมาณ 2 – 3 วัน เพื่อลดอาการปวดและบวมหลังผ่าตัด จากนั้นคนไข้จะเริ่มทำการเคลื่อนไหวและการบริหาร (range of motion reduction) รวมถึงการเหยียดและยืด, การเพิ่มแรงของกล้ามเนื้อ (stretching and strengthening excision) และก่อนจะจบการรักษาแพทย์จะอธิบายถึงวิธีการเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น: