บางท่านก็ชอบสะสมเครื่องแก้วจำพวกคริสตอล แก้งเจียรนัยสีสดสวยหลากรูปทรงน่ารักหลายขนาด ซึ่งผลิตจากประเทศยุโรปเครื่องแก้วดังกล่าว ยังร่วมทั้งโถแป้ง ขวดน้ำสีเขียว แดง ส้ม เหลือง โถน้ำตาล โถปริก กรอปรูป ลูกบิดตู้ ปุ่มติดลิ้นชัก ถาดกระเบื้องสวยๆ มีลายกุหลาบ มีตัวหนังสือที่เป็นมงคลเช่น “เจริญ” .”สุขเจริญ”หรือชื่อสกุล ของผู้สั่งทำ อาทิ แอม,เอ,โมกุล,อับดุลราฮิม,นานา เป็นต้น ซึ่งของสะสมที่ว่านี้ปัจจุบันเริ่มเป็นของที่หายากขึ้นกว่าแต่ก่อนเพราะของเก่ามีแต่จะแตกหัก ชำรุดเสียหายไป แต่ผู้ที่นิยมของเก่ารักการสะสมกลับทวีจำนวนขึ้นเป็นลำดับ อีกทั้งยังมีพ่อค้าจากต่างประเทศมากว้านซื้อของสะสมดังกล่าวกลับไปยังประเทศตน หรือนำไปค้าขายกำไรอีกต่อหนึ่ง เป็นเหตุให้ของสะสมในบ้านเราเหลือน้อยลงและราคาสูงขึ้นตามลำดับ
ของสะสมชนิดหนึ่งที่นักสะสมรุ่นเก่าชื่นชอบกันมากก็คือ สลากกินแบ่ง หรือ ลอตเตอรี่เก่า เนื่องจากสลากกินแบ่งเก่านั้น จะเสาะหามาสะสมไม่ยากและราคาไม่สูงนัก และข่าวที่สร้างความอือฮาให้แก่ประชาชนเมื่อเดือนสิงหาคม 2541 คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 16 สิงหาคม 2541 ลงพาดหัวตัวไม้ว่า เจอแล้วลอตเตอรี่สมัย ร.6 สรุปเนื้อหาได้ว่า ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6 คือ เมื่อประมาณ 80 ปีเศษมาแล้ว ได้มีการออกลอตเตอรี่เสือป่า ฉบับละ 1 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดซื้ออาวุธปืน และเครื่องใช้ต่างๆ ในกิจการของกองเสือป่า ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้งขึ้น สลากฉบับดังกล่าว มีรางวัลรวม 683 รางวัลเป็นเงิน 60,000 บาท และหักเข้าบำรุงกองเสือป่า 40,000 บาทลสกฉบับดังกล่าวเป็นที่ฮือฮากันมาก เพราะมีผู้เสนอขายเป็นราคาเลข 7 ตัว ซึ่งผู้เขียนได้ยินก็เกิดอาการขนลุกชันเพราะว่าคราดไม่ถึงว่าสลากเก่าๆ จะมีราคา แพงถึงขนาดนี้
สลากกินแบ่งในอดีตที่สนใจอีกชุดหนึ่งชื่อว่า สลากกินแบ่งชุดห้าตรา คือออกสลาก 5ชุด ๆ ละ
ชุดที่ 1 ชุดตรางู ออกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2479 เป็นสลากกินแบ่งบำรุงเทศบาลราคาฉบับราคาละ1 บาท แต่ละฉบับ ยังแบ่งออกเป็น 4 ส่วนๆ ส่วนละ 25 สตางค์ สลากจำหน่าย 500,000 ฉบับ มีราคา 267 รางวัล รางวัลที่1 80,000 บาท ส่วนรางวัลอื่นลดหลั่นกัน
ชุดที่ 2 ตรานาค ออกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2479 เป็นสลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล รูปนาคเล่นคลื่น ราคาฉบับละ 1 บาทแต่ละฉบับแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ25 สตางค์ออกจำหน่าย 500,000 ฉบับ มี 267 รางวัล รางวัลที่1 เป็นเงิน 80,000 บาท ส่วนรางวัลอื่นลดหลั่นกันไป
ชุดที่3 ชุดตรานางมัจฉา ออกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2480 เป็นสลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล 1 ในชุด 5 ตราราคาฉบับละ 1 บาท แต่ละฉบับ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 25 สตางค์ จำนวนจำนวนจำหน่ายจ่ายรางวัลเช่นเดียวกับชุดตรางูและชุดตรานาค
