21 มี.ค. 2551

อาหารช่วยลด คอเลสเตอรอล

รู้มั้ยว่าโรคอะไรที่คร่าชีวิตคนมากที่สุดในโลก คำตอบคือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคนี้ทำเอาพวกบริษัทยาที่ขายยาเกี่ยวกับโรคนี้พากันรวยมากมายมหาศาล และสาเหตุหลักที่สำคัญก็คือภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งไขมันที่เป็นปัญหาสำคัญก็คือ คอเลสเตอรอล นั่นเอง

ปัจจุบันภาวะไขมัน คอเลสเตอรอล ในเลือดสูงเป็นปัญหาที่สำคัญทีเดียว เพราะมันจะส่งผลไปกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างมากทีเดียว และถือว่าเป็นภัยเงียบที่ร้ายแรง

จากการผลการศึกษาล่าสุดจากสถาบัน world's premier medical institutions พบว่ามีวิธีการที่สามารถช่วยป้องกันระบบหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีได้

นักวิจัยได้แนะนำว่ามีปัจจัยความเสี่ยงมากมายที่นำมาพิจารณา โดยใช้ความรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพื้นฐานของลักษณะของการเสื่อมสลายของระบบหัวใจและหลอดเลือด ปัจจัยที่ไปเพิ่มความเสี่ยงเหล่านี้ประกอบไปด้วย สภาวะสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายต่ำ สภาวะกรดไขมันที่จำเป็นในร่างกายต่ำ ระดับปริมาณเกลือแร่ แมกนีเซียม โปตัสเซียม และระดับที่เพิ่มขึ้นของ homocysteine ในร่างกาย ปัจจัยความเสี่ยงเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากทีเดียว และสิ่งสำคัญมากๆ ก็คือมีวิธีที่ง่ายและปลอดภัยที่จะกำจัดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ นั่นคือ

► การออกกำลังกาย
► การลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
► รับประทานอาหารเสริม เช่น วิตามิน เกลือแร่ และอาหารต้านอนุมูลอิสระ

คอเลสเตอรอล มีผลกับสุขภาพยังไงในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมาเรารับทราบข้อมูลของ คอเลสเตอรอล มามากมายว่ามันมีผลเสียต่อร่างกายโดยมันอาจจะไปอุดตันเส็นเลือด และมันเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีทำให้เกิด โรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ทราบหรือไม่ว่า คอเลสเตอรอล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากต่อสุขภาพของร่างกายทีเดียวเรียกได้ว่าขาดไม่ได้เลย

คอเลสเตอรอล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในเซลเมมเบรน (cell membrane) มันจะช่วยเซลล์ในการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอเลสเตอรอล ช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน (วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และ วิตามินเค) และกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายเข้าสู่เซลล์ คอเลสเตอรอล จะมีส่วนช่วยในขบวนการสร้างฮอร์โมนเพศทั้งชายและหญิง และรวมถึงสเตียรอยด์ฮอร์โมน (steroidal hormones) ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับสุขภาพที่สำคัญของร่างกายคือระบบภูมิต้านทานของร่างกายและการทำงานที่สมบูรณ์ของระบบฮออร์โมน
คอเลสเตอรอล จะมี 2 ชนิด คือ ชนิดดีและชนิดไม่ดี

► ชนิดดีหรือ HDL (High Density Lipoprotein) ชนิดดีนี้จะช่วยร่างกายขับ คอเลสเตอรอล ที่เกินความต้องการออกจากร่างกาย จะได้จากอาหารและร่างกายผลิตขึ้นเพื่อนำไปใช้ ชนิดนี้ยิ่งสูงก็จะดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย

► ชนิดไม่ดีหรือ LDL (Low Density Lipoprotein) เป็นชนิดที่เป็นโทษต่อร่างกาย ได้จากอาหารเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์

ดังนั้นเวลาดูค่าหรือระดับของ คอเลสเตอรอล ในร่างกายควรที่จะดูที่สัดส่วนของ HDL กับ LDL จะดีกว่า

เป็นเรื่องที่น่าแปลก จากการศึกษาพบว่ามีจำนวนสัดส่วนที่มากพอสมควรของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดกลับมีระดับ คอเลสเตอรอล ในร่างกายต่ำหรือเป็นปกติ ชี้ให้เห็นว่าสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ได้เกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล เองโดยตรง แต่สิ่งที่เป็นผลร้ายกับร่างกายคืออนุภาคออกซิไดซ์ของ LDL หรือ คอเลสเตอรอล ที่ไม่ดีนั่นเอง

นักวิจัยได้ระบุว่ามีอาหารมากมายที่วารสารการวิจัยทางการแพทย์หลายๆ ฉบับระบุว่าช่วยส่งเสริมให้ระบบกาารทำงานของหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรงมีสุขภาพดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยหากแบ่งตามหน้าที่การทำงานหลักของอาหารเหล่านั้นจะแบ่งได้ 4 กลุ่มหลัก ที่จะช่วยส่งเสริมให้ระบบกาารทำงานของหัวใจและหลอดเลือดมีสุขภาพดีขึ้น

1) อาหารช่วยต้านอนุมูลอิสระ อาหารชนิดนี้จะช่วยป้องกันการเกิดอนุภาคออกซิไดซ์ของ LDL หรือ คอเลสเตอรอล ที่ไม่ดี โดย คอเลสเตอรอล จะกลายเป็นศัตรูร้ายทันทีที่มันเกิดการแตกตัวเป็นอนุภาคออกซิเดชั่น ซึ่งก็จะอาหารที่จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้ส่งผลให้อาหารเหล่านี้ช่วยทำให้ระบบกาารทำงานของหัวใจและหลอดเลือดมีสุขภาพดีขึ้น

► สารสกัดจากกระเทียม 400-2,000 มิลลิกรัมต่อวัน (หากเป็นแบบไม่มีกลิ่นจะดีกว่า)
► วิตามินอี 400-1,200 IU ต่อวัน
► สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 50-200 มิลลิกรัมต่อวัน
► ไวน์แดงสกัด 50-200 มิลลิกรัมต่อวัน
► สารสกัดจากชาเขียว 100-300 มิลลิกรัมต่อวัน
► CoEnzyme Q10 60-120 มิลลิกรัมต่อวัน

2) อาหารที่ช่วยในเรื่องเกี่ยวการรักษาระดับ homocysteine ในร่างกาย homocysteine เป็นกรดอะมิโนที่ได้จากกระบวนการเมแทบอลิซึม ของกรดอะมิโน methionine และเป็นกรดอะมิโนที่รู้จักกันดีว่ามีพิษต่อผนังเซลล์ของหลอดเลือด ภาวะระดับ homocysteine ในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มีผลการศึกษากว่า 500 การศึกษาที่ได้มีการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์พบอันตรายของ homocysteine พบว่าการเพิ่มขึ้นของระดับ homocysteine จะส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตมากว่าการเพิ่มขึ้นของระดับ คอเลสเตอรอล ถึง 5 เท่าทีเดียว
อาหารที่พบว่ามีส่วนช่วยในเรื่องการรักษาระดับ homocysteine ในร่างกายคือ

► วิตามินบี6 50-150 มิลลิกรัมต่อวัน
► วิตามินบี12 500-2,000 ไมโครกรัมต่อวัน (ในรูปแบบ methylcobalamin จะให้ผลดีกว่า)
► กรดโฟลิค 400-1,000 IU ต่อวัน
► Trimethylglycine 100 - 500 มิลลิกรัมต่อวัน

3) อาหารที่ช่วยในเรื่องสัดส่วนหรือระดับของ คอเลสเตอรอล ในร่างกาย ระดับของ คอเลสเตอรอลในร่างกายไม่ได้ตัวชี้วัดที่ดีของสุขภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือด สิ่งที่น่าจะเป็นตัวชี้วัดที่ดีน่าจะเป็นอัตราส่วนของ HDL ต่อ LDL มากกว่า ซึ่งอัตราส่วนที่ดีคืออัตราส่วนเท่ากับ 4 หรือน้อยกว่า ส่วนอัตราส่วนที่พอเหมาะคือ 3
อาหารที่พบว่ามีส่วนช่วยในเรื่องการรักษาระดับอัตราส่วนของ คอเลสเตอรอล ในร่างกายคือ

► น้ำมันปลาหรือ Fish oil 200-800 มิลลิกรัมต่อวัน (EPA และ DHA)
► สารสกัดจากกระเทียม 900 มิลลิกรัมต่อวัน (หากเป็นแบบไม่มีกลิ่นจะดีกว่า)
► Tocotrienols 312 มิลลิกรัมต่อวัน► ไฟเบอร์ (Fiber) 20-30 กรัมต่อวัน

4) อาหารที่ช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรงและมีสุขภาพดี มื้ออาหารของคนส่วนใหญ่ที่รับประทานกันในแต่ละวัน มักจะได้รับปริมาณของ วิตามินซี และ ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid) ไม่เพียงพอต่อการเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรงและมีสุขภาพดีได้ ซึ่งทั้ง วิตามินซี และ ไบโอฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่สำคัญอย่างมากต่อการสร้าง คอลลาเจน (Collagen) ซึ่งเป็นโปรตีนที่สำคัญต่อความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด

มีสารอาหารอยู่ชนิดหนึ่งคือ เปลือกสนสกัด (เฉพาะเปลือกสนที่สกัดจากเปลือกของต้นสนในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลที่แรงทีเดียว ดังนั้นเปลือกสนสกัดจึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับการทำลายของอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เปลือกสนสกัดน่าจะมีประโยชน์อย่างมากต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดทั้งระบบทีเดียว โดยมันจะไปช่วยป้องกันการเกิดการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดที่เกิดจากการสูบบุหรี่หรือความเครียด
อาหารที่ช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรงและมีสุขภาพดีคือ

► วิตามินซี 500-2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
► ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid) 100-500 มิลลิกรัมต่อวัน
► เปลือกสนสกัด 50-200 มิลลิกรัมต่อวัน

โดยสรุปสำหรับผู้ที่ต้องการมีสุขภาพที่ดีลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด และต้อการมีระบบหัวใจและหลอดเลือดที่แข็งแรงก็ควรจะปฏิบัติตัวง่ายๆ ดังนี้คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น วิตามิน เกลือแร่ และอาหารต้านอนุมูลอิสระ

ไม่มีความคิดเห็น: