13 ก.พ. 2553

4 เรื่องในและนอกร่มผ้าที่ (มัก) ไม่กล้าบอกใคร


1.ปัสสาวะเล็ด

 
อาจเป็นปัญหาของคุณแม่ยังสาวก็ได้ เพราะการคลอดบุตร ทำให้อุ้งเชิงกรานขยายและเปลี่ยนมุมระหว่างท่อปัสสาวะกับกระเพาะปัสสาวะ หรืออาจมีสาเหตุจากการเล่นกีฬาที่มีแรงกระแทกมาก หรือน้ำหนักตัวเกิน ทั้งนี้ การที่ปัสสาวะเล็ด 1-2 หยดไม่ใช่เรื่องผิดปกติ อาจเกิดจากการหัวเราะ วิ่งจ็อกกิ้ง มีเพศสัมพันธ์ หรือแม้แต่การก้มตัวเก็บของที่พื้น


Try This บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ลองนั่งบนโถชักโครก ปัสสาวะและพยายาม "ขมิบ" นับหนึ่งถึง 5 แล้วค่อยผ่อนอีก 10 วินาที ทำเช่นนี้ติดกัน 5 ครั้งต่อหนึ่งรอบแรกเริ่มให้ทำวันละ 10 รอบ แล้วค่อยเพิ่มเป็น 20 รอบ (รวมเป็นกลั้นปัสสาวะทั้งหมด 100 ครั้งต่อวัน)


2.ผายลม


การผายลมที่ไร้กลิ่นนั้นเกิดจากอากาศที่เรากลืนเข้าไป เวลากินอาหารหรือดื่มน้ำ แต่อีกประเภทที่เราต้องอุดจมูกนั้น จะเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการย่อยในลำไส้ใหญ่ แต่หากคุณผายลมมากกว่า 12 ครั้งต่อวัน นั่นอาจเป็นเพราะคุณได้รับใยอาหารหรือดื่มน้ำอัดลมมากเกินไป ทั้งนี้ อาจเป็นผลมาจากการแพ้อาหาร (เช่น แล็กโทสหรือกลูเตน) และเป็นผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะหรือยาระบาย


Try This ดื่มชามินต์สิ เพราะน้ำมันจากมินต์มีเมนธอล ซึ่งมีคุณสมบัติลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในระบบย่อยอาหาร ชาอุ่น ๆ สักแก้วจะช่วยลดแก๊สในกระเพาะได้


3.ตกขาว


สำหรับหญิงสาววัยเจริญพันธุ์ ตกขาวเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ เพราะมันช่วยขับเซลล์ที่ตายแล้วออกมา ทำให้ผนังช่องคลอดหล่อลื่น และยังป้องกันการติดเชื้อได้อีกด้วย แต่ตกขาวของคุณควรจะใส มีสีขาวหรือออกเหลืองเล็กน้อย อาจมีกลิ่นอับจาง ๆ และอาจมามากกว่าปกติในช่วงที่คุณตกไข่ แต่ถ้าเนื้อของตกขาว กลิ่นหรือสีเปลี่ยนไปกะทันหัน (สีเขียวก็ไม่ดี) อาจมีอะไรบางอย่างผิดปกติแล้ว


Try This ปรับสมดุล กินอาหารที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์อย่าง โยเกิร์ต อย่าใส่กางเกงขาสั้นหรือชุดชั้นในที่ทำมาจากผ้าซึ่งเก็บความชื้น อย่างผ้าไนลอน และก็อย่าลืมเปลี่ยนเสื้อผ้าชุ่มเหงื่อ หลังจากออกกำลังกายเสร็จ

4.ขนยุ่บยั่บ


ขนตามร่างกายเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าคุณผู้หญิงมีหนวดเป็นแผงที่เหนือริมฝีปากบน คาง ระหว่างหน้าอก หน้าท้อง หรือต้นขาด้านใน มันอาจจะแสดงถึงความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่เรียกว่า Polycystics Ovarian Syndrome ซึ่งอาจรวมถึงการมีสิว อ้วน ประจำเดือนมานานผิดปกติ หรือนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงยิ่งกว่า


Try This ไปพบแพทย์เถอะค่ะ หากคุณมีอาการหลายอย่างตามที่ได้กล่าวมา แพทย์อาจตรวจระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนในกระแสเลือด หรือตรวจอุ้งเชิงกรานและทำอัลตร้าซาวนด์ เพื่อหาความผิดปกติในรังไข่

ไม่มีความคิดเห็น: