25 ม.ค. 2553

13 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคหวัด


13 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคหวัด (Lisa)
อากาศเย็นทำให้เป็นหวัดง่าย ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ พร้อมกันทั้งสองข้าง มีไข้ต้องไล่ด้วยเหงื่อ สเปรย์พ่นจมูกดีหรือไม่
ดาราสาว แคเธอรีน ซีต้า-โจนส์ เป็นหวัดและมีอาการไซนัสอักเสบจนต้องเข้าโรงพยาบาลทั้งนี้ มีข้อแนะนำมากมายเกี่ยวกับไข้หวัดน้ำมูกไหล และไอ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าข้อแนะนำเหล่านั้นจริงเท็จแค่ไหน โดยเฉพาะในฤดูฝนที่กำลังย่างกรายมาก็จะนำโรคหวัดมาด้วย ดังนั้น เราจึงควรเตรียมรับมือกับโรคหวัดที่มากับสายฝน
1. อากาศเย็นๆ ทำให้คนเป็นหวัดง่าย ใช่ โดยเฉพาะเมื่อปล่อยให้เท้าเย็น เนื่องจากความเย็นจะทำให้เลือดไหลเวียนไปที่ทางเดินหายใจช้าลง อุณหภูมิที่คอหอยก็ลดต่ำลงด้วย ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยในเยื่อบุเมือกหดตัว ทำให้เซลล์ต้านโรคเข้าไปจัดการกับเชื้อโรคได้ไม่ทันการ ไวรัสจึงเข้าไปในอวัยวะได้และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ความเย็นก็มีข้อดีคือ หากใช้ความเย็นสลับกับความร้อน (เช่น อาบน้ำ) ก็จะช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ซึ่งจะช่วยให้เซลล์คุ้มกันขัดขวางไวรัสนักวิชาการสังเกตว่า การอบซาวน่าจะช่วยเพิ่มเม็ดเลือดขาวและช่วยกระตุ้นที-เซลล์ให้ขยันทำงานต้านเชื้อโรค
2. ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรง จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียพบว่า การสั่งน้ำมูกจะทำให้โพรงอากาศรอบจมูกหรือไซนัสเกิดการอักเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะการสั่งน้ำมูกแรงๆ ทั้งสองข้างพร้อมกัน ดังนั้น จึงควรสั่งน้ำมูกทีละข้างเบาๆ โดยการปิดจมูกอีกข้างหนึ่งไว้ขณะสั่งน้ำมูก
3. เจ็บคอ...ควรกลั้วคอมากกว่าดื่มชาสมุนไพร ยังไม่มีนักวิชาการทำการศึกษาอย่างจริงจังว่าสมุนไพรชนิดใดช่วยรักษาได้ แต่ทั้งสองวิธีก็ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ โดยกลั้วคอด้วยน้ำเกลือหรือน้ำดอกเก๊กฮวยอุ่นๆ เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่คอที่อักเสบ เพราะนอกจากจะเป็นการล้างเสมหะแล้วมันยังช่วยล้างเชื้อโรคออกจากร่างกายอย่างอ่อนโยนด้วย ยกเว้นบริเวณคอหอยที่ลึกลงไปก็จะกลั้วคอได้ไม่ถึง แต่ช่วยได้ด้วยการดื่มชาสมุนไพร เช่น ยี่หร่า, Anise, Sage หรือหากต้องการแค่ความอุ่นร้อนก็อมลูกอมสมุนไพรเพื่อช่วยกระตุ้นน้ำลาย เนื่องจากน้ำลายมีเอนไซม์ เช่น Lysozyme ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ และสาร Flurbiprofen จะช่วยยับยั้งการอักเสบเมื่อรู้สึกเจ็บคอเวลากลืนน้ำลาย ดังนั้น จึงควรอมลูกอมสมุนไพรกระตุ้นน้ำลายทันทีเมื่อเริ่มมีอาการเพื่อซ่อมแซม เยื่อบุเมือกและป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ที่สำคัญคือควรหาผ้าพันคอไว้ เพราะความอุ่นจะช่วยให้เซลล์นักฆ่าเข้าไปในเยื่อบุเมือกได้เร็วขึ้น
