6 มี.ค. 2554

กินแคลเซียมต้องระวัง

แคลเซียมเม็ดโดยปกติทำมาจากแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งเป็นหินปูนชนิดกินได้ โดยแคลเซียมเม็ดนี้มักนิยมทำร่วมกับสิ่งอื่นๆ อาทิ แคลเซียมที่ทำร่วมกับกรด เช่น แคลเซียมซิเตรท ที่จะดูดซึมได้ดีกว่าชนิดหินปูนแคลเซียมคาร์บอเนตหรือใส่วิตามินซีและดีเข้าไปด้วย โดยเฉพาะแบบเม็ดฟู่ ซึ่งต้องระวังในคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร

แต่แคลเซียมที่ต้องระวังอย่างมากคือ แคลเซียมที่ซื้อมาในราคาถูกมาก เพราะอาจจะทำมาจากกระดูกวัว ควายป่น การกินแคลเซียมประเภทนี้ร่างกายจะได้รับสารตะกั่ว ปรอท และโลหะหนักอื่นๆ ที่ทำจากหินปูนภูเขา ซึ่งร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ ก่อให้เกิดสารสะสมเป็นนิ่ว โดยมีงานวิจัยระบุว่าแคลเซียมจากอาหารสดช่วยลดการเกิดนิ่วในไตได้อีกด้วย ส่วนแคลเซียมเสริมถ้ากินมากไปควรระวังการจับตัวเป็นนิ่วในไต นอกจากนั้นการกินแคลเซียมยังมีเคล็ดลับว่า อย่ากินร่วมกับผักที่มีผลึกออกซาลิกมาก

เพราะจะทำให้เกิดนิ่ว เช่น ใบชะพลู ขึ้นฉ่าย ยอดมะม่วงอ่อน และถ้าเป็นแคลเซียมเม็ดให้แบ่งกินเป็น 2 มื้อ เพราะจะดูดซึมได้ดีกว่ากินในคราวเดียวกัน และถ้าวันได้กินอาหารอุดมด้วยแคลเซียมอยู่แล้วให้กินเพียงมื้อเดียวก็เพียงพอ ซึ่งปริมาณการกินแคลเซียมทีเหมาะสม คือวัยเด็ก วันละ 200-500 มิลลิกรัม วัยผู้ใหญ่ 1,000 มิลลิกรัม วัยทองกับสตรีมีครรภ์วันละ 1,200 มิลลิกรัม

อย่างไรก็ตาม แคลเซียมเม็ดไม่ใช่สิ่งจำเป็นหากเรารับประทานอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการอยู่แล้ว โดยอาหารที่มีแคลเซียมมากที่แนะนำ ได้แก่ งาดำ กะปิ กุ้งแห้ง ปลาแห้ง เต้าหู้ ส่วนที่เป็นผักเช่น กระถิน ใบยอ กะเพระ โหระพา กระเจี๊ยบ ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง ปวยเล้ง คะน้า เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: