19 ม.ค. 2553

กินปลาป้องกัน โรคหัวใจ ดีกว่า

โรคหัวใจ และหลอดเลือดเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของทั้งประชาชนคนไทยและของโลกทีเดียว และจากข้อมูลทางสถิติของประเทศในสหรัฐอมเริกาพบว่า ประชาชนกว่า 2 ล้านคนมีปัญหาเกี่ยวกับ โรคหัวใจ และหลอดเลือดซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง ทั้งนี้การเกิดปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือดอาจจะส่งผลให้ปัญหาระบบการหายใจ ทำให้ต้องหายใจถี่ๆ และหอบ ส่งผลทำให้ไม่สามารถออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้

ได้มีการรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (19 กค. 2547)โดยนายแพทย์ Dariush Mozaffarian จากโรงพยาบาล Brigham and Women's มหาวิทยาลัย Harvard Medical School ในเมืองบอสตัน ที่ได้ตีพิพม์ผลการศึกษาวิจัยผลดีของการรับประทานปลาอบหรือย่างจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และหลอดเลือด
รายงานดังกล่าวได้พูดถึงประโยชน์ของการรับประทานปลา ว่าสามารถลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผิดปกติของ หัวใจ และหลอดเลือด รวมทั้งการเต้นที่ผิดปกติของ หัวใจ ทั้งนี้ก็ควรอย่างยิ่งที่จะรับประทานปลาในรูปแบบอบหรือย่าง ไม่ใช่การทอด เพราะการทอดจะไปเพิ่มปริมาณไขมันในอาหารให้เพิ่มสูงขึ้น

จาก หัวใจ ที่มี 4 ห้อง แทนที่ 2 ห้องล่างซึ่งมีหน้าที่บีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปจะทำงานอย่างปกติก็อาจจะทำไม่ได้ เนื่องจากอาจมีการอุดตันในหลอดเลือดเกิดขึ้นได้ และเหตุการณ์แบบนี้ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะ หัวใจล้มเหลว ได้ถึง 15-20%

คุณหมอได้ทำการศึกษาในคน 4,815 คนที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปตั้งแต่ปี 1989 โดยคุณหมอจะถพยายามเฝ้าสังเกตุและสอบถามเกี่ยวกับการรับประทานอาหารของคนต่างๆ เหล่านี้ พบว่า คนที่รับประทานปลาที่ปรุงด้วยการย่างหรืออบบ่อยๆ จะมีโอกาสที่จะมีปัญหาของโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดน้อยกว่า และยังพบอีกว่าคนที่รับประทาน 1-4 ต่อสัปดาห์ ก็จะลดความเสี่ยงได้มากถึง 28% เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่รับประทานน้อยกว่าเดือนละครั้ง

คุณหมอได้กล่าวต่ออีกว่าเหตุดังกล่าวน่าจะเป็นผลมาจากกรดไขมัน Omega-3 ที่มีมากในปลานั่นเอง ทั้งนี้กรดไขมันดังกล่าวนอกจากจะพบในปลาแล้วยังจะพบได้ในอาหารอื่นๆ เช่น wallnut ผักใบเขียว ซึ่งเจ้ากรดไขมัน Omega-3 นี้ไม่เพียงแต่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดเท่านั้น มันยังช่วยบำรุงสมองให้มีการพัฒนาและทำงานได้ดีอีกด้วยการรับประทานอาการพวกปลาซึ่งจะมีสารอาหาร Omega-3 ก็จะทำให้ลดการเกิดอาการ ไมเกรน ได้

วิธีรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ทั้ง แคลซียม และ แมกนีเซียม สารอาหารที่ดีในการช่วยป้องกันอาการไมเกรน คือพวกมันจะไปบำรุงระบบหลอดเลือดและการทำงานของสารสื่อประสาท ยังมีรายงานด้วยว่าคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับไมเกรนมักจะมีอาการขาด แมกนีเซียม และทั้ง แคลซียม และ แมกนีเซียม เป็นสารอาหารที่สามารถรับประทานได้ต่อเนื่องได้โดยไม่มีปัญหา

นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอีก 3 ชนิดที่ช่วยป้องกันและลดโอกาสเกิดอาการไมเกรน ตัวหนึ่งนั้นคือ Feverfew มันจะไปยับยั้งการขยายตัวของหลอดเลือดเล็กๆ ในสมอง ตัวถัดมาคือ 5-HTP มันจะไปช่วยเพิ่มปริมาณ Serotonin ในสมอง ที่จะสามารถยับยั้งการเกิดไมเกรนได้ สุดท้ายก็วิตามินบี2 (Riboflavin) ซึ่งจะช่วยการสร้างเซลของหลอดเลือด ทั้ง 3 ตัวนี้สามารถใช้ร่วมกันหรือรับประทานตัวใดตัวหนึ่ง โดยควรจะรับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 3 สัปดาห์

เรามักจะเห็นแพทย์อาจจ่ายยากลุ่ม รักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressant) แก่ผู้ป่วย ไมเกรน จึงเชื่อว่า St. John's wort ซึ่งยังไม่มีการทดสอบในกลุ่มผู้ป่วยไมเกรนและมันมีผลต่อการสร้าง Serotonin เช่นกันก็มีบางท่านเชื่อว่ามันน่าจะมีผลดีคล้ายกับการรับประทานยากลุ่มรักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressant)
วิธีการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยไมเกรนอาหารบางชนิดที่เรารับประทานเข้าอาจจะมีสารบางอย่างที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการ ไมเกรน ได้ ดังนั้นผู้มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรค ไมเกรน

ควรที่จะหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้

1. หลีกเลี่ยงอาหารที่จะกระตุ้นอาการปวด ไมเกรน
 อาหารที่มีไทรามีน (Tyramine) ไทรามีนเป็นเอมีนชนิดหนึ่ง พบได้มากในอาหารพวก เนย ชีส ช็อคโกแลต กล้วยสุก ส้ม ไวน์แดง เป็นต้น อย่างไรก็ตามไม่ใช่คนที่เป็น ไมเกรน จะตอบสนองต่ออาหารที่มีไทรามีนทุกคน
 สารปรุงแต่งอาหาร สารที่แต่งอาหารบางชนิดก็มีผลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ไม่เกรน ได้ เช่น
 สารไนไตรด ไนเตรด ซึ่งจะพบในอาหารพวก เบคอน ไส้กรอก ซาเซมิ แฮม
 สารแต่งรส เช่น ผงชูรส แอสปาแตม (Aspatame)

2. ลดการดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน เนื่องจากสารเหล่านี้หากดื่มในปริมาณมากจะไปมีผลต่อการขยายตัว ของหลอดเลือดหรือมีผลต่อสุขภาพการนอนหลับได้ ทำให้มีผลต่อการเกิด ไมเกรน ได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น: