29 ม.ค. 2552

สุดยอดแห่งการรวบรวมความรู้รถยนต์ (4)

301. วาง ตั้ง ยื่น หรือ แขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร โดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

302. ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย (มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช ผู้นับถือลัทธิศาสนาที่ใช้ผ้าโพกศรีษะตามประเพณีนิยม ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

303 โดยสารรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย (มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช ผู้นับถือลัทธิศาสนาที่ใช้ผ้าโพกศีรษะตามประเพณีนิยม ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

304 ยินยอมให้ผู้อื่นนั่งตอนหน้าแถวเดียวกับคนขับเกิน 2 คน ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

305 เป็นผู้ขับรถโดยสารประจำทาง รถบรรทุกคนโดยสารรถโรงเรียน รถแท็กซี่ ยินยอมให้ผู้โดยสารขึ้นหรือลง รถยนต์ในขณะที่รถหยุดเพื่อรอสัญญาณไฟ หรือหยุดเพราะติดการจราจร ปรับไม่เกิน 500 บาท ขั้นต่ำปรับ 200 บาท

306. ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ในระยะ ไม่ถึง50 เมตร ปรับไม่เกิน 1,000 บาทขั้นต่ำปรับ 300 บาท

307 กระทำด้วยประการใด ๆ บนทางอันเป็นการกีดขวางของการจราจร ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 300 บาท

308. ฝ่าฝืนคำสั่งข้อบังคับหรือระเบียบของเจ้าพนักงานจราจ รซึ่งสั่งหรือ ประกาศ ห้าม หยุดหรือ จอด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขั้นต่ำปรับ 300 บาท

309 .มารยาทในการขับรถ การใช้ถนนร่วมกัน นอกจากกฎหมายราชการแล้ว ยังควรมีมารยาทและความเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อให้มีทั้งความราบรื่นและความปลอดภัยในการเดินทางผู้ขับรถยนต์ไทยกับมารยาทในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันยังมีไม่มากนัก หากไม่หันมาสนใจและรณรงค์ร่วมกัน การรักษามารยาทก็คงจะถดถอยลงเรื่อยๆ

310.. ข้ า ม สี่ แ ย ก - ต ร ง ไ ป ไ ม่ ค ว ร เ ปิ ด ไ ฟ ฉุ ก เ ฉิ น การข้ามสี่แยกแล้วต้องการตรงไป พร้อมกับเปิดไฟฉุกเฉินกะพริบสี่มุม เป็นวิธีที่ผิด ! อันตราย ! และแพร่หลายกันอยู่ไม่น้อยเหตุผลที่ไม่ควรเปิดไฟฉุกเ ฉินในกรณีนี้ เพราะผู้ขับรถยนต์ที่มาด้านซ้าย-ขวา จะเห็นไฟกะพริบด้านหน้าเพียงมุมเดียว เสมือนเป็นการเปิดไฟเลี้ยว โดยไม่ทราบเลยว่าเป็นการเปิดไฟฉุกเฉินกะพริบพร้อมกัน วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องและปลอดภัย คือ เบรกชะลอความเร็วลง มองซ้าย-ขวา เมื่อเส้นทางว่างพอ ก็ตรงไปด้วยความเร็วที่เหมาะสม โดยไม่ต้องเปิดสัญญาณไฟใดๆ ใช้สมาธิและเวลามองรถยนต์ คันอื่น ปลอดภัยกว่าเสียสมาธิและเวลาเปิด-ปิดสวิตช์ไฟฉุกเฉิน

311. ฝ น ต ก ห นั ก ไ ม่ ค ว ร เ ปิ ด ไ ฟ ฉุ ก เ ฉิ น นับเป็นความหวังดี แต่อาจให้ผลร้าย ที่เกรงว่าผู้ร่วมทางจะไม่สามารถมองเห็นรถยนต์ของตนเมื่อฝนตกหนักในความเป็นจริง ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน เพราะจะแยงสายตา และหากมีรถยนต์บางคันบังรถยนต์คันที่เปิดไฟฉุกเฉิน ผู้ขับรถยนต์คันอื่นๆ อาจเข้าใจผิดว่าเป็นการเปิดไฟเลี้ยวเฉพาะมุมที่เขา

312. ส ป อ ต ไ ล ต์ / ไ ฟ ตั ด ห ม อ ก เ ปิ ด เ มื่ อ จำ เ ป็ น มีทั้งติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานและติดตั้งเพิ่มเอง ตำแหน่งอยู่ตรงด้านล่างของกันชนหน้า 2 ดวง/1 คันรถยนต์บางรุ่นออกแบบให้ใช้เป็นไฟตัดหมอก ซึ่งก็ควรใช้เมื่อมีหมอกตามชื่อเรียกมีการใช้สปอตไลต์/ไฟตัดหมอกที่ผิดมารยาท สร้างความรำคาญ และเริ่มแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ จนอาจลดความปลอดภัยแก่ผู้ร่วมทาง การติดตั้งสปอตไลต์เพิ่มเติมเองผิดกฎหมาย ทั้งมีการเปิดใช้และไม่ได้เปิด จะไม่ผิดกฎหมายก็ต่อเมื่อมีฝาครอบปิด และไม่ได้เปิดใช้บนเส้นทางเรียบปกติ

313. ถ้ า มี ไ ฟ ตั ด ห ม อ ก ห ลั ง ค ว ร เ ปิ ด เ มื่ อ ห ม อ ก ล ง ห รื อ ฝ น ต ก ห นั ก เ ท่ า นั้ น รถยนต์บางรุ่นมีสวิตช์พิเศษสำหรับไฟตัดหมอกด้านหลัง คือ ไฟท้ายสีแดงเพิ่มขึ้นอีกข้างละดวง และมีความสว่างมากกว่า ไฟท้ายปกติมาก เพื่อใช้เตือนผู้ขับรถยนต์คันที่ตามมาเมื่อหมอกลง ฝนหรือหิมะตกหนัก หากเปิดใช้ไฟตัดหมอกหลังสีแดงแสนสว่างในยามทัศนวิสัย ปกติแบบในไทย แสงสว่างที่เพิ่มขึ้นมาจะแยงตาผู้ร่วมทางมาก จึงไม่ควรเปิดใช้ในการใช้รถใช้ถนนปกติ และไม่ควรหลงลืมเปิดโดยไม่จำเป็น

314. ก ะ พ ริ บ ไ ฟ สู ง ข อ ท า ง ห รื อ เ ตื อ น บ้างเรียกศัพท์สแลงกันว่า ดิฟไฟสูง คนไทยมักใช้เพื่อเตือนไม่ให้รถยนต์ทางโทตัดเข้ามาหาทางเอกหรือทางตรงทั้งที่ในบางประเทศใช้การกะพริบไฟสูง เมื่อต้องการให้ทาง เพราะแสดงว่าเห็นแล้วและให้ทางไปได้ ในขณะที่คนไทยใช้เพื่อบอกว่า เห็นแล้วว่ากำลังจะตัดทางเข้ามา แต่ไม่ให้เข้ามา กรณีนี้กฏหมายไทยไม่มีกำหนดว่าให้ใช้การกะพริบไฟสูงเ พื่อจุดประสงค์ใด อาจเพราะไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นสากลได้ จึงยังคงใช้กันในสไตล์คนไทยได้ แต่ก็มีผู้ที่ใช้เพื่อต้องการให้ทาง ซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่า เพราะต้องเห็นก่อนจึงจะสามารถกะพริบไฟบอกได้คงต้องปล่อยวางและใช้กันไปตามกระแส

315.. จ อ ด ใ น พื้ น ที่ ห้ า ม จ อ ด แ ล้ ว เ ปิ ด ไ ฟ ฉุ ก เ ฉิ น นับเป็นการเอาเปรียบสังคมอย่างหนึ่ง แม้จะเป็นการจอดชั่วคราวก็ตาม เพราะการเปิดไฟฉุกเฉิน แม้จะแสดงว่าจอด แต่ถ้าไม่ใช่เวลาและพื้นที่ซึ่งควรจอดก็ไม่ควรปฏิบัติ อีกทั้งยังผิดกฏจราจรอีกด้วย การเปิดไฟฉุกเฉินจอดในพื้นที่ห้ามจอด ไม่สามารถป้องกันการออกใบสั่งได้