ชุดที่4 ตราราชรถ ออกเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2481 เป็นสลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล หนึ่งในชุด ห้า ตราราคาฉบับละ 1 บาท แต่ละฉบับ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 25 สตางค์ จำนวนจำนวนจำหน่ายจ่ายรางวัลเช่นเดียวกับชุดตรางูและชุดตรานาค และชุดตรานางมัจฉา
ชุดที่5 ตราม้าอุปการ ออกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2481 เป็นสลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล อยู่ในชุด ห้า ตราราคาฉบับละ 1 บาท แต่ละฉบับ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 25 สตางค์ จำนวนจำนวนจำหน่ายและจ่ายรางวัลเช่นเดียวกับ สี่ชุดข้างต้น
สลากกินแบ่งดังกล่าวเป็นสลากที่ออกในงานฉลองรัฐธรรมนูญวันที่ 14 ธันวาคม 2483 ในยุคนั้น งานที่ ยิ่งใหญ่งานหนึ่งในรอบปี คือ งานฉลองรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดขึ้น ณ สวนลุมพินี และที่สืบทอดสนถึงทุกวันนี้ก็คือ งานประกวดนางสาวไทย ซึ่งจัดคู่กับงานฉลองรัฐธรรมนูญมาตลอด เพิ่งจะมาจัดการประกวดในงาน วชิรวุธานุสรณ์ เมื่อประมาณ 20 ปีเศษนี้เอง สลากกินแบ่งแลองรัฐธรรมนูญ จำหน่าย ฉบับละ 1 บาท พิมพ์ ออกจำหน่าย 100,000 ฉบับ
รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 100,000 บาท
รางวัลที่ 2 มี 5รางวัลๆ ละ 50,000 บาท
รางวัลที่ เลขท้าย 3 ตัวหมุน 2 ครั้ง 1,600 รางวัล ๆ ละ 200 บาท
รวมรางวัลทั้งสิ้น 1876 รางวัล รามเงิน 600,000
สลากกินแบ่งที่ดูจะพิเศษ กว่าอันอื่นๆ กล่าวคือ ซื้อครั้งเดียว สามรถ ถูกได้2 ครั้ง สลากฉบับนี้ จะจำหน่ายในราคาฉบับละ 3 บาท กำหนดออกครั้งแรก วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2491 และออกครั้งที่ 2 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2491 เรียกว่ามีสิทธิ์ ถูกรางวัล 2 ครั่ง 2 วันติดกันทีเดียวถ้าเป็นศัพท์ ในสมัยนี้ก้อเรียกว่า 2เด้ง รางวัลที่1 เงินรางวัล 120,000 บาท รางวัลที่ 2 มีรางวัลๆ ละ 20,000 บาท รางวัลเลขท้าย 3 ตัวหมุน 2 ครั้ง 1,600 รางวัลๆ 200 บาท รวมรางวัลทั้งสิ้น 1779 รางวัล รวมเงิน 700,000บาท นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีสลากกินแบ่งที่ออกในวาระต่างๆ กัน อีกจำนวนมากซึ่งพอจะนำมาเล่า สู่กันฟังได้ ตามโควต้าหน้ากระดาษที่ได้มาจากท่าน บอกอ ลอตเตอรี่ ในโอกาสพิเศษที่ว่านี้ ได้แก่
สลากกินแบ่งบำรุงเทศบาลตราเทวดา พ.ศ.2479ราคาจำหน่ายฉบับละ 1 บาท กำหนดออกวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2479
ล็อตเตอรี่พิเศษรัฐบาลสยาม พ.ศ.2477ราคาจำหน่ายฉบับละ 2 บาท กำหนดออกเดือนตุลาคม พ.ศ.2477
ล็อตเตอรี่พิเศษรัฐบาลสยาม พ.ศ.2477ราคาจำหน่ายฉบับละ 2 บาท กำหนดออกเดือนตุลาคม พ.ศ.2477
สลากกินแบ่งสถานกาสิโนของรัฐบาล พ.ศ. 2482ราคาจำหน่ายฉบับละ 1 บาท กำหนดออกวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2482
ในปัจจุบันนี้น้อยคนจะรู้ว่าเมื้อประมาณ 50-60 ปีที่แล้วเรามีวันชาติ คือวันที่ 24 มิถุนายน คือวันที่ ซึ่งจะมีเพลงปลุกใจของหลวงเรา มีวันชาติ คือวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งจะมรเพลงปลุกใจของหลวงวิจิตรวาทการ เปิดกระหึ่มวันละหลายเวลา เพลงนั้นขึ้นต้นว่า ยี่สิบสี่มิถุนายนมาบรรจบ คำนึงน้อมจิตรอธิษฐาน... ผู้เขียนจำได้ว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.2490 ผู้เขียนยังเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมอยู่โรงเรียนวัดราชสิทธาราม เจริญพาสน์จะต้องยืนร้องเพลงชาติที่ว่านี้ในตอน 08.30น.หน้าเสาธงชาติทุกวัน และยังจำเนื้อเพลงที่ว่าได้จนถึงบัดนี้
เป็นสลากที่ออกในวาระพิเศษเพื่อหาเงินบำรุงงานวันชาติ 24 มิถุนายน 2486 กำหนดออกวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2486 ราคาจำหน่าย ฉบับละ 1 บาท
เป็นสลากที่ออกในวาระพิเศษเพื่อหาเงินจัดวานฉลองวันรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ. 2476 กำหนดออกวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2476 ราคาจำหน่าย ฉบับละ 1 บาท
หมายเหตุ : ภาพสลากส่วนใหญ่ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณเฉลิมศักดิ์ รามโกมุท แห่งบ้านมรดกไทย ริมคลองโอ่งอ่าง ตรงข้ามวัดเพทธิดาราม กทม.พ.ต.ท.อารักษ์ รามโกมุท ผู้เรียบเรียง
ในปัจจุบันนี้น้อยคนจะรู้ว่าเมื้อประมาณ 50-60 ปีที่แล้วเรามีวันชาติ คือวันที่ 24 มิถุนายน คือวันที่ ซึ่งจะมีเพลงปลุกใจของหลวงเรา มีวันชาติ คือวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งจะมรเพลงปลุกใจของหลวงวิจิตรวาทการ เปิดกระหึ่มวันละหลายเวลา เพลงนั้นขึ้นต้นว่า ยี่สิบสี่มิถุนายนมาบรรจบ คำนึงน้อมจิตรอธิษฐาน... ผู้เขียนจำได้ว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.2490 ผู้เขียนยังเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมอยู่โรงเรียนวัดราชสิทธาราม เจริญพาสน์จะต้องยืนร้องเพลงชาติที่ว่านี้ในตอน 08.30น.หน้าเสาธงชาติทุกวัน และยังจำเนื้อเพลงที่ว่าได้จนถึงบัดนี้
เป็นสลากที่ออกในวาระพิเศษเพื่อหาเงินบำรุงงานวันชาติ 24 มิถุนายน 2486 กำหนดออกวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2486 ราคาจำหน่าย ฉบับละ 1 บาท
เป็นสลากที่ออกในวาระพิเศษเพื่อหาเงินจัดวานฉลองวันรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ. 2476 กำหนดออกวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2476 ราคาจำหน่าย ฉบับละ 1 บาท
หมายเหตุ : ภาพสลากส่วนใหญ่ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณเฉลิมศักดิ์ รามโกมุท แห่งบ้านมรดกไทย ริมคลองโอ่งอ่าง ตรงข้ามวัดเพทธิดาราม กทม.พ.ต.ท.อารักษ์ รามโกมุท ผู้เรียบเรียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น