13 ก.พ. 2551

หายนะของประเทศไทย กำลังใกล้เข้ามา

เกจิอาจารย์ทางเศรษฐกิจเกือบทุกสำนักต่างประเมินว่าเศรษฐกิจของอเมริกาในปีหน้า 2008 มีลักษณะสาละวันเตี้ยลง อย่างไม่มีข้อสงสัย และย่อมส่งผลถึงประเทศที่ยึดเอาเงินดอลลาร์เป็นพ่อหรือพระเจ้า โดยไม่ยอมเปลี่ยนเงินสำรองของชาติ ไปเป็นเงินสกุลอื่นนายเอ็ดเวิร์ด เลเซียร์ ประธาน ของสภา

ที่ปรึกษาเศรษฐกิจของทำเนียบขาว ได้ออกมาแถลงกับผู้สื่อข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ก่อนหน้าที่ทำเนียบขาวเคยมองในแง่ดีว่า จีดีพีในปีหน้า จะโตประมาณร้อยละ 3.1 แต่การประเมินใหม่ ตัวเลขจะเหลือเพียงร้อยละ 2.7 และตัวเลข คนตกงานจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.9

ปัญหาของซับไพรมหรือหนี้ด้อยคุณภาพใน ภาคอสังหาริมทรัพย์ จะส่งผลถึงปีหน้า และทำให้ราคาบ้านลดลงแล้วร้อยละ 30 จากจุดที่เคยสูงสุดทางด้านไอเอ็มเอฟกลับประเมินตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอเมริกาไว้เพียงร้อยละ 1.9 ในขณะที่จีน ยังสามารถเติบโตในอัตราใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 10 อินเดียก็เช่นเดียวกัน คือ ร้อยละ 8.4 และรัสเซียที่ ร้อยละ 8

ในขณะเดียวกัน ทางกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว 25 ประเทศ หรือ OECD ก็ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจในประเทศของตนจะลดลงเหลือร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับ 2.7 ในปี 2007 ที่ผ่านมา (ดูตาราง)

อันที่จริงสาเหตุเศรษฐกิจขาลงทางด้านเศรษฐกิจมหภาคยังไม่ใช่สาเหตุหลักของหายนะของค่าเงินดอลลาร์ และจุดเริ่มความล่มสลาย ของระบบเศรษฐกิจอเมริกันในทศวรรษหน้าสาเหตุที่แท้จริงคือ การซื้อขายน้ำมันในตลาดโลกกำลังจะเปลี่ยนไปใช้เงินตราสกุลอื่น เช่น ยูโร หรือเยน ที่เกิดจากการผลักดัน ของประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอลา และล่าสุด ในการประชุมกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันหรือโอเปก (OPEC) ครั้งที่ 146 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ที่เมืองอาบู ดาบี ประเทศสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ผ่านมานี้ อิหร่านได้กระโดดเข้ามาผลักดันแนวคิดนี้อย่างจริงจังโดยเสนอให้ตั้งธน าคารโอเปกขึ้นมา และให้เลิกซื้อขายน้ำมันในตลาดโลกด้วยเงินดอลลาร์

ทำไมการเลิกใช้เงินดอลลาร์เป็นการคุกคามเศรษฐกิจอเมริกาปีที่แล้วอเมริกาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (current account deficit) $811 พันล้านเหรียญ - 8.11 ล้านล้านเหรียญ หรือ 6% ของจีดีพี ตัวเลขนี้ คือ รายจ่ายที่มากกว่ารายรับการที่อเมริกาเป็นประเทศเดียวที่สามารถ ขาดดุลชำระเงินและขาดดุลการค้าได้มากขนาดนี้ หรือ เรียกว่า 'การขึ้นรถฟรี (free rider)' ก็เพราะได้ใช้อิทธิพลทำข้อตกลงกับกลุ่มประเทศโอเปกเมื่อปี 1971ให้การซื้อขายน้ำมันโลกใช้เงินดอลลาร์เพียงสกุลเดียวข้อตกลงนี้ทำให้ทุกประเทศที่บริโภคน้ำมัน ต้องสะสมเงินดอลลาร์เพื่อใช้ในการซื้อน้ำมันเข้าประเทศ และการซื้อขายน้ำมันโลกร้อยละ 85 ซื้อขายกันนอกประเทศสหรัฐอเมริกา และหมุนเวียนกันอยู่ภายนอกอเมริกาด้วยเหตุนี้

ธนาคารกลางสหรัฐจึงสามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาได้อย่างไม่จำกัด (ตามข้อตกลงของไอเอ็มเอฟ โดยที่ไม่ต้องมีทองคำมาสำรองตามจำนวนที่พิมพ์ออกมา) และไม่ต้องหวั่นว่าจะเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นภายในประเทศ เงินที่พิมพ์ออกมานี้ก็คือเงินที่ใช้ในการซื้อสินค้าหรือจ่ายหนี้ให้ประเทศที่อเมริกานำเข้าสินค้า มาตรฐานชีวิตคนอเมริกัน จึงสูงที่สุดในโลก เพราะพิมพ์เงินออกมาซื้อฟรี กินฟรีสินค้าจากทั่วโลก หรือลงทุนในประเทศอื่นๆเพื่อหากำไร ส่งกลับเข้าประเทศ ประเทศที่ขายสินค้าให้ อเมริกาก็นำเงินดอลลาร์มาเป็นเงินสำรอง หรือนำมาไว้ใช้ซื้อน้ำมันมาบริโภค และเพื่อนำเข้ามาผลิตสินค้าไว้ขายอเมริกาต่อไปเป็นวงจร หรือไม่ก็นำมาซื้อพันธบัตรของรัฐบาลอเมริกัน (U.S. Treasury Bonds) ซึ่งก็คือ นำเงินที่ขายสินค้าได้ดุลมาให้อเมริกาที่เป็นผู้บริโภคกู้เพื่อนำมาซื้อสินค้ากลับไปกินไปใช้ใหม่ (recycle)

ตัวเลขในปี 2007 จีนถือพันธบัตรอเมริกันไว้ทั้งสิ้น 396.7 พันล้านเหรียญ หรือเกือบๆ 4 แสนล้านเหรียญ ส่วนญี่ปุ่นเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของอเมริกา คือ 582.2 พันล้านเหรียญ หรือเกือบ 6 แสนล้านเหรียญประเทศผู้ขายน้ำมันก็นำเงินดอลลาร์มาขายในตลาดเงิน - Foreign Exchange Markets (Forex) เช่น ที่ลอนดอน หรือนิวยอร์ก สิงคโปร์ ให้ประเทศที่ต้องการบริโภคน้ำมันซื้อไปเพื่อใช้ซื้อน้ำมันต่อไปเงินดอลลาร์จึงหมุนเวียนอยู่ภายนอกอเมริกาเป็นเช่นนี้มาหลายสิบปีติดต่อกันมาแต่วงจรนี้กำลังจะถูกทำให้สะดุด และอเมริกาจะยอมไม่ได้ เพราะว่าถ้าปล่อยให้มันเกิดขึ้น หนี้สินจำนวน 8.11 ล้านล้านเหรียญที่อเมริกา เป็นหนี้ชาวโลก ก็ต้องหามาจ่าย และอเมริกาก็ไม่มีเงินนี้จ่าย

นอกจากจะต้องขายทรัพย์สิน หรือบริษัทไปสักครึ่งประเทศประธานาธิบดีซัดดัมแห่งอิรักบังอาจท้าทาย ความเป็นอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของอเมริกา โดยขายน้ำมันของตน ด้วยเงินยูโรแทนดอลลาร์ ในปี 2000 และเปลี่ยนเงินสำรองประเทศของตนเป็นยูโรด้วย ทำให้หลายๆ ประเทศ ที่ซื้อน้ำมัน จากอิรักต้องเปลี่ยนตามไปด้วยความต้องการ (demand) ดอลลาร์ในตลาดโลกจึงทยอยลดลง ในปี 2002 เงินดอลลาร์ มีค่าลดลงร้อยละ 18 พอถึงปี 2003 อเมริกา จึงบุกอิรัก โดยอ้างว่ามีอาวุธนิวเคลียร์ (อิหร่าน อาจจะโดนเช่นเดียวกัน)

จากนั้นก็เปลี่ยนการ ซื้อขายน้ำมันของอิรักจากเงินยูโรกลับมาเป็น เงินดอลลาร์ใหม่อิหร่านเริ่มยุติการซื้อขายน้ำมันของตนจากเงินดอลลาร์มาเป็นเงินยูโรแทนเมื่อปี 2003 และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ค่าเงินดอลลาร์ก็ลดลงแล้วถึงร้อยละ 30 ในวันนี้ ตามหลักความต้องการซื้อ (demand) และความต้องการขาย (supply) เมื่อความต้องการซื้อลดลง ราคาของสิ่งนั้นก็ลดตามด้วยการแก้เกมของอเมริกาคือ การปั่นราคาน้ำมันโลกให้สูงขึ้น เพื่อสร้างความต้องการซื้อดอลลาร์ให้อยู่ในระดับเดิม ทุกวันนี้ราคาน้ำมันจึงพุ่งทะยานขึ้นเกือบแตะ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลแล้วถ้าวิธีนี้ไม่ได้ผล

อเมริกาอาจจะตัดสินใจ โจมตีอิหร่านเหมือนเช่นที่ทำกับอิรักด้วยเหตุผลเดียวกันคือ กำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โดยใช้ยุทธวิธี 'โจมตีก่อนแล้วพิสูจน์ทีหลัง' (pre-emptive strike )อย่างไรก็ตามอิหร่านเป็นประเทศใหญ่กว่าอิรักมาก มีประชากรมากกว่า ถ้าอเมริกาโจมตี และเข้ายึดครอง ก็อาจจะเป็นสงครามยืดเยื้อกว่าสงครามอิรัก และอาจจะต้องลงทุนด้วยชีวิต ทหารอเมริกันมากกว่าอิรักอีกหลายเท่าคนอเมริกันจำนวนมากจึงไม่เห็นด้วย รวมทั้งสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่ง เจ้าหน้าที่ รัฐบาล และสื่อมวลชน

ดังนั้นจึงมีรายงานวิจัย เผยแพร่ออกมาว่าอิหร่านได้ยุติการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์มาแล้วตั้งแต่ปี 2003 เพื่อป้องกัน ไม่ให้ประธานาธิบดีบุชโจมตีอิหร่านเสียก่อน แล้วพิสูจน์ทีหลังประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ ก็ยุติการขาย น้ำมันของตนด้วยเงินดอลลาร์ไปแล้ว แต่ขายเป็นเงินยูโรแทน ดังนั้นโอกาสที่ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่ากลับมามีอิทธิพลในตลาดเงินโลกเหมือนเดิมจึงมีโอกาสน้อย หรือเป็นไป ไม่ได้เลยสถานการณ์ข้างต้นเป็นสัญญาณขาลงของอภิมหาอำนาจที่ครองความเป็นเจ้ามาเป็นเวลาเกือบ 60 ปี ซึ่งสั้นกว่ายุคล่าอาณานิคมที่ยาวนานเป็นร้อยปี

หายนะของประเทศไทยการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังดึงดันอิง ค่าเงินบาทกับดอลลาร์ และเก็บเงินสำรองของประเทศเป็นเงินดอลลาร์ซึ่งนับวันจะมีค่าน้อยลงไปทุกวัน คือ ลางแห่งความหายนะของเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศยิ่งนำเงินบาทไปสู้ค่าเงินเพื่อรักษาค่าเงินบาทไม่ให้แข็งเกินไป

ซึ่งความแข็งค่าของค่าเงินบาท เป็นเพียงภาวะชั่วคราว และเป็นเพียงมายา เพราะไม่ได้เกิดจากการค้าที่เราได้ดุล แต่เกิดจากเงินร้อน (portfolio investment-PI) ไหลเข้ามาเก็งกำไรในตลาดทุน และตลาดเงิน ซึ่งสามารถไหลออกเมื่อไรก็ได้การสู้ค่าเงินบาทไม่ให้แข็งเพื่อช่วยผู้ส่งออก ไม่กี่ราย และขาดทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท แต่ละเลยประโยชน์ที่ประเทศ จะได้กำไรจากการซื้อน้ำมันได้ถูกลงตามค่าเงิน ที่แข็งขึ้น เช่น ค่าเงินที่แข็งขึ้นร้อยละ 20 ไทยนำเข้าน้ำมันปีละ 5 แสนล้านบาท ก็จะระหยัดเงินไปได้ 1 แสนล้านบาท

นี่ยังไม่รวมสินค้าทุน และวัตถุดิบที่นำเข้าในราคาถูกลงอีกปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ธุรกิจน้ำมันและโรงกลั่นเป็นกิจการของกลุ่มผูกขาด (oligopoly) เงินกำไรจากค่าเงินจำนวน 1 แสนล้านบาท จึงไม่ตกเข้ากระเป๋าของระบบเศรษฐกิจของประเทศ หรือประชาชนทั่วไป แต่ไปเข้ากระเป๋าของกลุ่มธุรกิจน้ำมัน ซึ่ง ปตท.ก็ถูกแปรรูปไปแล้วอย่างสิ้นเชิงดังนั้นนโยบายของ ธปท.จึงเป็น 2 เด้งที่ซ้ำเติมประเทศชาติ ยิ่งการเมืองไทยในวันนี้ยังวนเวียนอยู่ในหมู่นักการเมือง ที่ล้วนเคยสร้างความหายนะให้กับประเทศชาติมาก่อนทั้งสิ้น

2 ความคิดเห็น:

บ๊ะจ่าง กล่าวว่า...

คอลัมน์ เดินคนละฟาก โดย กมล กมลตระกูล
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3957 (3157)

บ๊ะจ่าง กล่าวว่า...

เอาที่มาของบทความมาฝากหนะครับ