316.. เ ป ลี่ ย น เ ล น - แ ซ ง - ขึ้ น ท า ง ต ร ง แ ล้ ว ค ว ร เ ร่ ง ค ว า ม เ ร็ ว เ พิ่ ม การขึ้นทางตรงจากซอยหรือทางโท รวมถึงการเปลี่ยนเลน ควรกระทำเมื่อเส้นทางว่างพอ เมื่อเข้าเลนที่ต้องการได้แล้ว บางคนไม่สนใจมารยาทต่อผู้ขับรถยนต์คันที่ตามมา เพราะคิดแต่เพียงว่า ถ้าถูกชนด้านท้ายแล้วจะไม่ผิด เนื่องจากเข้าสู่เส้นทางได้เต็มคันแล้วในทางมารยาท เมื่อเข้าสู่เส้นทางได้เต็มคันแล้ว ควรเร่งความเร็วเพิ่มไล่รถยนต์คันหน้าในระยะที่เหมาะ สมให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องสนใจว่ารถยนต์คันหลังห่างแค่ไหน เพื่อมารยาท ผู้ขับรถยนต์คันหลังจะได้ไม่ต้องเบรกจนตัวโก่ง และไม่เสี่ยงต่อการเสียโฉมของบั้นท้ายรถยนต์ของตน

317. ก า ร เ บ ร ก ต้ อ ง ส น ใ จ ร ถ ย น ต์ ที่ ต า ม ม า ด้ ว ย ไม่ใช่เฉพาะเป็นการรักษามารยาท แต่เป็นการเพิ่มความปลอดภัยของตนเองด้วยการเบรก ดูเหมือนผู้ขับส่วนใหญ่จะมองแต่เพียงเป็นการลดความเร็วเมื่อมีสิ่งกีดขวางด้านหน้า โดยไม่ค่อยสนใจมารยาทและความปลอดภัยของผู้ขับรถยนต์คันที่ตามมาถ้ามีโอกาสและเวลาพอ ก่อนการเบรกควรเหลือบ มองกระจกมองหลัง เพื่อจะได้ตัดสินใจกดแป้นเบรกด้วยน้ำหนักและจังหวะที่เหมาะสมเพื่อมารยาท ผู้ขับรถยนต์คันหลัง ไม่ต้องเบรกจนตัวโก่ง และไม่เสี่ยงต่อการเสียโฉมของบั้นท้ายรถยนต์ของตน นอกจากนั้น การแตะเบรกโดยไม่จำเป็นก็ถือว่าเสียมารยาทบ้างเล็กน้ อย เพราะไฟเบรกจะสว่าง ทำให้ผู้ขับรถยนต์คันตามมาชะงัก แต่ก็อย่ากังวลมากจนแตะเบรกช้าเพราะอาจเป็นอันตราย การเบรกมิใช่ต้องสนใจแต่เพียงด้านหน้าเท่านั้น ด้านหลังก็ต้องสนใจทั้งความปลอดภัยและมารยาท

318. ก้ ม ศี ร ษ ะ ข อ บ คุ ณ ลื ม ไ ป แ ล้ ว ห รื อ ? ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้ขับมีการก้มหัวขอบคุณเมื่อได้รับการให้ทาง แต่ในระยะหลังมานี้เริ่มมีการหลงลืมไปบ้างโดยอาจเป็น เพราะการรักษาศักดิ์ศรีแบบแปลกๆ เช่น ผู้ขับรถยนต์หรูราคาแพง มักไม่ยอมขอบคุณผู้ขับรถยนต์ราคาถูกที่ให้ทาง หรือผู้ชายมักไม่ยอมขอบคุณผู้หญิง ฯลฯน่าชื่นชมมาก เมื่อมีผู้ขอบคุณ ให้เมื่อได้รับการให้ทาง หากกลัวจะเสียศักดิ์ศรีแบบแปลกๆ ไม่อยากก้มศีรษะให้ ก็สามารถใช้วิธียกแขน พร้อมแบฝ่ามือครบทั้ง 5 นิ้ว (เน้นครบ 5 นิ้ว เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด) ซึ่งยังดีกว่าการเพิกเฉย การขอบคุณในสิ่งที่สมควร ไม่ใช่เรื่องเสียศักดิ์ศรีแต่อย่างใด

319. ไ ฟ เ ห ลื อ ง ค ว ร เ ร่ ง ห นี ห รื อ เ บ ร ก ? ตามหลักการที่ถูกต้องอันเป็นสากล แต่ไม่ค่อยมีการปฏิบัติ คือ ต้องเบรกและจอดเมื่อเห็นไฟเหลืองก่อนไฟแดงผู้ขับรถยนต์ไทยส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่เมื่อเห็นไฟเหลือง คือ ไฟเตือนให้เร่งหนีการติดไฟแดง ซึ่งไม่ถูกต้องนัก เพราะการที่ไฟเหลืองสว่างขึ้นก่อนจังหวะไฟแดง ตามหลักการจริงเป็นการเตือนเพื่อให้ผู้ขับชะลอความเร็วและจอด ในเมื่อวิถีการขับรถยนต์ของคนไทยส่วนใหญ่ เมื่อเห็นไฟเหลือง คือ ไฟเตือนให้เร่งหนีการติดไฟแดง ก็คงหลีกหนีไม่พ้น และยากที่จะให้ชะลอความเร็วลงและเบรกเมื่อเห็นไฟเหลืองสว่างขึ้นก่อนจังหวะไฟแดง ถ้าอยากจอดเมื่อเห็นไฟเหลืองแล้วเบรกเพื่อจอด ก็นับเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องระวังเรื่องความปลอดภัยจากการถูกชนท้าย เพราะคนไทยส่วนใหญ่ เมื่อเห็นไฟเหลืองจะเข้าใจกันว่าเป็นการเตือนให้เร่ง หนีการติดไฟแดงหากต้องการฝืนสังคม (ทั้งที่ไม่ผิด) ควรเหลือบมองกระจกมองหลัง เพื่อจะได้ตัดสินใจกดแป้นเบรกด้วยน้ำหนักและจังหวะที ่เหมาะสม เพื่อมารยาท ผู้ขับรถยนต์คันหลังไม่ต้องเบรกจนตัวโก่ง

320. ไ ฟ เ ลี้ ย ว ต้ อ ง เ ปิ ด - ปิ ด อ ย่ า ง เ ห ม า ะ ส ม นับเป็นเรื่องพื้นฐานที่ถูกมองข้าม การเปิดไฟเลี้ยวเป็นเรื่องจำเป็น เพราะกฎหมายกำหนดให้มีการเตือนผู้ร่วมทางล่วงหน้าตาม ระยะที่เหมาะสมควรเปิดไฟเลี้ยวเมื่อเตรียมเปลี่ยนเลน หรือเลี้ยวล่วงหน้าพอสมควร และไม่ควรเปิดค้างลืมทิ้งไว้

321. ชิ ด ซ้ า ย เ ส ม อ บนถนนหลายเลนมักมีการเตือนว่า -ขับช้า ชิดซ้าย- ซึ่งไม่ค่อยตรงกับหลักการขับปลอดภัยและมารยาทในการใช ้ถนนนักเพราะจะมีรถยนต์แล่นอยู่เลนขวาตลอด โดยคิดว่าความเร็วที่ใช้ในขณะนั้นถือว่าเร็วแล้ว ซึ่งอาจเป็นเพราะกฎหมายไทยกำหนดให้ใช้ความเร็วสูงสุด ไม่เกิน 80-90 กิโลเมตร/ชั่วโมง เมื่อใช้ความเร็วเกินขึ้นไปแล้ว ก็มักคิดไปเองว่าเร็วพออยู่แล้ว จึงสามารถแล่นชิดขวาได้ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง รักษามารยาท และปลอดภัยในการใช้เลนขวา คือ -แซงแล้วชิดซ้าย- ไม่ว่าจะใช้ความเร็วสูงเท่าไรก็ตาม เร็วแล้วแต่ยังมีเร็วกว่าได้ ถึงจะผิดกฎหมายในการใช้ความเร็วสูง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ... มารยาทในการขับรถยนต์ เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ทั้งเพื่อตัวเองและผู้ร่วมทาง

322 . รถชน-ทำอย่างไรดี อุบัติเหตุบนท้องถนน มีให้เห็นได้เสมอทุกวัน เมื่อเกิดเหตุการณ์ก็มักจะตกใจจนไม่มีสติไม่รู้จะทำอย่างไรดี ที่สำคัญอุบัติเหตุบนท้องถนนยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทยด้วย แต่เมื่อห้ามกันไม่ได้หากจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น ตัวคุณไม่ว่าจะเป็นผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือผู้พบเห็นเหตุการณ์ก็ตาม

323. ถ้าเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์ ควรช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ ตามสมควรและเราจะต้องแสดงตัวเป็นพลเมืองดีโดยยินดีที่จะเป็นพยานในคดีให้ สมมุติว่าเราเห็นคนคันหนึ่งชนคนแล้วหนีสิ่งที่เราควรทำก็คือพยายามจดจำทะเบียนรถ ชื่อยี่ห้อ สีรถแล้วรีบแจ้งตำรวจทราบ เพื่อติดตามจับกุมต่อไป มีบางคนถึงกับขับรถตามไปคนประเภทนี้ควรได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดีต่อสังคม

324. ถ้าท่านเป็นคนเจ็บเพราะรถชน สิ่งแรกที่ควรทำก็คือท่านต้องร้องให้คนอื่นช่วย ถ้าท่านยังมีสติอยู่ เพราะว่าคนที่มามุงดูอาจจะไม่ทราบว่าท่านบาดเจ็บร้ายแรงเพียงใดหากท่านยังสามารถพูดได้ก็ขอให้บอกว่าเจ็บที่ตรงส่วนใดเพื่อจะได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ส่วนเรื่องคดีนั้นเอาไว้พิจารณาทีหลัง หากเราบาดเจ็บเล็กน้อยและไม่มีพยานในที่เกิดเหตุเราควรจดทะเบียนรถไว้ เผื่อไปเรียกร้องค่าเสียหายที่หลัง

325. ถ้าท่านเป็นผู้ขับ กรณีนี้อย่าหนีเป็นอันขาดเพราะความผิดฐานขับรถประมาทนั้นไม่ใช่เรื่องเจตนา ผู้กระทำผิดไม่ใช่อาชญากร โทษก็ไม่มากมายอะไรควรจะอยู่เพื่อต่อสู้กับความจริง มิฉะนั้นท่านจะต้องหลบหนีนานถึง 15 ปี ถ้าท่านขับรถชนคนเสียชีวิต แต่ถ้าท่านมอบตัวสู้คดีบางทีท่านก็ไม่มีความผิด หรือมีความผิดศาลก็ปรานีลดโทษให้ ถ้าท่านมีน้ำใจ หน้าที่ของคนขับรถเมื่อเกิดรถชนกันนั้น กฎหมายกำหนดดังนี้

- ต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร เช่น ขับรถชนคนก็ต้องหยุดรถช่วยเหลือคนที่ถูกชน นำส่งโรงพยาบาล

- ต้องไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที คือต้องรีบแจ้งตำรวจใกล้เคียงทันที แต่ต้องบอกด้วยว่าเราเป็นคนขับรถอะไร

- แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่หมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้เสียหาย

- ถ้าเป็นผู้ขับขี่ที่หลบหนีหรือไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กฎหมายให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำผิดและตำรวจมีอำนาจยึดรถไว้จนกว่าจะได้ตัวผู้ขับขี่หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สิ้นสุด

- ถ้าคนขับคนใดไม่ปฏิบัติตามกฎข้อ 1, 2 และ 3 แล้วจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่ถ้าคนที่ถูกชนบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตต้องจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท

326. ถ้ารถท่านมีประกันก็ต้องรีบแจ้งต่อบริษัทประกันทันที เพราะบริษัทประกันจะมีเจ้าหน้าที่มาตามที่เกิดเหตุ พร้อมกับทำแผนที่เกิดเหตุไว้พร้อมเพื่อเอาไว้สู้คดี

327. ถ้ามีกล้องถ่ายรูปต้องรีบถ่ายรูปรถไว้ทันที นอกจากนี้ยังต้องถ่ายรายละเอียดต่างๆไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่เกิดเหตุ ความเสียหายตามจุดต่างๆของรถ รวมถึงรถของคู่กรณี หรือหากว่ามีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุก็ให้ขอรูปจากมูลนิธิที่ทำการเก็บภาพไว้เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีในภายหลัง 328. ควรช่วยเหลือคนเจ็บ หรือค่าทำศพของผู้เสียชีวิต เรื่องนี้สำคัญมากๆคนขับรถมักไม่ค่อยเห็นประโยชน์ ของการช่วยเหลือเหล่านี้ความจริงเมื่อคุณขับรถชนคนเสียชีวิต หรือบาดเจ็บหรือ

329.ขับรถโดยประมาทนั้นมีโทษทางอาญา

- ทางอาญา คุณอาจจะต้องรับโทษจำคุก
- ทางแพ่ง คุณจะต้องชดเชยค่าเสียหายค่าบาดเจ็บ ค่าทำศพให้กับคู่กรณี

330. หากคุณช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ไม่ชนแล้วหนี ต่อมาเมื่อเรื่องถึงศาล ศาลก็จะเห็นถึงความมีน้ำใจของคุณก็อาจจะรอลงอาญาให้เราโดยไม่จำคุกเรา

331.แต่ในทางตรงกันข้ามเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ถ้าคุณหนีศาลมักจะให้จำคุกเลยเพราะเห็นว่าคุณเป็นคนแล้งน้ำใจ การตกลงใช้ค่าเสียหายให้คนเจ็บก็มีประโยชน์มาก

332.เรื่องการรันอินรถใหม่ที่ระยะ100 กิโลเมตรแรก ออกตัวนิ่มนวลที่สุดค่อยๆปล่อยคลัทช์และกดคันเร่งเบาๆให้รอบค่อยๆสูงขึ้นทีละน้อยให้รถค่อยๆเคลื่อนตัวออกไป ถ้าเป็นเกียร์ออโต้ก็ค่อยๆปล่อยเบรคจนสุดรถก็จะเคลื่อนตัวออกไปเองอย่างช้าๆแล้วค่อยมาแตะคันเร่งกดลงเบาๆเช่นกัน ควบคุมรอบเครื่องไม่ให้เกิน 2,000รอบ เปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นทันทีที่2,000 รอบ และลดเกียร์ต่ำลงทันทีที่ 1,200รอบ ถ้าเป็นเกียร์ออโต้ก็จะปล่อยให้มันทำงานเองแต่จะควบคุมความเร็วไม่ให้เกิน 60 กม/ชม.และจะใช้โอเวอร์ไดรว์ทันทีที่ความเร็วถึง 60กม/ชม. เปลี่ยนเกียร์และรอบเครื่องหรือความเร็วมากหรือบ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้โดยไม่แช่หรือนิ่งไว้ที่รอบหรือความเร็วใดๆโดยการกดหรือผ่อนคันเร่งช้าๆอย่างนิ่มนวลเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเอนจิ้นเบรก ควบคุมความเร็วสูงสุดไม่ให้เกิน 60กม./ชม. หลีกเลี่ยงการเหยียบเบรคอย่างรุนแรง(ยกเว้นฉุกเฉิน)ยังไงเราก็ขับช้าอยู่แล้วสามารถที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าและวางแผนการแตะเบรคได้อย่างนิ่มโดยไม่ยากนัก แต่ถ้าสามารถหาถนนโล่งๆได้ก็จะชิดซ้ายและแตะเบรคเป็นระยะๆเพื่อลดความเร็วและจะได้เปลี่ยนเกียร์-ความเร็ว-รอบเครื่องบ่อยๆได้อีกด้วย

333.. ที่ระยะ101-500 กิโลเมตร การปฏิบัติยังเป็นแบบเดิมทุกประการเพียงแต่จะลดความถี่ในการกระทำลงไปเช่นการเปลี่ยนเกียร์-รอบ-ความเร็วจากที่เคยทำอยู่ตลอดเวลาก็อาจจะลดเหลือซัก 5-10นาทีครั้ง เพิ่มการควบคุมรอบสูงขึ้นจาก 2,000รอบเป็นไม่เกิน 2,500รอบ (รอบต่ำลดเกียร์ราว1,500-1,200รอบ) เพิ่มการควบคุมความเร็วสูงสุดขึ้นจากไม่เกิน 60 กม/ชม.เป็นไม่เกิน 80 กม/ชม. เมื่อถึงระยะ 500กิโลเมตร ทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรองและน้ำมันเกียร์พร้อมกรอง(ถ้ามี)

334.. ที่ระยะ501-1,000 กิโลเมตร การปฏิบัติยังเป็นแบบเดิมทุกประการเพียงแต่จะลดความถี่ในการกระทำลงไปเช่นการเปลี่ยนเกียร์-รอบ-ความเร็วจากที่เคยทำอยู่จากข้อ332 ราว 5-10นาทีครั้งก็อาจจะลดเหลือซัก 10-15นาทีครั้ง เพิ่มการควบคุมรอบสูงขึ้นจาก 2,500รอบเป็นไม่เกิน 3,000รอบ เพิ่มการควบคุมความเร็วสูงสุดขึ้นจากไม่เกิน 80 กม/ชม.เป็นไม่เกิน 100 กม/ชม. เมื่อถึงระยะ 1,000กิโลเมตร ทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรอง-น้ำมันเบรค-น้ำมันคลัทช์(ถ้ามี)-น้ำมันเฟืองท้าย(ถ้ามี)-น้ำมันพวงมาลัย(ถ้ามี)

335.. ที่ระยะ1,001-1,500 กิโลเมตร การปฏิบัติยังเป็นแบบเดิมทุกประการเพียงแต่จะลดความถี่ในการกระทำลงไปเช่นการเปลี่ยนเกียร์-รอบ-ความเร็วจากที่เคยทำอยู่จากข้อ333 ราว 10-15นาทีครั้งก็อาจจะลดเหลือซักไม่เกิน 30นาทีครั้ง(รวมไปถึงการแช่รอบ-และความเร็วหรือการเดินทางไกลด้วย) เพิ่มการควบคุมรอบสูงขึ้นจากไม่เกิน 3,000รอบเป็นไม่เกิน 3,500รอบ(รอบต่ำลดเกียร์ราว 1,500-1,200รอบ) เพิ่มการควบคุมความเร็วสูงสุดขึ้นจากไม่เกิน 100 กม/ชม .เป็นไม่เกิน 120 กม/ชม.

336.. ที่ระยะ1,501-3,000 กิโลเมตร ขับขี่ตามปกติตามสะดวกแต่ก็ควรรักษาการปฏิบัติแบบเดิมในเรื่องความนุ่มนวลของการออกตัว-การเร่ง เพิ่มการควบคุมรอบสูงขึ้นจาก 3,500รอบเป็นไม่เกิน 4,000รอบ เพิ่มการควบคุมความเร็วสูงสุดขึ้นจากไม่เกิน 120 กม/ชม. เป็นไม่เกิน 140 กม/ชม. เมื่อถึงระยะ 3,000กิโลเมตรหรือไม่เกิน3 เดือนทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรอง

337. ที่ระยะ3,001-5,000 กิโลเมตร ขับขี่ตามปกติตามสะดวกแต่ก็ควรรักษาการปฏิบัติแบบเดิมในเรื่องความนุ่มนวลของการออกตัว-การเร่ง-การเบรค เพิ่มการควบคุมรอบสูงขึ้นจาก 4,000รอบเป็นไม่เกิน 4,500รอบ เพิ่มการควบคุมความเร็วสูงสุดขึ้นจากไม่เกิน 140 กม/ชม.เป็นไม่เกิน 160 กม/ชม. มื่อถึงระยะ 5,000กิโลเมตรหรือนานสุดไม่ควรเกิน6 เดือนทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรอง

338. ที่ระยะ5,001-10,000 กิโลเมตร ขับขี่ตามปกติตามสะดวก ไม่จำกัดรอบเครื่องสูงสุดเอาแค่ไม่เกินขีดแดงก็พอ รอบต่ำลดเกียร์ก็ตามสะดวก ไม่จำกัดความเร็วสูงสุดจะเอาแบบสุดเข็มไมล์หรือสุดคันเร่งก็ไม่ว่ากัน เมื่อถึงระยะ 10,000กิโลเมตรหรือนานสุดไม่ควรเกิน12 เดือนทำการเปลี่ยนของเหลวที่มีในรถทั้งหมดทั้งน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรอง-น้ำมันเกียร์(พร้อมกรอง)-น้ำมันคลัทช์(ถ้ามี)-น้ำมันเฟืองท้าย(ถ้ามี)-น้ำมันเบรค-น้ำหล่อเย็น-น้ำมันพวงมาลัย(ถ้ามี)

339. เกิน 10,000 กิโลเมตรขึ้นไป .ใช้งานตามปกติ
-เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรองทุกๆ 10,000 กิโลเมตรหรือทุกๆ 6 เดือน
- เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์(ธรรมดา)พร้อมไส้กรอง(ถ้ามี)ทุกๆ 40,000 กิโลเมตรหรือทุกๆ 2 ปี
- เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์(ออโต้)พร้อมไส้กรอง(ถ้ามี)ทุกๆ 20,000 กิโลเมตรหรือทุกๆ 1 ปี
- เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรค-น้ำหล่อเย็นและน้ำมันคลัทช์(ถ้ามี)ทุกๆ 40,000 กิโลเมตรหรือทุกๆ 2 ปี
-เปลี่ยนถ่ายน้ำมันพวงมาลัย(ถ้ามี)ทุกๆ 60,000 กิโลเมตรหรือทุกๆ 4 ปี
- เปลี่ยนหัวเทียน(ถ้ามี)-กรองอากาศและกรองเชื้อเพลิงทุกๆ40,000 กิโลเมตรหรือทุกๆ 2 ปี
-เปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกๆ 2ปี
- เปลี่ยนสายพานทุกเส้นพร้อมตัวตั้งความตึง(ถ้ามี)ทุกๆ 4ปีหรือไม่เกิน 80,000-100,000กิโลเมตร
-ปรับตั้งระยะของวาล์วหรือถอดชุดปรับตั้งวาล์วอัตโนมัติออกทำความสะอาดทุกๆ 2ปีหรือ 20,000กิโลเมตรแต่ต้องไม่เกิน40,000กิโลเมตร

340..นั่งรถตรงไหนปลอดภัยที่สุด นั่งรถเก๋งที่เบาะหลังตรงกลางปลอดภัยที่สุด รองลงมาคือ ที่นั่งด้านหลังทางซ้าย (หลังคนนั่งข้างคนขับ) เพราะตามสถิติอุบัติเหตุจะเกิดทางด้านหน้า และ ด้านคนขับมากกว่า และหากมีคนนั่งรถไปกับคุณด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น จะลด อันตรายจากอุบัติเหตุการชนด้านหน้ารถลงไปด้วย...

341. เคล็ดลับในการขับรถหน้าฝน ตรวจเช็คเครื่องให้พร้อมก่อนเดินทาง ก่อนเดินทางทุกครั้งควรตรวจเช็คเครื่องยนต์ เช็คผ้าเบรก หน้าฝนถนนลื่น มักต้องแตะเบรกบ่อยกว่าปกติ เช็คลมยางและสภาพยาง หลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเวลาฝนตก วางแผนให้พร้อมสำหรับการเดินทาง ลดการใช้แอร์ในรถ ช่วงหน้าฝน ไม่ใช้ความเร็วสูง

342. เคล็ดลับการเติมน้ำมัน ให้ได้กำไรสูงสุดเวลาระหว่าง ตี 4 ถึง 7 โมงเช้าเพราะมันเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ง่ายๆ คือช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำมันมีอุณหภูมิต่ำที่สุดซึ่งมีผลให้มีความหนาแน่นมากที่สุดเช่นกันดังนั้นเมื่อคุณเติมน้ำมันช่วงเวลาดังกล่าวในจำนวนเงินเท่าเดิมแต่คุณจะได้น้ำมันเพิ่มขึ้นเองอัตโนมัติโดยเฉลี่ยถึง 1.5-2 Ltr. ช่วงเวลาเติมน้ำมันที่ดีที่สุดของประเทศในเอเชียโดยเมืองไทยคือช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้นส่วนช่วงที่เติมน้ำมันแล้วขาดทุนที่สุดคือช่วง11โมงถึง 5 โมงเย็น

343.. เกียร์ออโต้ เมื่อสตาร์ทไม่ติด ต้องหาสายแบตเตอรี่มาพ่วงแบตเตอรี่ แต่วิธีการที่ดีที่สุดคือการยกให้ลอย...คือถ้าขับเคลื่อนล้อหน้ายกหน้า ขับเคลื่อนล้อหลังยกล้อหลังแต่จริงๆถ้าขับเคลื่อนล้อ หลังยกหน้าก็ทำได้แต่อย่าให้เกียร์ออโต้หมุนตามล้อที่ถูกลากไปเป็นพอ

344. โรลบาร์คืออุปกรณ์ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับตัวถังร ถ หรือห้องโดยสารไม่ให้มีการยุบตัวเมื่อพลิกคว่ำ และยังเป็นการช่วยเพิ่มความแข็งแรงโครงสร้างของตัวรถ ลดอาการบิดงอของตัวถัง เวลาเข้าโค้งแรง ๆ ได้อีกทางหนึ่ง โรลบาร์นี้ ก็มีทั้งแบบติดตายกับตัวถัง หรือแบบ ถอดเข้า ถอดออก ประกอบได้ตามใจชอบอีกด้วย

345. ถอดแบตเตอรี่อย่างไรจึงจะปลอดภัย ต้องดับเครื่องก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกครั้ง ในการถอดแบตเตอรี่ ต้องถอดขั้วลบ (-) ออกก่อนเสมอ เพื่อป้องกัน การลัดวงจร และเมื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่เข้าไป ต้องใส่ขั้วบวก (+) ก่อนเสมอ จำหลักง่ายๆ "ถอดลบ (-) ใส่บวก (+)" เสมอ เพื่อป้องกันการลัดวงจรและเกิดประกายไฟกับรถยนต์

346. ดูและแบตเตอรี่เพื่อการใช้งานที่คุ้มค่า . ตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่เสมอ อย่าให้มีรอยแตกร้าว เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ไม่เก็บประจุไฟฟ้า . ดูแลขั้วแบตเตอรี่ให้สะอาดเสมอ ถ้ามีคราบเกลือเกิดขึ้น ให้ทำความสะอาด. ตรวจสภาพของระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทุกๆ 1 สัปดาห์ ตรวจเช็คระบบไฟชาร์จของอัลเตอร์เนเตอร์ ว่าระบบไฟชาร์จต่ำหรือสูง. ช่วงที่มีอากาศหนาวหรืออุณหภูมิต่ำ ประสิทธิภาพการแพร่กระจาย ของน้ำกรด และน้ำกลั่นจะด้อยลง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้กระแสไฟมากๆ ขณะอากาศเย็น ควรศึกษาถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่และไดชาร์จ เพื่อที่จะให้วงจรการไหลของไฟฟ้าเป็นไปด้วยดี ควรเติมน้ำกลั่นให้ได้ตามระดับที่กำหนด ไม่ควรเติมต่ำหรือสูงเกินไป

347. เมื่อแบตเตอรี่ใกล้เสื่อมสภาพจะมีสัญญาณเตือนดังนี้. เครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก ไฟหน้าไม่ค่อยสว่าง . ระบบกระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง ระบบไฟฟ้าในรถทำงานผิดปรกติ เมื่อมีสัญญาณเตือนดังนี้ ก็เข้าร้านที่ไว้ใจได้ เปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เลยครับ

348. การติดตั้งแบตเตอรี่ใหม่ สังเกตว่าแบตเตอรี่ใหม่ ซึ่งจะใช้ติดรถ อยู่ในสภาพไฟเต็ม . ควรบันทึกวันที่เริ่มใช้แบตเตอรี่ใหม่ ไว้เพื่อการตรวจสอบสภาพ เป็นช่วงๆ ยึดแบตเตอรี่และแท่นวางแบตเตอรี่ให้แน่น ไม่เคลื่อนไหว ถ้าแบตเตอรี่มีท่อยาวระบายอากาศ อย่าให้ท่อระบายอากาศถูกกดทับ เพราะอาจทำให้แบตเตอรี่ระเบิดได้ ใส่ขั้วไฟก่อน ก่อนใส่ ควรขยายขั้วสวมให้โตกว่าขั้วแบตเตอรี่เล็กน้อย เมื่อต่อขั้วเรียบร้อย ทาขั้วด้วยจารบี หรือวาสลิน ต่อขั้วดินเป็นอันดับสุดท้าย

349.การต่อพ่วงแบตเตอรี่ฉุกเฉิน . ต่อขั้วบวก (+) ของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ ลูกที่ไฟหมด ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ ลูกที่ดี ต่อขั้วลบ (-) ของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่ลูกที่ดี ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับโครงรถคันที่แบตเตอรี่ไฟหมด เมื่อสตาร์ทรถยนต์คันที่ไฟหมด ติดแล้ว จึงค่อยถอดสายพ่วงแบตเตอรี่ทวนตามลำดับ

350. การเก็บแบตเตอรี่แบบแห้ง (Dry Storage) เป็นการเก็บแบตเตอรี่ไว้โดยไม่มีสารละลายอยู่ในแบตเต อรี่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเก็บ แบตเตอรี่ที่ผลิตออกมาจากโรงงานใหม่ๆ เมื่อต้องการจะใช้งานก็จะนำแบตเตอรี่ ไปเติมสารละลายและประจุไฟฟ้าให้เต็ม แต่สำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วมีสารละลาย อยู่ภายในแบตเตอรี่ การเก็บให้ถอดแบตเตอรี่ออกจากรถนำไปชาร์จไฟให้เต็มแล้ว เทน้ำยาทิ้ง ใช้น้ำกลั่นล้างแล้วเทคว่ำให้แห้ง เมื่อต้องการจะใช้แบตเตอรี่ก็นำไปเติม น้ำยาและชาร์จไฟใหม่

351.การเก็บแบตเตอรี่แบบเปียก (Wet Storage) แบตเตอรี่ถึงแม้จะชาร์จไฟเต็มแล้ว ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็จสามารถคายประจุไฟออกมาเอง ดังนั้นการเก็บแบตเตอรี่ในขณะที่แบตเตอรี่ มีน้ำกรดอยู่ภายใน ควรนำไปประจุไฟทุกๆ 15 วัน การเก็บแบตเตอรี่แบบนี้ถือว่าเป็นการจัดเก็บแบบชั่วคราว เพื่อลดปัญหาแบตเตอรี่ เสื่อมสภาพ อย่าลืมเก็บแบตเตอรี่ให้ถูกวิธี

352. แบตเตอรี่หมดเมื่อเปิดไฟหน้าทิ้งไว้ การเปิดไฟหน้ารถทิ้งไว้หลังดับเครื่องยนต์ ไม่มีผลกับเครื่องยนต์แต่อย่างใด แต่แบตเตอรี่จะถูกดึงกระแสไฟฟ้าไปใช้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการประจุไฟเข้า แบตเตอรี่จากไดชาร์จเหมือนกับช่วงเวลาที่ติดเครื่องยนต์ ทำให้กระแสไฟฟ้าหมด หรือเหลือน้อยจนไม่เพียงพอสำหรับการสตาร์ตเครื่องยนต์

353. หากรู้ตัวว่าลืมปิดไฟหน้า เมื่อจอดรถยนต์ทิ้งไว้เป็นเวลานาน ไม่ควรรีบสตาร์ต เครื่องยนต์ทันที ควรปิดไฟแล้วรอให้แบตเตอรี่เก็บประจุ ประมาณ 5-10 นาที แล้วจึงทดลองสตาร์ต ถ้าสตาร์ต 2-3 ครั้งแล้วเครื่องยนต์ยังไม่ติด ไม่ควรพยายาม สตาร์ตต่อ ที่สำคัญ ไม่ควรบิดกุญแจค้างไว้นานเกินไปในช่วงที่สตาร์ต เพราะอาจ ทำให้ไดสตาร์ตเสียหายได้

354.. จอดรถในที่ลาดชันและออกรถในที่ลาดชัน แบบนี้ถ้าไม่ขึ้นเบรกมือไว้รับรองไหลแน่นอนเวลาออกรถ ถ้าปลดเบรกมือแบบไม่มีจังหวะก็ไหลอีกแม้ว่าจะเป็นเกียร์ออโต้ก็ตามเถอะฉะนั้นต้องรู้จังหวะในการปล่อยเบรกมือและเหยียบคันเรjงให้สัมพันธ์กัน คือเหยียบคันเร่งให้พอมีแรงฉุดให้พอทางลาดชันและปล่อยเบรกมือ ให้ปลดเบรกมือลงสุดเมื่อรถเคลื่อนตัว ใช้ได้ทั้งเกียร์ธรรมดาและออโต้ แต่รถธรรมดายังมีคลัตเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ก็ไม่ยากมันเป็นหน้าที่ของเท้าซ้ายที่จะต้องปล่อยคลัตให้สัมพันธ์กับคันเร่งอย่างที่เคยทำตามปกติ

355. ในการขับรถถ้าเบรกแตกในช่วงวิกฤตนั่นความปลอดภัยไม่ม ีแล้ว เพื่อนตายก็คือเบรกมือในช่วงนี้คุณต้องระวังไม่ให้กระตุกถึงล้อล๊อคตาย ควรกระตุกและปล่อยถี่ๆตามแบบการทำงานของเบรก ABS แต่มันคงจะไม่ดีเท่าเบรกเท้าหรอกนะแต่ก็ช่วยเอาตัวรอดได้

356. โอเวอร์ไดรว์ในที่คับขัน พวกเกียร์ Overdrive มีอัตราทดเกียร์ต่ำ ทำให้เครื่องยนต์ไม่มีเอนจิ้นเบรค ดังนั้นในการเบรกจะใช้ระยะเบรกยาวกว่าปกติด้วยเหตุนี้เพื่อความปลอดภัยและช่วยให้ใช้ระยะในการเบรกสั้นลง เวลาที่ขับรถในจุดคับขัน ในบางครั้งเราจึงควรกดสวิทช์เป็น OD off ให้ลดลงมาเป็นเกียร์ต่ำเพื่อใช้ “เอนจิ้นเบรค” มาช่วยลดความเร็วของรถด้วยอีกทางหนึ่ง

357..ทำนองเดียวกันเวลาขับรถเขาโค้งด้วยความเร็ว ถ้าเรากดสวิทช์เป็น OD off ลดเกียร์ลง จะเกิดเอนจิ้นเบรคช่วยให้การทรงตัวของรถดีขึ้น สร้างความมั่นใจได้มากกว่า อีกทั้งสามารถเร่งเครื่องพาตัวรถออกจากโค้งได้รวดเร็วกว่าอีกด้วย การลดเกียร์ลงมาจะให้ความปลอดภัยได้เหนือกว่า หรือหากไปเจอเหตุกะทันหันกลางโค้งก็จะสามารถเบรกชะลอ รถและเร่งส่งบังคับควบคุมรถได้ง่ายขึ้น

358. เช็กเบรก” กันนิดเพื่อความปลอดภัย เริ่มจากการตรวจระดับน้ำมันเบรกสัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกในระบบเบรกใหม่ทั้งหมด ทุกๆ 30,000-40,000 กม.หรือปีละครั้ง เพื่อเป็นการล้างระบบเบรกและรักษาคุณสมบัติเฉพาะตัวของน้ำมันเบรก ตรวจเช็กความหนาของผ้าเบรกทุกๆ 10,000 กม. และตรวจเช็กชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบเบรกทุกๆ 20,000 กม. หรืประมาณ 6 เดือนต่อครั้งก็ยิ่งดี เช่น พวกซีลยางต่างๆ ของระบบเบรก ท่อยางของระบบเบรก หรือที่ช่างมักเรียกว่าสายอ่อน ที่ต่อไปยังล้อ ตรวจเช็กดูว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ มีการรั่วซึม ปริแตก หรือเปล่า ถ้ามีก็ควรเปลี่ยนใหม่เพื่อความปลอดภัย

359. การตรวจเช็กลมยาง เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ผู้ใช้รถยนต์ควรตรวจเช็กว่า ยางสึกหรอถึงระดับต้องเปลี่ยนหรือยัง และควรเติมลมยางให้เหมาะสมตามที่กำหนด เพราะหากยางรถยนต์สึกหรอหรือลมยางอ่อน จะทำให้การทรงตัวของรถไม่ดี และสิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากหากความดันลมยางต่ำกว่ามาตรฐานทุก 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 2 %

360. นอกจากความดันลมยาง จะมีผลอย่างมากต่อการเกาะถนน การทรงตัวของรถยนต์ แล้วยังเกี่ยวข้องไปถึงอายุใช้งานของยางรถยนต์ และความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ยิ่ง ในภาวะน้ำมันแพงอย่างทุกวันนี้แล้ว ควรตรวจและเติมลมยางทุก 2 สัปดาห์ หรือ อย่างน้อยที่สุดเดือนละครั้ง และเช็กความดันลมยางอย่างสม่ำเสมอ ส่วนยางอะไหล่ ควรเติมลมให้มากกว่าค่าลมยางของล้อที่ค่ามากประมาณ 6 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และควรเช็กความดันลมยางอะไหล่ทุกๆ 4 เดือน

361. การเปลี่ยนแปลงขนาดยางที่ไม่ถูกต้อง จะเกิดผลเสียดังนี้ ถ้าขนาดยางเล็กเกินไป ความสามารถในการรับน้ำหนักจะลดลง สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง มาตรวัดความเร็วคลาดเคลื่อนจาก ความเป็นจริง

362 .ถ้าขนาดยางใหญ่เกินไป ยางจะเสียดสีกับส่วนหนึ่งส่วนใดของรถ พวงมาลัยรถหนักขณะจอดหรือที่ความเร็วต่ำ มาตรวัดความเร็วคลาดเคลื่อนจาก ความเป็นจริง(อัตราความคลาดเคลื่อนของ มาตรวัดจากความเป็นจริง คำนวณได้จากความ แตกต่างจากเส้นผ่าศูนย์กลางของยางเดิม เปรียบเทียบกับยางใหม่)

363. ดอกยางของรถยนต์นั้น มีไว้เพื่อยึดเกาะถนน และรีดน้ำขณะขับรถบนถนนเปียก เพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับผิวถนนและเกาะพื้นถนนได้ดี หน้ายางที่ถ่ายทอดแรง ทิศทางต่างๆ สู่ ผิวถนนได้ดีนั้น ดอกยางควรลึกไม่น้อยกว่า 3 มิลลิเมตร แต่ทั้งนี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำบนผิวถนน และความเร็วของรถด้วย

364..สัญญาณเตือนเมื่อรถยางแตก ปกติยางแบบเรเดียลจะแตกเองได้น้อยมาก หรือในกรณีที่ยางรถยนต์ถูกของมีคม ขนาดไม่ใหญ่ทิ่มแทง ยางอาจจะมีการรั่วช้า แต่หากรู้สึกว่ามีเศษวัสดุทิ่มตำที่ หน้ายาง ก็ไม่ควรดึงออกในทันที เพราะการกระทำดังกล่าวจะทำให้ลมยางรั่ว ออกมาอย่างรวดเร็ว

365.ในรถที่มีการขับเคลื่อนด้วยล้อหลัง หากยางล้อหน้าแตก ใช้การลดเกียร์ต่ำช่วยลดความเร็วได้บ้าง แต่หากเป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนล้อหน้า นั้น ให้เตะเบรกเพียงเบาๆ เท่านั้น เพราะถ้าหากใช้วิธีลดเกียร์ต่ำช่วยล้อหน้า อาจจกระตุกจนเสียการทรงตัวได้ แต่สำหรับกรณีที่ยางเกิดแบนขณะที่รถวิ่งอยู่ และรถเกิดอาการผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีการทรงตัวแย่ลง อัตราการเร่งอืด หรือพวงมาลัยดึงไปด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ควรตกใจหรือเหยียบเบรคโดยกะทันหัน แต่ควรมีสติและพยายามบังคับพวงมาลัยให้มั่นคง แตะเบรกช้าๆ และเบาที่สุด จนกระทั่งรถหยุดเอง

366. สำหรับ อายุของยารถยนต์ที่ให้ความปลอดภัยเพียงพอ ต้องไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่ ผลิต

368. ก่อนนำล้อแม็กใหม่ติดตั้งเข้ากับตัวรถ ควรเคลือบเงาด้วยน้ำยาให้ทั่วเสียก่อน ซึ่งมีประโยชน์ช่วยรักษาสภาพความเงาวาว และป้องกันคราบสกปรกที่จะมา จับเกาะได้ดี

369. เมื่อจะล้างล้อแม็กและยาง ควรรอให้ยางมีอุณหภูมิเย็นลงเป็นปกติเสียก่อน เพราะความร้อนจะทำให้น้ำและน้ำยาหรือสบู่อ่อนระเหยแห้งไวเป็นสาเหตุ ให้เกิดรอยด่างได้ง่าย

370. หากจะขัดทำความสะอาดล้อแม็กและยาง ด้วยน้ำยาหรือสบู่อ่อน ให้เลือกใช้ แต่แปรงชนิดขนอ่อน เพื่อป้องกันการเกิดริ้วรอยตามมา และควรเคลือบเงา ด้วยน้ำยาด้วย และไม่ควรใช้น้ำร้อนทำความสะอาดล้อแม็กเด็ดขาด มิเช่นนั้นสารที่เคลือบผิวล้อแม็ก ไว้จะถูกทำลาย

371. ถ้าจำเป็นต้องใช้บริการเครื่องล้างรถอัตโนมัติ ควรสอบถามเจ้าหน้าที่ให้แน่ใจ ว่า น้ำยาที่ใช้ในการทำควาสะอาด จะไม่กัดสีของล้อและยาง รวมทั้งขนแปรงจะไม่แข็งเกินไป จนเกิดริ้วรอยได้

372. ฟองน้ำที่ใช้ถูเช็ดตัวถังกับล้อ ก็ควรแยกชิ้นกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเศษฝุ่นสะเก็ดหินจากล้อที่ติดอยู่กับฟองน้ำ ไปขูดขีดกับตัวถังโดยไม่ตั้งใจ

373. ดอกละเอียด ( RIB PATTERN ) มีลักษณะเป็นลายดอกและร่องที่คดโค้ง หรือเป็นเหลี่ยม เป็นแถวยาวตามเส้นรอบวงของยาง ร่องยางที่ตื้น ช่วยในการ ระบายความร้อน เกาะถนนได้ดี ขับขี่บังคับเลี้ยวได้ง่าย ป้องกันการลื่นไถลออก ด้านข้างได้ดีเยี่ยม ดอกยางชนิดนี้เหมาะสมอย่างยิ่งกับรถโดยสาร

374. ดอกบั้ง ( LUG PATTERN )ยางดอกบั้งมีลักษณะลายดอกและร่องยางเป็นแนวขวางกับเส้นรอบวงของยางโดยร่องยาง จะมีความลึก เนื้อยางมีมาก เวลารถเคลื่อนจะเกิดแรงกรุยสูง และมีอายุการใช้งานทนทานกว่าดอกยางแบบอื่นๆ เหมาะกับ รถบรรทุกขนาดใหญ่ (ล้อหลัง) รถจิ๊ป หรือรถที่วิ่งในอัตราความเร็วปานกลางจนถึงต่ำ

375.. ดอกผสม ( RIB-LUG PATTERN ) ยางแบบดอกผสมเป็นการผสมระหว่างยางดอกละเอียดและลายดอกบั้ง โดยตรงกลางของ หน้ายางจะเป็นลายแบบยางดอกละเอียด แต่ด้านซ้ายและขวาเป็นลายดอกบั้ง ยางดอกผสมนี้จึงทั้งเกาะถนน ป้องกันรถไถลออก ด้านข้าง และมีแรงกรุยดี นำมาใช้ได้ทั้งล้อหน้าและล้อหลัง วิ่งบนทางขรุขระหรือลาดยางก็ได้ เหมาะกับรถที่วิ่งด้วยความเร็ว ปานกลาง

376.. ดอกบล็อก ( BLOCK ) ยางชนิดนี้มีหน้ายางเป็นลักษณะก้อนเหลี่ยมหรือโค้งมน เรียงตัวกันคล้ายอิฐบล็อกปูทางเดิน แต่จะมี ช่องว่างระหว่างบล็อก ซึ่งถ้ามองตามเส้นรอบวงของยาง จะเห็นร่องเหมือนกับยางดอกละเอียด เหมาะที่จะใช้กับทุก สภาพถนน ไม่ว่าจะเป็นบนพื้นทราย หรือโคลน มีสมรรถนะเกาะถนนได้ดีมาก ผู้ขับขี่บังคับเลี้ยวหยุดรถได้ง่าย ปัจจุบันนิยมใช้กับยางเรเดียลที่ใช้ความเร็วสูง โดยเฉพาะรถเก๋ง เลือกใช้ดอกยางให้ถูกประเภทงานและรถ นอกจากจะได้รับความปลอดภัยแล้ว ยังเป็นการใช้ยางอย่างคุ้มค่าเงินอีกด้วย

377. การถนอมยางรถยนต์กรณีที่ต้องจอดรถยนต์ทิ้งไว้เป็นเวลานาน คุณควรสูบลมยางเพิ่มขึ้นสัก 5 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว เพราะการที่ต้องจอดรถไว้ในตำแหน่งเดียวนานๆ ยางส่วนที่ สัมผัสกับพื้นถนนจะถูกน้ำหนักตัวรถกดลงไป จนทำให้เบี้ยวเสียรูปทรง ทำให้ โครงสร้างภายในชำรุด หรือจะขึ้นแม่แรงไว้ให้ล้อ และยางแตะพื้นน้อยที่สุด แต่ไม่ต้องถึงกับลอยขึ้นมาจากพื้น เพราะหากล้อและยางลอยขึ้นมาจากพื้น จะทำให้ระบบช่วงล่าง เช่น ปีกนก ลูกหมากต่างๆ ต้องรับน้ำหนักมากขึ้นและ เสียหายจากน้ำหนักที่มากกว่าปกติได้ หากเปิดกระจกหน้าต่างให้แง้มลงมาได้บ้างเล็กน้อย ก็จะช่วยให้อุปกรณ์ภายในรถที่เป็นยาง และพลาสติกมีความทนทานมากขึ้น

378. หากยางรถยนต์เกิดรั่วและแบนขณะที่คุณขับรถอยู่บนท้อง ถนน คุณไม่ควรขับรถ บดยางไปเป็นระยะทางไกลๆ โดยเด็ดขาด เพราะขอบกระทะล้อจะกดลงบน แก้มยางจนทำให้แก้มยางเสีย คุณควรจะจอดรถเพื่อเปลี่ยนยางอะไหล่ก่อน

379. ควรมีโฟมสเปรย์ติดรถไว้ เพราะหากไม่สามารถเปลี่ยนยางอะไหล่ได้ หรือรอยรั่วไม่ใหญ่นัก ก็ให้นำโฟมาสเปรย์มาฉีดเพื่ออุดรอยรั่วของยางไว้จน หมดกระป๋อง จากนั้นขับไปอย่างช้าๆ จนถึงร้านปะยางที่ใกล้ที่สุดเพื่อปะ หรือ เปลี่ยนยาง และอย่าลืมล้างโฟมสเปรย์ก่อนทำการปะยางด้วย เพราะหากทิ้งไว้ อาจทำให้น้ำหนักของล้อและยางไม่สมดุล อีกทั้งโฟมสเปรย์บางชนิดอาจมีฤทธิ์ ต่อเนื้อยางได้

380..การเลือกยางให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยเฉพาะในเรื่องของน้ำหนักบรรทุก และข้อจำกัดความเร็วของยางแต่ละเส้น ก็มีส่วนในการยืดอายุการใช้งาน และ ยังหมายถึงความปลอดภัยของชีวิตด้วย

381. บนแก้มของยางแต่ละเส้นนั้น จะมี ตัวเลข 1 คู่ และตามด้วยตัวอักษร ซึ่งจะบ่งบอกว่า ยางเส้นนั้นๆ รับน้ำหนัก บรรทุกสูงสุด และความเร็วสูงสุดได้แค่ไหน ยกตัวอย่าง เช่น 87V ตัวเลข 2 หลักหมายถึง ดัชนีน้ำหนักบรรทุกของยาง หรือ Load Index มีหน่วย เป็นกิโลกรัม ซึ่งต้องอาศัยตารางในการเปรียบเทียบ ตัว V เป็นสัญลักษณ์ ความเร็ว หรือ Speed Symbol หมายถึง ความเร็วสูงสุดที่ยางเส้นนั้น รับได้ มีหน่วยเป็นกิโลเมตร/ชั่วโมง ไม่ควรใช้ความเร็ว เกินกว่าที่ยางรับได้ และถ้ายางผ่านการใช้งานมานาน ก็ไม่ควรขับถึงหรือใกล้ความเร็วสูงสุดที่ยางเส้นนั้น รับได้ เพราะอาจเกิด อุบัติเหตุยางระเบิดได้

382. เพื่อให้ยางทุกเส้นมีการสึกหรอใกล้เคียง กันที่สุด ใช้ได้จนเกือบหมด โดยควรสลับยางทุก 10,000 กิโลเมตร ถ้ายาง อะไหล่มีขนาดเดียวกับยางหลัก ควรนำมาสลับใช้ด้วย แม้การเปลี่ยนยางพร้อมกัน 5 เส้น จะเสียเงินมากกว่าการเปลี่ยนยาง 4 เส้น แต่ก็จะสามารถใช้ยางทั้ง 5 เส้น ได้เป็นระยะทางมากกว่า และทำการเปลี่ยนยางพร้อมๆ กันทุกเส้น เมื่อระยะ การใช้งานครบ 2 ปี

383.. การหมดอายุของยางรถยนต์ไม่ได้เกิดจากการสึกของดอกยาง เพียงอย่างเดียว เท่านั้น แต่ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นตัวบ่งชี้ว่ายางรถยนต์ของคุณหมดอายุแล้ว อีก เช่น ยางไม่เกาะถนน เนื้อยางแข็ง โครงสร้างกระด้าง เกิดเสียงดังขณะขับขี่ หรือแก้มยางบวม ซึ่งการแก้ปัญหาก็คงจะหนีไม่พ้น การเปลี่ยนยาง และควรเปลี่ยนพร้อมกันทั้ง 4 เส้น เพราะยางผ่านการใช้งาน มาเท่ากัน ย่อมมีการสึกหรอและสภาพภายในที่ใกล้เคียงกัน โดยควรเลือกใช้ ยางรุ่น และขนาดเดียวกันทั้ง 4 ล้อ

384.ดอกยางและร่องบนหน้ายาง มีหน้าที่ ในการรีดน้ำขณะหน้ายางสัมผัสกับถนน ปัจจุบันยางมีประสิทธิภาพในการรีดน้ำสูงถึง 40 ลิตรต่อนาที ในขณะที่วิ่ง ด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความลึกของดอกยางมีผลต่อการรีดน้ำ และการเกาะถนนขณะที่เปียก หากประสิทธิภาพการรีดน้ำต่ำ อาจทำให้เกิดการไถลได้ง่าย ความลึกขั้นต่ำควรจะมีความลึกอย่างน้อย 1.6 มิลลิเมตร และหากดอกยางเหลือต่ำกว่า 2.0 มิลลิเมตร จะขาประสิทธิภาพในการ รีดน้ำ และเกาะถนน

385. ลักษณะการสึกของดอกยาง สึกบริเวณไหล่ยางทั้งสองข้าง เกิดจากการเติมลมอ่อนเกินไป ทำให้ไหล่ยาง ทั้งสองข้างสัมผัสกับถนนโดยตรง

386.ลักษณะการสึกของดอกยาง สึกไหล่ยางข้างใดข้างหนึ่ง เกิดจากศูนย์ล้อไม่ได้มาตรฐาน มุมแคมเบอร์ เป็นบวก หรือลบมากเกินไป

387. ลักษณะการสึกของดอกยางสึกเหมือนเกล็ดปลา เกิดจากากรถ่วงล้อไม่สมดุล ทำให้ยางสั่น และหน้ายาง สัมผัสไม่เท่ากัน

388.ลักษณะการสึกของดอกยาง สึกเฉพาะตรงกลางของยาง เกิดจากเติมลมยางมากเกินไป ทำให้ยางสัมผัส ถนนโดยตรง สึกเป็นลายขนนก เกิดจากศูนย์ล้อไม่ได้มาตรฐาน ทำให้โทอิน หรือโทเอาท์ ผิดปกติ สึกเป็นจ้ำๆรอบเส้น เกิดจากโช็คอัพเสื่อมสภาพ หรือระบบเบรกไม่สมดุล

389. การตั้งศูนย์ล้อ คือ การปรับสภาพของระบบรับน้ำหนัก ให้ได้ค่ากำหนดของโรงงานที่ผลิต หรืออีกนัยก็คือการปรับมุมช่วงล่าง เพื่อให้การขับขี่ และการบังคับพวงมาลัย เป็นไปอย่างถูกต้อง การเปลี่ยนยางใหม่ หรือการปะยางทุกครั้ง ต้องมีการถ่วงล้ออย่าง สมดุล และมีศูนย์ล้อที่เที่ยงตรง

390. การปะยาง . หากยางถูกตะปูตำ จะสามารถซ่อมแซมโดยการปะยางได้ เฉพาะในส่วนหน้ายางที่สัมผัสกับถนนเท่านั้น ไม่ควรปะยาง บริเวณแก้มยาง ซึ่งยางอาจจะระเบิดได้ง่าย เนื่องจากไม่มีโครงสร้างของชั้นผ้าใบ และเส้นลวด

391.การปะยาง ยางที่สามารถจะปะ หรือซ่อมได้ ควรมีความลึกของดอกยางไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิเมตร และควรกว้างไม่เกิน 6 มม ไม่ควรปะยางเกิน 2 ครั้งบนยางเส้นเดียวกัน และไม่ควรปะยางซ้ำรอยเดิม

392.เมื่อเกิดปัญหาไฟหน้าไม่ติด หรือหลอดไฟไม่สว่าง ก่อนที่จะไปเสียเงินซ่อม สิ่งที่ผู้ใช้ควรที่จะตรวจสอบจุดแรก คือ แผงฟิวส์โดยเฉพาะตัวเมน ต่อมาก็ที่สวิตซ์ไฟ โดยเฉพาะรถที่ใช้สวิตซ์ ไฟใหญ่โดยไม่ผ่านตัวรีเลย์ สุดท้ายก็ที่สายไฟ และ ตามขั้วหลอดไฟ

393. หลอดไฟหมดอายุผู้ใช้สามารถสังเกตว่าหลอดไฟหมดอายุหรือไม่ โดยดูจากความสว่างของหลอดไฟ ซึ่งกรณีนี้ไม่สามารถซ่อมแซมให้สว่างขึ้นได้ต้องทำการเปลี่ยนหลอดไฟใหม่เท่านั้น แต่คุณสามารถเก็บหลอดไฟเก่าไว้ได้ เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน

394. การเพิ่มกำลังส่องสว่างของไฟหน้าเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของผู้ขับขี่ โดยการเปลี่ยนหลอดไฟให้มีกำลังส่องสว่างมากขึ้นหรือจำนวนวัตต์มากขึ้นนั่นเองซึ่งในปัจจุบันจะมีหลอดฮาโลเจน สำหรับรถรุ่นใหม่ ๆ ส่วนรถรุ่นเก่าก็สามารถเพิ่มกำลังเป็น 80/100 วัตต์ได้โดยไม่ต้องดัดแปลงขั้วหลอดสำหรับรถรุ่นเก่าที่ต้องการใช้หลอดฮาโลเจน จะต้องเปลี่ยนสายไฟและสะพานไฟใหม่ คุณจะต้องติดสวิตซ์และรีเลย์สวิตซ์เพิ่ม เพื่อป้องกันความร้อนจากกำลังไฟที่ใช้ของหลอดฮาโลเจนส่วนวิธีการติดตั้งของหลอดฮาโลเจน คงต้องพึ่งร้านติดตั้งหลอดไฟ

395 ข้อควรระวังในการเปลี่ยนหลอดไฟคือ จะต้องถอดขั้วลบของขั้วแบตเตอรี่ออกก่อนทุกครั้งถ้ามีการเพิ่มขนาดของหลอดไฟจะต้องตรวจสอบขั้วของหลอดไฟ สายไฟ และ สวิตซ์ที่ใช้ ควบคุมหลอดไฟว่าสามารถรับกำลังไฟฟ้าของหลอดไฟที่เพิ่มขึ้นได้

396. เมื่อใบปัดน้ำฝนสกปรก คุณสามารถถอดทำความสะอาดได้โดยการดึงก้านปัดน้ำฝนขึ้น และปลดปุ่มล็อคใบปัดน้ำฝนออก เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้ว จะต้องสังเกตสัญลักษณ์ "R" (ข้างขวา) และ "L" (ข้างซ้าย) และใส่กลับเข้าไปให้ถูกข้างด้วยมิฉะนั้นที่ปัดน้ำฝนของคุณจะทำงานไม่ปรกติ และจะมีเสียงเวลาใช้งาน

397. ตรวจเช็ครถก่อนเดินทางไกล กรณีที่คุณต้องการเดินทางไกล สิ่งแรกที่ต้องทำคือตรวจเช็คสภาพรถยนต์ด้วยตัวคุณเอง เพื่อช่วยให้เกิดมั่นใจในการขับขี่ หรือหากพบข้อบกพร่องก็สามารถแก้ไขก่อนเดินทาง

398.ตรวจรถภายนอก ยาง ตรวจความดันลมยาง ดอกยาง และรอยฉีกขาด ตรวจดูว่าขันแน่นดี แต่ก็ไม่แน่นจนเกินไปจนคลายออก ไม่ได้ด้วยตัวเอง รอยรั่วซึม ตรวจดูว่ามีร่องรอยน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรค หรือ น้ำรั่วซึมจากใต้ท้องรถ ยางปัดน้ำฝน ทดลองปัดดู ไฟส่องสว่าง ตรวจดูไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเบรค ไฟเลี้ยวหรืออื่นๆรวมทั้งระดับไฟหน้าด้วยว่าเป็นปกติทั้งหมด

399. ตรวจภายในรถ ยางอะไหล่และแม่แรง ตรวจเช็คลมยาง และให้แน่ใจว่าแม่แรงและด้ามขันใช้งานได้ตามปกติ เข็มขัดนิรภัย ตรวจเช็คว่าหัวเข็มขัดสามารถ ล็อคได้เรียบร้อย แตร ให้แน่ใจว่าดังดี แผงควบคุมและอุปกรณ์ ตรวจดูให้แน่ใจว่าทำงานเป็นปกติ และที่ปัดน้ำฝน ปัดได้เรียบร้อยสม่ำเสมอ เบรก เช็คระยะฟรีขาเบรคอยู่ในค่ากำหนดหรือไม่ ฟิวส์สำรองที่เตรียมไว้ต้องมีขนาดค่ากระแสใช้ได้ตามที่กำหนดที่แผงฟิวส์

400 ตรวจใต้ฝากระโปรงหน้า ระดับน้ำหล่อเย็น ควรจะมีอยู่ถึงระดับสูงสุดในถังพักสำรอง หม้อน้ำและท่อยาง ควรดูว่าด้านหน้าหม้อน้ำหมดจดไม่มีเศษวัสดุ หรือใบไม้ติดอยู่ ดูท่อยางว่ามีรอยแยก เปื่อย - สายพานขับต่างๆ ต้องไม่มีรอยแตก เลอะน้ำมันหล่อลื่น และความตึงสายพานอยู่ในค่ากำหนด แบตเตอรี่และสายไฟ ตรวจดูและเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับที่กำหนดดูเปลือกแบตเตอรี่ว่ามีร่องรอยเสียหาย หรือไม่ ดูขั้วต่อและสายไฟว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ ระดับน้ำมันเบรคและคลัชท์ ตรวจดูว่าระดับน้ำมันเบรคและคลัทช์อยู่ในระดับที่ถูกต้อง ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจดูว่าท่อน้ำมันมีการรั่วหลุดหรือไม่

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล