5 มิ.ย. 2554

อิชิตันชาเขียว - การย้อนเกล็ดโออิชิที่เจ็บแสบ ภาค3

หลังจากดีลการซื้อหุ้น3000ล้านบาทในปี 2006 ยากที่จะมีคนตอบว่าตันสร้างแบรนด์โออิชิ หรือโออิชิสร้างแบรนด์ให้ตันกันแน่

ในมุมมองของคนที่พอจะติดตามข่าวสารอยู่บ้าง “ตัน” เป็นชื่อที่จำง่าย และ “โออิชิ” ก็เป็นแบรนด์ที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดี แบรนด์ของ “ตัน” ในตอนนั้นคือ นักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จ เริ่มสร้างตัวจากศูนย์ สู้ชีวิต ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค และเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่

ถึงอย่างไรก็ตามตันก็ยังขาดองค์ประกอบของความเป็นคนดังระดับดาราเกรดเอไปพอควร จนกระทั่งวันที่เขาได้มาเป็นเพื่อนกับโน้ต อุดม แต้พานิช จึงทำให้ตันเข้าใจถึงประโยชน์ของความเป็น Celebrity ว่าใช้สร้างมูลค่ามหาศาลได้แค่ไหน (ผู้ที่สนใจสามารถหาอ่านได้จากบทความ โน้ต-ตัน ความลงตัวของคนรวยอยากดัง และคนดังอยากรวย http://heyhaparty.blogspot.com/2011/06/1.html

โน้ต อุดมพูดถึงคุณตันในเดี่ยวไมโครโฟนครั้งที่ 7 ว่าได้รู้จักลูกสาวคุณตันชื่อน้องกิฟท์ทำร้านส้มตำชื่อแซบอีลี่อยู่ และคุณตันได้นำช็อคโกแลตร้านของแฟน และอามิโน พลัส มาให้ในคืนก่อนแสดง คำพูดเหล่านี้ถือเป็นโฆษณาแฝงแบบเนียนๆ แต่ความเป็นCELEB ของโน้ตสร้างความมหัศจรรย์ขึ้นทันทีที่ดีวีดีบันทึกการแสดงถูกวางจำหน่าย ยอดขายอามิโนพลัสพุ่งกระฉูด ร้านของเมียและลูกก็ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพราะคน “อยากจะมาลอง” ตามคำบอกกล่าวของโน้ต

เหตุการณ์ครั้งนั้นอาจจะเริ่มจุดประกายให้คุณตันรู้ว่าความเป็นคนดังมีมูลค่ามหาศาล และจะมีประโยชน์กับเขาอย่างแน่นอนในวันที่ลาออกจากโออิชิ

ความขัดแย้งในโออิชิเริ่มเกิดขึ้นจากการแทรกแซงของเจ้าสัวเป็นระยะๆ ไทยเบฟอาศัยความเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่งตั้งบุคลากรใหม่ๆ อายุไม่เยอะมาก เข้ามาทำงานทางด้านตลาด และการเงิน เปรียบเสมือนเป็นสายตรงให้กับเจ้าสัวเจริญ เด็กรุ่นใหม่เริ่มสั่งงานข้ามหัวตันแบบไม่เกรงใจ อาจจะเพราะด้วยรับนโยบายตรงจากเจ้าของ หรือEGOส่วนตัวก็ไม่ทราบได้ แต่การที่ทำแบบนี้กับตัน ผู้ก่อตั้งบริษัท และผ่านประสบการณ์มามากมายเกินกว่าเด็กรุ่นใหม่จะรับรู้ได้ ตันย่อมไม่พอใจแน่นอน ได้แต่เก็บความรู้สึกเอาไว้

ขณะเดียวกัน ทีมงานที่เข้ามาใหม่ๆ ก็อยากให้งานเป็นระบบแบบแผนตามวิชา หรือองค์กรใหญ่ๆเขาปฎิบัติกัน ไม่เหมือนคุณตันที่ทำงานแบบเถ้าแก่สั่งลุย ซึ่งเป็นสิ่งที่ตันถนัดที่สุดในการทำสิ่งใหม่ๆให้คนอยากลอง หรือสร้างDemandขึ้นมาโดนใจคน อย่างเช่นWedding Studio โออิชิบุฟเฟ่ต์ ชาบูชิ ชาเขียว ฯลฯ สไตล์คุณตันคือ

ลุยไปก่อน สร้างDEMANDไปก่อน เรื่องที่เหลือไว้ค่อยแก้ปัญหาเอาทีหลัง ซึ่งเป็นสไตล์การทำงานที่หาคนเข้าใจได้ยากพอสมควร

ตันเป็นฝ่ายลุยเรื่องการตลาด ทำยังไงก็ได้ให้คนอยากเข้ามากิน ภรรยาคุณตันก็ทำงานที่โออิชิเช่นเดียวกัน แต่ดูเรื่องการเงิน แต่คนที่ควบคุมภาพรวมของร้านโออิชิในตอนนั้นคือน้องเขยของเขา นั่นจึงไม่เป็นที่แปลกใจว่าวันที่คุณตันไม่อยู่โออิชิแล้ว หลายคนบ่นว่าบุฟเฟ่ต์ให้ของน้อยลง แอบซ่อนของบ้าง

เพราะคนที่ควบคุมเรื่องนี้มาตลอดก็ลาออกด้วย

ผู้บริหารคนใหม่ที่เข้ามาดูแลไลน์บุฟเฟ่ต์แทนนั้น อาจจะคำนึงถึงการควบคุมต้นทุนมากเกินไป มากกว่าให้น้ำหนักเรื่องการดึงดูดลูกค้าให้เข้าสม่ำเสมอ เพราะสิ่งที่ดึงดูดลูกค้าจริงๆก็คือ “ตัวอาหาร” ไม่ใช่โฆษณาหรือโปรโมชั่น ดังที่โออิชิบุฟเฟต์สร้างปรากฎการณ์ Talk of The Town มาแล้ว

ระหว่างที่ทำโออิชิอยู่ก็ไปซุ่มทำธุรกิจส่วนตัวอย่างสร้างโรงแรม ทำห้างที่ลพบุรี พัฒนาพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ตรงทองหล่อซอย 10 หรือเอกมัยซอย 5 ซื้อขายที่ดินได้กำไรมหาศาล จากการใช้เครดิตตัวเองไปจองไว้ก่อน แล้วเอาบอกเจ้าสัวเจริญ ก็ได้ส่วนแบ่งไปสบายๆแบบไม่ต้องลงทุน เพราะเครดิตของคุณตันมีค่ามากกว่าเงินมัดจำ

เมื่อก้าวจากนักธุรกิจเป็นนักลงทุน สายตาการซื้อที่ดินของตัน โออิชินั่นถือว่าแหลมคมอย่างยิ่ง จากการที่เคยเจ๊งมาแล้วในปี 40 เพราะที่ดิน แต่อีกสิบปีให้หลัง ตันกลับโกยเงินได้มหาศาลกว่าที่เคยเจ๊งไปเป็นสิบเท่า เพราะที่ดินเช่นเดียวกัน เรื่องร่ำลือกันในวงการว่าตันใช้เวลาเพียงไม่นานซื้อที่ดินในจังหวะที่ถูก และรู้จังหวะที่ปล่อยที่ในช่วงแพงที่สุดถึงตารางวาละ 1.2 ล้านบาท ฟาดกำไรไป2พันล้านบาทในเวลาไม่ถึงสามปี

ที่ดินตรงทองหล่อซอย 10 หรือว่าอารีน่า 10 นั้น ตันก็มองการณ์ไกลถึงสถานการณ์คอนโดย่านสุขุมวิทตั้งแต่ปี 51 ว่าจะอิ่มตัวตามวัฎจักรของเศรษฐกิจในช่วงนั้น ถ้าสังเกตุให้ดีพื้นที่ด้านในจะเป็นลักษณะของธุรกิจชั่วคราวที่สามารถรื้อถอนได้ง่าย เช่นสนามฟุตบอล Funky Villa ก็ทำชั้นเดียว เพราะตันรู้จักรอจังหวะเล่น ถึงทำคอนโดไปในตอนนั้นก็ขายไม่ได้ราคา เพราะมีแต่คนทำ สู้พัฒนาที่ตรงนั้นทำอย่างอื่นไปก่อนดีกว่า รอให้คนขายคอนโดในย่านนั้นให้หมดก่อน ด้านในที่ดินของตันผืนนี้ก็คงจะเป็นคอนโดสำหรับอยู่อาศัยที่มีไลฟ์สไตล์พิเศษตาม Story ที่ตันสร้างให้พื้นที่นี้มาตลอด จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมพื้นที่ด้านหน้าของอารีน่า10 เป็นราเมนแชมเปี้ยน เป็นร้านของเมีย

เจ้าสัวอาจจะเก็บความรู้สึกหลายอย่างไว้ในใจ เพราะตอนที่รับปากว่าจะให้ตันดูแลโออิชิต่อไป อาจจะไม่ได้ขอให้ตันห้ามทำธุรกิจอื่นด้วยก็ได้ พอตันทำธุรกิจส่วนตัว และยิ่งประชาสัมพันธ์มากๆ คนเป็นเจ้าของเงินย่อมมีมุมมองที่คิดได้ว่า มืออาชีพที่บริหารบริษัทก็ควรจะโฟกัสกับสิ่งนั้นสิ่งเดียว คือทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น ไม่ใช่มัวแต่ไปยุ่งกับธุรกิจของตัวเอง

เพราะตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตันรวยมากขึ้นจากธุรกิจและการลงทุนส่วนตัวของเขา มากกว่ากำไรที่โออิชิทำได้ใน 5 ปีหลังหลายเท่านัก ไม่นับความดังของตันที่มากขึ้นจากการออกสื่อต่างๆและการเดินสายพูดตามสถาบันการศึกษา แล้วอย่างนี้เจ้าของที่ไหนจะอยากให้ตันบริหารโออิชิต่อไป

สิ่งสุดท้ายที่ทำให้ตันกับโออิชิ เป็นแค่เส้นขนาน ก็คือคำสั่งประกาศิตว่าให้โยกสายการผลิตเครื่องดื่มโออิชิทุกชนิดไปสู่โรงงานของไทยเบฟที่สร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งสำหรับตันถือว่าเป็นการแทรกแซงตำแหน่งซีอีโอของเขาโดยตรง ความสัมพันธ์อันดีที่พาร์ทเนอร์ต่างๆช่วยเหลือตันมาตั้งแต่โออิชิยังไม่มีโรงงานผลิตชา จนวันที่ชาเขียวโออิชิเป็นอันดับหนึ่งนั้น ตันไม่สามารถหักดิบได้ทันที เพราะรู้ดีว่าถ้าโยกการผลิตก็เท่ากับโรงงานต่างๆของพาร์ทเนอร์ และคนงานอีกเป็นจำนวนมากต้องเดือดร้อน

ที่สำคัญคือสัญญาณให้ตันได้รู้ว่า หากไม่ปฎิบัติตามก็คงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับตำแหน่งของเขา เป็นการยื่นข้อเสนอง่ายๆทางอ้อมว่า จะลาออกเอง หรือจะให้ไล่ออก


ที่มา www.blogger.com โดย assuming

ไม่มีความคิดเห็น: