ตอนแรกเรียกไข้หวัดใหญ่นี้ว่า “ไข้หวัดหมู” “swine flu” เนื่องจากผลการตรวจในห้องทดลองพบว่า ไวรัสนี้มีสารพันธุกรรม (genes) คล้ายกับไวรัสหวัดใหญ่ในหมูที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ แต่เมื่อค้นคว้าต่อมา พบว่าไวรัสนี้แตกต่างจากไวรัสในหมู แต่มีพันธุกรรม(genes) สองตัวคล้ายในหมูและสองตัวคล้ายไวรัสนกและไวรัสในคน การระบาดของไวรัส ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009
เริ่มจากเม็กซิโกในเดือนเมษายน 2552 แล้วระบาดไปทั่วโลก (เนื่องจากคนเดินทางมาก) ในเดือนมิถุนายน 2552 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ไขหวัดใหญ่ฯ 2009 เป็นการระบาดทั่วโลก (pandemic) เนื่องจากพบว่ามีผู้ป่วยที่ตรวจยืนยันว่าพบเชื้อแล้ว 60.000 คน จาก100 ประเทศ มีผู้เสียชีวิต 263 คน มีจากทวีปอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย อังกฤษ อาร์เจนตินา ชิลี เสปน และญี่ปุ่น วันที่ 14 กรกฎาคม มีผุ้ป่วย ใน 136 ประเทศ 94,512 คน เสียชีวิต 429 คน อัตราตาย 0.45 เปอร์เซ็นต์
ในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยหลายพันรายที่ตรวจยืนยันการพบเชื้อใน 72 จังหวัดทั่วประเทศ อัตราการติดเชื้ออาจจะมากกว่านี้ เนื่องจากไม่ได้ตรวจเชื้อทุกคน มีผู้เสียชีวิต24 คน อัตราตายประมาณ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ประชาชนจะช่วยป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างไร
ก. ต้องรู้ว่าไข้หวัดใหญ่ระบาดได้อย่างไร จะได้ป้องกันได้
1.จากการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย เชื้อไวรัสนี้จะแพร่กระจายจากผู้ป่วย โดยออกมากับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ จากการไอ จาม พูด .หัวเราะ แล้วเราหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ จากผู้ป่วย เข้าไป หรือ ละอองของสิ่งเหล่านี้ แห้ง กลายเป็นละอองเล็กๆ ปนกับฝุ่นอยู่ในอากาศ แล้วเราหายใจเข้าไป
2. เวลาผู้ป่วยไอ จาม อาจมีละอองเหล่านี้ลอยไปติดโต๊ะ เก้าอี้ หรือผู้ป่วยเอามือเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย ไปจับสิ่งของ แล้วเรา เอามือไปจับสิ่งต่างๆ ที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย เสมหะที่มีเชื้อโรค แล้วเอามือไปล้วงแคะจมูก เอาเข้าปาก หรือขยี้ตา เราก็จะติดเชื้อได้ เชื้อโรคจะอยู่ในอากาศ หรือพื้นผิวของสิ่งต่างๆได้นานประมาณ 2-8 ชั่วโมง
ข.การป้องกันไม่ให้ป่วย
1.อย่าเข้าใกล้ผู้ป่วย หรือเข้าไปยังที่ๆมีผู้คนหนาแน่น โดยไม่จำเป็น
2. ใช้กระดาษทิชชุปิดปากปิดจมูกเวลาไอหรือจาม และทิ้งกระดาษในถังขยะที่ปิดมิดชิด
3. ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล อย่าแคะจมูก ขยี้ตา หรือ อมมือ(เด็ก) และ ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
4. เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง กินอาการครบ 5 หมู่วิตามินเอ และซี ในผักและผลไม้ จะช่วยป้องกันและต่อสู้เชื้อไวรัส ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ ถ่ายเทดี แสงแดดส่องถึง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ค.ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อได้นานเท่าไร
ระยะเวลาที่ได้รับเชื้อโรคแล้วจะเป็นไข้หวัดใหญ่มีระยะเวลา ประมาณ 1-3 วัน จึงจะเริ่มมีอาการป่วย ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการป่วย ไปจนถึง 7 วันหลังจากเริ่มมีอาการ โดยเด็กเล็กๆอาจแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้นานกว่านั้น ฉะนั้นถ้าจะปิดโรงเรียนเพื่อจะหยุดการระบาด ต้องปิดโรงเรียนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เด็กเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กชอบเล่นใกล้ชิดกัน และไม่สามารถระมัดระวังสุขอนามัยส่วนตัวได้ดี บุคลากรทางการแพทย์ มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้มาก เพราะต้องอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยมาก และตรากตรำทำงานมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะนี้
ง. อาการป่วย
ผู้ได้รับเชื้อจะมีไข้สูง (อาจมีหนาวสั่น)ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ บางคนอาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน ผู้ป่วยกลุ่มเสียงที่มีอาการเสี่ยงที่อาการป่วยหนักได้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชน คนอ้วน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ร่างกายอ่อนแอ
จ. การปฏิบัติตนหลังจากการป่วย
1.หยุดไปทำงาน หยุดไปโรงเรียน พร้อมแจ้งที่ทำงานและโรงเรียนให้ทราบ เพื่อคนอื่นๆจะได้เฝ้าสังเกตอาการว่าจะป่วยหรือไม่
2. ถ้าอาการมาก เช่นไข้สูง เจ็บคอ ไอ ปวดกล้ามเนื้อ ฯลฯ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะถ้าจะให้กินยาฆ่าเชื้อไวรัส จะได้ผลในการักษาดีมาก ถ้าได้รับยาภายใน 48 ชั่วโมงหลังการป่วย
3. กินยาลดไข้เฉพาะยา พาราเซตตามอลเท่านั้น ยาลดไข้สูงอย่างอื่นอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้
4.ดื่มน้ำและอาหารเหลวมากๆ( แทนการกินอาหารอื่นไม่ลง) เช่น น้ำส้มคั้น นม น้ำเกลือแร่ น้ำข้าวต้มใส่เกลือ โจ๊ก
5. ถ้ามีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ครบ หรืออาการมากกว่า 3 อย่างดังกล่าวจึงควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อช่วยลดภาระโรงพยาบาล และจะได้ไม่เสี่ยงไปรับเชื้อไข้หวัดใหญ่จากผู้ป่วยอื่นๆ
ถ้าอาการไม่ครบ ก็แสดงว่าอาจจะเป็นไข้หวัดธรรมดาๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น