เมื่อ 20 ปีก่อน แหล่งข้อมูลด้าน การแพทย์ของคุณคือหมอเท่านั้น กลับจากโรงพยาบาลศัพท์แปลกๆที่ หมอวินิจฉัยมายังคงวนเวียนอยู่ใน หัว ถ้าอยากรู้ก็ต้องหยิบพจนานุกรม แพทย์ประจำบ้านมาปัดฝุ่นค้นหาอาการ หากไปร้านหนังสือหรือเข้าห้องสมุดค้นคว้าจากวารสารวิชาการแล้วยังไม่จุใจ ก็ไม่มีทาง อื่นที่จะรู้ว่าคุณป่วยเป็นอะไรกันแน่
แต่ทุกวันนี้นะหรือ แค่มีอาการปวดแปล๊บ ก็สามารถออนไลน์ได้ หลายคนใช้อินเทอร์ เน็ตเป็นประจำเพื่อดูข้อมูลสุขภาพ พิมพ์ อาการลงไปก็สามารถค้นรายงานผลการวิจัย ดูวิธีการบำบัดแบบทางเลือก ได้กำลังใจจากเครือข่ายผู้ป่วย อ่านเรื่องที่เป็นแรงบันดาล ใจ จะซื้อยาหรือแสดงความเห็นของตนเอง ก็ยังได้ ความลี้ลับของศัพท์ทางการแพทย์ มลายหายไป เอกสารทางการแพทย์ฉบับ เต็มและข้อมูลสำหรับผู้บริโภคหลายล้าน หน้าสามารถหาอ่านได้เพียงแค่คลิกเท่านั้น
ทุกอย่างฟรี สะดวก และทันใจ บาง ครั้งเร็วยิ่งกว่าปรึกษาแพทย์เสียอีก ดร. ลี วิง คิง ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช วิทยาลัย จิตเวชศาสตร์ฮ่องกง เล่าว่า “เพื่อนของ อาจารย์ท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยของผม สงสัยว่าลูกชายเขาจะป่วยด้วยโรคหายากจึง ถามอาจารย์ท่านนั้น พออาจารย์ตอบอีเมล ไป หนึ่งชั่วโมงต่อมา เพื่อนคนนั้นก็บอก ว่าได้รับข้อมูลมากพอแล้วจากกูเกิลและ ตัวอย่างวิดีโอบนยูทูป”
พญ. อรพิชญา ไกรฤทธิ์ อายุรแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะ แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ ความเห็นต่อการหาข้อมูลสุขภาพทางเว็บไซต์ ว่า “มีข้อดีหลายอย่าง อย่างแรกแสดงว่า คนเราดูแลตัวเองดีขึ้น หมออาจไม่มีเวลา ให้ความรู้ก็หาเพิ่มเติมได้ และคนไข้รู้จัก ทางเลือกอื่นในการดูแลที่ไม่ต้องใช้ยามาก ขึ้น คนสมัยก่อน หมอสั่งอย่างไรก็ต้องทำ อย่างนั้น คนไข้ของหมอเองเป็นผู้สูงอายุ ลูกๆคนไข้มักพิมพ์ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต หนาเป็นเล่มมาถามเกี่ยวกับการใช้ยาและ สมุนไพร” หมออรพิชญาเสริมว่า “การศึกษา เพิ่มเติมถือเป็นสิทธิของผู้ป่วย ถ้าไม่เชื่อ ความเห็นของหมอ คุณก็เช็กดูได้จากทาง อินเทอร์เน็ต แล้วนำสิ่งที่คุณรู้นั้นมาคุยกัน”
ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำอย่างสุทัศน์ สอนบาลี ช่างภาพและนักเขียนอิสระวัย 45 ก็ได้ประโยชน์จากการค้นหาข้อมูลสุขภาพ “เวลาจะต้องกินยาที่ไม่เคยกินมาก่อน ผมจะ เข้าเน็ตหาดูข้อมูลประกอบค่อยตัดสินใจ อ่าน ตามเว็บบอร์ดก็ได้ความรู้ค่อนข้างละเอียด แต่เป็นประสบการณ์ของคนที่ เขียนไว้ มีคนแลกเปลี่ยนกับเรา บางครั้งเป็นหมอ ก็มี หรือเมื่อหลายเดือน ก่อน หัวเข่าของผมบวม เดินไม่ได้ ก็เข้ากูเกิล หาร้านขายอุปกรณ์การ แพทย์ดูไม้ค้ำว่ามีขายที่ ไหน ราคาเท่าไหร่”
ข้อมูลล้นหลามจะเชื่ออะไรดี
ให้ลองพิมพ์คำว่า “ปวดหัว” แล้วคุณจะพบ สาเหตุของอาการ ตั้งแต่ไมเกรน, ความ เครียด, การควบคุมอาหาร, มาลาเรีย, การ บาดเจ็บที่ศีรษะ ไปจนถึงเนื้องอกในสมอง โปรแกรมค้นหาจะแสดงลำดับของเว็บไซต์ โดยอาศัยสูตรคำนวณที่ซับซ้อน จำนวน ผู้เยี่ยมชม และคำสำคัญที่ผู้เขียนเว็บไซต์ เตรียมไว้ หมายความว่าคุณอาจสับสนแล้ว เข้าใจผิดว่าอาการของโรคที่หายากและร้าย แรงนั้นเป็นอาการของคุณเอง
แต่รานชิต เการ์ ประธานสมาคมสงเคราะห์ มะเร็งเต้านมของมาเลเซีย เห็นว่าการรับข้อมูลจาก สื่ออื่นอย่างหนังสือพิมพ์ และหนังสือก็ทำให้เข้าใจ ผิดได้เช่นกัน เธอกล่าว ว่า “ข้อมูลบนเว็บไซต์ที่ เกี่ยวกับมะเร็งส่วนใหญ่ เป็นประโยชน์มากกว่า โทษ” และ “เป็นหน้าที่ของ ผู้อ่านที่ต้องตรวจสอบ ความถูกต้องและน่าเชื่อถือ ของข้อมูลและแหล่งที่มา” ที่สำคัญคือต้องพิจารณา ว่าข้อมูลไหนมีประโยชน์ อย่างแท้จริง
วาสนา ประเสริฐเวช- ทนต์ คุณแม่วัย 42 มี ลูกสาวอายุหนึ่งขวบครึ่ง เธอเป็นผู้หนึ่งที่ชอบท่องเน็ตเพื่อค้นข้อมูล ด้านสุขภาพ “เวลาหมอบอกว่าลูกควรฉีด วัคซีนอะไร ดิฉันจะเสิร์ชดูก่อน บางเว็บไซต์ มีบอกว่าวัคซีนนี้เป็นอย่างไร ผลิตจากอะไร ใครนำเข้า หรือดูข่าวโทรทัศน์แล้วมีอะไร ใหม่ๆ อย่างเช่นมะรุมที่บอกว่าป้องกันมะเร็ง ดิฉันก็เข้าเน็ตหาอ่านเพิ่มเติม บางครั้งพบ ข้อมูลที่ขัดแย้งกัน อย่างเว็บแนวการกินอยู่ เพื่อสุขภาพบางเว็บบอกว่าควรกินโปรตีน จากถั่วเหลือง อีกเว็บบอกไม่ควรกิน ซึ่งมา จากแหล่งที่น่าเชื่อถือทั้ง สองฝ่าย ไม่ได้ปักใจเชื่อ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพราะ ความรู้ที่ขัดแย้งกันอาจ เป็นเรื่องใหม่ ยังไม่มีการ ศึกษาอย่างละเอียด เรา อ่านเก็บเป็นความรู้ไว้ก่อน แล้วรอดูต่อไป”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น