17 พ.ย. 2552

โรคกรดไหลย้อนจากกระเพาะสู่หลอดอาหาร (GERD)



หรือ “GERD” (Gastro esophageal Reflux Disease)

โรคไหลย้อนจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหาร หรือ “GERD” (Gastroesophageal Reflux Disease) เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการสำคัญ ได้แก่ อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก และมีรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก การไหลย้อนนี้ถ้าเป็นเรื้อรังอาจทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลอดอาหารขึ้น
ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบ มีเลือดออกจากหลอดอาหาร และถ้าหลอดอาหารอักเสบเรื้อรังและรุนแรง อาจจะทำให้ปลายหลอดอาหารตีบและเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร ได้ ถ้าการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหารเป็นขั้นรุนแรง อาจกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ในที่สุด

สาเหตุสำคัญของ GERD โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิเช่น

ความ ผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อน จากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำ หรือเปิดบ่อยกว่าคนปกติ ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และยาบางชนิดเช่น ยารักษาโรคหอบหืดบางตัว

ความ ผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารทำให้อาหารที่รับประทานลงช้า หรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ

ความ ผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อน ของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลต จะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง

สาเหตุทางพันธุกรรมโรคนี้พบได้บ่อยในคนชาวตะวันตกผิวขาว มากกว่าชาวตะวันตกผิวดำ และคนเอเชีย
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไหลย้อนจากกระเพาะอาหาร อาการสำคัญ ได้แก่

ความ รู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ขึ้นมาที่หน้าอกและคอ อาการนี้จะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก และนอนหงาย

การ มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก พบได้บ่อยในคนตะวันตก แต่ในคนไทยส่วนใหญ่อาการแสบร้อนที่บริเวณหน้าอกพบได้ไม่บ่อยนัก และไม่รุนแรงเท่าชาวตะวันตก ผู้ป่วยมักมีอาการเรอ และมีน้ำเปรี้ยวขึ้นมาในปาก

อาการ อื่นๆ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร เจ็บหน้าอก จุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ ต้องพยายามกระแอมออกบ่อยๆ อาการหืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ เจ็บคอ อาการเหล่านี้เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ

โรคนี้พบในเด็กได้หรือไม่

โรคนี้พบได้ตั้งแต่เด็กทารกจนถึงเด็กโต ในเด็กเล็กอาการที่ควรนึกถึงโรคนี้ ได้แก่ อาเจียนบ่อยหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนัก 3 และการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หืดหอบในเวลากลางคืน ปอดอักเสบเรื้อรัง ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ

การวินิจฉัย

วินิจฉัย จากอาการสำคัญที่กล่าวมาแล้ว ผู้ป่วยที่มีอาการสำคัญชัดเจนสามารถให้การรักษาเบื้องต้นได้เลย ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีอาการสำคัญชัดเจน หรือมีอาการร่วมอื่น หรือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การเอ็กซเรย์กลืนสารทึบแสง การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหารและการตรวจวัดความเป็นกรด ด่างในหลอดอาหาร ซึ่งให้ผลที่ไวในการวินิจฉัยโรคที่สุด

การ ปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่มากสามารถรักษาได้โดยการเปลี่ยน พฤติกรรมการดำเนินชีวิตดังต่อไปนี้

ระวังน้ำหนักตัวไม่ให้มากหรืออ้วนเกินไป

หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อกโกแลต

หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และการสูบบุหรี่

หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อเย็นปริมาณมาก และไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไป

ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง

หนุนหัวเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพยายามหลีกเลี่ยงความเครียด

เมื่อปฎิบัติตัวเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรทำอย่างไร

ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคนี้ เช่น ยาเคลือบกระเพาะอาหารรักษาแผล ได้แก่ ยา antacid ที่มีหลายชนิดยากลุ่มนี้จะช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารและใช้ได้ผลในผู้ ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงหรือมีอาการแสบหน้าอกเป็นครั้งคราว ยาลดการหลั่งกรด ที่สำคัญมี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้แก่ยา H2 blockers ยากลุ่มนี้สามารถรักษาลดการหลั่งกรดได้บางส่วน และลดอาการได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นโรคไหลย้อน ยากลุ่มที่ 2 ได้แก่ยา proton-pump inhibitors ยากลุ่มนี้สามารถลดกรดได้มากกว่ายากลุ่มแรก และลดอาการแสบหน้าอกได้ผล 60-80% ของผู้ป่วยและสามารถรักษาแผลหลอดอาหารอักเสบได้ผล 60-75%

จำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัดหรือไม่

การ ผ่าตัดแนะนำในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเป็นเวลานานแล้วไม่สามารถควบคุมอาการ หรือหยุดยาได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาเป็นเวลานาน และมีผลข้างเคียงจากยา หรือผู้ป่วยอายุน้อยที่จำเป็นต้องรับประทานยาเป็นเวลานาน และผู้ป่วยที่มีผลแทรกซ้อนที่รุนแรงจากโรคโดยเฉพาะผู้ป่วยเด็ก ♦

ไม่มีความคิดเห็น: