18 ธ.ค. 2554

ไนอะซิน


ไนอะซินหรือนิโคตินาไมด์คือวิตามินบี 3 ถ้าร่างกายขาดอย่างรุนแรงจะทำให้เป็นโรคหนังกระ

ผิวหนังจะเป็นจ้ำสีม่วงและอ่อนเพลีย โรคนี้ยังมีอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ ปัจจุบันมีการใช้ไนอะซินป้องกันและรักษาโรคซึมเศร้า ข้ออักเสบ และโรคอื่นๆ



รู้จักไนอะซิน



โครงสร้างทางเคมีของไนอะซิน (niacin) ใกล้เคียงกับกรดอะมิโนทริปโตแฟน ซึ่งพบในไข่ เนื้อวัว และสัตว์ปีกต่างๆ ร่างกายคนเราได้รับไนอะซินครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ร่างกายต้องการจากการเปลี่ยนส่วนประกอบทางเคมีของทริปโตแฟนให้เป็นไนอะซิน ส่วนอีกครึ่งที่เหลือมาจากการกินอาหาร แหล่งไนอะซินคืออาหารโปรตีนต่างๆ นอกจากนี้ยังอาจกินในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารที่เสริมไนอะซินและวิตามินต่างๆ



ประโยชน์ของไนอะซิน



- ร่างกายต้องใช้ไนอะซินในการแปลงคาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงาน และยังเกี่ยวข้องกับการควบคุมน้ำตาลในเลือด บำรุงสุขภาพผิว และทำให้ระบบประสาททำงานปกติ ไนอะซินอาจมีวางขายในรูปนิโคตินาไมด์ (nicotinamide)

มีการทดลองใช้นิโคตินาไมด์ขนาดสูงรักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคข้อเสื่อมที่เป็นกับผู้สูงอายุ พบว่าหลังจากใช้นิโคตินาไมด์ไม่กี่เดือน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นทั้งการทำงานของข้อ จังหวะการเคลื่อนไหว ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ การศึกษต่อๆ มา ซึ่งพบว่านิโคตินาไมด์มีคุณสมบัติแก้อักเสบและช่วยรักษากระดูกอ่อนที่ถูกทำลาย



- นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่านิโคตินาไมด์สามารถบรรเทาอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และโรคนอนไม่หลับ การได้รับนิโคตินาไมด์ขนาดสูงทันท่วงที จะยับยั้งการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 1 ที่มักเกิดกับคนอายุไม่ถึง 30 แต่การบำบัดวิธีนี้จะต้องทำภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น

อาหารให้ไนอะซิน



ไนอะซินมีมากในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไก่ เนื้อวัว ปลา ถั่ว นอกจากนี้ยังมีในธัญพืชและพาสต้าบางชนิด แม้ว่าไข่ นม และผลิตภัณฑ์จำพวกนมเนยจะมีไนอะซินน้อย แต่มีกรดอะมิโนทริปโตแฟน ซึ่งมีประโยชน์เช่นกัน





ไม่มีความคิดเห็น: