14 ก.ค. 2553

? ภาพลวงตา ??

ในภาพ "ข้อความรักจากโลมา" นี้ หากให้ผู้ใหญ่มอง เขาจะเห็นคู่รักเปลือยกอดกันอย่างรักใคร่ แต่หากให้เด็กๆ มองแล้วพวกเขาจะเห็นแต่โลมาเท่านั้น



สมองของเราถูกปรับให้รับรู้ ระลึกและจดจำใบหน้าไปอย่างประหลาด จากการศึกษาภาพที่บ่งบอกเพศของ ริชาร์ด รัสเซลล์ (Richard Russell) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเกตตีเบิร์ก (Gettysburg College) นั้น ภาพใบหน้าด้านซ้ายถูกรับรู้ว่าเป็นภาพของผู้หญิง ขณะที่ภาพด้านขวาถูกรับรู้ว่าเป็นภาพของผู้าย ทั้งๆ ที่สองภาพนี้เหมือนกัน ยกเว้นการปรับความต่างของแสงระหว่างตาและปาก และส่วนอื่นของภาพหน้าด้านขวาที่เข้มกว่าภาพหน้าด้านซ้าย ภาพนี้แสดงให้เห็นว่าความต่างของแสงมีความสำคัญต่อการตีความเพศบนใบหน้า และอาจจะอธิบายได้ว่าเหตุใดเครื่องสำอางจึงทำให้ผู้หญิงดูเป็นหญิงมากขึ้น




เมื่อเราจ้องไปที่ภาพนี้ เส้นประสาทที่จอเรตินาจะปรับเข้ากับสิ่งกระตุ้นที่ไม่เปลี่ยนแปลงนี้และจะหยุดตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น หากเราเบือนสายตาไปที่อื่นเรายังจะได้เห็นภาพหัวกะโหลกไปสักพัก ก่อนที่เส้นประสาทของจอเรตินาจะเปลี่ยนไปตอบสนองต่อสภาวะกระตุ้นใหม่ ทั้งนี้ลองจ้องที่ตัว x ตรงดวงตาขวาของหัวกะโหลกนาน 30 วินาที แล้วมองไปที่กระดาษเปล่าหรือผนังว่างๆ เราจะเห็นภาพหัวกะโหลกปรากฏขึ้น


 
ความสว่างและสีสันมีผลอย่างมากต่อการรับรู้ สำหรับภาพนี้สร้างขึ้นโดย เอ็ดวาร์ด เอช.อเดลสัน (Edward H. Adelson) จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ส (Massachusetts Institute of Technology) ซึ่งสี่เหลี่ยม A และ B เป็นสีเทาเฉดเดียวกัน แต่หากใครไม่เชื่อสามารถปริ้นท์นี้ออกมา แล้วตัดสี่เหลี่ยมทั้งสองมาเทียบเฉดสีกันได้ เหตุที่เราเห็นเฉดสีสี่เหลี่ยมทั้งสองต่างกัน เพราะสมองของเราไม่ได้รับรู้ความสว่างและสีที่แท้จริงของสี่เหลียมแต่ละอัน หากแต่เราประเมินความสว่างและสีของสี่เหลี่ยม A และ B จากการเปรียบเทียบกับสี่เหลี่ยมอื่นที่อยู่รอบ


ไม่มีความคิดเห็น: