18 ธ.ค. 2554

อาการก่อนมีประจำเดือน

อาการก่อนมีประจำเดือนหรือพีเอ็มเอส (premenstrual syndome: PMS) มักเกิดก่อนมีประจำเดือนราว 1-2


อาการก่อนมีประจำเดือนหรือพีเอ็มเอส (premenstrual syndome: PMS) มักเกิดก่อนมีประจำเดือนราว 1-2 สัปดาห์ โดยทั่วไปคืออาการคัดตึงหน้าอก อารมณ์แปรปรวน ปวดหัว ปวดหลัง และตัวบวมน้ำ ผู้เชี่ยวชาญยังไม่รู้แน่ชัดว่าทำไมผู้หญิงบางคนเป็นหนักกว่าคนอื่นๆ คาดว่าอาการเหล่านี้น่าจะเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ ตัวการสำคัญคือเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน โดยระดับฮอร์โมนทั้งสองอาจพุ่งสูงขึ้นก่อนมีประจำเดือน จากนั้นจะลดฮวบลง การขึ้นลงดังกล่าวนี้ส่งผลให้ระดับเซโรโตนินซึ่งเป็นตัวควบคุมอารมณ์ผิดปกติ



ยืดเส้นยืดสายหน่อย



ออกกำลังกายแบบแอโรบิกทุกวัน อย่างน้อยวันละ 20-30 นาที การเดินเร็วหรือว่ายน้ำถือว่าดีที่สุด ถ้าเบื่อ ลองเล่นสเก็ต คาราเต้ คิกบอกซิ่ง แอโรบิกในน้ำ เต้นรำ ฯลฯ ควรออกกำลังจนได้เหงื่อ ถ้าทำเป็นประจำจะลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลงได้ การออกกำลังกายยังลดความเครียดและทำให้อารมณ์ดี เพราะร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟินมากขึ้น คุณจึงรู้สึกดีและกล้ามเนื้อผ่อนคลาย ทั้งยังช่วยลดภาวะบวมน้ำด้วย



ควบคุมอาหาร



- กินเกลือน้อยลง โดยเฉพาะสัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน เกลือทำให้ร่างกายกักเก็บของเหลวไว้มากขึ้น คุณจึงรู้สึกตัวบวม หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป เช่น ซุปกระป๋อง ซอสปรุงอาหาร และขนมขบเคี้ยวต่างๆ แม้แต่ขนมปังที่ขายตามซูเปอร์มาร์เกตก็มีเกลือมากเช่นกัน

- ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

- กินอาหารที่มีเส้นใยมากขึ้น เส้นใยอาหารช่วยขับเอสโตรเจนส่วนเกินออกจากร่างกาย กินธัญพืช เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต และขนมปังโฮลวีต รวมทั้งผัก และถั่วมากๆ

- ดื่มน้ำมากขึ้น น้ำจะช่วยขับเกลือส่วนเกินออกทางปัสสาวะและลดอาการบวม ดื่มอย่างน้อยวันละ 8 แก้วใหญ่

- ลดขนมหวาน ช่วงก่อนมีประจำเดือนความอยากของหวานๆ จะพุ่งสูงขึ้น แต่ขนมหวานทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นด้วย เมื่อน้ำตาลในเลือดลดดิ่งลงคุณจะรู้สึกเหนื่อยและหงุดหงิด การจำกัดน้ำตาลและกินผลไม้แทน จะช่วยให้อารมณ์คงที่

แคลเซียมและอื่นๆ



- กินแคลเซียม 500 มก. แมกนีเซียม 250 มก. ทุกวัน แคลเซียมลดอาการปวดหัว อารมณ์แปรปรวน และตะคริว อย่างไรก็ตามแคลเซียมมีผลทำให้ง่วงจึงควรกินก่อนนอน ส่วนแมกนีเซียมนั้นออกฤทธิ์ร่วมกับแคลเซียมในการควบคุมกล้ามเนื้อ ผู้หญิงที่มีอาการค่อนข้างรุนแรงเพราะมีแมกนีเซียมต่ำ การเสริมแร่ธาตุทั้ง 2 ชนิดจึงช่วยยับยั้งอาการก่อนมีประจำเดือนได้

- กินวิตามินบี6 ขนาด 50 มก. ทุกวัน เพื่อลดอาการหงุดหงิดหดหู่ วิตามินบี6 คือ ช่วยเพิ่มเซโรโตนินซึ่งเป็นสารเคมีควบคุมอารมณ์ ช่วยลดการกักเก็บน้ำในร่างกาย อาการคัดตึงหน้าอก ความอยากของหวานและความเหนื่อยล้า อาหารที่มีวิตามินบี6 สูงได้แก่ เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม และถั่ว

- บางคนกินน้ำมันอีฟนิงพริมโรสเสริม ขนาดที่ใช้คือ 1,000 มก. วันละ 3 ครั้ง



ไม่มีความคิดเห็น: