15 พ.ค. 2551

นาฬิกาชีวิต

จากการค้นพบของแพทย์แผนตะวันออกพบว่า เรื่อง
ของเวลากับสุขภาพเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กันอย่างแยก ไม่ออก
เพราะแต่ละโมงยามที่เคลื่อนไป เท่ากับว่าพลังชีวิตได้ เคลื่อนที่ไป
ตามอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทั้งอวัยวะตัน และอวัยวะกลวง


อวัยวะตันดังกล่าว หมายถึง ตับ ม้าม ปอด หัวใจ ไต


อวัยวะกลวง ได้แก่ ลำไส้ กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก


การไหลเวียนของพลังชีวิตไปตามอวัยวะทั้ง 12 ที่นั้น จะใช้เวลาช่วงละ 2 ชั่วโมง
รวมทั้งสิ้น จึงครบ 1 วัน 24 ชั่วโมง


ทางการแพทย์แผนตะวันออกบอกไว้ว่า


-ช่วงเวลาตี 1-ตี 3 นั้น เป็นช่วงเวลา ของ "ตับ" ซึ่งหน้าที่ของตับนั้นคือการ
ขจัดสารพิษในร่างกาย ทั้งยังเป็นตัวช่วย ไตดูแลผม ขน เล็บ
ทั้งยังช่วยกระเพาะย่อยอาหารอีกด้วย


ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ควรกินอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนัก เสื่อมเร็ว
จึงควรนอนหลับพักผ่อนเพื่อทำให้ตับ หลั่งสารมีราโทนินเพื่อฆ่าเชื้อ และสาร
เอนโดรฟิน


-ช่วงเวลาตี 3-ตี 5 เป็นเวลาของ "ปอด" ทำงานหนัก จึงควรตื่นนอน
ลุกขึ้นสูดอากาศในตอนเช้า ผู้ที่ทำได้เป็น ประจำ นอกจากปอดจะดีแล้ว ผิวพรรณจะ
ดีขึ้นอีกด้วย


-ตี 5-7 โมงเช้า เป็นเวลาของ "ลำไส้ใหญ่" ที่มีหน้าที่ขับถ่ายอุจจาระ
ช่วงนี้ควรขับถ่ายให้เป็นนิสัย หากไม่สามารถทำได้ลำไส้จะรวน
ส่งผลให้เกิดอาการปวดไหล่ ดังนั้นจึงควรตื่นแต่เช้า รับประทานอาหารเช้า
บางคนอาจเลือก ที่จะดื่มกาแฟแทนอาหารเช้า ร่างกายจะดูดกากอาหารที่ตกค้าง
กลับเข้าไปใหม่


-7 โมงถึง 9 โมง เป็นเวลาที่ "กระเพาะอาหาร" ทำงานเต็มที่
จึงควรรับประทานอาหารในช่วงเวลานี้จะทำให้กระเพาะแข็งแรง


-9 โมง-11 โมง ตกเป็นเวลาของ "ม้าม" ที่มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด คุมไขมัน
สร้างน้ำเหลือง ตามตำราบอกไว้ว่า ไม่ควรนอนในช่วงเวลานี้
เพราะจะทำให้ม้ามอ่อนแอ


-11 โมง-บ่ายโมง ช่วงเวลาที่ "หัวใจ" ทำงานหนัก ควรหลีกเลี่ยงความเครียด
หรือใช้ความคิดมากๆ พยายามควบคุมอารมณ์ให้ดี


-บ่ายโมง-บ่าย 3 โมง เป็นช่วงเวลาที่ "ลำไส้เล็ก" จะดูดซึมสารอาหารที่เป็นน้ำ
อาทิ วิตามินบี ซี โปรตีน เพื่อนำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างเซลล์สมอง
และสร้างไข่ในผู้หญิงอีกด้วย
หากลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมากจะทำให้การดูดซึมมีปัญหา
ส่งผลไปถึงไตที่ต้องทำงานหนักมากขึ้น ดังนั้นจึงควรงดกินอาหารทุกประเภท


-บ่าย 3 โมง-ห้าโมงเย็น เป็นช่วงเวลาของ "กระเพาะปัสสาวะ"
จะเกี่ยวข้องกับระบบความจำ ไทรอยด์ และระบบเพศทั้งหมด ข้อแนะนำ
คือควรออกกำลังกายหรืออบตัวทำให้เหงื่อออกเพื่อทำให้กระเพาะปัสสาวะแข็งแรง
แต่สังเกตน้ำเหงื่อด้วย หากพบว่ามีโซเดียมออกมากพึงระวังภาวะ ไตวาย
หรือถ้ามีโพแทชเซียมออกมามีแนวโน้มที่จะหัวใจวายได้
อีกประการหนึ่งคือไม่ควรอั้นปัสสาวะ เพราะร่างกายจะดูดซึมปัสสาวะนั้นๆ
กลับเข้าสู่กระแสเลือด


- 5 โมงเย็น-1 ทุ่ม ช่วงเวลาของ "ไต" ที่ทำหน้าที่ควบคุมกระดูก สมอง
และเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์
อารมณ์สุนทรีย์ หากไต ด้านนี้มีปัญหาจะกลายเป็นคนปล่อย เนื้อปล่อยตัว ขี้ร้อน
ไตขวาจะคุมสมองด้านซ้าย ควบคุมด้านความจำ ถ้ามี ปัญหาความจำจะเสื่อม และเป็น
คนขี้หนาว


ดังนั้นช่วงเวลานี้ควรทำร่างกายให้สดชื่นแจ่มใส หากไตมีปัญหาอาจส่งผลทำให้
สมองเสื่อม ปวดหัว เป็นหวัดง่าย


-1 ทุ่ม-สามทุ่ม เป็นช่วงเวลาของ "เยื่อหุ้มหัวใจ" ในเวลานี้ควรทำใจให้สงบด้วย
การสวดมนต์ ทำสมาธิ ป้องกันความพลุ่งพล่านที่ อาจเกิดขึ้นได้


-สามทุ่ม- 5 ทุ่ม เป็นช่วงที่ "ร่างกาย" ต้องการ ความอบอุ่น
ควรหลีกเลี่ยงในการอาบน้ำเย็นเพราะอาจทำให้ เจ็บป่วยได้ง่าย


-5 ทุ่ม-ตี 1 ช่วงเวลาของ "ถุงน้ำดี" หรือถุงเก็บน้ำย่อยที่สำรอง
ที่ออกมาจากตับ มีหน้าที่ชดเชยน้ำให้กับอวัยวะส่วนต่างๆ ที่ขาดน้ำ
ซึ่งอาจมีผลทำให้น้ำดีข้น ส่งผลทำให้มีอารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม
ปวดฟัน นอนไม่หลับ ตื่นตอนดึก ปวดหัวโดยไม่ทราบ สาเหตุ เป็นไมเกรน ปวดขา
ปวดสะโพก ทางที่ดีจึงควรดื่มน้ำก่อน เข้านอนหรือก่อน 5 ทุ่ม


ดังนั้นหากรู้จักปรับพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับภาวะเวลา
สุขภาพดีๆ ก็จะไม่หนีหายไปไหนเสีย เข้าทำนองรู้เขารู้เรา
รบร้อยครั้งก็ชนะทั้งร้อยครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น