28 ม.ค. 2552

กลยุทธ์เพื่ออิสรภาพทางการเงิน

1. ควรสำรองเงินไว้ใช้เผื่อฉุกเฉินเท่าไรดี

จำนวนเงินขั้นต่ำที่ควรออมไว้เผื่อฉุกเฉินคือ ประมาณ 6 เท่าของรายจ่ายประจำเดือน โดยออมไว้ในลักษณะที่มีสภาพคล่องสูง หากเงินออมสามารถมีผลตอบแทนได้ด้วยก็ยิ่งดี เช่น ฝากธนาคารไว้ในบัญชีออมทรัพย์บางส่วน ในบัญชีเงินฝากประจำบางส่วน หรือในรูปของทรัพย์สินมีค่าที่มีสภาพคล่องดี เป็นต้น
การซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตก็มีประโยชน์เผื่อการป่วยไข้หรือประสบอุบัติเหตุได้

2. มีเงินออมเท่าไรจึงจะดี

เงินออมที่ควรมี = อายุ X เงินได้ทั้งปี X 0.1

ตัวอย่าง สมชายอายุ 30 ปี มีรายได้เดือนละ 25,000 บาท
สมชายควรมีเงินออม = 30 X 25,000x12 X 0.1 = 900,000 บาท

หากมีเงินออมน้อยกว่าที่คำนวณได้ ควรต้องเร่งออมและมีวินัย เพื่อชีวิตที่สบายในวันหน้า

3. ออมแบบลบ 10 เพิ่ม 10

ออมแบบลบ 10 คือ หาได้เท่าไรหักไว้เป็นเงินออม 10% ก่อนใช้จ่ายเสมอ
ออมแบบเพิ่ม 10 คือ ก่อนจะใช้เงินต้องแยกเงินไปออมไว้ 10% ของเงินที่จะจ่ายไป

ออมแบบนี้จะสร้างนิสัยการออมเพื่อชีวิตที่สบายวันหน้า

4. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่รัฐมอบให้

ในเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นช่วงเวลายื่นภาษีเงินได้สำหรับคนวัยทำงาน บางท่านอาจรู้สึกเสียดายเมื่อเห็นยอดภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปี แต่หากศึกษาสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขที่รัฐมอบให้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักออมและเลือกลงทุนแล้ว จะพบว่าท่านสามารถประหยัดภาษีได้เป็นจำนวนไม่น้อยที่เดียว เช่น การลงทุนซื้อประกันชีวิต การฝากธนาคารบัญชียกเว้นภาษี หุ้นกู้ การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund หรือ LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF)

5. ประหยัด 1 บาท เท่ากับเพิ่มเงินออมมากกว่า 1 บาท

ทุกๆ 1 บาทที่ประหยัดได้วันนี้ เท่ากับมีฐานเงินออมเพิ่มาขึ้น 1 บาท ที่กำลังจะสร้างผลตอบแทนที่งอกเงย นำไปสู่ความมั่งคงที่เพิ่มขึ้น

6. สี่ขั้นตอนวางแผนใช้จ่ายเพื่อ “เพิ่มคุณภาพชีวิต”

1) สำรวจรายได้ เพื่อให้รู้ถึงวงเงินที่สามารถจ่ายได้
2) กำหนดเป้าหมายการใช้จ่าย โดยวางแผนใช้จ่าย เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิต
“สบายวันนี้ ไม่ดีพอ แต่เราขอ คงมั่งมี ในวันหน้า”
3) บันทึกการใช้จ่ายทุกวัน จะช่วยเตือนใจให้ใช้จ่ายอยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้
4) มีวินัย ทบทวน ปรับปรุงแผนการใช้จ่ายเป็นระยะๆ เพื่อใสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

7. สี่ขั้นตอนวางแผนใช้จ่ายเพื่อ “เพิ่มคุณภาพชีวิต”
ควรใช้จ่ายเพื่อมุ่งหวัง “เพิ่มคุณภาพชีวิต” โดยพิจารณาประโยชน์ หรือคุณค่าที่แท้จริงมากกว่ากระแสนิยม เช่น รับประทานอาหารด้วยหวังในคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจมากว่าหวังความโก้หรู

8. แนวทางการใช้จ่ายอย่าง “มีคุณภาพ”
ü ซื้อเมื่อจำเป็น ไม่ใช้ ไม่ซื้อ
ü ซื้อเมื่อพร้อมทั้งเงินทุน การใช้ประโยชน์และการดูแลรักษา
ü ไม่หลงกลลวงการตลาดเพราะของแถมหรือได้รับสิทธิพิเศษ
ü เปรียบเที่ยบราคาและคุณประโยชน์ก่อนตัดสินใจซื้อ
ü บันทึกแผนการใช้จ่าย และการใช้จ่ายจริงทุกครั้ง
ü ไม่หลงโฆษณาชวนเชื่อที่อ้างสรรพคุณเกินจริง

ท่องคาถาประหยัดเงินอยู่เสมอ เช่น “ถูกแค่ไหน ถ้าไม่ใช้ ก็ไม่ซื้อ”

9. ตัวอย่างค่าใช้จ่ายที่ท่านสามารถแปลงเป็นเงินออม
ค่าบุหรี่ ค่าเครื่องดื่มปรุงแต่ง หรือผสมแอลกอฮอล์ หากเปลี่ยนวิถีชีวิตโดย ลด ละ เลิก สิ่งเหล่านี้เพียงวันละ 50 บาท เป็นเวลา 365 วันใน 1 ปี ท่านจะมีเงินออมมากกว่า 18,250 บาท ทั้งได้ความมั่นคงในชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น

“(ออม) สบายๆ วันนี้…สร้างความพร้อมที่จะสบายวันหน้า”

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