24 ต.ค. 2553

สถิติเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย

เหตุการณ์สำคัญเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทยที่ผ่านมา ก่อนมาถึงครั้งล่าสุดท่วมจ.นครราชสิมาน้ำล้นคันกั้นน้ำเขื่อนลำพระเพลิง


น้ำท่วมกรุงเทพฯ ครั้งใหญ่ ปี2526 และปี2538

พ. ศ. 2526 เกิดเหตุการร์น้ำท่วมกรุงเทพอย่างหนัก สาเหตุจากมีพายุพัดผ่านภาคเหนือ-ภาคกลาง ประกอบกับพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนตุลาคมนานกว่า 4 เดือน จึงส่งผลกระทบเกิดปัญหาวิกฤตน้ำท่วมในปี 2526 โดยเฉพาะปัญหาจราจรที่รถกับเรือใช้เส้นทางเดียวกัน

ปี พ.ศ. 2538 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กรุงเทพฯ ประสบกับน้ำท่วม ในช่วงที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ยังเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร น้ำเหนือหลากท่วมอยุธยา ปทุมธานี หมู่บ้าน white house ตอนเหนือของกรุงเทพฯ น้ำท่วมร่วม 2 เดือน

ส่วน ปี พ.ศ.2549 นั้นเกิดอุทกภัยทางภาคเหนือ ทำให้น้ำเหนือไหลเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดที่โดนหนักๆ เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ อ่างทอง แต่สำหรับกรุงเทพฯ นั้นน้ำท่วมเฉพาะบางส่วนที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งไม่รุนแรงเท่าปี พ.ศ.2538

ภัยพิบัติกะทูน ปี 2531
เวลา ตีสองของวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 ชาวบ้าน ต.กะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช ต้องประสบชะตากรรมเลวร้ายที่สุดในชีวิต เมื่อจู่ ๆ น้ำป่าจากภูเขาเหนือหมู่บ้านได้ซัดเอาดินโคลน หินและท่อนซุงขนาดใหญ่เข้าถล่มบ้านเรือนจนราพณาสูร ชั่ว ข้ามคืน หมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นทะเลโคลน ซากปรักหักพังของบ้านเรือนนับพันหลังถูกทับถมอยู่ใต้ท่อนซุงกองมหึมา ชาวบ้านมากกว่า 700 ชีวิต ต้องสังเวยให้แก่ภัยพิบัติครั้งนี้


น้ำท่วมอำเภอหาดใหญ่ ปี2543 ปี2548

วัน ที่ 21-23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เกิดฝนตกหนัก 3 วัน 3 คืน ทำให้น้ำจากเขตเทือกเขาสันกาลาคีรี บริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ไหลบ่าเข้าท่วมตัวเมืองชั้นในซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกะทะอย่างรวดเร็ว และถือเป้นเหตุการณ์น้ำท่วมมือครั้งที่เลวร้ายที่สุด สร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท จำนวนผู้เสียชีวิตตามประกาศจากทางราชการ 35 คน แต่จำนวนผู้เสียชีวิตจริง ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ สูงถึง 233 คน ไม่รวมชาวต่างประเทศ

เกิด อุทกภัยซ้ำอีกครั้งใน 16 อำเภอของจังหวัดสงขลา และเขตรอบนอกของตัวเมืองหาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 13-20 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งผลไม่รุนแรงเท่าในปี พ.ศ. 2543 แต่มีผู้ประสบความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก

น้ำป่าถล่ม อ.วังชิ้น แพร่ ปี 2544

กลาง ดึกของวันที่ 4 พฤษภาคม 2544 น้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัยไหลทะลักเข้าถล่มใส่หมู่บ้านหลายตำบลของ อ.วังชิ้น จ.แพร่ มีผู้เสียชีวิต 23 ราย สูญหาย 16 คน บาดเจ็บ 58 คน ถือเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี ของจ.แพร่ จำได้จนขึ้นใจเลยว่า ฝนตกติดต่อกันถึง 3 วัน 3 คืนกระทั่งประมาณตีหนึ่งก็ไหลทะลักเข้ามาในพื้นที่อย่างรุนแรงจนถนน-สะพาน ถูกตัดขาด บ้านเรือนถูกน้ำพัดหายไป 45 หลังคาเรือน


น้ำท่วม-ดินถล่มบ้านน้ำก้อ เพชรบูรณ์ ปี2544

ขณะ ที่ฝนกำลังตกลงมาราวฟ้ารั่วในคืนวันที่ 11 สิงหาคม 2544 ณ บ้านน้ำก้อ ตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ชาวบ้านกำลังหลับใหลอย่างมีความสุข โดยไม่มีใครรู้สึกตัวว่าน้ำป่าบนภูเขาสูงกำลังเคลื่อนตัว ถาโถมเข้าใส่หมู่บ้านที่อยู่ในรัศมีทางน้ำอย่างรวดเร็ว ด้วยความบ้าคลั่งของน้ำป่าที่หอบเอาทั้งดินโคลน และต้นไม้ ได้ซัดเอาบ้านเรือนหลายสิบหลังหายไปในพริบตาในกลางดึกของวันนั้น เช้าวันรุ่งขึ้นหลังสิ้นฤธิ์ของน้ำป่า บ้านน้ำก้อ เหลือแต่สิ่งปรักหักพัง และซากศพ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้กลืนชีวิตคนหนุ่มสาว ไม่เว้นแม้เด็กและคนชราไปถึง 147 คน


ซุง-โคลนถล่มจมแม่ระมาด-ตากปี 2547

วัน ที่ 22 พฤษภาคม 2547 ฝนกระหน่ำลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา น้ำป่าจากบนเขาได้พัดเอาโคลนและท่อนซุงที่มีคนลักลอบตัดไว้ ลงมาถล่มเขตเทศบาลแม่ระมาด จ.ตาก ผู้คนหายไปกับสายน้ำและจมอยู่ใต้ทะเลโคลนจำนวนมาก บ้านถูกพัดหายไปทั้งหลังนับร้อย เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 4 ราย และสูญหายอีกนับ 10 ชาวบ้าน 6,019 คน จาก 2,113 ครอบครัวได้รับความเดือดร้อน

เชียงใหม่น้ำท่วมหนัก ปี 2548

วัน ที่ 14 สิงหาคม 2548 ภายหลังฝนถล่มหนักในภาคเหนือตอนบน ทำให้หลายจังหวัดถูกน้ำท่วมจมบาดาล กระแสน้ำเหนือ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง ได้ทะลักเข้าท่วมตัวเมืองเชียงใหม่อย่างรวดเร็ว มีระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบ 50 ปี บ้านเรือนราษฎรในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่นับพันหลังถูกน้ำท่วมได้รับความเสีย หาย ตลาดวโรรส ตลาดลำไย ตลาดไนท์บาซาร์ระดับน้ำสูงร่วม 70 ซม. พื้นที่บางแห่งระดับน้ำสูงเกือบ 2 เมตร

ฝนถล่ม-น้ำท่วมภาคใต้ ปี2548

ข้อมูล จากกระทรวงมหาดไทย รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในภาคตั้งแต่วันที่ 14-24 ธ.ค.2548 มีพื้นที่ประสบภัยรวม 8 จังหวัด คือ สงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง ตรัง ยะลา และสตูล มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน 1.6 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 25 ราย แบ่งเป็น จ.สงขลา 13 ราย ตรัง 2 ราย ปัตตานี 1 ราย พัทลุง 3 ราย ยะลา 4 ราย นครศรีธรรมราชและสตูลจังหวัดละ 1 ราย และยังมีผู้สูญหายไปอีก 1 ราย ที่ จ.ยะลา มูลค่าความเสียหายประมาณ 600 ล้านบาท


อุทกภัยและโคลนถล่ม 5 จังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง ปี 2549

เหตุการณ์ ที่ฝนตกผิดปกติในพื้นที่เป็นเวลาหลายวัน ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 ทำให้ดินบนภูเขาไม่สามารถอุ้มน้ำฝนที่ตกลงมาได้ ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วม และดินถล่มในช่วงกลางคืนของวันที่ 22 พฤษภาคม 2549ต่อเนื่องถึงเช้ามืดของวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้มากที่สุด มีผู้เสียชีวิตถึง 75 คน จากจำนวนผู้เสียชีวิตและสูญหายทั้งหมด 116 ราย ใน 5 จังหวัดที่ประสบเหตุการณ์อุทกภัยและโคลนถล่มครั้งนี้


"น่าน"วิกฤติ! น้ำท่วมหนักสุดในรอบ 43ปี

อิทธิพล ของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลาง ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยตอนบน ประกอบกับร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ จ.น่าน เกิดน้ำท่วมหนักจนสถานการณ์เข้าสู่ขั้นวิกฤติ


น้ำ ในแม่น้ำน่านมีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ ริมตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ อ.ท่าวังผา ได้รับผลกระทบมากที่สุด จากการวัดปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านที่จุด อ.ท่าวังผา เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา พบว่าปริมาณน้ำขึ้นสูงถึง 9.30 เมตร ซึ่งเลยจุดวิกฤติที่ 7 เมตร ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ริมฝั่ง 2 ตำบล รวม 6 หมู่บ้าน คือ ต.ป่าคา และ ต.ศรีภูมิ บ้านเรือนกว่า 3,000 หลังคาเรือนจมอยู่ใต้บาดาล ระดับน้ำสูงถึง 3 เมตร เรียกว่าท่วมเกือบมิดหลังคาบ้าน ชาวบ้านต้องอพยพหนีตายขึ้นไปอยู่บนที่สูง


สำหรับ เขตเทศบาลเมืองน่าน ระดับน้ำในแม่น้ำน่านได้ทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมแม่น้ำน่าน อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ บ้านท่าลี บ้านพวงพยอม และบ้านดอนศรีเสริม ขณะที่ นายธาดา สุขปุณพันธ์ ผอ.ศูนย์อุทกวิทยาและระดับน้ำ ภาคเหนือตอนบน กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ระดับน้ำที่วัดได้บริเวณสะพานผาขวาง อ.ท่าวังผา สูงถึง 13.50 ม. จากปกติ 6.50 เมตร และ น้ำท่วมครั้งนี้มีความรุนแรงเทียบเท่าเมื่อปี 2506 หรือ 43 ปีที่ผ่านมา


ต่อ มาปี 2553 ได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันสองวันสองคืน ตั้งวันที่ 17 ก.ค. จนถึงเช้าวันที่ 18 ก.ค. 2553 ทำให้เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และดินถล่มปิดทางเข้าหมู่บ้าน อ.ปัว และ อ.ท่าวังผา ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมหนักอีกครั้งหนึ่งในจ.น่าน

ไม่มีความคิดเห็น: