28 ม.ค. 2551

ไวรัสตับอักเสบซี Hepatitis C

ไวรัสตับอักเสบชนิดซี เป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับอักเสบ เกิดขึ้นภายหลังการได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี พบในประชากรทั่วไปประมาณร้อยละ 2 ของคนที่มาบริจาคเลือด หลังจากเป็นตับอักเสบแล้วก็มีแนวโน้มจะเป็นตับอักเสบเรื้อรัง 20% ของผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังชนิดซี จะเป็นตับแข็งภายใน 10-20 ปี บางส่วนกลายเป็นมะเร็งตับ ติดต่อได้โดยทางเลือดและน้ำเหลือง การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด นอกจากนี้ อาจติดเชื้อได้ทางเพศสัมพันธ์

ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ประมาณ 15-160 วัน หรือเฉลี่ย 2 เดือน ทำให้เกิดโรคตับอักเสบเฉียบพลัน ปัจจุบันพบว่าเชื้อไวรัสนี้ทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบชนิดบี

การให้นมบุตร การจามหรือไอ อาหารหรือน้ำ การใช้ถ้วยชามร่วมกัน ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี

สำหรับอาการของโรคตับอักเสบ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีไข้นำมาก่อน ร่วมกับอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย บางรายอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ปวดชายโครงขวา ปวดกล้ามเนื้อและ ปวดข้อ ต่อมาจะเริ่มมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าเป็น โรคดีซ่าน นั่นเอง ถ้ามีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเรื้อรังและกลายเป็นตับแข็งจะมีอาการ ตับ ม้ามโต, ตัวเหลืองตาเหลือง, กล้ามเนื้อลีบ, ท้องมาน, เท้าบวม

เกิดอะไรขึ้นเมื่อเราติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี

ตับอักเสบเฉียบพลัน
หลังจากไวรัสตับอักเสบ ซี เข้าสู่ร่างกายแล้วมันจะทำให้เกิด การอักเสบของตับ แต่ส่วนมากผู้ป่วยจะไม่มีอาการอะไร มีเพียงประมาณ ร้อยละ 25-30 ของผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ที่เรียกว่าดีซ่าน ดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าตัวเองเกิดไวรัสตับอักเสบ ซี เฉียบพลัน

ตับอักเสบเรื้อรัง
มากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งในระยะแรกผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการอะไร เมื่อมีการทำลายตับไปมากพอควร หรือภาวะที่มีการอักเสบของตับมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนเพลีย

เบื่ออาหาร
ตับแข็งผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบ ซี นั้นตับจะมีอาการ อักเสบและถูกทำลายไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะกลายเป็นตับแข็ง ซึ่งถ้าเป็นมากแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนเพลียมาก ดีซ่าน ท้องมาน และเกิดตับวายได้ในที่สุด

มะเร็งตับ
ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรังจะมีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้มากกว่าคนปกติ และมีรายงาน ว่าถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรังอย่างถูกต้องสามารถที่จะลดโอกาสการเกิดมะเร็งตับลงได้ปัจจุบันมีวิธีตรวจสอบเสี่ยงหาเชื้อไวรัสตับอักเสบหลายวิธี ทั้งตรวจระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่มีอาการก็สามารถตรวจสอบได้ว่า เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบหรือไม่

การตรวจหาเชื้อไวรัสอักเสบ ซี
- เจาะเลือดตรวจดูการทำงานของตับเพื่อดูว่ามีการอักเสบของตับไหม และมากน้อยขนาดไหน นอกจากนี้ยังพอจะบอกว่าตับยังทำงานได้ดีขนาดไหน

- ตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบ ซี หรือตรวจหาไวรัส ซี ในน้ำเหลือง หรือที่เรียกว่า "แอนติ เอช ซี วี (Anti-HCV) "โดยเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 300 - 400 บาท และรอผลประมาณ 3 - 7 วัน ในรายที่ผลเป็นบวกควรตรวจยืนยันด้วยการการตรวจไวรัสโดยตรง

- การตรวจอัลตราซาวนด์ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยจะมีตับแข็ง หรือมะเร็งตับแล้วหรือยัง

- การเจาะเนื้อตับเพื่อช่วยยืนยันว่า ผู้ป่วยมีภาวะไวรัสตับอักเสบ ซี นอกจากนี้ยังช่วยบอกได้ว่ามีการอักเสบมากน้อยแค่ไหน มีภาวะตับแข็งแล้วหรือยัง

วิธีป้องกันตับไวรัสอักเสบ ซี
- ห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
- ให้สวมถุงมือถ้าต้องสัมผัสเลือด
- ห้ามใช้มีดโกนหนวด แปรงสีฟันร่วมกัน
- ห้ามใช้อุปกรณ์ในการสักร่วมกัน
- ให้ใช้ถุงยางคุมกำเนิดถ้าหากมีเพศสัมพันธ์หลายคน
- ถ้าคุณเป็นตับอักเสบ ซีห้ามบริจาคเลือด

การปฏิบัติตัว
- โดยทั่วไปจะเป็นการรักษาตามอาการ สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบ คือ หลีกเลี่ยงยารับประทานที่อาจทำให้ภาวะตับอักเสบโดยทั่วไปรักษาตามอาการ
- หลีกเลี่ยงยารับประทานที่อาจนำให้ภาวะตับอักเสบรุนแรงขึ้น
- นอนพักผ่อนให้มาก เมื่อผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ภูมิต้านทานโรคในร่างกายจะเพิ่มขึ้น อาการป่วยไข้ที่เป็นอยู่ก็จะดีขึ้นในไม่ช้า

ผู้ป่วยที่มีไวรัสตับอักเสบ ซี จะป้องกันการอักเสบของตับอย่างไร
- งดสุรา
- พบแพทย์ตามนัด
- ก่อนใช้ยา หรือสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์
- ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ เอ บี

การรักษาด้วยยา
ในปัจจุบันยาที่มีการศึกษามาก และได้ผลดีที่สุดคือ อินเตอร์เฟียรอน ซึ่งต้องรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งประมาณร้อยละ 40-60 ของผู้ป่วยจะตอบสนองต่อการรักษา ปัจจุบันกำลังมีการศึกษายากินชื่อว่า "ไรบาไวริน" ซึ่งนำมาใช้ร่วมกับยาฉีดอินเตอร์เฟียรอน เพื่อหวังผลที่จะเพิ่มการตอบสนองต่อการรักษา

ไม่มีความคิดเห็น: