29 ม.ค. 2552

สุดยอดแห่งการรวบรวมความรู้รถยนต์ (3)

201. เมื่อท่านขับรถอยู่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดคาดฝันเกิดยางรั่วขึ้นมาแล้วบริเวณนั้นไม่มีร้านซ่อมรถยนต์ คราวนี้แหละท่านต้องแสดงฝีมือในการเปลี่ยนล้อยางด้วยตนเองแล้ว แต่ถ้าท่านใดยังไม่เคยประสบปัญหาเหล่านี้ แต่ยังเปลี่ยนล้อไม่เป็นล่ะก็ต้องรีบศึกษาเอาไว้เลย เผื่อเอาไว้ว่าอาจจะต้องประสบปัญหาเข้าสักวันหนึ่งในกรณีนี้ท่านต้องมีอุปกรณ์ติดรถมาด้วยก็คือ แม่แรงกับประแจขันล้อ หรือกากบาท

202 .แม่แรงแบบน้ำมัน แม่แรงชนิดนี้จะมีความสะดวกสบายในการใช้และช่วยเบาแรงได้เยอะแม่แรงแบบน้ำมันจะมีลักษณะเป็นแท่งและจะมีเหล็กท่อโยกให้แกนตรงกลางยึดขึ้นเพื่อดันรถให้ลอยพ้นพื้น การโยกนั้นจะโยกขึ้นโยกลงสลับกันไปส่วนวิธีการเอาแม่แรงลงนั้นก็เพียงหมุนปุ่มที่อยู่ด้านท้ายแม่แรงเท่านั้น (ควรหมุนลงอย่างช้า ๆ ) แม่แรงก็จะลดระดับลงมาเท่าเดิม

203. แม่แรงแบบกลไก เป็นแม่แรงที่พบเห็นได้ทั่วไป ส่วนใหญ่อาจเป็นอุปกรณ์ที่ติดมากับรถจากโรงงานจะมีลักษณะคล้าย ๆ กับวงรี ในยามที่จะใช้ให้ต่อเหล็กท่อหมุนเข้าที่แม่แรง ปลายของแม่แรงจะยกเข้าหากันทำให้ในส่วนตรงกลางของแม่แรงสูงขึ้นและดันรถให้ลอยพ้นพื้น แม่แรงชนิดนี้จะใช้มือหมุนซึ่งจะต้องออกแรงมากกว่าแม่แรงชนิดแรก โดยให้หมุนตามเข็มนาฬิกา จากซ้ายไปขวา เมื่อจะเอาลงให้หมุนย้อนกลับแม่แรงก็จะลดระดับลงเหมือนเดิม

204.ตำแหน่งในการขึ้นแม่แรง ขึ้นใต้ปีกนก จะเป็นปีกนกทางด้านล้อหน้าถ้ารถยนต์รุ่นนั้นใช้ปีกนกเป็นตัวรองรับน้ำหนัก ซึ่งส่วนใหญ่รถที่ใช้ปีกนกจะเป็นรถเก๋ง ขึ้นใต้คานหลังส่วนหน้ารถ จะอยู่ลึกเข้ามาและเป็นคานเหล็กวางขวางอยู่ให้ใช้จุดนั้นเป็นจุดวางแม่แรง

205. ตำแหน่งในการขึ้นแม่แรง ขึ้นใต้ชุดแหนบ จะอยู่บริเวณล้อหน้าโดยให้วางแม่แรงตรงกลางแผ่นแหนบพอดี รถที่ใช้แหนบรองน้ำหนักจะเป็นรถบรรทุกส่วนใหญ่ หรือ ขึ้นใต้คานหน้า เป็นการขึ้นตรงคานกลางระหว่างล้อหน้าทั้งซ้ายและขวาหรือจะ ขึ้นใต้คานขวางหน้า จะอยู่บริเวณตอนหน้าสุดของรถเป็นคานเหล็กขวางยาวจากล้อข้างหนึ่งไปยังล้ออีกข้างนึ่ง

206.ตำแหน่งในการขึ้นแม่แรง ในส่วนหลังของรถยนต์ ขึ้นใต้ชุดแหนบ จะขึ้นที่บริเวณแหนบรองรับน้ำหนักช่วงตรงกลาง หรือ ขึ้นใต้เฟืองท้าย ขึ้นตรงบริเวณตรงกลางของเฟืองท้าย หรือขึ้นใต้เสื้อเพลาข้าง จะอยู่เลยเฟืองท้ายออกมาใกล้กับแหนบรองรับน้ำหนัก

207.การถอดล้อเพื่อเปลี่ยนยางอะไหล่ กรณีที่ต้องการเปลี่ยนล้อ ต้องใส่เบรกมือเอาไว้ก่อนเพื่อกันรถลื่นไหล หรืออาจจะเข้าเกียร์ไว้ก็ได้ แล้วใช้ประแจขันล้อรถหรือกากบาทขันนอตให้หมด โดยในการขันนอตนั้นเมื่อถอดนอตตัวที่ 1 ออกแล้วตัวต่อไปต้องถอดนอตที่อยู่ตรงกันข้ามเสมอทำเช่นนี้จนครบทุกตัว จากนั้นหาตำแหน่งขึ้นแม่แรงที่ดูเหมาะสมและปลอดภัยที่สุด การขึ้นแม่แรงควรขึ้นอย่างช้า ๆ ให้แม่แรงยกล้อลอยพ้นพื้นประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อความสะดวกในการถอดและใส่ล้อใหม่เข้าไป ใส่ล้ออะไหล่ใหม่เข้าไปให้เรียบร้อยแล้วขันนอตคืนด้วยวิธีเดียวกับการถอด ปลดแม่แรงลงให้เรียบร้อยด้วยความนิ่มนวล ปลดเบรกมือลงหรือปลดเกียร์แล้วใช้งานต่อไป

208. ควรจะมีการตรวจเช็คอยู่เสมอเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่เพราะยางเป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก ทุกครั้งที่เช็คลมยางสิ่งที่ควรตรวจสอบควบคู่กันไปด้วยคือ การปูดบวมของดอกยางหรือแก้มยางถ้ามีการปูดบวมควรเปลี่ยนยางใหม่ รอยฉีก แยก แตกที่แก้มยาง ถ้าแก้มยางฉีกจนสามารถมองเห็นผ้าใบให้เปลี่ยนยางใหม่ถ้าพบการสึกหรอผิดปกติ ให้เช็คศูนย์ล้อและเปลี่ยนยางใหม่

209. ยางรถของท่านจะมีเครื่องหมายแสดงความสึกหรอติดกับดอกยาง เมื่อดอกยางสึกมากจนความลึกของดอกยางเหลือน้อยกว่า 1.6 มิลลิเมตร ท่านจะมองเห็นเครื่องหมายแสดงความสึกหรอปรากฏเป็นแถบกว้างประมาณ 12.7 มิลลิเมตร อยู่บนหน้ายางแสดงว่ายางสึกมาก การเกาะถนน หรือถนนที่เปียกยางจะมีประสิทธิภาพในการเกาะถนนน้อย ท่านควรจะเปลี่ยนยางใหม่

210. นอกจากการสูบลมยางอย่างถูกต้องแล้ว ศูนย์ล้อที่ถูกต้องก็จะช่วยลดการสึกหรอของยางได้เช่นกันท่านควรนำรถเข้าเช็คศูนย์ล้อทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร ยางรถของท่านได้รับการถ่วงมาจากโรงงานอย่างไรก็ตามท่านอาจจะต้องถ่วงยางใหม่เป็นครั้งคราวตามการใช้งาน ถ้ามีการถอดยางออกจากกระทะล้อเพื่อซ่อมจะต้องถ่วงยางใหม่เสมอ เมื่อท่านเปลี่ยนยางใหม่ก็จะต้องถ่วงยางด้วยเพื่อการขับขี่ที่นิ่มนวลและอายุการใช้งานที่ยาวนาน

211. การสับเปลี่ยนยาง ในการใช้รถไปนาน ๆ ยางจะเกิดการสึกหรอ ในการสึกหรอของยางแต่ละข้างนั้นจะไม่เท่ากันจึงต้องมีการสับเปลี่ยนยางเกิดขึ้นเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของยางให้ยาวนานขึ้นกว่าเดิม และควรมีการสับเปลี่ยนยางในทุก ๆ 6 เดือน หรือ 10,000 กิโลเมตรการสับเปลี่ยนยางมี 3 แบบคือ การใช้ยางอะไหล่ร่วมด้วย, การไม่ใช้ยางอะไหล่ และการเปลี่ยนยางครั้งละ 2 เส้น แทนการสลับยางบ่อย ๆ

212. ระบบการปัดน้ำฝนน้ำฉีดกระจกควรเติมให้เต็ม ถ้าจะให้ดีควรผสมน้ำยาโดยเฉพาะหรือแชมพูสระผมลงไปด้วยเล็กน้อย ถ้ารูหัวฉีดน้ำตันให้ใช้เข็มขนาดเล็กแหย่สวนทางเข้าไป ถ้าไม่ดีขึ้นก็ต้องเปลี่ยนตัวใหม่ หากปรับมุมฉีดน้ำได้ก็ต้องปรับให้เหมาะสม

213. ยางใบปัดน้ำฝน เป็นปัญหามากกว่าน้ำฉีดกระจกที่ดูแลได้ง่ายๆ ไม่แน่นอนว่ายางใบปัดจะหมดสภาพเมื่อผ่านไปนานเท่าไร ต้องขึ้นอยู่กับรถว่าจอดตากแดดแรงและบ่อยหรือไม่ รวมทั้งคุณภาพของตัวเนื้อยางใบปัดเองด้วย บางคันแค่ครึ่งปีก็เสื่อมสภาพลงไปมาก บางคันอยู่ได้ถึง 1 ปีหรือกว่านั้น แต่โดยเฉลี่ยทุก 1 ปีควรเปลี่ยนใหม่

214 .การใช้ไฟอย่างถูกต้อง เมื่อฝนตกหนัก ควรเปิดไฟหน้าแบบต่ำ เพราะถ้าเปิดไฟสูง สายฝนจะสะท้อนกลับมายังผู้ขับมากจนมองเส้นทางข้างหน้ายาก ไม่ควรเปิดไฟหรี่ เพราะการเปิดไฟหน้าแบบต่ำ แทบไม่ได้สิ้นเปลืองอะไรเลย ไดชาร์จ (อัลเตอร์เนเตอร์) แทบไม่ได้ทำงานหนักขึ้น หลอดไฟหน้าจะอายุสั้นลงก็ไม่ใช่ปัญหา หลอดละร้อยสองร้อยบาทเท่านั้น

215. เมื่อจะเปลี่ยนเลน ให้เปิดไฟเลี้ยวเตือนผู้อื่นล่วงหน้าตาม ขับรถลุยฝน ใช้ความเร็วต่ำกว่าความมั่นใจของตนเองเล็กน้อย อย่าชะล่าใจ ควรจับพวงมาลัย 2 มือในตำแหน่งที่แนะนำไว้ข้างต้น พร้อมจะลดความเร็วลงได้อย่างรวดเร็ว ระวังอาการเหินน้ำของยางไว้ทุกวินาที

216.. ถ้าไม่มีเอบีเอส การเบรกแรงๆ บนถนนลื่น ล้อมีโอกาสล็อกได้ง่าย ล้อที่ล็อกจะขาดการบังคับควบคุมทิศทางจากพวงมาลัย หรือทำให้รถปัดเป๋จนถึงขั้นหมุนคว้างได้ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่ากระแทกแป้นเบรกแรงๆ หากจำเป็นและรู้สึกว่าล้อล็อกแล้ว ควรละเบรกเล็กน้อยเพื่อให้ล้อคลายการล็อก ส่วนการขับรถที่มีเอบีเอสก็อย่าชะล่าใจ

217.หากรถเกิดการลื่นไถลขึ้นสิ่งที่คุณควรทำคือ อย่าตกใจ ยกเท้าออกจากคันเร่ง เหยียบเบรกเบา ๆ หมุนพวงมาลัยไปทิศทางเดียวกับหน้ารถจนกระทั่งคุณสามารถควบคุมรถได้

218.ถ้าคุณติดหล่ม อย่าเร่งเครื่อง การโม่บดอย่างแรงจะทำให้หลุมลึกขึ้น โรยกรวดทราย หรือขยะ (วัสดุที่เพิ่มการเสียดสีของล้อ) ด้านหน้าของยางทั้งหมดเพื่อรองรับการบด โดยเฉพาะล้อท้าย สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ยางยึดเกาะจนเคลื่อนออกจากหลุมได้ถ้าปฏิบัติตามวิธีทั้งหมดแล้ว แต่คุณยังไม่สามารถออกจากหลุมได้ ให้โทรขอความช่วยเหลือจากบริการปัญหารถเสีย

219 .วิธีป้องกันรถของคุณจากการถูกขโมย นำกุญแจรถติดมือไปด้วยเสมอ แม้ว่าคุณจะออกจากรถเพียงชั่วครู่ปิดกระจกรถทุกบานให้สนิท ล็อกประตูรถทุกครั้ง เมื่อจอดรถนอกบ้าน จอดรถในบริเวณที่สว่าง และถ้าเป็นไปได้ให้เลือกบริเวณทที่มีรถจอดจำนวนมาก อย่าเก็บทรัพย์สิน และของมีค่าไว้ในรถ เปิดสัญญาณกันขโมย ยอมลงทุนซื้อที่ล็อกล้อ ( มีขายตามร้านขายอุปกรณืรถทั่วไปราคาถูกมากเมื่อเทียบกับรถของคุณ) ติดตั้งตัวตัดน้ำมัน และใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้เมื่อคุณไม่อยู่ในรถ

220.เส้นทางที่ตั้งกล้องตรวจจับความเร็วอัตโนมัตินี้ มีอยู่หลายจุดทั่วประเทศ เส้นทางที่ตั้งกล้องตรวจจับความเร็วอัตโนมัตินี้ มีอยู่หลายจุดทั่วประเทศ ได้แก่

1. เส้นทางสายพหลโยธิน ช่วงรังสิต ถึง สระบุรี 2 จุด
2. เส้นทางสายมิตรภาพ ระหว่าง สระบุรี ถึง นครราชสีมา 2 จุด
3. เส้นทางสายมิตรภาพ ระหว่าง นครราชสีมา ถึง ขอนแก่น 2 จุด
4. เส้นทางสายเอเชีย ระหว่าง อยุธยา ถึง นครสวรรค์ 1 จุด
5. เส้นทางสายเอเชีย ระหว่าง นครสวรรค์ ถึง ตาก 1 จุด
6. เส้นทางสายเอเชีย ระหว่าง ตาก ถึง เชียงใหม่ 1 จุด
7. เส้นทางสายกรุงเทพ นครปฐม วังมะนาว 1 จุด
8. เส้นทางสายกรุงเทพ วังมะนาว 1 จุด
9. เส้นทางสายวังมะนาว ถึง หัวหิน 1 จุด
10. เส้นทางสายเพชรเกษม (เลี่ยงเมือง) ชะอำ ถึง ปราณบุรี 1 จุด
11. เส้นทางสายเพชรเกษม ประจวบคีรีขันธ์ ถึง ชุมพร 1 จุด
12. เส้นทางสายเพชรเกษม ชุมพรถึง สุราษฎร์ธานี 1 จุด
13. เส้นทางสายบางนา - ตราด ระหว่าง กรุงเทพ ถึง บางปะกง 1 จุด
14. เส้นทางสายสุขุมวิท ระหว่าง ชลบุรี ถึง พัทยา 1 จุด
15. เส้นทางสายมอเตอร์เวย์ ชลบุรี ถึง ระยอง 2 จุด
16. และเส้นทางสายสุขุมวิท ระหว่าง ระยอง ถึง จันทบุรี 1 จุด

221 . ข้อหา ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2537) ใช้รถไม่จดทะเบียน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

222. ใช้รถไม่เสียภาษีประจำปีภายในเขตกำหนด ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

223. ใช้รถไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

224. ใช้รถไม่มีแผ่นป้ายทะเบียน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

225.ใช้รถที่มีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ไม่ครบถ้วน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

226. เปลี่ยนแปลงสีของรถผิดจากที่จดทะเบียนไว้ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

227. เปลี่ยนปลงตัวรถหรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดจากไปที่ จดทะเบียน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

228. ขับรถยนตร์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม (รถป้ายแดง) ระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น เวลกลางคืนโดยไม่มีความจำเป็นและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

229. ขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตขับรถ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

230. ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับรถที่จะแสดงได้ทันที (เว้นแต่ผู้ฝึกหัดขับรถตาม) ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

231. ขับรถไม่มีสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถที่จะแสดง ได้ทันทีปรับไม่เกิน 1,000 บาท

232. ยินยอมให้ผู้ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถ เข้าขับรถของตนปรับไม่เกิน 2,000 บาท

233.รับจ้างรถบรรทุกคนโดยสาร โดยใช้รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกิน 7 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

234. ขับรถระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถปรับไม่เกิน 2,000 บาท

235. ใช้เครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถ อีกคันหนึ่ง ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

236.ประกอบการขนส่งประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

237. ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

238. ประกอบการขนส่งด้วยรถขนาดเล็กโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

239.ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

240. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

241. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดจำนวนรถที่ต้องการใช้ ใ น การประกอบการขนส่ง ตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบ การขนส่ง ปรับตามจำนวนรถที่ขาด คันละไม่เกิน5,000 บาท ต่อหนึ่งวัน จนกว่าปฏิบัติให้ถูกต้อง

242. เป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏ ประจำรถทุกคันปรับไม่เกิน 50,000 บาท

243. รถยนตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดท่อไอเสีย หม้อพัก และปลายท่อด้านท้ายมีขนาดใหญ่กว่าปรกติ ไม่มีความผิด แต่สำคัญอย่าให้เสียงดังเกินกว่าที่กม.กำหนดไว้ สำหรับรถยนต์ ไม่เกิน 100 เดซิเบล รถจักรยานยนต์ไม่เกิน 95 เดซิเบล

244.. กระจกมองข้าง การติดกระจกมองข้างอันเล็ก ไม่ผิดกฎหมาย สามารถติดได้ เหตุผลเพราะ พ.ร.บ.รถยนต์พ.ศ.2522 บัญญัติว่า รถยนต์ต้องมีและใช้เครื่องอุปกรณ์สำหรับรถดังต่อไปนี้

- เครื่องมองหลัง เป็นกระจกเงา ติดอยู่ในที่ที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นภาพการจราจรด้านข้างและด้านหลังได้ทุกขณะอย่างชัดเจน เนื่องจากไม่ได้กำหนดจำนวนหรือขนาดของเครื่องมองหลัง ดังนั้นจึงสามารถติดเพิ่มจากเดิมได้โดยไม่ผิดกม.

- กรณีเป็นรถจักรยานยนต์ กม.ก็บัญญัติไว้เช่นเดียวกัน

245. การใช้รถนั้น หากเป็นรถที่ซื้อต่อจากผู้อื่น (รถมือสอง) ผู้ที่ซื้อรถคันดังกล่าวมาหรือผู้ขับขี่รถ (จะเป็นเจ้าของรถหรือไม่ก็ตาม) จะต้องรับผิดชอบทั้งในเรื่องของการขับขี่รถและของตัว รถที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรตรวจพบว่าผิดกม. สรุปว่า การใช้รถมือสองหรือการยืมรถคนอื่นมาขับ หรือการเป็นลูกจ้างแล้วนายจ้างสั่งให้มาขับรถ เช่นไปส่งของหรือเป็นคนขับรถ หาสกพบว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งผิดกม. จะอ้างว่าไม่ใช้เจ้าของรถหรือเป็นรถซื้อต่อมา ย่อมไม่ได้ ยกเว้นจะมีกม.กำหนดไว้เป็นความผิดเฉพาะตัวเจ้าของ

246.รถโหลดเตี้ยหรือรถยกสูงไม่ผิดกม. เว้นแต่หากโหลดแล้ว มีผลต่อเนื่องไปทำให้ส่วนอื่นของรถผิดกม.ก็จะมีความผิดไปด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดคือ การโหลดเตี้ยทำให้ระดับของไฟหน้ารถผิดไปจากที่กม.กำหนดไว้ ได้แก่ รถยนต์ : ไฟหน้ารถถูกกำหนดให้สูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลาง ดวงโคมไม่น้อยกว่า 0.60 ม. แต่ไม่เกิน 1.35 ม. หากนำรถไปโหลดเตี้ยแล้ว ลองเอาไม้บรรทัดวัดดูว่าน้อยกว่า 0.60 ม.หรือไม่ หากน้อยกว่าก็ผิดกม.

247.. เรื่องไฟตัดหมอก ขณะนี้กม.เปิดโอกาส ให้รถที่ต้องการติดไฟตัดหมอก

1.สามารถติดได้ที่หน้ารถข้างละหนึ่งดวงอยู่ในระดับเด ียวกัน ใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลือง มีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 55 วัตต์ สูงจากพื้นทางราบไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพ่งไกล (ไฟสูง) และโคมไฟแสงพุ่งต่ำ (ไฟต่ำ) ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น ้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตรในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา

2. ไฟตัดหมอกจะเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างได้เฉพาะในทางที่จะ ขับรถผ่าน มีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรค อันอาจเกิดอันตรายในขณะขับรถ และเมื่อไม่มีรถอยู่ด้านหน้าหรือสวนมาในระยะของแสงไฟ ดังนั้น สรุปว่า

1. การติดไฟตัดหมอก มีเงื่อนไขตาม ข้อ 1
2. การใช้ไฟตัดหมอก ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม ข้อ 2

248. เรื่องการใส่ part รอบคัน รถตู้หรือรถอื่นที่ติดกันชนรอบคัน หากพิจารณาจากการติดตั้งแล้ว ไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้ อื่น เช่นไม่ติดยื่นยาวจนเกินไป หรือไม่มีลักษณะเป็นของแหลมคม เมื่อมีคนเดินผ่านรถไปเฉี่ยวถูก ทำให้ได้รับบาดเจ็บ ก็ยังไม่เป็นความผิด การติดเสาอากาศก็เช่นเดียวกัน การติดกันชนรอบคัน แม้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวรถ แต่ก็เสียเงิน และทำให้น้ำหนักรถเพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุ เปลืองน้ำมันรถเปล่าๆ กันชนเดิมก็มีอยู่แล้ว

249 เรื่อง การจับความเร็ว

1. ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับประเทศไทยนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน
1.1 ความเร็วตามที่กม.กำหนด ซึ่งเป็นกฎกระทรวงออกตามพ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ระบุไว้โดยสรุปดังนี้
- รถส่วนบุคคล รถเก๋ง รถแท็กซี่ รถปิคอัพขนาด 1 ตัน
-ใช้ความเร็วในกทม.หรือ เขตเทศบาล ได้ไม่เกิน 80 กม.ต่อชม.
-ใช้ความเร็วนอกเขตกทม.หรือนอกเขตเทศบาลใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กม.ต่อชม.
- ซึ่งความเร็วดังกล่าวข้างต้นรวมถึงบนทางด่วนทุกขั้น (ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร) ด้วย

250.1.2 ยกเว้นทางมอเตอร์เวย์ มีกม.ระบุไว้เป็นการเฉพาะให้วิ่งได้ไม่เกิน 120 กม.ต่อชม. เหตุที่เป็นเช่นนี้เข้าใจว่า เพราะมอเตอร์เวย์เป็นทางในระดับพื้นราบ ไม่มีทางโค้ง หรือจุดที่เกิดอันตรายมาก และส่วนใหญ่เป็นเส้นทางตรงๆ ไม่ค่อยมีทางร่วมหรือทางเชื่อม ทำให้รถสามารถใช้ความเร็วได้มากอย่างปลอดภัย แต่บนทางด่วน มีทางเชื่อม ทางขึ้นลง ทางแยก รวมทั้ง มีทางโค้ง โคงหักศอก เป็นทางยกระดับ ทางลาดชัน อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายหากใช้ความเร็วสูง ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นบ่อยๆ กรณีรถเกิดอุบัติเหตุแล้ว ตกลงจากทางด่วนลงมาพื้นราบ ทำให้คนไม่รู้เรื่องรู้ราวด้านล่างตายไปหลายกรณีแล้ว

251.1.3 กรณีการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ส่วนใหญ่จะบังคับใช้หรือเข้มวงดกับรถที่ขับรถเร็วจนผ ิด ปกคิ หรือใกล้จุดที่น่าจะเกิดอันตราย เช่น แหล่งชุมชน เป็นต้น และจะมีการใช้เครื่องเรดาห์ในการตรวจจับโดยเครื่องดั งกล่าวได้รับการรับรองความมาตรฐานจากกองทัพอากาศ เป็นระยะๆ เพื่อกันปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนทางด่วน จะมีการเรียกตรวจจับที่ความเร็วเกินกว่า 110 กม.ต่อชม. โดยผู้ขับขี่จะถูกเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่รถ และออกใบแทน ( ใบสั่ง) ให้รับไป ซึ่งกม.กำหนดอัตราโทษไว้ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนใหญ่พนักงานสอบสวนจะปรับ ไม่เกิน 500 บาท แต่จะถูกยึดใบขับขี่ตามมาตรการบันทึกคะแนน ไว้ 15 วัน หลังจากนั้นมารับใบขับขี่คืนได้โรงพักที่เราเสียค่าปรับ

252.นำรถที่ไม่มั่นคงแข็งแรงอาจเกิดอันตรายหรือทำให้เสื่อมเสีย สุขภาพอนามัย มาใช้ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

253 นำรถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนมาใช้ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 300 บาท

254. นำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่นควัน ละอองเคมี เกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดมาใช้ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 500 บาท

255 .นำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดเสียงเกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดมาใช้ ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 500 บาท

256. ขับรถในทางไม่เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างในเวลาที่มีแสง สว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวาง ในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะ 150 เมตร ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

257. ใช้สัญญาณไฟวับวาบผิดเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 300 บาท

258. ขับรถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถในทางเดิน รถไม่ติดธงสีแดง ไว้ตอนปลายสุดให้มองเห็นได้ภายใน ระยะ 150 เมตร ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 300 บาท

259 ขับรถบรรทุกวัตถุระเบิด หรือ วัตถุอันตรายไม่จัดให้มีป้าย แสดงถึงวัตถุ ที่บรรทุก จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขั้นต่ำปรับ 300 บาท

260. ขับรถไม่จัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุก ตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจาก รถอันอาจก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ ทำให้ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพ อนามัยแก่ประชาชนหรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือท รัพย์สิน ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

261 ขับรถไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏ ในทาง หรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ทราบ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 300 บาท

262 .ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 300 บาท

263. ไม่หยุดรถหลังเส้น ให้รถหยุดเมื่อมีสัญญาณไฟแดง ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 300 บาท

264. ขับรถไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ แสดงให้ปรากฏด้วยมือ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 300 บาท

265. ไม่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด หรือหยุดรถห่างจากพนักงานเจ้าหน้าที่น้อยกว่าสามเมตร ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 300 บาท

266. ทำให้ปรากฏซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่อธิบดีกำหนดในทางเดินรถโดยไม่มีอำนาจ จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

267 ไม่ขับรถที่มีความเร็วช้าให้ใกล้ขอบทางด้านซ้ายในทาง เดินรถที่มีสวนกันได้ ปรับตั้งแต่ 200-500บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

268.ไม่ขับรถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสารรถจักรยานยนต์ที่มีความเร็วช้าในช่อ งเดินรถซ้ายสุด ในทางเดินรถที่แบ่งช่องเดินรถไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ปรับตั้งแต่ 400-1,000บาท

269. เลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องเดินรถโดยไม่ให้สัญญาณ ปรับตั้งแต่ 400-1,000บาท ขั้นต่ำปรับ 400 บาท

270. ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ปรับไม่เกิน 2,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

271. ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 2,000 –10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

272. ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร ปรับตั้งแต่ 400 –1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 400 บาท

273. ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร (เว้นแต่รถเข็น สำหรับทารก คนป่วย หรือคนพิการ) ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 400 บาท

274. ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายมือโดยไม่มีเหตุอันสมควร ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 400 บาท 275. ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นขณะขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง ซึ่งไม่มีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้ ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 400 บาท

276. ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางแยก ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 400 บาท

277.ขับรถออกจากที่จอดเมื่อมีรถจอดหรือสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าโดยไม่ให้สัญญาณมือหรือแขน หรือสัญญาณไฟ ปรับไม่เกิน1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 400 บาท

278. กลับรถในทางเดินรถกีดขวางการจราจร ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

279. กลับรถในระยะ 100 เมตร จากเชิงสะพาน ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 400 บาท

280. กลับรถที่ทางร่วมทางแยก(เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจร ให้กลับรถได้) ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 400 บาท

281. หยุดรถหรือจอดรถในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรที่อธิบดีกำหนดในทางเดินรถโดยไม่มีอำนาจ ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

282. ไม่จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

283. จอดรถไม่ขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างเกินก ว่า 25 ซม. ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

284. หยุดรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุผลสมควร ปรับไม่เกิน 500 บาทขั้นต่ำปรับ 200 บาท

285. หยุดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคาร หรือทางเดินรถโดยไม่มีเหตุผลสมควร ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

286. จอดรถบนทางเท้า ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

287 จอดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์ ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

288. จอดรถในทางร่วมทางแยก หรือภายในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

289. จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายห้ามจอด ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

290. จอดรถภายในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไ ปอีก 3 เมตร ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

291. จอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

292. ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งเครื่องมือบังคับ รถ มิให้เคลื่อนย้าย จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือ ปรับไม่เกิน 5,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

293. จอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางโดยไม่เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างเพียงพอ ที่จะเห็นรถที่จอดนั้นได้ชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ปรับตั้งแต่ 200 - 500บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

294. ขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด ปรับตั้งแต่ 200 - 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 400 บาท

295. ไม่ยอมให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน เมื่อขับรถถึงทางร่วมทาง แยกทีหลัง ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

296. ขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น แล้วไม่หยุดช่วยเหลือแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้ เคียง ทันที. จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 2,000 –10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

297. ขับรถแท็กซี่ปฏิเสธไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร (เว้นแต่ กรณีจะเกิดอันตรายแก่ตนหรือแก่คนโดยสาร) ปรับไม่เกิน 1,000 บาทขั้นต่ำปรับ 300 บาท

298.ไม่เดินบนทางเท้าหรือไหล่ทางเมื่อทางนั้น มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 200 บาท ขั้นต่ำปรับ 100 บาท

299.เดินข้ามทางนอกทางข้าม เมื่อมีทางข้ามอยู่ภายในระยะ100 เมตร ปรับไม่เกิน 200 บาท ขั้นต่ำปรับ 100 บาท

300. ขี่ จูงไล่ต้อนหรือปล่อยสัตว์ไปบนทาง ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร และไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณคับ ที่ให้คำแนะนำ