4. มีไข้...ต้องไล่ด้วยเหงื่อ การเป็นไข้เป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นก็เพื่อฆ่าเชื้อไวรัส และการที่มีเหงื่อออกตั้งแต่เริ่มเป็นหวัดหรือมีไข้ ก็อาจช่วยหยุดการติดเชื้อหวัดในชั่วข้ามคืน หากต้องการให้เหงื่อออก ก็ดื่มชาสมุนไพรอุ่นร้อน เพื่อขับเหงื่อวันละ 3 ครั้ง และการนอนหลับพักผ่อนก็จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง แต่ถ้ามีไข้มากกว่า 39 องศาเซลเซียสเกิน 2 วัน ควรไปพบแพทย์
5. ช่วยให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงถ้ารักษาช้า ไม่จริงควรรีบรักษาทันทีเมื่อรู้สึกคันคอ แต่คนไข้ส่วนใหญ่ มักเริ่มรักษาช้าเกินไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เราต้องหยุดเชื้อไวรัสไม่ให้เพิ่มปริมาณมากขึ้น หากร่างกายยังมีแรงทำงานซ่อมแซมตัวเอง การแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนเมื่อเป็นหวัดก็คือ ให้กินวิตามินซีขนาด 1-2 กรัม สังกะสี 60 มล. และซีลีเนียม 200 ไมโครกรัม เป็นเวลา 2-4 วัน
6. คนที่มีความสุข ไม่ค่อยไอ ถูกต้อง เพราะความหวาดกลัวหรือความรู้สึกยินดีมีผลต่อกระบวนการชีวเคมีของมนุษย์ ซึ่งมีผลกับจำนวนเซลล์นักฆ่าและแอนตี้บอดี้ โดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบบภูมิคุ้มกันชาวเยอรมันกล่าวว่า ความเศร้าโศกเสียใจ ท้อแท้ หรือความเครียดเรื้อรัง จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และจากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Pittsburgh ในประเทศเยอรมนีพบว่า ความเครียดที่เกิดจากปัญหาครอบครัวหรือการตกงานเป็นสาเหตุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหวัดมากที่สุดและยังทำให้กลไกของร่างกายทำงานผิดปกติด้วย โดยปกติคนที่ติดเชื้อมักอารมณ์เสียและอยากอยู่ตามลำพัง ซึ่งธรรมชาติเป็นใจให้อยากอยู่คนเดียวเพื่อจะได้ไม่แพร่เชื้อโรคไปติดคนอื่น
7. ทุกคนควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ไม่จริง คนที่อายุน้อยและมีสุขภาพแข็งแรงดีก็สามารถประหยัดเงินได้ แต่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอ็นซ่า หรือผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น เบาหวานหรือโรคหัวใจ และหลอดเลือดก็ควรฉีดวัคซีน และควรฉีดทุกปี เพราะเชื้อไวรัสตัวนี้มีการเปลี่ยนแปลง
8. เป็นหวัด...แพร่เชื้อได้จนถึงวันสุดท้าย ใช่แล้ว สาเหตุของโรคหวัดส่วนใหญ่มาจากเชื้อไวรัส Rhino ซึ่งจะดอดเข้ามาบริเวณทางเดินหายใจและใช้เวลาสองสัปดาห์หลังจากเริ่มติดเชื้อและแสดงอาการให้เห็นที่เยื่อบุจมูกและก่อนที่จะสังเกตได้ว่าเป็นหวัดแสดงอาการสามารถแพร่เชื้อได้มากที่สุด
9. สเปรย์พ่นจมูก..อันตราย ความจริงก็คือยาหยอดจมูกหรือสเปรย์ที่มีสาร Xylometazolin และ Oxymetozoline สามารถใช้ได้ เพราะจะช่วยลดอาการคัดจมูก ทั้งนี้ การสูดอากาศหายใจเป็นสิ่งสำคัญมาก มิเช่นนั้นโพรงอากาศรอบจมูกและหูชั้นกลางจะอักเสบ ที่สำคัญคือ ไม่ควรใช้ยาเกินหนึ่งสัปดาห์ เหตุที่ยาพ่นจมูกมีชื่อเสียงไม่ดีก็เนื่องมาจากหากใช้เป็นเวลานานเกินไปก็จะทำลายเยื่อบุจมูก ทำให้คัดจมูกเรื้อรังอีกทางเลือกหนึ่งที่อ่อนโยนก็คือ การใช้สเปรย์น้ำเกลือ ซึ่งจะช่วยให้เยื่อบุจมูกชุ่มชื้น และช่วยซ่อมแซมจมูก หรือใช้สเปรย์พ่นจมูกที่มีสาร Duphorbia
10. เราสามารถหนีไวรัสหวัดได้ ใช่ หากเราพยายามและโชคดีเราก็สามารถหลีกหนีไวรัสหวัดได้การลดการติดเชื้อก็คือ หากอยู่ในที่แออัด เช่น ในรถเมล์ โรงภาพยนตร์ ในโรงพยาบาล หรือคลินิกก็ไม่ควรหายใจทางปาก แต่ให้หายใจทางจมูก เพราะขนจมูกจะดักจับเชื้อไวรัส นอกจากนี้ เชื้อหวัดอาจติดอยู่ตามลูกบิดประตู โทรศัพท์ ปุ่มกดลิฟต์ ฯลฯ หรือเครื่องถ่ายเอกสาร ซึ่งมีเชื้อไวรัสที่มองไม่เห็นเกาะอยู่ เนื่องจากเชื้อไวรัสหวัดสามารถชีวิตอยู่ได้นานหลายชั่วโมง หากมีไวรัสหวัดแค่ 10-20 ตัวก็เพียงพอที่จะทำให้ติดเชื้อได้ ข้อแนะนำก็คือ ควรล้างมือวันละหลายๆ ครั้ง หรือใช้ครีมทามือฆ่าเชื้อโรค
11. เป็นหวัด ห้ามออกกำลังกาย ไม่จริง หากไอหรือมีน้ำมูกไม่มากก็ออกกำลังกายโดยไม่หักโหมได้ แต่หลังออกกำลังกายต้องอาบน้ำอุ่นเพราะมันจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายทำการรักษาตนเอง แต่ถ้ารู้สึกป่วยมาก ต่อน้ำเหลืองบวมหรือมีไข้ก็ไม่ควรออกกำลังกาย แต่หากเริ่มเป็นหวัด ก็ให้ออกกำลังกายช้าๆ ใช้ความเร็วแค่ครึ่งหนึ่งจากที่เคยออกำลังก็พอ
12. ซุปไก่...ช่วยต้านหวัด ซุปไก่เป็นยาพื้นบ้าน (ควรเป็นไก่ปลอดสารเร่งการเจริญเติบโต) โบราณของชาวเยอรมัน เนื่องจากไก่มีสารหลากหลายชนิด เช่น สังกะสี ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสหวัดเพิ่มจำนวนมากขึ้น หรือโปรตีน Cysteine จากไก่จะช่วยยับยั้งการอักเสบ ส่วนพริกหรือขิงก็มีประสิทธิภาพในการเยียวยามากขึ้น
13. หายหวัดแล้ว...ก็จะไม่ติดหวัดอีก ไม่จริง หากหายจากโรคหวัด ก็สามารถเป็นหวัดได้อีก เพราะมีไวรัสมากกว่า 200 ชนิดที่มีส่วนทำให้เป็นหวัดได้ ดังนั้น ในทางทฤษฏี เป็นหวัดแล้วก็สามารถติดเชื้อหวัดได้อีก แต่เกราะที่จะป้องกันการติดเชื้อหวัดซ้ำก็คือการมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง
คุณเป็นหวัดเรื้อรังหรือเปล่า ถ้าคุณเป็นหวัดคัดจมูกมากกว่าหนึ่งสัปดาห์แล้วไม่หายก็อาจเกิดจากไซนัสอักเสบ แบบทดสอบนี้จะบอกว่าคุณเป็นไซนัสอักเสบหรือไม่ โดยตอบว่าใช่หรือไม่ใช่
1. น้ำมูกมีสีเหลือง
2. คุณปวดศีรษะอยู่
3. คุณปวดต้นคอหรือปวดฟันบ่อย
4.เวลาคุณก้ม จะรู้สึกมีแรงดันที่ตาหรือแก้ม
5.คุณมักมีอาการปวดเวลากลางวัน
6.คุณเหนื่อยหรือไม่มีแรงเรื้อรัง
7.ไม่ค่อยรู้รสอาหาร
ถ้าคุณตอบว่า ใช่ มากข้อเท่าไหร่ ก็แสดงว่าคุณมีอาการอักเสบที่โพรงจมูก หากมีน้ำมูกข้นๆ ก็อาจช่วยได้ด้วยการใช้น้ำเกลือล้างจมูกร่วมกับการดื่มน้ำ หรือน้ำชาวันละ 2 ลิตร หากไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น: