บางคนเป็นลูกจ้างเพราะอยากหาประสบกาณ์ บ้างก็เพราะเป็นลูกจ้างเพราะไม่มีทางเลือกอย่างอื่น (ไม่รู้ว่าจะไปทำอะไรดี) ในขณะที่หลายคนเป็นลูกจ้างเพราะอยากเป็น (สมัครใจที่จะมีอาชีพเป็นลูกจ้าง) ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างเพราะเหตุใด คงไม่สำคัญมากนัก แต่สิ่งที่สำคัญอยู่ที่เมื่อลูกจ้างแล้วเราได้ทำหน้าที่ของ " ลูกจ้าง " เต็มที่แล้วหรือยัง เหตุผลที่บางครั้งเราแสดงบทบาทได้ไม่ดีมีอยู่ 2 ประการ คือ
1.แสดงผิดบท
หมายถึง ในขณะที่เราทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งนั้น เราได้นำเอาพฤติกรรมในหน้าที่หรือบทบาทอื่นๆ มาใช้ เช่น ในขณะที่เราทำหน้าที่เป็นหัวหน้า เราอาจจะนำบทของความเป็นพ่อหรือแม่มาใช้ในการดุด่าลูกน้อง หรือ ในขณะที่เราทำหน้าที่เป็นลูกน้อง เราอาจแสดงอารมณ์ใส่หัวหน้าเหมือนกับการที่เราเคยแสดงอารมณ์ใส่พ่อแม่
2.แสดงไม่สมบทบาท
หมายถึงการที่เราทำหน้าที่ได้ต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรเป็น อาจเกิดจาก 2 ประการคือ ประการแรก รู้ว่าควรจะทำอะไร อย่างไร และสามารถทำได้ถ้าจะทำ แต่ไม่ทำ ประการที่สอง คือ ไม่รู้ว่าบทบาทที่ควรจะเป็นจริงๆนั้นเป็นอย่างไร จึงแสดงบทบาทนั้นๆ ได้ไม่ดี เท่าที่ควรจะเป็น
คนที่ถูกเรียกว่า "มีอาชีพเป็นลูกจ้าง" กับ " เป็นลูกจ้างมืออาชีพ" นั้นแตกต่างกัน เพราะใครก็ตามที่ทำงานให้กับบริษัทหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง มีสถานะเป็นลูกจ้าง ทำงานมีเงินเดือนใช้ทุกเดือน ใส่ชุดฟอร์มหนักงาน มีบัตรพนักงาน เพียงแค่นี้เราก็พอจะเรียกได้แล้วว่าคนคนนัน "มีอาชีพเป็นลูกจ้าง" แต่สำหรับการเป็นลูกจ้งมืออาชีพแล้ว ผู้เขียนคิดว่าคนคนนั้นจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้ด้วย
ต้องเข้าใจบทบาทในหน้าที่นั้นอย่างถ่องแท้ ลูกจ้างมืออาชีพจะต้องศึกษาว่างานที่เราทำนั้นมีออะไรบ้าง มีขอบเขตมากน้อยเพียงใด อะไรคือสิ่งที่องค์กรคาดหวังจากการจ้างเราเข้าทำมาทำงาน อะไรคือสิ่งที่ควรระวังของตำแหน่งงานนั้น
ต้องปรับอารมณ์ให้เข้ากับบทบาทของงาน เช่น เราทำหน้าที่เป็นพิธีกรในงานปีใหม่ เราจะต้องสร้างอารมณ์ตัวเองให้เหมาะสมกับบทพิธีกร ถึงแม้ว่าเราจะไม่ชอบงานนี้ แต่เมื่อเราได้รับมอบหมาย ก็ต้องทำให้ดีที่สุด
ต้องพร้อมที่จะซ้อมบทบาทใหม่อยู่ตลอดเวลา พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นส่วนหนึ่งของความก้าวหน้า อย่ายึดติดกับบทบาทใด บทบาทหนึ่งให้มากจนเกินไป เพราะอาจจะก่อให้เกิดนิสัยที่ไม่ดีและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงถ้าเรายังไม่มีบทบาทใหม่
ต้องคิดว่า "ทุกครั้งที่ทำเต็มที เราได้มากกว่าองค์กร"มนุษย์เงินเดือนมืออาชีพต้องคิดเสมอว่าการแสดงบทบาททุกบทบาทในองค์กร เราในฐานะผู้แสดงจะได้รับประโยชน์มากกว่าองค์กรทุกครั้งอย่างแน่นอน เช่น ถ้าเราทำงานดี สิ่งที่องค์กรได้รับคือผลงานดีเพียง 1 ชิ้น พอขายได้เงินมาก็จบ แต่ประสบการณ์จากการคิด จากการแก้ไขปัญหานั้น จะอยู่กับเราทั้งหมดและตลอดไป
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณมาก ๆ นะครับ
แสดงความคิดเห็น