31 ส.ค. 2551

เบิร์นแผ่นดิสก์อย่างไรไม่ให้เสีย ด้วย 5 วิธีง่ายๆ

แต่ด้วยเทคนิคง่ายๆ 5 ข้อนี้ ก็จะช่วยให้คุณสามารถลดความผิดพลาดลงและหลีกเลี่ยงปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในระหว่างการเบิร์นแผ่นซีดีหรือดีวีดีได้มากขึ้น

1.โปรดติ๊กฟังก์ชัน verify: ถ้ามีกฎทองในการเบิร์นแผ่นซีดี/ดีวีดีแล้วล่ะก็ การใช้ซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชันการ verify หรือ validate เพื่อเปรียบเทียบการเขียนแผ่นกับการอ่านแผ่น ก็จะเป็นอะไรที่ดีเยี่ยมเอามากๆ ถึงแม้ว่าฟังก์ชันการ verify ไม่ได้เพิ่มโอกาสในการเบิร์นแผ่นให้สำเร็จ แต่มันจะช่วยให้คุณรู้ถึงปัญหาในระหว่างการเบิร์นแผ่นดิสก์ได้ แม้ว่าคุณจะเบิร์นแผ่นสำเร็จก็ตาม แต่ในเวลาเล่นแผ่นก็มีโอกาสเกิดบั๊กขึ้นได้เสมอ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เพราะแผ่นดิสก์ไม่ดีแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นจากการเริ่มต้นเขียนแผ่นที่ไม่ดีต่างหาก เพราะฉะนั้น ติ๊ก validate ไว้ด้วย

2. ใช้สื่อบันทึกข้อมูลผิดชนิด: ถ้าคุณคิดว่า คุณสามารถเลือกแผ่นบันทึกข้อมูลที่เจ๋งที่สุดมาเบิร์นนั้น ต้องขอบอกว่าไม่มีทางเป็นไปได้อยู่แล้ว เพราะการเลือกแผ่นบันทึกข้อมูลให้เหมาะสมกับเครื่องเล่นที่ซัปพอร์ตแผ่นชนิดต่างๆ นั้นคือความคิดที่ดีที่สุดในการเลือกแผ่นต่างหาก ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดีวีดี ที่มีทั้งแบบ DVD+-R/RW หรือ DVD-RAM เป็นต้น ซึ่งถ้าคุณซื้อแผ่นซีดีหรือดีวีดีที่เป็นยี่ห้อโนเนม แล้วล่ะก็ กฎทองในข้อที่ 1 เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก และมันก็มีโอกาสที่จะเบิร์นแผ่นเสียได้มากกว่า โดยในประสบการณ์ที่เจอ แผ่นดีวีดีจะสามารถเบิร์นแผ่นได้ดีกว่าแผ่นซีดีอยู่แล้ว ในแง่ของการผลิต แต่ในความเป็นจริง หากคุณเลือกใช้แต่แผ่นที่มีราคาต่ำ ไดรฟ์ของคุณก็จะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าที่จะทำให้หัวอ่านซีดีเขียนแผ่นไม่ตรงและไม่แม่นยำได้ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้การเบิร์นแผ่นของคุณเสีย หรือมีอาการกระตุกลองปรับความเร็วในการเบิร์นแผ่นให้ต่ำลง จะให้ผลที่ดีกว่าการเบิร์นที่ความเร็วระดับสูงสุด

3.อย่าเขียนแผ่นซีดีเร็วเกินไป: ทุกคนคงไม่มีใครอยากจะรอนานในเวลาเบิร์นแผ่นดิสก์หรอก แต่อย่างว่า ยิ่งเขียนแผ่น CD-R และ DVD-R เร็วมากเท่าไร โอกาสที่แผ่นจะเสียก็มีมากขึ้นตามไปด้วย แต่ปัญหานี้จะไม่ค่อยเกิดขึ้นกับแผ่นซีดีและดีวีดีแบบ rewritable เพราะแผ่นแบบนี้มันจะเขียนได้ช้ากว่าปกติอยู่แล้ว ซึ่งการเบิร์นแผ่นจะเสียหรือไม่เสียนั้น ปัจจัยหลักคือระยะเวลาในการเขียนแผ่นที่คุณตัดสินใจเลือกนั่นแหละ ที่จะก่อให้เกิดปัญหาแผ่นเสียขึ้นมา ดังนั้นทางที่ดี คุณควรเลือกความเร็ว ที่รองลงมาจากความเร็วสูงสุด หรือต่ำกว่านั้น เพราะถ้าวัดเวลาเขียนแผ่นจริงๆ แทบจะไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของเวลาเลย อย่างความเร็วที่ 18x และ 16x เป็นต้น

4.เฟิร์มแวร์ไม่ใหม่พอ: การอัพเดตเฟิร์มแวร์ให้กับไดรฟ์เขียนแผ่นดิสก์ ก็เป็นอีกหนึ่งทางที่จะทำให้โอกาสในการเขียนแผ่นดิสก์เสียลดลง เพราะเดี๋ยวนี้เครื่องเขียนแผ่นหลายยี่ห้อกำลังแข่งขันกันอย่างหนัก เร่งเวลาในการออกจำหน่ายสู่ตลาด ซึ่งอาจจะทำให้เฟิร์มแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่มากับเครื่องไม่สมบูรณ์เพียงพอในขณะที่เราซื้อ ดังนั้นการอัพเดตเฟิร์มแวร์หรือซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะถ้าคุณไม่แฮปปี้อยู่แล้วกับประสิทธิภาพในการเขียนแผ่น คุณสามารถหาเฟิร์มแวร์อัพเดตได้ที่เว็บไซต์ของผู้ผลิตยี่ห้อต่างๆ อย่าไปรอให้เครื่องเสียซะก่อนค่อยแก้ไขน่ะครับ ยังไงก็กันไว้ดีกว่าแก้ แต่ถ้าเครื่องเขียนแผ่นของคุณไม่ได้เป็นอะไร ใช้งานได้ดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปอัพเดตแก้ไขเฟิร์มแวร์ เดี๋ยวจะกลายเป็นว่าอัพเดตขึ้นมากลับทำให้เขียนแผ่นเสียมากขึ้นกว่าเดิมอีก แต่ถ้ายังมีปัญหาในการเขียนแผ่นดิสก์เสียเกิดขึ้นอยู่เหมือนเดิม แม้ว่าจะเปลี่ยนยี่ห้อของแผ่นบันทึกแล้วก็ตาม ลองอัพเดตเฟิร์มแวร์หรือซอฟต์แวร์ให้กับเครื่องดู ก็น่าจะช่วยได้เช่นกัน

5.คอมพิวเตอร์คุณไม่เร็วพอ: พีซีเครื่องใหม่ในตอนนี้ มีความเร็วเพียงพอที่จะทำงานอย่างอื่นควบคู่ไปกับการเบิร์นแผ่นในเวลาเดียวกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเบิร์นแผ่นได้สำเร็จทุกครั้ง โอกาสที่แผ่นจะเสียก็ยังมีสูงอยู่ ดังนั้นการปิดแอพพลิเคชันที่ไม่ได้ใช้ หรืออย่างน้อยก็ minimize มันลงมาในขณะที่กำลังเบิร์นแผ่นอยู่ ก็จะช่วยลดโอกาสที่แผ่นจะเสียได้มากขึ้น ซึ่งที่ผมกล่าวมา ไม่ได้หมายถึงว่า ให้คุณหยุดทำงานทั้งหมด ในขณะที่เบิร์นแผ่นอยู่ แต่คุณควรระวังเอาไว้ เพราะโอกาสที่เบิร์นแล้วแผ่นจะเสียยังมีอยู่ และยิ่งถ้าคุณมีแผ่นบันทึกเพียงแค่แผ่นเดียวเท่านั้น แถมยังเสียไม่ได้อีกด้วย ขอแนะนำเลยว่า ปิดแอพพลิเคชันทั้งหมด แล้วไปหาอะไรทำเพื่อฆ่าเวลาจะเป็นความคิดที่ดีเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น ดื่มชากาแฟ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ ก่อน จนกว่าการเบิร์นแผ่นจะเสร็จสมบูรณ์ เพียงเท่านี้คุณก็ไม่ต้องกังวลแล้วว่าแผ่นจะเสีย โดยเฉพาะถ้าเครื่องคอมพ์ของคุณเป็นรุ่นเก่าๆ ด้วยแล้วล่ะก็ ควรเปิดแค่โปรแกรมเบิร์นแผ่นอย่างเดียวดีที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น: