15 มี.ค. 2552

นาฬิกาชีวิต

คุณเคยทราบไหมว่า ร่างกายของคุณทำงานตามช่วงเวลา

อยากให้ทุกคนได้อ่าน เพื่อปรับปรุงเวลาในการใช้ชีวิตให้อายุยืนยาว และมีสุขภาพตามวัย...

การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึกลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงในหนึ่งวันนั้นภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่านอวัยวะภายในของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง

อวัยวะตัน หมายถึง หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต

อวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบความร้อนของร่างกาย (ชานเจียว)

การไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราณ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า "นาฬิกาชีวิต"

01.00 น. - 03.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ตับ"

ข้อควรปฏิบัติ : นอนหลับพักผ่อนให้สนิท ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonine) เพื่อฆ่าเชื้อโรคทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งมีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกมาด้วยจึงไม่ควรกินอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว

อาหารบำรุง : อาหารที่ช่วยล้างพิษ เช่น งา น้ำผลไม้และน้ำสะอาด

03.00 น. - 05.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ปอด"

ข้อควรปฏิบัติ : ตื่นนอน สูดอากาศสดชื่น ควรตื่นขึ้นมาสูดอากาศรับแดดตอนเช้า ผู้ที่ตื่นช่วงนี้ประจำ ปอดจะดี ผิวดี และเป็นคนมีอำนาจในตัว???

อาหารบำรุง : อาหารจำพวกเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอสูง เช่น ส้ม ผักใบเขียว น้ำผึ้ง หอมใหญ่

05.00 น. - 07.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ลำไส้ใหญ่"

ข้อควรปฏิบัติ : ขับถ่ายอุจจาระ ควรถ่ายให้เป็นนิสัย คนเรามักไม่ตื่นกันตอนนี้ซึ่งเป็นเวลาที่ลำไส้ต้องบีบอุจจาระลง เมื่อไม่ตื่นจึงบีบขึ้น เมื่อไม่ถ่ายตอนเช้าลำไส้ใหญ่จึงรวน แล้วจะมีอาการปวดหัวไหล่ กล้ามเนื้อเพดานจะหย่อน แล้วจะนอนกรนในที่สุด

อาหารบำรุง : อาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช

07.00 น. - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"กระเพาะอาหาร"

ข้อควรปฏิบัติ : กินอาหารเช้า กินเข้าเช้าตอนนี้จะดี กระเพาะแข็งแรง ถ้ากระเพาะอ่อนแอ จะทำให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขี้กังวล ขาไม่ค่อยมีแรง ปวดเข่า หน้าแก่เร็วกว่าวัย ถ้าไม่กินข้าวเช้าอุจจาระจะถูกดูดกลับมาที่กระเพาะ กลิ่นตัวจะเหม็นถ้าถ่ายออกหมดจะไม่มีกลิ่นตัวเท่าไหร่

อาหารบำรุง : ควรมีพลังงานและสารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 ของปริมาณที่ควรได้รับตลอดวัน

09.00 น. - 11.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ม้าม"

ข้อควรปฏิบัติ : พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ อาหารแและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน ทำให้อ้วนง่าย คนที่หลับช่วง 9.00-11.00 ม้ามจะอ่อนแอ ม้ามยังโยงไปถึงริมฝีปากคนที่พูดมากช่วงนี้ม้ามจะชื้น ควรพูดน้อยกินน้อย ไม่นอนหลับ ม้ามจะแข็งแรง

อาหารบำรุง : มันเทศสีแดง หรือเหลือง อาหารที่ทำจากบุก

11.00 น. - 13.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"หัวใจ"

ข้อควรปฏิบัติ : หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง หัวใจจะทำงานหนักช่วงนี้ ให้หลีกเลี่ยงความเครียด หรือใช้ความคิดหนัก หาทางระงับอารมณ์ไว้

อาหารบำรุง : อาหารที่มีสีแดงตามธรรมชาติ เช่น ถั่วแดงและผลไม้สีแดง น้ำมันปลา วิตามินบีต่างๆ

13.00 น. - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ลำไส้เล็ก"

ข้อควรปฏิบัติ : งดกินอาหารทุกประเภท ควรงดกินอาหารทุกประเภท** เพื่อเปิดโอกาสให้ลำไส้ทำงาน ลำไส้เล็กทำหน้าที่ดูดสารอาหารที่เป็นน้ำเพื่อสร้างกรดอะมิโนสร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สำหรับผู้หญิง

อาหารบำรุง : อาหารไขมันต่ำ น้ำสะอาด

15.00 น. - 17.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"กระเพาะปัสสาวะ"

ข้อควรปฏิบัติ : ทำให้เหงื่อออก (ออกกำลังกาย หรือ อบตัว) จะออกกำลังการหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง การอั้นปัสสาวะบ่อยจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดทำให้เหงื่อเหม็น

อาหารบำรุง : ผลไม้เช่น บิลเบอร์รี่ และทานน้ำสะอาดมากๆ

17.00 น. - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ไต"

ข้อควรปฏิบัติ : ทำตัวให้สดชื่น ไม่ง่วงหงาวหาวนอนตอนนี้ ถ้าง่วงแสดงว่าไตเสื่อม ยิ่งหลับแล้วเพ้อ อาการยิ่งหนัก

อาหารบำรุง : อาหารที่มีเกลือต่ำ รวมถึงสมุนไพรจีน เช่น ถั่งเฉ้า

19.00 น. - 21.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"เยื่อหุ้มหัวใจ"

ข้อควรปฏิบัติ : ทำสมาธิ หรือสวดมนต์ ให้ระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ หัวเราะ

อาหารบำรุง : อาหารจำพวกโปรตีนที่มีไขมันต่ำ รวมถึงวิตามินบีต่างๆ

21.00 น. - 23.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ระบบความร้อนของร่างกาย"

ข้อควรปฏิบัติ : ห้ามอาบน้ำเย็น ห้ามตากลม ทำร่างกายให้อบอุ่น ห้ามอาบน้ำเย็นเวลานี้จะเจ็บป่วยได้ง่าย ช่วงนี้อย่าตากลมเพราะลมมีพิษ

อาหารบำรุง : อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น ขิง โสม

23.00 น. - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ถุงน้ำดี"

ข้อควรปฏิบัติ : ดื่มน้ำก่อนเข้านอน ถุงน้ำดี เป็นถุงสำรองน้ำย่อยที่ออกมาจากตับ อวัยวะใดขาดน้ำ จะดึงมาจากถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น อารมจะฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวมปวดฟัน นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก ตอนเช้าจะจาม ถุงน้ำดีจะโยงถึงปอดจะปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรดื่มน้ำก่อนเข้านอน หรือก่อนเวลา 23.00 น.

อาหารบำรุง : อาหารที่มีไขมันต่ำ และไม่ทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ

สรุป

1.00-3.00 น. นอนซะ
3.00-5.00 น. ตื่นมาสูดอากาศ
5.00-7.00 น. ขับถ่าย
7.00-9.00 น. กินข้าวเช้า
9.00-11.00 น. อย่าพูดมาก กินน้อยๆ อย่านอน
11.00-13.00 น. หลีกเลี่ยงความเครียด
13.00-15.00 น. ห้ามกิน
15.00-17.00 น. ออกกำลังหรืออบตัวให้เหงื่อออก
17.00-19.00 น. ทำให้สดชื่น อย่าง่วง
19.00-21.00 น. ทำสมาธิ
21.00-23.00 น. ทำตัวให้อุ่นๆ ไว้
23.00-1.00 น. กินน้ำก่อนนอน

ไม่มีความคิดเห็น: